วิเคราะห์ SAR Part IV อย่างไร เพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ
“ผลลัพธ์จะเกิดขึ้นได้ ต้องตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน และมีการออกแบบกระบวนการในการจัดเก็บ พัฒนาและวัดผลลัพธ์”ศ.พญ.ดวงมณี เลาหประสิทธิพร
Performance Measurement ที่สอดคล้องกับทิศทาง ของ Global Accreditation ในอนาคตจะมีคุณลักษณะเช่นใด
หลักการและคุณค่าของการวัดผล วัดเพื่ออะไร เพื่อการควบคุมกระบวนการให้ เป็นไปตามที่ออกแบบไว้ เพื่อประเมินการบรรลุเป้าหมาย เพื่อปรับแผนหากไม่ บรรลุเป้าหมาย เพื่อกำหนดเป้าหมายใหม่ในการพัฒนารอบต่อไปให้มีความท้าทาย
การใช้มาตรฐานตอน IV เพื่อให้เกิดประโยชน์เพื่อเป็นกรอบในการออกแบบและ ประเมินกระบวนการสำคัญให้บรรลุเป้าหมาย
การกำหนด การเลือกตัวชี้วัดที่เหมาะสม เพื่อทำให้การวัดผลชัดเจน และ สอดคล้อง เชื่อมโยงกัน ทั้งระดับองค์กร ระบบงาน และหน่วยงาน อาทิตัวชี้วัด ด้านการดูแลผู้ป่วย ได้มาจากการวิเคราะห์โรคสำคัญที่โรงพยาบาลให้การดูแล ซึ่ง แต่ละโรคควรมีชุดตัวชี้วัดที่สอดคล้อง เชื่อมโยงในทุกระดับ เป็นต้น
เทคนิค/วิธีการวิเคราะห์ผลการดำเนินการ อาทิ การแสดงระดับผลลัพธ์ที่ทำได้ ในปัจจุบัน และแนวโน้มตัวชี้วัดสำคัญ การกำหนดค่า Target และคู่เทียบที่ เหมาะสมเพื่อยกระดับการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ
การวิเคราะห์ SAR Part IV อย่างไร...
AI ช่วยเขียน SAR ได้หรือไม่ มาลองฟัง ChatGPT for Hospital
ChatGPT คืออะไร ChatGPT ย่อมาจากคำว่า Chatbot Generative Pre-trained Transformer เป็นโมเดลภาษาขนาดใหญ่ที่ถูกสร้างขึ้นโดยบริษัท OpenAI ใช้แนวคิด Deep Learning และ Natural Language Processing (NLP) มีความสามารถในการเรียนรู้ สร้างประโยคที่มีความหมายและเชื่อมโยงกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการเรียนรู้จากข้อมูลจำนวนมาก ทำให้ ChatGPT สามารถให้คำตอบได้ในหลายๆ ด้าน เช่น
การศึกษา การเมือง สังคม จิตวิทยา ให้คำแนะนำ พูดคุยเพื่อความบันเทิง แก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวัน ChatGPT
ถูกนำไปประยุกต์ใช้งานในหลากหลายด้าน เช่น บริการด้านการสื่อสารและเว็บไซต์ต่างๆ ที่ต้องการความสามารถ
ในการตอบคำถามหรือสนทนาด้วยภาษาธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพ
วิธีการใช้งาน ChatGPT เราสามารถเริ่มใช่งาน ChatGPT free version ได้โดยเข้าไปที่ https://openai.com/blog/chatgpt/ กดที่ TRY CHATGPT >> Login / Sign จากนั้นเริ่มใช้งานได้เลย หน้าตา user interface...
Valuable Tool to Improve Clinical Quality
Tools ต้องมีความเชื่อมโยงกับมาตรฐาน และเลือกใช้ Tools โดยไม่ติดกับของเครื่องมือ
นพ.ทรนง พิลาลัย Valuable Tool to Improve Clinical Quality เป็นเรื่องของเครื่องมือที่มีคุณค่าเพื่อการพัฒนาคุณภาพทางคลินิก โดยการนำเครื่องมือคุณภาพมาใช้ในการพัฒนาและยกระดับการบริการ
หลักการสำคัญที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคุณภาพของกระบวนการดูแลสุขภาพและสถานพยาบาล
ในการดูแลสุขภาพที่มุ่งเน้นคุณค่า (Value-based Healthcare) มี 6 ประเด็นประกอบด้วย
พิจารณาผลลัพธ์ที่สำคัญต่อผู้ป่วย ควบคู่ไปกับการใช้ทรัพยากรที่เหมาะสมในการออกแบบกระบวนการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยและประชาชน : นั่นคือต้องดูทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริการ เป็นการดูไข้
และ ดูคุ้ม
พิจารณาผลลัพธ์ที่สำคัญต่อผู้ป่วยที่ครอบคลุมตลอดสายธารของการดูแลสุขภาพ
ผลลัพธ์ทางสุขภาพซึ่งควรพิจารณาจากผลลัพธ์ที่มีการส่งเสริมให้มีการรายงานโดยผู้ป่วยร่วมด้วย
ต้นทุนของการดูแลสุขภาพแปรไปตามการใช้ทรัพยากรและการใช้เวลา
การพัฒนาคุณภาพของการดูแลสุขภาพช่วยเพิ่มคุณค่าได้ทั้งจากการยกระดับผลลัพธ์และลดความสูญเสียในการ
ใช้ทรัพยากรและการใช้เวลา (ลดต้นทุน)
การบริหารจัดการระบบนิเวศของการดูแลสุขภาพสนับสนุนให้เกิดคุณค่าของการดูแลสุขภาพ
Valuable Tool to Improve Clinical Quality หรือเครื่องมือที่มีคุณค่าเพื่อการพัฒนาคุณภาพบริการทางคลินิก ประกอบด้วยสาระสำคัญ 3 ส่วนคือ 1) Continuous Quality Improvement Tools 2) Risk and Risk Management Tools 3) Person-Centered Care Tools
Continuous...
คุยเรื่อง digital mindset กับคนโรงพยาบาลเขาทำกันอย่างไร
นพ.บดินทร์ ทรัพย์สมบูรณ์ ในชีวิตการทำงาน สิ่งที่ยากคือ การให้คนมาช่วยกันทำงาน และการทำงานเป็นทีม เนื่องจากแต่ละคนมี Mindset ที่แตกต่างกัน เหล่านี้เป็นจุดเริ่มต้น ในการที่ทำให้สนใจศึกษา มีโอกาสได้จัดทำ workshop บรรยาย และถูกเชิญมาเป็นวิทยากรในครั้งนี้
การเรียนรู้ของมนุษย์มี รู้ตน รู้คน รู้งาน หากจะเปลี่ยนเรื่อง Mindset ต้องทำให้คนเรา รู้ตน ที่ผ่านมาเราเรียนรู้งานเป็นหลักซึ่งไม่ผิด แต่เมื่อเอาคนมาทำงานร่วมกันแล้วพบว่ามีปัญหาต่างๆ มากมาย ในบางครั้งส่งผลให้งานไม่เสร็จ ดังนั้น การรู้ตน จะเป็นตัวส่งเสริมการทำงาน
Mindset มีคำอธิบายที่หลากหลายเช่น กรอบความคิด ทัศนคติ ค่านิยม ความเชื่อ วัฒนธรรม พฤติกรรม การตัดสินใจ เป็นต้น จากโลกที่เปลี่ยนไป เราใช้งานอุปกรณ์ เทคโนโลยี ต่างๆ จนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ในทางการแพทย์เราจะพบว่ามีสถานการณ์ Digital health เช่น ช่วงนี้ที่เรามี คำว่า New Normal, Work Form Home หรือ Application หมอพร้อม...
Synergy for 3P Safety (Patient-Personnel-People)
“ขอเชิญชวนโรงพยาบาลการนำหลัก 3P Safety ไปปรับใช้ในการบริหารจัดการงานในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพและพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลสู่มาตรฐานสากล”
วัตถุประสงค์เพื่อเรียนรู้มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 5 (มาตรฐาน HA ฉบับที่ 5) การขับเคลื่อน 2P Safety สู่ 3P Safety และการบูรณการ 3P Safety กับมาตรฐาน HA
เรียนรู้มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 5 การรับรองคุณภาพสถานนพยาบาล หมายถึง การประเมินตนเอง (self-assessment) การประเมินจากหน่วยงานภายนอก ต้องมีมาตรฐาน (standard) ที่เข้าใจตรงกัน มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สิ่งสำคัญ ต้องลดความผิดพลาดทางการแพทย์ (medical error) และทำให้ผู้ป่วยปลอดภัย เส้นทางการพัฒนามาตรฐาน HA ในปี 2539 ไทยเริ่มมี มาตรฐาน HA ฉบับที่ 1 ปัจจุบันพัฒนาเป็น มาตรฐาน HA ฉบับที่ 5 ประเทศไทยเป็น 1 ใน 13 ประเทศทั่วโลกที่ได้รับการรับรองมาตรฐานระดับสากลครบทั้ง...
How to Implement Spirituality in Organization
งานที่เราทำทุกวันนี้มีสิ่งใดที่ทำให้เรารู้สึกว่าเราเป็นคนที่มีประโยชน์และมีคุณค่าในงานนั้น อะไรที่บอกได้ว่าเป็นเพราะเราทำให้การดูแลคนไข้คนนี้ประสบความสำเร็จ ความรู้สึกดีๆ ต่อเพื่อนต่อผู้ร่วมงาน สิ่งดีๆ ที่เราอยากแบ่งปัน สิ่งที่ยึดเหนี่ยวความรักของเราต่อวิชาชีพและต่อองค์กรคืออะไร
คำตอบอยู่ในมาตรฐาน SHA (Spiritual Healthcare Appreciation)
สุรชัย ปัญญาพฤทธิ์พงศ์
(SHA) Spiritual Healthcare Appreciation หมายถึง การเห็นความสำคัญของเรื่องจิตวิญญาณ เพราะในงานสาธารณสุขเรื่องการบริการสุขภาพเป็นเรื่องใหญ่ หากบุคลากรไม่มีขวัญกำลังใจ เมื่อทำไประยะหนึ่งก็จะหมดแรง และหยุดการพัฒนาไป แต่หากเรานำความคิดของ SHA ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องมือคุณภาพของ HA มาใช้ เราจะพบว่าทำให้ขวัญกำลังใจของบุคลากรที่ทำงานดีขึ้น เพราะทุกคนจะได้คำตอบว่าคุณค่าที่เกิดจากการทำงานไม่ได้มาจากชื่อเสียงเงินทองเท่านั้น แต่ยังทำให้จิตใจได้ยกระดับและพัฒนาขึ้น การทำงานในโรงพยาบาลเหมือนการทำบุญโดยไม่ต้องไปที่วัด ทว่าหากเราทำงานในหน้าที่ของเราอย่างเต็มที่ โดยใส่มิติ SHA เข้ามาก็จะเสริมให้เรามีพลัง แม้งานที่เราทำจะเหนื่อยยากเพียงไหนก็จะทำจนสำเร็จ เพราะเรามีความสุข ความภาคภูมิใจในงานที่ทำ
รศ.นพ.ชเนนทร์ วนาภิรักษ์ การยกประเด็นเรื่องมาตรฐาน SHA หากใช้สุนทรียสนทนา เรื่องเล่าเร้าพลังมาประกอบในการถ่ายทอด จะทำให้เห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น เข้าใจง่ายขึ้น ผู้บริหารมีส่วนสำคัญในการนำทุกๆคนในองค์กรเข้าสู่มาตรฐาน SHA โดยการทำตนเป็นตัวอย่างในการปฏิบัติงานอย่างเข้าถึงจิตวิญญาณของผู้รับบริการ เช่นบางครั้งเราเห็นคนไข้คนหนึ่งไม่ยอมทานข้าว แต่หากลูกชายมาและป้อนข้าวให้ คนไข้จะกินข้าวได้มาก ถ้าเราสังเกตพฤติกรรมของคนไข้ก็จะรู้ถึงความต้องการของคนไข้ได้ บางครั้งเจ้าหน้าที่พยายามอธิบายสิ่งต่างๆหลายครั้งคนไข้ก็ไม่เข้าใจ ต้องมีเรื่องเล่าประกอบจึงจะเข้าใจ เป็นต้น...
3P in the Next Chapter
3P-Safety สามารถทำได้ภายใต้กลไกที่ต้องมีร่วมกัน
จาก 2P Safety ที่มีการกำหนด Patient Safety และ Personnel Safety โดยมีเป้าหมายความปลอดภัยทั้ง Patient Safety Goals และ Personnel Safety Goals คำถามคือ ทั้ง 2 Goals นี้มีปฏิสัมพันธ์อะไรกัน? ทำอย่างไรให้ผู้ป่วยทำให้บุคลากรปลอดภัย? และทำอย่างไรให้บุคลากรทำให้ผู้ป่วยปลอดภัย?
เมื่อพูดถึง 3P-Safety สิ่งที่อยากเห็นใน The Next Chapter คือระบบที่ดีต้องมีปฏิสัมพันธ์กัน ตัวอย่างเช่น เมื่อคนทั้ง 3 กลุ่ม ได้แก่ Patient (ผู้ป่วย) , Personnel (บุคลากร) และ People (บุคคลอื่นๆ เช่น ญาติผู้ป่วย) เข้ามาในโรงพยาบาล มีโอกาสที่ Patient และ People จำนวนมากจะนำเชื้อโรคติดตัวเข้ามาทำให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อในโรงพยาบาล ดังนั้นในอนาคตเมื่อคน 3 กลุ่มมาเจอกันจึงต้องมีความปลอดภัย...
HA National Forum 23
Zero Harm from High Alert Drugs and Polypharmacy เรื่องนี้ต้องทำต่อ
Quality Learning -
Zero Harm from High Alert Drugs and Polypharmacy เรื่องนี้ต้องทำต่อ
ภญ.วิชชุนี พิตรากูล โรงพยาบาลสมุทรสาคร อะไรคือยาเสี่ยงสูง (High Alert Drugs) และอย่างไรจึงเรียกว่า Polypharmacy ให้ความหมายของยาเสี่ยงสูง หมายถึง ยาที่ทำให้เกิดอันตราย เกิดความไม่ปลอดภัยต่อคนไข้ จึงต้องมีการเฝ้าระวังสูง และรวมถึงยาที่เกิดความผิดพลาด (Error) ได้บ่อยๆ เช่น กลุ่มยาชื่อพ้องมองคล้าย (LASA) ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยามีหน้าที่ป้องกัน และลดความผิดพลาดเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย (Harm) ส่วนการใช้ยาร่วมกันหลายขนานในการรักษาคนๆเดียวกัน หรือ Polypharmacy นั้น มีหลายนิยาม อาจหมายถึงการใช้ยาร่วมกันตั้งแต่ 5 รายการ หรือ 10 รายการ ขึ้นไป เข้าใจง่ายๆ คือ การใช้ยา “เยอะ” ยาบางรายการหากใช้เพียงตัวเดียวอาจไม่เกิดอันตรายใดๆ แต่หากใช้ร่วมกับยาตัวอื่น อาจมีอันตรายจากปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์ หรือ “ยาตีกัน” (Drug interaction)
นพ.เอกอนันต์ อนันต์ฐานิต โรงพยาบาลปัตตานี อายุรแพทย์โรคหัวใจ แห่งโรงพยาบาลปัตตานี กล่าวว่าสาเหตุ
ที่เราต้องสนใจเรื่องนี้มากขึ้น เพราะข้อมูลทางวิชาการแสดงให้เห็นถึงมีการใช้ยาร่วมกันหลายขนานในผู้ป่วยรายเดียวกันมากขึ้น ยิ่งอายุเพิ่มมากขึ้นมีโรคร่วมมากขึ้นเปอร์เซ็นต์การใช้ยาร่วมหลายขนานก็เพิ่มตามไปด้วย...
มาตรฐานสถานพยาบาลปฐมภูมิประเทศไทย
เกณฑ์คุณภาพ ร้อยเรียงเชื่อมโยง เป้าหมายคือการให้ภาคีเครือข่าย และประชาชนมีส่วนร่วม และเกณฑ์คุณภาพ ไม่ได้เกิดที่ใคร เกิดที่เราเองไม่ว่า
จะย้ายไปที่ไหน การพัฒนาคุณภาพยังเป็นเรื่องที่สำคัญ
นพ.ประสิทธิชัย มั่งจิตร (รพ.แก่งคอย) ระบบบริการสุขภาพไทยแบ่งเป็น 2 ส่วน 1.ต้องรักษาที่โรงพยาบาล (Hospital Care) ระดับทุติยภูมิ และตติยภูมิ 2.ระบบบริการปฐมภูมิ(Primary Care)
ระบบบริการปฐมภูมิ(Primary Care) ไม่ได้หมายถึง รพสต. หมายถึง การจัดการและพัฒนาการบริการตั้งแต่
การ เพื่อสร้างความเข้มแข็งของบุคคล ครอบครัว ชุมชนและสังคมให้สามารถดูแลตนเอง(Safe care) ครอบครัว และชุมชนได้ภายใต้การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เข้ามาช่วย รวมถึงมีหน่วยบริการเบื้องต้นที่คอยดูแลกัน หรือ
หากเกินศักยภาพก็ค่อยไปโรงพยาบาล ความแตกต่างระหว่างมาตรฐานปฐมภูมิกับโรงพยาบาลคือการมีส่วนร่วมของชุมชน ทิศทางและนโนบายของประเทศในการพัฒนาระบบคุณภาพปฐมภูมิ เน้นเรื่องกลไกลควบคุม กำกับมาตรฐานและคุณภาพ
นพ.ทรนง พิลาลัย (สรพ.) สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) มีบทบาทหน้าที่สำคัญตาม
พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์กร ในการดำเนินการเกี่ยวกับการประเมินระบบงานและการรับรองคุณภาพสถานพยาบาล
รวมทั้งกำหนดมาตรฐานของสถานพยาบาลเพื่อใช้เป็นแนวทางการประเมินการพัฒนาและการรับรองคุณภาพสถานพยาบาล ส่งเสริมให้มีกลไกการกำกับดูแลเรื่องมาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัยในการให้บริการในระบบบริการปฐมภูมิมาตรฐานสถานพยาบาลปฐมภูมิ ตามแนวทางการพัฒนามาตรฐานสากล ISQua IEEA
โดยมุ่งเน้นให้เกิดการบริหารจัดการสถานพยาบาลที่ส่งมอบคุณค่าแก่ผู้รับผลงาน ความปลอดภัย การพัฒนาระบบบริการที่มีคุณภาพอย่างเป็นองค์รวม ยึดคนเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการสุขภาพปฐมภูมิที่มีคุณภาพ ปลอดภัย สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล(องค์การมหาชน) ได้มีการพัฒนามาตรฐานสถานพยาบาลปฐมภูมิ เพื่อเป็นกรอบมาตรฐานเป็นแนวทางในการออกแบบบริการสุขภาพปฐมภูมิมีคุณภาพบริการพึงประสงค์ และชี้นำการพัฒนาคุณภาพบริการสุขภาพปฐมภูมิให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่การขับเคลื่อนการพัฒนากลไก กระบวนการจัดการ จนสถานพยาบาลปฐมภูมิสามารถแสดงผลการดำเนินงานในระดับที่เป็นที่ยอมรับ มีคุณภาพ ปลอดภัย...
Upscale Knowledge Management and Innovation for Change
Changing/ growing from inside-transform to new life, Being changed from outside-become breakfast
แนวทางการยกระดับการจัดการความรู้และนวัตกรรมเพื่อการเปลี่ยนแปลง มีวิธีการที่แตกต่างกันไปตามบริบทขององค์กร กรณีศึกษา 3 องค์กรใหญ่ที่นำไปประยุกต์ใช้ภายใต้บริบทที่แตกต่างกัน
โรงพยาบาลศิริราช เริ่มต้นจากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมองค์กรที่เปลี่ยนแปลง (VUCA) และจากสถานการณ์ COVID-19 พบว่า ระบบสุขภาพไทยในอนาคตจะพบปัญหาผู้สูงอายุจำนวนเพิ่มขึ้น ในปี 2575 จะมีกลุ่ม Aging
สูงถึง 29% ของประชากร จำนวนผู้เข้ารับบริการในโรงพยาบาลจะเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการรักษาและการใช้ทรัพยากรสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จากสถานการณ์ดังกล่าว องค์กรมองเห็นโอกาสจาก Megatrend in healthcare, การใช้ Open AI ร่วมกับการใช้แนวคิด Disruptive innovation, การเปลี่ยนจาก fixed mindset to growth mindset (Carol S. Dweck) ที่จะทำให้องค์กรเติบโตจาก Incremental mindset (10%)
เป็น...