From Global to National Movement on Quality and Safety in Healthcare

0
1553
From Global to National Movement on Quality and Safety in Healthcare

From Global to National Movement on Quality and Safety in Healthcare

การรับรองคุณภาพ ไม่สามารถทำได้จากการบังคับ ต้องมีใจร่วมเคลื่อนไหวในการพัฒนาคุณภาพ ไม่ต้องมีใครสั่ง 2P จะต้อง เป็น personnel’s commitment for patient safety” นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ 

 “งานคุณภาพเป็นงานที่ทำแล้วมีความสุข ก้าวพัฒนาไปด้วยความสุข ทำสิ่งที่ดีให้ผู้ป่วยและตัวเราเอง” รศ.ดร.นพ.จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์

“ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตนเป็นที่สอง ประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่หนึ่ง รักษาธรรมะแห่งวิชาชีพให้บริสุทธิ์ ลาภยศสรรเสริญจะมาสู่ท่านเอง ในการทำงานด้านสาธารณสุข ให้มีใจเป็นตัวตั้ง เมื่อใจรักผู้ป่วยและประชาชน มีฉันทะในการทำงาน เป็นหลักรากที่สำคัญ HA ก็ดี Value based healthcare ก็ดี กลไกทางการเงินต่างๆ เป็นเพียงเครื่องมือส่งเสริมสนับสนุน แต่พื้นฐานนั้นคือจิตวิญญาณของบุคลากร ที่ยึดมั่นต่อประโยชน์สาธารณะ นั่นคือพื้นฐานสำคัญที่สุด ส่วนที่เหลือนั้นเป็นส่วนต่อยอด พึงระมัดระวังอย่าเอาส่วนยอดมาเป็นฐาน ให้ยึดมั่นในฐานให้แน่น มิฉะนั้นส่วนยอดจะโคลงเคลง ไม่มั่นคง” นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ

Patient Safety: From Global to National                                                                      WHY เราเรียนรู้ว่าสากลเป็นอย่างไร เพื่อพัฒนาตนเอง สู่สากล                                                            ในเดือนมกราคม ที่ผ่านมีการประชุมกรรมการบริหารของ WHO จากการประชุม มีมติ Global action for PSG    จะรับรองมตินี้ที่กรุงเจนีวา โดยมีรัฐมนตรีสาธารณสุขทั่วโลกรับรอง สิ่งหนึ่งที่จะรับรอง คือ การจัดให้มี World Patient Safety Day เป็นสิ่งที่ WHO กำหนดให้มีมานานแล้ว แต่ไม่มีการรับรองจาก รมต. สาธารณสุข ทุกประเทศ รัฐมนตรีสาธารณสุขประเทศไทยจะไปร่วมรับรองด้วย จะมีผลให้ 17 ก.ย. ของทุกปีเป็น วัน safety day ในประเทศไทยได้กำหนดวันที่ 17 ก.ย. เป็นวันกำหนดนโยบายล่วงหน้าแล้วตั้งแต่ปี 2559 (Thailand Patient  & Personnel safety day) ซึ่งจัดเป็นครั้งที่ 3 ในปีนี้ที่จะเป็น Global Day

ทำไม ต้องมี Personnel safety goal ด้วย ทั้งที่ Global ประกาศเพียง Patient                            เนื่องจากพวกเราทุกท่านเคยเป็นคนป่วย ประเทศไทย ได้นำเรื่อง personal บรรจุใน safety goal ในไทยเราเห็นคุณค่าที่เราทำ การที่จะมองและบอกว่าประเทศไทยมองประเด็น personnel และจะผลักดันให้ WHO เห็นด้วย และเกิดนโยบายระดับ Global ต้องมีเหตุผลและผ่านผู้ที่สามารถขับเคลื่อนในระดับโลกผ่าน influencer มากกว่าเป็น leader                                                                                                                          ในประเทศไทย เหตุผลที่ต้องทำในส่วนของ personnel หลังจากที่เริ่ม PSG??? ได้ สักระยะ มีเหตุที่เกิด miss diagnosis (TB) เป็นคดีผู้บริโภคที่ฟ้องร้องบุคลากรสาธารณสุข เกิดการฟ้องร้องและแพ้คดี ส่งผลให้ขวัญกำลังใจของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานเสียไป จำเป็นหรือไม่ที่ต้องมีการคุ้มครองผู้ให้บริการด้วย การจะขับเคลื่อนให้เกิดความปลอดภัยในผู้ป่วย กระทรวงสาธารณสุขจะต้องให้การคุ้มครอง หรือดูแลเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานด้วย เพราะระบบความปลอดภัยที่ดำเนินการจะส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ด้วย ความไม่ปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ที่ทำงานในระบบบริการสาธารณสุข จะเกิดผลต่อผู้ป่วย เช่น ชั่วโมงการทำงานเนิ่นนาน work life imbalance ต่อเนื่องส่งผลต่อการมอบผลงานให้ผู้มารับบริการ เกิดพลาดคลาดเคลื่อน ต้องมีระบบในการรองรับ เพียงคามสำคัญเท่านี้จะสามารถ convince กับ WHO ได้หรือไม่

ที่มาของ Patient safety                                                                                        Hippocrates เป็นผู้ที่เปลี่ยนแนวคิดเรื่องจากเจ็บป่วยจากเรื่องผีสาง เทวดา มาสู่การสอบสวนหาที่มาทางวิทยาศาสตร์ เป็นบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบัน เป็นผู้ริเริ่มกระบวนการความปลอดภัยในผู้ป่วย จากวลี ‘First do no harm’ เป็นผู้เริ่มการรักษาโรคอย่างเป็นระบบ                                                                          การที่จะยกระดับการดูแลสู่สากลต้องเป็นการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ มีหลักฐานงานวิจัยรับรอง และเป็นประเด็นพื้นฐานร่วมกัน แต่ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ต้องมีหลักฐานงานวิจัยรับรอง และจากการประชุม WHO     มีการเสนอและลงมติร่วมกันในปี 2002 มีการขับเคลื่อนเรื่อง Patient safety จากหลักฐานเชิงประจักษ์ แต่ความเชื่อทางจิตวิญญาณก็ยังอยู่ การพัฒนาเทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้น บุคลากรทางการแพทย์จะมุ่งความสนใจในเทคโนโลยีเพื่อวินิจฉัยและรักษาโรค มากกว่าความปลอดภัย หรือตัวผู้ป่วย ซึ่งเป็นเรื่องสามัญที่เกิดทั่วโลก สถาบันการแพทย์ของอเมริกา (national academy of medicine, NAM) เผยแพร่บทความในหนังสือเรื่อง To Err Is Human: Building a Safer Health System ซึ่งรายงานดังกล่าว เผยแพร่ว่า คนอเมริกา ปีละกว่า หนึ่งแสนคน เสียชีวิตจากความผิดพลาดทางการแพทย์ มากกว่าการตายจากอุบัติเหตุบนท้องถนน เป็นติดอันดับ 1 ใน 10 ของสาเหตุ  การตาย ซึ่งสร้างความตระหนักต่อวงการแพทย์ได้พัฒนากลไกต่างๆ เพื่อทำให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ป่วยมากขึ้น แต่ปัจจุบันยังเกิดความผิดพลาดขึ้นอยู่เสมอและหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเกิดขึ้นอีกในอนาคต ดังนั้น แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์จึงต้องเรียนรู้วิธีจัดการกับความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้เสมอในกระบวนการรักษาพยาบาล ซึ่งรวมถึงเรื่องการเปิดเผยข้อผิดพลาดทางการแพทย์ให้ผู้ป่วยหรือญาติทราบด้วย ตามด้วย การพัฒนาคุณภาพ และการรับรองคุณภาพ                                                                                                                          ในประเทศไทยเริ่มการพัฒนาคุณภาพ จากระบบประกันสุขภาพเพิ่มการเข้าถึงและมีคุณภาพ ที่ต้องมีการรับรองคุณภาพ เกิดนวัตกรรม บันได 3 ขั้น ในการรับรองคุณภาพ จากโรงพยาบาลที่มีความสมัครใจ ในการพัฒนาคุณภาพ โดยเริ่มที่ขั้นที่ 1 โรงพยาบาลต้องมีการบริหารความเสี่ยง ที่เน้นเรื่องการบริหารจัดการเรื่องความปลอดภัย สิ่งหนึ่งที่จะมาช่วยในระบบบริการสุขภาพ คือ การรับรองคุณภาพ ไม่สามารถทำได้จากการบังคับ ต้องมีใจร่วมเคลื่อนไหวในการพัฒนาคุณภาพ ไม่ต้องมีใครสั่ง 2P จะต้อง เป็น personnel commitment for patient safety ในต่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยเป็นแบบแนวดิ่ง ผู้ป่วยยอมรับความรู้และความสามารถของแพทย์        ผู้ป่วยยอมรับในความสามารถต้องพึ่งพาแพทย์ จึงต้องให้ความสำคัญกับผู้ป่วยในฐานะที่ต้องอาศัยแพทย์ กลับมาที่ประเทศไทย ความสัมพันธ์เปลี่ยนไปและเปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่รู้ตัว จากระบบหลักประกันสุขภาพ ความคาดหวัง บุคลากรถูกตั้งความหวัง จากความสัมพันธ์แนวดิ่ง เป็นความสัมพันธ์ที่มีพันธะสัญญา จากหลักประกันสุขภาพ ความคาดหวังการบริการที่ดี มีคุณภาพ ซึ่งพัฒนาการนี้เปลี่ยนแปลงไป ทำให้การดูแลรักษาเปลี่ยนแปลงไป ต้องมองทั้งผ่ายผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ เพราะความปลอดภัยไม่ใช่แค่มิติทางกาย แต่รวมทางด้านจิตใจ เป็น Patient and Personnel Collaboration for Patient Safety จะสามารถอ้างอิงให้ต่างประเทศเห็นความสำคัญได้

ดาวน์โหลดที่นี่…ฟรี From Global to National Movement on Quality and Safety in Healthcare

ถอดบทเรียน พีรพงศ์ ตั้งจิตเจริญ                        

ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ (กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยห้องผ่าตัด) โรงพยาบาลปทุมธานี

Photo by Sharon McCutcheon on Unsplash

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here