DON'T MISS
การวินิจฉัยโรคผิดพลาด ตอนที่ 1
ในมาตรฐานฉบับใหม่ในหัวข้อ “การวินิจฉัยโรค” ได้มีการกำหนดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ ดังนี้
“มีการกำหนดเรื่องการลดข้อผิดพลาดในการวินิจฉัยโรคเป็นเป้าหมายความปลอดภัยผู้ป่วย โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเข้ม มีการปรับปรุงและติดตามผลต่อเนื่อง”
การวินิจฉัยโรคผิดพลาดหมายถึง ความล้มเหลวที่จะได้มาซึ่งคำอธิบายที่ถูกต้องแม่นยำ ครบถ้วนสมบูรณ์ ภายในเวลาที่เหมาะสม สำหรับปัญหาสุขภาพที่ผู้ป่วยเผชิญอยู่ และรวมไปถึงความล้มเหลวในการสื่อสารคำอธิบายนี้ให้ผู้ป่วยได้เข้าใจด้วย
การวินิจฉัยโรคผิดพลาดมีได้ทั้งในลักษณะ missed (ไม่สามารถวินิจฉัยได้ ทั้งที่มีข้อมูลเพียงพอที่ควรจะวินิจฉัยได้), wrong (วินิจฉัยผิดไปจากโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่), และ delayed (วินิจฉัยได้ล่าช้ากว่าที่ควรจะเป็น)
มีการศึกษาในต่างประเทศที่แสดงว่า เราทุกคนมีโอกาสพบกับการวินิจฉัยผิดพลาดอย่างน้อยครั้งหนึ่งในช่วงชีวิตของเรา, 5% ของผู้ป่วยนอกจะเกิดการวินิจฉัยผิดพลาด, 7 –...
QUALITY NEWS
TQA HA PMQA ความเหมือนและความต่าง ?
TQA HA PMQA ความเหมือนและความต่าง ?
เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award – TQA) เป็นเกณฑ์การประเมินที่องค์กรชั้นนำของประเทศ นำมาใช้เพื่อการปรับปรุงวิธีปฏิบัติอันนำไปสู่ผลลัพธ์ที่เป็นเลิศ เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน และเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรในการแข่งขันในระดับนานาชาติ TQA เป็นต้นแบบของเกณฑ์การประเมินองค์กรที่มีลักษณะจำเพาะ เช่น โรงพยาบาล (Hospital Accreditation : HA), ...
การประยุกต์ใช้แนวคิด 3C PDSA ในการจัดทำแผนพัฒนาตามข้อเสนอแนะจากการเยี่ยมสำรวจ
การประยุกต์ใช้แนวคิด 3C PDSA ในการจัดทำแผนพัฒนาตามข้อเสนอแนะจากการเยี่ยมสำรวจ
วันนี้เคล็ดลับคุณภาพขอเสนอแนวทางการจัดทำแผนการพัฒนาคุณภาพ หัวข้อการประยุกต์ใช้แนวคิด 3C PDSA ในการจัดทำแผนพัฒนาตามข้อเสนอแนะจากการเยี่ยมสำรวจเมื่อโรงพยาบาลผ่านการรับรอง แล้วทำอย่างไรจึงจะเกิดกระบวนการพัฒนาคุณภาพ ที่ต่อเนื่องและตรงประเด็น กลยุทธ์หนึ่งในการพัฒนาต่อเนื่องหลังจากการรับรอง HA แล้ว คือ การวางแผนการพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาล แต่ท่านผ่านมามักประสบปัญหาหลายประการ เช่นการเปลี่ยนทีมผู้ประสานงาน การไม่เข้าใจข้อเสนอแนะ ทำให้โรงพยาบาลไม่สามารถวางแผนและนำสู่การปฏิบัติจริงได้ และเกิดผลกระทบต่อมาจนถึงการต่ออายุการรับรอง
วันนี้เคล็ดลับคุณภาพ ขอเสนอการใช้แนวคิดคุณภาพขั้นพื้นฐานที่คุ้นเคย...
INTERESTED
TREND
ธนาคารเวลากับภาคีอาสาการดูแลผู้มีอายุยืน
ธนาคารเวลากับภาคีอาสาการดูแลผู้มีอายุยืน
ธนาคารเวลา “วาระแห่งชาติ” เพื่อผู้สูงอายุ ไม่ “แก่อย่างเดียวดาย”
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวคิด การดูแลผู้สูงอายุ ด้วยการใช้เครื่องมือแบบใหม่ โดยผู้เชี่ยวชาญจากภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับสังคมผู้สูงอายุ ที่กำลังจะมาถึงในไม่ช้า
ธนาคารเวลา คือ การสะสมเวลาในรูปแบบของบัญชีส่วนบุคคล โดยสามารถเบิกถอนเวลามาใช้เมื่อต้องการความช่วยเหลือ” ซึ่งใช้หลักคิด “Give and take” หลังจากฝากเวลา ด้วยการบริการ ช่วยเหลือ ในด้านสังคม เศรษฐกิจ หรือสุขภาพ ธนาคารเวลา...
MAKE IT MODERN
LATEST REVIEWS
คุณค่า คุณภาพ คุณธรรม
อาจารย์อนุวัฒน์ ได้กล่าวถึง ตรีคุณแห่งการบริบาลผู้ป่วยด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ คือใช้หลัก คุณภาพ คุณค่า คุณธรรม
คุณภาพ คือ การตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ อยู่บนพื้นฐานของวิชาการ และคงเส้นคงวา
คุณค่า ขึ้นอยู่กับมุมมองว่า มุมมองของผู้รับป่วย ผู้รับประโยชน์ ซึ่งประโยชน์ 3 อย่าง ได้แก่ ประโยชน์ที่ผู้ป่วย องค์กร และคนทำงานได้รับ เพื่อให้คนทำงานเป็นทั้งผู้ให้บริการและเรียนรู้จากงานที่ตนเองทำ
คุณธรรม ผู้ประกอบวิชาชีพนั้นต้องมีคุณธรรม ซึ่งคุณธรรม ≠ จริยธรรม (จริยธรรมสามารถเห็นได้จากการกระทำของเรา, คุณธรรมนั้นอยู่ในจิตใจของเรา)
สมการคุณค่า
หลัก คุณค่า คุณภาพ คุณธรรม ใช้ภาษาง่ายๆ "ดูคน ดูไข้...
PERFORMANCE QUALITY
โลกเปลี่ยนแปลงเมื่อเราแบ่งปัน
โลกเปลี่ยนแปลงเมื่อเราแบ่งปัน
โอกาสเป็นเรื่องสำคัญ และโอกาสใดก็ไม่ยิ่งใหญ่เท่าโอกาสที่ได้ทำ โอกาสที่ได้ต่อสู้...
ในการทำงานประจำวัน หลายครั้งที่เรารู้สึกเหน็ดเหนื่อยจากการทำงาน ทำให้เกิดความท้อถอยและเริ่มไม่เห็นคุณค่าของการสร้างประโยชน์เพื่อตนเองผู้อื่น ในเรื่องราวที่จะได้บรรยายต่อจากนี้ จะเป็นตัวอย่างของวิศวกรท่านหนึ่งที่ผันตัวเองมาทำธุรกิจจนประสบความสำเร็จ แต่ระหว่างทางกว่าที่จะประสบความสำเร็จได้ในแต่ละก้าวนั้นนั้น ได้ผ่านเรื่องราวทั้งร้ายดีมากมาย เรื่องราวของคุณธนบดี พรหมสุข หรือ คุณวี จะเป็นสิ่งที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้ทุกท่านพยายามที่จะสร้างประโยชน์ให้กับผู้อื่น
คุณวีเกิดในครอบครัวยากจน มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดยะลา มีสมาชิกครอบครัว 5 คน มีลูก 3 คน คุณวีเป็นลูกชายคนเล็ก ครอบครัวไม่มีบ้านอยู่ ต้องอาศัยข้างถนนเป็นที่พักพิง...
SHA&HA ขับเคลื่อนพร้อมกันอย่างมีพลัง
SHA&HA ขับเคลื่อนพร้อมกันอย่างมีพลัง
“ความยั่งยืนที่อาจจะไม่ต้องลงทุนด้วยเทคโนโลยีราคาแพงทันสมัย แต่ใช้ความเรียบง่าย ลดทอนสิ่งที่ไม่จำเป็นลง หันมาเข้าใจในคุณค่าของทรัพยากรที่มีอยู่ ใกล้ชิดธรรมชาติ วิถีชีวิต มีความรัก ความเอื้ออาทรเป็นพื้นฐานที่สำคัญ” ดวงสมร บุญผดุง
แนวคิดของการใช้ มาตรฐาน กฎระเบียบ มาบูรณาการกับแนวคิดจิตวิญญาณในการทำงานจะส่งผลต่อการส่งเสริมให้บุคลากรทางการแพทย์ มีพลังร่วมในการเปลี่ยนผ่าน และมีนวัตกรรมการทำงานไปสู่สิ่งที่เหนือกว่าการทำงานตามปกติ มีพลังใจ มีความอิ่มเอมใจ มีความสุข งานมีความสมบูรณ์ และมีความสนุกในการทำงาน ที่สำคัญ คือ สามารถขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้อย่างปิติสุข
การเรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาคุณภาพ...
ถอดรหัสมัดใจไนติงเกล: THIP the Good in Change
ถอดรหัสมัดใจไนติงเกล: THIP the Good in Change
“อย่ากลัวการเปลี่ยนแปลง ทุกคนต้องไม่กลัวการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงไม่ใช่จุดสุดท้ายของชีวิต เปลี่ยนแปลงแล้วถ้าไม่ดีก็ถอยกลับมาใหม่” (พว.สุดา วิไลเลิศ)
Thailand Hospital Indicator Program (THIP) เป็นระบบการเปรียบเทียบตัวชี้วัดคุณภาพของ โรงพยาบาลที่ผู้รายงานจะได้ทราบค่าของตนเปรียบเทียบกับค่า Percentile ของกลุ่ม เพื่อให้โรงพยาบาลสามารถเปรียบเทียบผลลัพธ์ด้านต่างๆ กับโรงพยาบาลอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน และสามารถค้นหาองค์กรที่มี Good Practice...
การประเมินผู้ป่วย
ในมาตรฐานฉบับใหม่ มีการเพิ่มเติมในประเด็น
- ควรมีการประเมินความชอบส่วนบุคคล ทั้งนี้ เพื่อให้ทีมงานสามารถจัดบริการได้อย่างสอดคล้องกับความต้องการของผู้ป่วย การตอบสนองความชอบส่วนบุคคลมักจะทำให้ผู้ป่วยผ่อนคลายกับบรรยากาศที่ต้องมาอยู่ในโรงพยาบาลมากขึ้น ตัวอย่างความชอบส่วนบุคคล เช่น การเรียกคำแทนตัวผู้ป่วย เสื้อผ้า อาหารเครื่องดื่ม มื้ออาหาร การให้คนเข้าเยี่ยม แต่เรื่องนี้ ไม่ได้คาดหวังว่าโรงพยาบาลจะต้องไปสร้างแบบฟอร์มใหม่ ให้เป็นภาระของเจ้าหน้าที่ในการกรอกข้อมูล แต่มุ่งหวังให้เจ้าหน้าที่มีความไวมากขึ้นในการรับรู้ความต้องการของผู้ป่วย
- การให้ความสำคัญกับการลดความผิดพลาด/ ความล่าช้า ในการวินิจฉัยโรค เนื่องจากประเด็นนี้กระทบต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย และยังเป็นปัญหาสำคัญของโรงพยาบาล คลินิก และงานบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ...
การประเมินความเสี่ยงของระบบงานด้วย CARVER Matrix
ในการบริหารความเสี่ยงของโรงพยาบาล ขั้นตอนสำคัญขั้นตอนหนึ่งที่ต้องจัดทำ คือ การจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยง โดยใช้โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ และผลกระทบที่จะเกิดขึ้น มาทำเป็นตารางในลักษณะ matrix เพื่อกำหนดว่าความเสี่ยงใดที่มีความสำคัญที่ต้องบริหารจัดการเป็นลำดับต้นๆ
ในสงครามโลกครั้งที่สองและสงครามเวียดนาม มีเครื่องมือตัวหนึ่งชื่อ CARVER ที่กองทัพใช้ในการวิเคราะห์ว่า ระบบงานใดของฝ่ายตรงข้ามที่ถ้าถูกโจมตีแล้วจะเกิดผลกระทบกับฝ่ายตรงข้ามมาก จะได้เลือกเป้าโจมตีที่คุ้มค่าที่สุด ในทางกลับกัน ถ้าเป็นฝ่ายตั้งรับ ก็ใช้ CARVER ในการวิเคราะห์ว่า ถ้ามีทรัพยากรอันจำกัด จะเลือกป้องกันระบบงานใดจึงจะดีที่สุด CARVER เป็นคำย่อของ
Criticality ระบบงานนี้มีความจำเป็นมากแค่ไหนต่อการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องของหน่วยงาน
Accessibility...
HOLIDAY RECIPES
โครงการเล็กๆ แต่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในประเทศไทย
โครงการเล็กๆ แต่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในประเทศไทย
20 ปีที่มาคลุกคลีกับ HA นะคะ คิดว่าคนแรกที่อยากขอบคุณก่อนคนอื่นก็คงเป็นอาจารย์อนุวัฒน์ จากจุดเริ่มต้นที่อาจารย์อนุวัฒน์ตั้งไว้ มันก็ออกดอกออกผล จนกระทั่งเกิดสำนักงาน เกิดทีมงานอะไรต่างๆ มันก็ทำให้เกิดการสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ต่างๆขึ้นมา ส่วนใหญ่มันมาด้วยใจและก็สร้างด้วยใจ รู้จักซึ่งกันและกันก็เข้าใจกัน เพราะทุกคนมีเป้าหมายร่วมกัน แล้วก็มาทำร่วมกันเพื่อให้เกิดสิ่งที่ดีๆ อันนี้ก็ทำให้เกิดคุณค่า มันเป็น HA ที่มีคุณค่าและทำให้รู้สึกว่าเรารักและผูกพันมาก
เพราะฉะนั้นจะเห็นว่าจากโครงการเล็กๆ มันเกิดพลังอันยิ่งใหญ่กับประเทศไทย สมัยก่อนก็จะมีการมาสรุปประเมินจูนกันตลอดเวลา อันนี้มันก็ทำให้ Learning...