Special Talk: How to Quality and Safety Sustainability in the Healthcare System

0
455

     พวกเราชาว HA มีเป้าหมายที่ตรงกัน คือ ร่วมกันสร้่างวัฒนธรรมคุณภาพให้สถานพยาบาลมีคุณภาพและประชาชนได้รับบริการที่มีคุณภาพและความปลอดภัย กลไกของการขับเคลื่อนระบบบริการสุขภาพให้มีความยั่งยืนต้องอาศัยกลไกธรรมาภิบาลระบบ (health system governance) และกลไกพัฒนาระบบ (HA) จากวัฒนธรรมตามยุทธศาสตร์ของสรพ.ที่ให้ทุกคน ทุกฝ่ายเป็นเจ้าของในการมีส่วนร่วมพัฒนาระบบคุณภาพของสถานพยาบาลไทย กระบวนการของการขับเคลื่อน คือ ต้องทำอย่างเข้าใจธรรมชาติของเรื่องนั้นๆ ดังนั้นธรรมชาติของเรื่องคุณภาพระบบบริการสุขภาพ ได้แก่

  • ระบบบริการสุขภาพมีความซับซ้อน (complexity) 
  • มีลักษณะโตไม่มีที่สิ้นสุด (Growth Mindset) 
  • มีการเรียนรู้และพัฒนา (Learning and Development; L&D)
  • มีความเป็น dynamic system 
  • ผู้กี่ยวข้องทุกภาคส่วน (stakeholders) มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงและส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง

     กระบวนทัศน์ใหม่ของการประเมิน การพัฒนาหรือสร้างการเปลี่ยนแปลงขับเคลื่อนโดยผู้เกี่ยวข้องทั้งระบบ ผู้ประเมินต้องเป็นทั้งผู้ประเมิน (evaluator) และเป็นวิทยากรกระบวนการ (facilitator) พร้อมกัน แนวคิดการประเมินเพื่อพัฒนา (Developmental Evaluation; DE) เกิดพลังสร้างการเปลี่ยนแปลงในระบบ ที่เรียกว่า“การขยายผล” (scale-up) ในรูปแบบใหม่ มุมมองใหม่ คือ มองระบบเป็นระบบที่ซับซ้อน และปรับตัว ไม่ใช่ระบบที่ Simple & Linear ใช้เครื่องมือในการเรียนรู้ อยู่ในทุกจุดของการทำงาน คือ การเรียนรู้จากประสบการณ์ (Experiential Learning) การเรียนรู้จากการทำงานจริงแล้วสะท้อน (reflect) ไปสู่หลักการที่เป็นทฤษฎี  แล้วนำมาลองทำหลายๆ รอบจะเกิดยกระดับความรู้ความเข้าใจในงานนั้นมากขึ้น —–> สะท้อนคิดสู่ปัญญา

รูปแบบการเรียนรู้ ที่สามารถนำไปใช้ ได้แก่

1. การเรียนรู้แบบ Single Loop Learning  เรียนรู้จากการตรวจหาข้อผิดพลาดในงานประจำ

     ที่เคยมีมา และความผิดพลาดทางการจัดการให้มุ่งแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แก้ไขตรง process ไม่ได้คำนึงถีงเหตุผลหรือสาเหตุที่ต้องปฏิบัติตามนโยบายหรือแผนงาน 

2. การเรียนรู้แบบ Double Loop Learning เรียนรู้จากข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น มีการทบทวน

     ปรับปรุงธรรมเนียมปฏิบัติ นโยบายและวัตถุประสงค์ขององค์กรด้วย แบบนี้ทำให้องค์กรสามารถติดตามแก้ไขพฤติกรรมและสามารถกำหนดมาตรฐานหรือแนวทางที่ควรจะดำเนินการเองได้ ทำให้เห็นทิศทางและค่านิยมขององค์กรด้วย  

3. การเรียนรู้แบบ Triple Loop Learning เป็นการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาหลักการใหม่ 

     เรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงวิธีการมองประเด็นและแก้ปัญหา (transform) เป็นการสะท้อนกลับโดยดูประสบการณ์ที่ได้รับที่ผ่านมาทำความเข้าใจเงื่อนไขต่างๆ 

     คุณภาพและความปลอดภัยของบริการสุขภาพเป็นเป้าหมายที่เราต้องการให้ผู้รับบริการได้รับ เป็นเครื่องมือให้ผู้ให้บริการได้เกิดการเรียนรู้ เป็นเครื่องมือ learning and development ของผู้ที่เกี่ยวข้องได้เรียนรู้อย่างไม่มีสิ้นสุด เรียนรู้ผ่านการปฏิบัติและจากประสบการณ์ เป็นวิธีการเพื่อสร้่าง Growth Mindset ร่วมกันอย่างเป็นทีม 

 ภญ.ดารณี เชี่ยวชาญธนกิจ และ ภญ.วรรณา ตั้งภักดีรัตน์ ผู้ถอดความ

ครีเอทีฟคอมมอนส์
งานนี้ใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แบบแสดงที่มาไม่ใช้เพื่อการค้า ไม่คัดแปลง

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here