Special Talk: Move Forward Quality from Story in the Past การพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ความเป็นมาในอดีต บทเรียน อนาคต

0
218

คำกล่าวของ ศ.กิตติคุณ นพ.จรัส สุวรรณเวลา ประธานกรรมการบริหารสถาบัน

ภารกิจขยายขอบฟ้าเพื่อพัฒนาคุณภาพระบบบริการสุขภาพไทย

     การพัฒนามาตรฐานสถานบริการสุขภาพแบบไทยๆ นั้นเริ่มต้นจากโครงการวิจัยกลไกส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลเป็นโครงการนำร่องในปี 2540 ด้วยความร่วมมือของ (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข)สวสร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส และ Joint Commission International (JCI) เริ่มต้นจาก 30 โรงพยาบาลที่ ผู้บริหารมี Growth mind set นำไปสู่การตั้ง สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ภายใต้การกำกับของ สวรส. และเปลี่ยนเป็น สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) หรือ สรพ. เพื่อทำหน้าที่ ผู้ประเมินมาตรฐานบริการสุขภาพไทยอย่างเป็นอิสระ บทเรียนที่ต้องระวังของผู้ประเมิน คือ การรับรองคุณภาพควรเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพจึงจะเกิดการพัฒนาระบบบริการสุขภาพไทยให้มีคุณภาพอย่างเกื้อหนุนกัน มีแนวคิดของบุคลากรทางการแพทย์ทุกคนในระบบสุขภาพเป็นเจ้าของร่วมกัน มีกระบวนการให้ความรู้ แลกเปลี่ยนวิธีการแก้ปัญหา ช่วยเหลือซึ่งกันและกันด้วยความเป็นกัลยาณมิตรใช้การให้อภัย ให้โอกาส ไม่ลงโทษ พร้อมด้วยการนำคติความเป็นไทยมาใช้ ได้แก่ ศรัทธาในวิชาชีพ มีเมตตากรุณา มีน้ำใบริการสุขภาพเป็นเสมือนบุพการี เห็นความสำคัญของการช่วยชีวิต ความรับผิดชอบต่อชีวิตและสุขภาวะของผู้ป่วย โดยใช้เกณฑ์มาตรฐาน และกระบวนการพัฒนา จากการมี National HA furum ที่การเลือกหัวข้อ ในการเรียนรู้ พัฒนาตนเอง และนำมาเสนอแลกเปลี่ยน เพื่อให้ทุกคนสามารถมองเห็นมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ เปรียนเสมือนเส้นขอบฟ้า และมองออกไปยังพื้นที่ที่มีโอกาสพัฒนาคุณภาพระบบบริการสุขภาพไทยเพื่อเป็นการขยายเส้นขอบฟ้าออกไปจากเดิม จากการมองระดับในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป ไปสู่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และชุมชน รู้จักนำความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยี เพื่อนำไปสู่ระบบสุขภาพที่มีประสิทธิภาพในอนาคต ไร้ซึ่งรอยต่อ ยุติธรรม และคุณภาพของระบบบริการอย่างทั่วถึงเสมอภาค จัดระบบบริการมีหลายระดับและต่างมีคุณภาพ (Quality Standard For different sets of care) ด้วยการมีคุณภาพของโรงพยาบาลตติยภูมิที่พัฒนาให้ทันโลก (Medical Hub) สร้างความไว้วางใจระหว่างผู้ป่วย และบุคลากรทางการแพทย์ และความปลอดภัยตามนโยบาย 3P safety

ภก.ไตรสิทธิ์ ภูวะเตชะหิรัณย์ และ ภญ.วรรณา ตั้งภักดีรัตน์ ผู้ถอดความ

ครีเอทีฟคอมมอนส์
งานนี้ใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แบบแสดงที่มาไม่ใช้เพื่อการค้า ไม่คัดแปลง

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here