Improving Staff Wellbeing to Improve Patient Outcomes, Part-I Singhealth’s experience

0
1083

สถิติด้านภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout) ของกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ในประเทศสิงคโปร์พบว่า

  • 37.8% รายงานว่ารู้สึกหมดแรงทางอารมณ์ (emotional exhaustion)
  • 29.7% ประสบภาวะไม่เห็นคุณค่าในผู้ป่วย และ/หรือความห่างเหินจากผู้ป่วย (depersonalization detachment from patients)
  • 55.5% ขาดความรู้สึกประสบความสำเร็จส่วนบุคคล 
  • 43.9% ของบุคลากรทางการแพทย์ประสบภาวะหมดไฟในการทำงาน

     ทั้งนี้พบว่าการสำรวจหลังการระบาดของโควิด  19 พบว่าอาการหมดแรงทางอารมณ์ลดลงเล็กน้อย แต่การขาดความรู้สึกประสบความสำเร็จส่วนบุคคลกลับเพิ่มสูงขึ้น

ผลกระทบของภาวะหมดไฟในการทำงานต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย:

     จากการศึกษาแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญระหว่างภาวะหมดไฟในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์กับประเด็นดังต่อไปนี้:

  • ความผิดพลาดในการวินิจฉัยและกระบวนการทางการแพทย์เพิ่มขึ้น
  • ประสิทธิภาพการทำงานของแพทย์และพยาบาลลดลง
  • คุณภาพการดูแลผู้ป่วยลดลง

การให้ความสำคัญของความปลอดภัยทางจิตใจ 

     ผู้บรรยายได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของความปลอดภัยทางจิตใจ ซึ่งช่วยให้บุคลากรกล้าพูดถึงข้อผิดพลาดโดยไม่ต้องกลัวการตำหนิ โดย SingHealth ใช้การแบ่งประเภทความปลอดภัยทางจิตใจดังนี้:

  • ความปลอดภัยในการเป็นส่วนหนึ่งของทีม (Inclusion safety) – รู้สึกสบายใจที่จะเป็นส่วนหนึ่งของทีม
  • ความปลอดภัยในการเรียนรู้ (Learner safety) – รู้สึกปลอดภัยในการถามคำถามและเรียนรู้จากข้อผิดพลาด
  • ความปลอดภัยในการมีส่วนร่วม (Contributor safety) – รู้สึกปลอดภัยในการแบ่งปันความคิดและมีส่วนร่วม
  • ความปลอดภัยในการท้าทาย (Challenge safety) – รู้สึกปลอดภัยในการท้าทายความคิดของผู้อื่น

การรับมือกับพฤติกรรมไม่สุภาพและการละเมิด

     ผู้บรรยายได้ชี้ให้เห็นถึงการมีอยู่ของพฤติกรรมที่ไม่สุภาพ (หยาบคาย) และการละเมิดจากผู้ป่วยต่อบุคลากรทางการแพทย์โดย SingHealth ได้วางนโยบายและแนวทางการดำเนินการเพื่อการรับมือกับพฤติกรรมไม่สุภาพและการละเมิดดังนี้

  • จำแนกระดับความรุนแรงของการละเมิดจากผู้ป่วย
  • โปรแกรมฝึกอบรมบุคลากรในการจัดการกับพฤติกรรมก้าวร้าว
  • โปรแกรมสนับสนุนบุคลากรที่ประสบกับการละเมิด
  • นโยบายไม่ยอมรับการละเมิดจากผู้ป่วย

นอกจากนี้  SingHealth ได้ผลักดันการดำเนินการในโครงการที่สำคัญดังนี้

  • Joy at Work Task Force นำโดยประธาน SingHealth มุ่งสร้างวัฒนธรรมที่ส่งเสริมสุขภาพและลดภาวะหมดไฟในการทำงานของบุคลากร
  • Leadership Development Programs สร้างผู้นำที่มีความสามารถในการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่สนับสนุนสร้างเสริมภาวะผู้นำของบุคลากร
  • Team Joy Program ฝึกอบรมผู้นำทีมในการส่งเสริมความสุภาพ การชื่นชม และนโยบายเชิงบวกภายในทีมของตน
  • Work-life Balance Initiatives ความพยายามในการสร้างสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานรับมือกับภาระงาน โดยเฉพาะบุคลากรทางการแพทย์ที่จบใหม่ เพื่อป้องกันภาวะหมดไฟในการทำงาน
  • Staff Wellness Programs โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพของบุคลากร รวมถึงการปฏิบัติสมาธิ บริการสนับสนุนสุขภาพจิต และศูนย์ดูแลบุคลากร

ผลลัพธ์การดำเนินงาน

     SingHealth รายงานว่าอัตราภาวะหมดไฟในการทำงานโดยรวมลดลงหลังจากนำมาตรการเหล่านี้มาใช้แต่อย่างไรก็ตามองค์กรให้ความสำคัญในการประเมินและติดตามในส่วนของ Staff Empathy และ Personal Accomplishment เพิ่มเติมต่อไป นอกจากนี้ผู้บรรยายได้เน้นย้ำถึงความต่อเนื่องในการดำเนินมาตรการเชิงรุกเพื่อรับมือกับสุขภาพของบุคลากร เนื่องจากความซับซ้อนของงานด้านการดูแลสุขภาพมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

     กล่าวโดยสรุป บุคลากรทางการแพทย์ที่ประสบภาวะเหนื่อยหน่ายและความเครียดอาจนำไปสู่ความคลาดเคลื่อนทางการแพทย์และเป็นอันตรายต่อผู้ป่วย ภาวะผู้นำที่มุ่งเน้นสุขภาพของบุคลากรจึงเป็นสิ่งสำคัญ กลยุทธ์ที่ประสบความสำเร็จของ SingHealth ได้แก่ การฝึกอบรมผู้นำ โปรแกรมต่างๆ ตอบสนองความต้องการของบุคลากรแต่ละกลุ่ม การลดภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์จบใหม่ และมาตรการป้องกันการละเมิดจากผู้ป่วย ความพยายามเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าการให้ความสำคัญกับสุขภาพของบุคลากรสามารถปรับปรุงการดูแลผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี

ถอดบทความโดย ภก. ทรงศักดิ์ ทองสนิท

ครีเอทีฟคอมมอนส์
งานนี้ใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แบบแสดงที่มาไม่ใช้เพื่อการค้า ไม่คัดแปลง

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here