การประยุกต์ใช้มาตรฐาน HA และ DHSA ในสถานการณ์ Covid-19

0
4467
การประยุกต์ใช้มาตรฐาน HA และ DHSA
การประยุกต์ใช้มาตรฐาน HA และ DHSA

การประยุกต์ใช้มาตรฐาน HA และ DHSA ในสถานการณ์ Covid-19

การประยุกต์ใช้มาตรฐาน HA และ DHSA
การประยุกต์ใช้มาตรฐาน HA และ DHSA

           ระบบสุขภาพระดับอำเภอ  คือ “ระบบการทำงานด้านสุขภาพระดับอำเภอร่วมกันของทุกภาคส่วนด้วยการบูรณาการทรัพยากรภายใต้บริบทของพื้นที่ ผ่านกระบวนการชื่นชม และการจัดการความรู้ ส่งเสริมให้ประชาชนและชุมชนพึ่งตนเองได้ และไม่ทอดทิ้งกัน โดยมีเป้าหมายร่วมเพื่อสุขภาวะของประชาชน” ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนงานบริการสุขภาพและการสร้างสุขภาวะในระดับพื้นที่ และเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยบูรณาการแผนงานด้านสุขภาพที่มีการดำเนินงานในพื้นที่ ทั้งแผนงานที่มาจากส่วนกลางและที่เกิดจากการริเริ่มของพื้นที่เอง ให้มีการขับเคลื่อนร่วมกันไปอย่างมีเอกภาพ โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา
            สรพ. มีบทบาทส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพและให้การรับรองคุณภาพสถานพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนในประเทศไทย ตามมาตรฐาน HA (Healthcare Accreditation) และนอกจากนี้ยังมีการรับรองในประเภทอื่นๆ เช่นการรับรองเครือข่ายระบบบริการสุขภาพระดับอำเภอ (DHSA) เป็นโรงพยาบาลที่มีความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนโดยเกิดจากความร่วมมือร่วมใจของภาคส่วนต่าง ๆ ในชุมชน และพัฒนาคุณภาพของประชาชนด้วย รูปธรรมของการนำมาตรฐานมาใช้ เช่นการร่วมกันแก้ไขสถานการณ์การแพร่ระบาด โคโรน่าไวรัส (COVID -19) วันนี้ สรพ.ขอนำแนวคิดของท่าน ผอ.รพ.เทพา จ.สงขลา นพ.เดชา แซ่หลี ได้กล่าวถึงประสบการณ์และบทเรียนการทำงานในสถานการณ์ COVID-19 ที่ผ่านมา ดังนี้
           “โรงพยาบาลเทพาได้นำแนวคิดของ การทำงานร่วมกับชุมชน เครือข่ายบริการสุขภาพ ซึ่งเป็นแนวทางตามมาตรฐาน HA และ DHSA ไปปรับระบบบริการของโรงพยาบาลโดยใช้โครงสร้าง EOC ที่สามารถเคลื่อนงานคุณภาพและงานระดับอำเภอได้ เช่นการจัดตั้ง Local Quarantine เป้าหมายที่ดำเนินการมุ่งที่ความปลอดภัยของผู้ให้บริการ ผู้รับบริการและชุมชน
            ทั้งนี้โรงพยาบาลมีการถอดบทเรียนการทำงานในสถานการณ์ COVID-19 ที่ผ่านมาพบว่าปัจจัยความสำเร็จ คือ ความร่วมมือจากหน่วยงานในทุกภาคส่วน การสื่อสารในทุกระดับเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน เช่น การสื่อสารในระดับทีมนำระดับอำเภอ ระดับโรงพยาบาลใช้แนวคิดและโครงสร้างของ EOC การสื่อสารที่ชัดเจนในกลุ่มเจ้าหน้าที่ เช่น การปฏิบัติตน การสวม PPE สื่อสารแนวทางปฏิบัติสู่หน่วยงานต่างๆ การทำหัตถการเสี่ยงเช่นการตรวจเสมหะ การดูแลในหน่วยงาน ER, OPD, Clinic PUI, ARI ที่มี Dynamic มาก เนื่องจากมีแนวทางที่ปรับเป็นระยะ โรงพยาบาลได้มีการถอดบทเรียนและประชุมสม่ำเสมอทุกเช้า
           เพื่อให้ทุกกลุ่มงานมาหารือร่วมกัน ส่วนการประชุมในระดับอำเภอใช้เวที EOC มีการประชุมทุกสัปดาห์ คล้ายโครงสร้าง พชอ. DHSA หารือแนวทางการสื่อสารให้ประชาชนเข้าใจ มีการสื่อสารหลายวิธี เช่น คลิปวิดีโอ narrative medicine สื่อสารโดยภาพและเสียง เช่นการดูแลใน Home Quarantine หรือ local Quarantine ซึ่งที่อำเภอเทพา ใช้รีสอร์ตในการกักตัว จะสื่อสารให้ทุกคนได้เห็นภาพชายทะเล และบ้านที่สวยงาม ทำให้ ลดความกลัวและเป็นการสื่อสารที่เข้าใจมากขึ้น
            นอกจากนี้ก็คือการติดตาม เฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิดทำให้การแก้ปัญหา วิกฤติแต่ละระยะของพื้นที่อำเภอเทพาผ่านไปได้ด้วยดี” เรามาร่วมกันพัฒนาคุณภาพเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนไทย โดยใช้ HA, DHSA ด้วยกันนะคะ

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here