Alignment for Sustainable Organization

0
13
Alignment for Sustainable Organization

องค์การที่มีความยั่งยืน เกิดจากส่วนผสมของการเป็นองค์การที่มุ่งเน้นการสร้างนวัตกรรมและองค์การที่มีประสิทธิภาพสูงอย่างต่อเนื่อง

ปัจจุบัน องค์การต่างๆ ได้มีการกำหนดวิสัยทัศน์ที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน เช่น องค์การแห่งการเรียนรู้ องค์การแห่งความสุข องค์การนวัตกรรม องค์การสมรรถนะสูง องค์การแห่งความยั่งยืน องค์การแห่งยุคดิจิทัล ซึ่งปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญที่ทำให้สามารถบรรลุวิสัยทัศน์/เป้าหมายที่กำหนดได้นั้นคือ ควรสามารถนำเป้าหมายที่กำหนดไปสู่การปฏิบัติได้ทั่วทั้งองค์การอย่างเป็นรูปธรรม

จากงานวิจัยของเรื่อง Alignment for Achieving a Sustainable Organization มุ่งเน้นการค้นหาความสอดคล้อง (Alignment) ภายใต้กรอบแนวคิด Organization Development (OD) หมายถึง การพัฒนาความสามารถขององค์การเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ขององค์การด้วยวิธีการที่หลากหลาย ทั้งในระดับองค์การ หน่วยงาน และระดับบุคคล ซึ่งระบบบริหารทรัพยาบุคคล (Human Resource) จะต้องมีความสอดคล้องและตอบโจทย์เป้าหมายองค์การที่มีวิสัยทัศน์ (Vision) พันธกิจ (Mission) ค่านิยมหลัก (Core Value) กลยุทธ์ (Strategy) และบูรณาการกับระบบบริหารทรัพยากรบุคคลอื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิผล โดยผ่านกระบวนการวินิจฉัยเพื่อค้นหาปัจจัยและโอกาสในการพัฒนา การกำหนดแผนปฏิบัติการ การบริหารแผนเพื่อนำสู่การเปลี่ยนแปลง การติดตามประเมินผลการพัฒนาองค์การ รวมทั้งการสร้างความยั่งยืน โดยผลของงานวิจัยระบุว่า องค์การที่มีความยั่งยืน (Sustainable Organization) เกิดการการผสมผสานของนวัตกรรม ที่มีความใหม่ มีคุณค่าต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ทำให้มีสมรรถนะสูง (High Performance) ทั้งในด้านการเพิ่มผลลัพธ์ที่ดีและลดกระบวนการทำงานที่ไม่สร้างคุณค่า ซึ่งการไปสู่ความยั่งยืนจะต้องมีการพัฒนาสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และถ่ายทอดไปยังบุคลากรในองค์การ โดยการพิจารณาความสอดคล้องการพัฒนาองค์การผ่านเครื่องมือการวินิจฉัยองค์การ (9-cells: Internal Alignment) ใน 2 มุมมอง ได้แก่ ความสอดคล้องตามหลักการคิดเชิงระบบ (System Thinking) (การบริหารจัดการ การออกแบบ เป้าหมาย) และความสอดคล้องตามโครงสร้างการบริหารองค์กร 3 ระดับ (องค์การ หน่วยงานทีม บุคคล) มีหัวข้อการวินิจฉัยและประเด็นการทบทวนตามภาพ

Cell 5 – Organization Management

-Performance Management

-Leadership & Culture

-Budget & Resource Allocation

สอดคล้องกับเป้าหมายองค์การ (Cell 1)

ประเด็นการทบทวน

-องค์การมีระบบการติดตามตัวชี้วัดความสำเร็จในระดับองค์การ (Corporate KPIs)

-องค์การมีการจัดทำข้อมูลเพื่อช่วยในการตัดสินใจเรื่องการบริหารผลงาน

-องค์การมีการติดตามข้อมูลสำคัญ สอดคล้องกับกลยุทธ์องค์การ

Cell 4 – Organization Design

-Organization Structure

-Organization Collaboration

-Communication Platform

สอดคล้องกับเป้าหมายองค์การ (Cell 1)

ประเด็นการทบทวน

-โครงสร้างองค์การควรเป็นลักษณะเครือข่ายกับองค์การภายนอกใน/ต่างประเทศ

Cell 1 – Organization Goal

– Organization’s Vision/Goals

– Organization’s Missions

– Organization’s Strategies

ประเด็นการทบทวน

-องค์การมีวิสัยทัศน์ที่กระชับ ชัดเจน สื่อสารให้บุคลากรทุกคนในองค์การเข้าใจได้หรือไม่ รวมทั้งมีตัวชี้วัดที่บ่งบอกความสำเร็จ

-องค์การมีเป้าหมายความสำเร็จที่สร้างสมดุลทั้งเรื่องเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

-องค์การมีกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นการทำนวัตกรรมและผลักดันให้เป็นประเด็นสำคัญที่บุคลากรในองค์การต้องคำนึงถึง

Cell 7 – Process Management

-Performance Monitoring

-Project Management

-Budget & Resource Allocation

สอดคล้องกับเป้าหมายของกระบวนการ (Cell 2)

ประเด็นการทบทวน

-หน่วยงาน/ทีมมีการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมความยั่งยืน (Green Operation Management)

-หน่วยงาน/ทีมมีการบริหารจัดการของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ

-หน่วยงาน/ทีมมีการนำ Technology หรือ AI มาใช้ในการบริหารงาน

Cell 6 – Process Design

-Work Process Design

-Workflow

-Work Standard

สอดคล้องกับเป้าหมายของกระบวนการ (Cell 2)

ประเด็นการทบทวน

-หน่วยงาน/ทีมมีการทบทวนกระบวนการทำงานเพื่อมั่นใจว่าทำงานมุ่งตอบโจทย์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย/ลูกค้า

-หน่วยงาน/ทีมออกแบบกระบวนการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุด

-หน่วยงาน/ทีมออกแบบเพื่อกำกับให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่อุปทานร่วมทำการบริหารเพื่อความยั่งยืน

Cell 2 – Process Goals

-Process’s Objectives

-Stakeholders’ expectation

-Process Strategy

สอดคล้องกับเป้าหมายองค์การ

ประเด็นการทบทวน

-หน่วยงาน/ทีมมีเป้าหมายการทำนวัตกรรมตลอดทั้งกระบวนการ

-หน่วยงาน/ทีมมีเป้าหมายพัฒนางานโดยมุ่งเน้นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย/ลูกค้า/ผู้รับบริการ

-หน่วยงาน/ทีมมีกลยุทธ์ในการทำงานให้มีประสิทธิภาพ เช่น ความคุ้มค่า

Cell 9 – Individual Management

-Performance Review and Feedback

-Supporting HR Systems

-Budget & Resource Allocation

สอดคล้องกับกับเป้าหมายของบุคลากร (Cell 3)

ประเด็นการทบทวน

-การบริหารงานทรัพยาบุคคลอยู่บนฐานของ Green HR

-การบริหารเวลาการทำงาน Flexible Workplace เพื่อสร้างความผูกพันของบุคลากรต่อองค์การ (Employee Engagement)

Cell 8 – Individual Design

-Work Manual

-Work Environment Design

-Competency Model

สอดคล้องกับกับเป้าหมายของบุคลากร (Cell 3)

ประเด็นการทบทวน

-ผู้นำออกแบบให้เกิดการทำงานเพิ่มประสิทธิภาพ

-บุคลากรได้รับโอกาสให้ทำงานเชิงนวัตกรรม มีการพัฒนางานอยู่เสมอ

-บุคลากรได้รับการส่งเสริมให้มีสมรรถนะเพื่อการทำงานสอดคล้องกับเป้าหมายองค์การ

 

Cell 3 – Individual Goal

-Individual’s Performance Agreement

-Individual’s Development Plan

-Job Specification

สอดคล้องกับเป้าหมายองค์การและเป้าหมายของกระบวนการ

ประเด็นการทบทวน

-บุคลากรรับทราบผลการปฏิบัติงานที่คาดหวัง (Performance Agreement)

-บุคลากรรับทราบผลการประเมินการปฏิบัติงานเป็นระยะ (Ongoing Feedback)

-บุคลากรได้รับการพัฒนาเพื่อให้เป็นผู้มีสมรรถนะสูง (High Performance)


การวินิจฉัยองค์การ (9-cells)
จึงเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวินิจฉัยองค์การในด้านความสอดคล้องทั้งระดับการบริหารงานและความสอดคล้องของเป้าหมาย การออกแบบ และการบริหารจัดการ เพื่อให้องค์การนำประเด็นจากการวินิจฉัยไปสู่การออกแบบระบบการบริหารจัดการ ขับเคลื่อนสู่การเป็นองค์การแห่งนวัตกรรม องค์การที่มีประสิทธิภาพสูง และเป็นองค์การที่พร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ อย่างยั่งยืน

ผู้ถอดบทเรียน นายสุทธิพงศ์ คงชุม
งานพัฒนาคุณภาพการบริการ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

ครีเอทีฟคอมมอนส์
งานนี้ใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แบบแสดงที่มาไม่ใช้เพื่อการค้า ไม่คัดแปลง

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here