ปลดล็อกทางออก: จาก Gen Z ถึง Baby Boomers ในโลกเทคโนโลยีสาหรับโรงพยาบาล

0
551

     ปัญหาช่องว่างระหว่างรุ่น (Generation Gap) เชื่อว่าทุกท่านคงเจอปัญหาในที่ทำงานของท่านไม่มากก็น้อย ปัญหานี้มีอยู่ตลอดเวลาและในทุกยุคทุกสมัย เพียงแต่เทคโนโลยีเข้ามาเป็นปัจจัยเร่งและกระตุ้นให้เราเห็นปัญหา Generation Gap ชัดเจนมากขึ้นเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าในองค์กรของท่านคงเจอปัญหาจากการเข้ามาของเทคโนโลยี เช่น ระบบสารสนเทศไม่รองรับ พัฒนาเทคโนโลยีไม่ตอบโจทย์ปัญหาและอุปสรรคของโรงพยาบาล ขาดทีมผู้ปฏิบัติ ซึ่งเชื่อว่า Generation Gap น่าจะเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาดังกล่าว แล้วเราจะจัดการกับปัญหาเหล่านี้อย่างไร เราคงต้องตั้งคำถามว่าจะทำอย่างไรให้คนในองค์กรไปด้วยกันได้ การมองภาพในเชิงระบบก่อนจะช่วยให้เรามองเห็นภาพที่กว้าง เราต้องมีมุมมองแบบ bottom up หากเรามองจากบนลงล่างจะทำให้เรามักยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางและมองว่าทุกอย่างเป็นปัญหาไปหมด

     เราสามารถใช้แนวคิด ผู้นำกับการสร้างวัฒนธรรมองค์กร Peter Senge : Learning Organization (อ้างอิง นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์) มาเป็นแนวทางการลดช่องว่างและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจาก Generation Gap ได้ ซึ่งประกอบด้วย

  • สร้างวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision)
  • สร้างแบบแผนความคิด (Mental Model)
  • พัฒนาขีดความสามารถตนเอง (Personal Mastery)
  • คิดและจัดการเชิงระบบ (Systems Thinking)
  • สร้างการเรียนรู้เป็นทีม (Team Learning)

     โดยเราต้องมองว่าทำอย่างไรให้งานกลายเป็นงานของเขา เราเพียงเป็นคนที่คอยเฝ้าดูวิธีคิด และให้มองว่าระบบของโรงพยาบาลนั้นมีความเชื่อมโยงกัน การที่ระบบใดระบบหนึ่งมีปัญหาย่อมส่งผลเป็นลูกโซ่ไปสู่ระบบอื่นๆ ได้ ซึ่งการมองเป็นระบบจะทำให้เราเห็นความเชื่อมโยงพร้อมกับการใช้แนวคิดผู้นำกับการสร้างวัฒนธรรมองค์กร

” If you can’t measure it, You can’t improve it “

” หากคุณไม่สามารถวัดมันได้ คุณก็จะไม่สามารถปรับปรุงมันได้ “

William Thomson, Lord Kelvin

     แท้จริงแล้วปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นรุ่นไหนก็ตามล้วนมีปัญหามาจากกรอบแนวคิดแบบ fixed mindset เช่น การเอาตนเองเป็นศูนย์กลาง การกล่าวโทษกัน นอกจากนี้ ในการสร้างคน ณ ปัจจุบัน ทุกองค์กรมีความจำเป็นต้องพัฒนาทักษะทั้งด้าน Hard skill และ Soft skill ไปควบคู่กัน โดยเฉพาะ soft skill ซึ่งเป็นทักษะสำคัญที่ทำให้คนเราเชื่อใจกัน ศรัทธาซึ่งกันและกัน การสร้างทีมมีความสำคัญในทุกส่วนงาน รวมถึงการสร้าง core competency ของบุคลากร โดยเฉพาะงานด้านเทคโนโลยี เราต้องมองว่าจะนำเทคโนโลยีมาช่วยแก้ปัญหาอย่างไร

” If you can’t measure it, You can’t manage it “

” หากคุณไม่สามารถวัดมันได้ คุณก็จะไม่สามารถจัดการมันได้ “

Peter Drucker

     สำหรับความแตกต่างของ Gen Z และ Baby Boomers ในโลกเทคโนโลยีสำหรับโรงพยาบาล จากรูปท่านจะเห็นได้ว่าปัญหาเรื่อง Generation Gap ทำให้เราจำเป็นต้องมีผู้เชื่อมประสาน ซึ่งจะเป็นผู้ที่คอยเชื่อมโยงและประสานการทำงานในโรงพยาบาลที่มีปัญหา Generation Gap

“เราจะ DISRUPT ตัวเอง หรือรอคนอื่นมา DISRUPT”

     สุดท้ายนี้ ในการเพิ่มคุณภาพงานด้วยเทคโนโลยี โรงพยาบาลจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้ทุกคนมีส่วนร่วมเรียนรู้ในสิ่งที่กำลังจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในระบบ โรงพยาบาลอาจไม่สามารถทำให้ทุกคนเข้าใจหรือเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี เพียงแต่เราจะค้นพบว่าต้องมีซักคนอย่างน้อยที่พร้อมจะเป็นตัวแทนหรือมีความเข้าใจในสิ่งที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงในโรงพยาบาล พร้อมทั้งปรับ Mindset ตัวเอง โดยกล้ายอมรับว่าตัวเองไม่รู้ ลองศึกษาด้วยตัวเอง กล้าที่จะถามผู้รู้/เข้าอบรม สร้างทีมและส่งเสริมน้องให้พัฒนาศักยภาพ และสุดท้ายการดำเนินการใดๆ ในโรงพยาบาลต้องมุ่งเน้นที่ลูกค้าหรือผู้ป่วยเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ขาดไม่ได้

” ทุกการเปลี่ยนแปลงที่ง่ายที่สุด เริ่มต้นจาก ‘ตัวเรา’ “

ภก. บรรณสรณ์ เตชะจำเริญสุข ผู้ถอดความ/เรียบเรียง

ครีเอทีฟคอมมอนส์
งานนี้ใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แบบแสดงที่มาไม่ใช้เพื่อการค้า ไม่คัดแปลง

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here