วันอาทิตย์, พฤษภาคม 18, 2025
Medication Safety by 2P
ถอดบทเรียนโดย นายสุทธิพงศ์ คงชุม นักวิชาการคอมพิวเตอร์                                                                                  โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
Enhancing Trust by Reduction of Diagnosis Errors
ถอดบทเรียนโดย จุฑาธิป อินทรเรืองศรี ผู้จัดการแผนกบริหารคุณภาพ โรงพยาบาลนมะรักษ์ เฉพาะทางศัลยศาสตร์มะเร็ง ขนาดเล็ก
Global Action on Patient and Personnel Safety
ถอดบทเรียนโดย นายสุทธิพงศ์ คงชุม นักวิชาการคอมพิวเตอร์                                                                                  โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
จากผู้ว่าฯหมูป่า สู่ผู้ว่าฯ COVID-19
“บทเรียนสำคัญที่ทำให้ประสบความสำเร็จ คือ การมีแผนเผชิญเหตุที่เป็นระบบ มีแผนการบริหารความเสี่ยงที่ครอบคลุม มีการบริหารทรัพยากรอย่างคุ้มค่า มีการประเมินผลอย่างต่อเนื่อง และที่สำคัญที่สุดคือ การมี “สติ”                                         หากมีทุกอย่างครบถ้วน ก็จะสามารถบริหารจัดการให้เหตุการณ์ต่างๆ ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี”                                                         ...
Lifelong Learning: ทักษะชีวิตที่มากกว่าแค่การท่องจำ
งานที่อยู่ต่อหน้า เป็นสิ่งที่มีคุณค่าที่สุด ใน Lifelong learning Lifelong Learning หรือการเรียนรู้ตลอดชีวิต คือ การปลูกฝังทัศนคติของการไม่หยุดเรียนรู้ รวมถึงไม่ยึดติดกับสิ่งที่เคยเรียนรู้มาก่อน เพราะโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว Lifelong Learner หรือผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต คือ คำตอบที่จะเป็นทางออกในโลกยุคที่สถานการณ์ต่างๆ ในชีวิตผันผวนง่ายแต่คาดเดายาก โดยหัวใจสำคัญอยู่ที่การปลูกฝังแนวคิดการเรียนรู้แบบ Learn – Unlearn – Relearn เปิดใจเรียนรู้โดยพร้อมที่จะละวางความรู้เดิมเพื่อสร้างการเรียนรู้ใหม่ตลอดเวลา Learning Organization เป็นแนวคิดในการพัฒนาองค์การโดยเน้นการพัฒนาการเรียนรู้สภาวะของการเป็นผู้นำในองค์การ (Leadership) และการเรียนรู้ร่วมกัน ของคนในองค์การ (Team Learning) เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ และทักษะร่วมกัน และพัฒนาองค์การอย่างต่อเนื่องทันต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขัน Learning Organization จึงเป็นเครื่องมือการจัดการที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) นพ.วิจารณ์ พานิช ได้กล่าวถึงทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ดังนี้ การเรียนรู้เพื่อมีชีวิตในโลกยุคศตวรรษที่ 21 ปัจจุบันการเรียนรู้สาระวิชา (content หรือ subject matter) ควรเป็นการเรียนจากการค้นคว้าเองของศิษย์ โดยครูช่วยแนะนำ และช่วยออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนแต่ละคนสามารถประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเองได้ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เข้าไปในทุกวิชาแกนหลัก...
Enhancing trust in healthcare
“โลกใบนี้มีพลังเพียงไม่กี่อย่างที่สามารถเชื่อมโลกเข้าด้วยกัน และหนึ่งในพลังนั้นก็คือพลังของ TRUST เพราะหาก TRUST เกิดขึ้น ก็จะทำให้เชื่อมโยงวิถีชีวิตและการทำงานของผู้คนที่หลากหลายเกิดความรู้สึก ถึงความปลอดภัย ใช้ชีวิตร่วมกันได้ และเป็นส่วนหนึ่งของกันและกันทั้งหมด” ในระบบบริการสุขภาพนั้น TRUST เป็นเรื่องสำคัญเพราะเป็นจุดเริ่มต้นของการประสบความสำเร็จในการใช้ชีวิต โดยเฉพาะเรื่องสุขภาพ (Healthcare) ที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง และเมื่อใดที่กล่าวถึง TRUST นั่นหมายความว่ากำลังพูดถึงคลื่น 5 ประการ ของ TURST ที่มีลักษณะเหมือนหยดน้ำที่กระจายจากด้านในแล้วขยายวงออกไปด้านนอก โดยเริ่มจาก SELT TRUST ก่อน แล้วค่อยเป็น RELATIONSHIP เป็น ORGANIZATION เป็น MARKET และสุดท้ายเป็น SOCIETAL ตามลำดับซึ่ง TRUST ที่จะทำให้องค์กรบรรลุผลสำเร็จจะมีลักษณะเหมือนคลื่นตามหยดน้ำแล้วขยายวงออกไปเรื่อยๆ เช่นนี้ คลื่น 5 ประการ ของ TRUST (The 5 waves of Trust) คิดค้นโดย Stephen M.R. Covey ได้แก่  1. Self Trust คือความซื่อสัตย์ที่มีต่อตนเอง ไว้ใจในตนเอง ไม่คล้อยตามสภาพแวดล้อมด้วยผลประโยชน์อื่นใดที่ไม่ตรงไปตรงมาหรือไม่ดี หากเมื่อใดที่ไม่ไว้ใจตนเองโอกาสที่จะดูแลคนอื่นก็จะลำบาก...
Community Isolation Center
การบริหารจัดการศูนย์พักคอยในชุมชน(Community Isolation Center)         สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) ขอเสนอสิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการบริหารจัดการศูนย์พักคอยในชุมชน (Community Isolation Center)  เพื่อเป็นแนวทางสำหรับสถานพยาบาลหรือผู้เกี่ยวข้องเพิ่มเติม  เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานมากยิ่งขึ้นสามารถ Click Download เอกสารแนวทางได้ 
แนวปฏิบัติในการบริหารจัดการศูนย์ฉีดวัคซีน         สรพ.ให้ความสำคัญต่อคุณภาพและความปลอดภัยของบริการในศูนย์ฉีดวัคซีน ซึ่งเป็นหน่วยปฏิบัติการที่ สำคัญของสถานพยาบาลในภาวะวิกฤตจากโควิด 19  จึงได้รวบรวมองค์ความรู้และแนวปฏิบัติที่ดีจากศูนย์ฉีดวัคซีนหลายแห่ง แล้วนำมาเรียบเรียงเป็นคู่มือปฏิบัติ เพื่อสนับสนุนการจัดบริการฉีดวัคซีนที่มีประสิทธิผล ประสิทธิภาพ มีความปลอดภัย และใส่ใจผู้รับบริการ         ประเด็นสำคัญของแนวปฏิบัติในการบริหารจัดการศูนย์ฉีดวัคซีน ได้แก่ การออกแบบศูนย์ฉีดวัคซีน เรื่อง ระบบลงทะเบียนและการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย สถานที่ฉีดการออกแบบผังพื้นที่ สถานีงาน มาตรฐานการทำงาน logistics และทรัพยากรที่ต้องการ ระบบสนับสนุนการฉีดวัคซีนที่สำคัญ การเพิ่มผลิตภาพของการฉีดวัคซีน (Improving productivity) และ การประเมินผลการดำเนินงานเพื่อการเรียนรู้ (Evaluation & Learning) ในโอกาสนี้ สรพ.ขอขอบคุณศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ ศูนย์ฉีดวัคซีนคณะแพทย์ศาสตร์วชิรพยาบาล ศูนย์ฉีดวัคซีน The Mall, Central, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี สุรนารี ศูนย์ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล เขตนครชัยบุรินทร์ ตลอดจนศูนย์ฉีดวัคซีนโรงพยาบาลบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ที่ได้เอื้อเฟื้อสถานที่และบุคลากรในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผู้สนใจสามารถ Download แนวปฎิบัติในการบริหารจัดการศูนย์ฉีดวัคซีน Created by pikisuperstar - www.freepik.com
ประโยชน์จากนวัตกรรมและเครื่องมืออุปกรณ์ ที่ได้รับบริจาคในสถานการณ์โควิด-19
การใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมและเครื่องมืออุปกรณ์ ที่ได้รับบริจาคในสถานการณ์โควิด-19 ประเภทของกลุ่มเครื่องมือ และนวัตกรรม ที่ได้รับจากการบริจาค อุปกรณ์ที่ป้องกันการติดเชื้อของบุคลากรโดยตรง หรือ เกี่ยวกับความปลอดภัยของบุคลากร คือ การป้องกันติดเชื้อในโรงพยาบาล ประกอบด้วย อุปกรณ์ป้องกันตัวส่วนบุคคล อุปกรณ์ป้องกันทั่วไป วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการฆ่าเชื้อต่างๆ เช่น Alcohol gel เครื่องอบฆ่าเชื้อโรคด้วยแสง UV-C เป็นต้น อุปกรณ์อำนวยความสะดวกลดความเสี่ยง เช่น หุ่นยนต์ขนส่ง หุ่นยนต์เยี่ยมผู้ป่วย นวัตกรรมสื่อสารด้วย Wifi เป็นต้น กระบวนการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมและเครื่องมืออุปกรณ์ ที่ได้รับบริจาคในสถานการณ์โควิด-19 กระบวนการจัดหา มีกระบวนการจัดหา 2 รูปแบบ คือ รับบริจาค และ สร้างนวัตกรรมทั้ง ที่สร้างขึ้นเอง และร่วมมือกับหน่วยงานที่สนใจและมีศักยภาพ การรับบริจาค มี 2 แบบ คือ การตั้งรับบริจาค ต้องแนวทางการดำเนินการต่อ การทบทวน เรียนรู้แล้วสื่อสารผู้บริจาค ว่าสิ่งที่โรงพยาบาลต้องการและมาตรฐานที่ควรจะเป็นนั้นเป็นอย่างไร  เพื่อให้ได้รับของบริจาคตรงกับความต้องการของโรงพยาบาล ได้ของบริจาคที่มีมาตรฐาน ช่วยให้ลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น หรือความเสี่ยงอื่นๆ ของโรงพยาบาลลงได้ การสร้างนวัตกรรมทั้งทางภายในหน่วยงาน และจากหน่วยงานภายนอก สร้างความร่วมมือกันกับสถาบันการศึกษา หรือ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)...
จุดเด่นและผลข้างเคียงของวัคซีนโควิด 19 แต่ละชนิด
จุดเด่นและผลข้างเคียงของวัคซีนโควิด 19 แต่ละชนิด         วัคซีนโควิด 19 มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการควบคุมการระบาดของโรคโควิด 19 อย่างไรก็ตาม วัคซีนทุกชนิดทำให้เกิดผลข้างเคียงขึ้นได้เสมอ ทั้งปฏิกิริยาจากการฉีดวัคซีนที่พบได้ทั่วไป และผลข้างเคียงจำเพาะที่เกิดขึ้นจากวัคซีนแต่ละชนิด          Sinovac มีจุดเด่นที่พบผลข้างเคียงทั่วไปจากการฉีดวัคซีนค่อนข้างน้อย แต่พบผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่มีอาการทางระบบประสาทซึ่งเข้าใจว่าเกิดจากความวิตกกังวลหรือเกิดจากภาวะเส้นเลือดในสมองหดตัว ซึ่งทุกรายอาการหายภายในหนึ่งสัปดาห์ แต่ข้อจำกัดคือภูมิคุ้มกันขึ้นช้ากว่าของ AstraZeneca และ Pfizer และยังขาดข้อมูลที่ชัดเจนว่า Sinovac ต้านทานเชื้อกลายพันธุ์ได้ดีเพียงไร         AStraZeneca ฉีดเข็มเดียวหลังจากนั้น 4 สัปดาห์ภูมิคุ้มกันก็ถึงระดับที่ป้องกันโรคได้แล้ว จึงเหมาะกับการฉีดในพื้นที่ระบาด ผลข้างเคียงที่สำคัญ คือการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน (VITT) ในสมอง ช่องท้อง และเส้นเลือดที่ปอด ซึ่งมักเกิดในผู้หญิง อายุต่ำกว่า 60 ปี และมักจะเกิดในช่วง 4 - 30 วันหลังการฉีด ในยุโรปพบได้ประมาณ 1 ในแสนการฉีด และมีบางรายที่เสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนนี้ ทำให้หลายประเทศ งด/ชะลอ การฉีดวัคซีนของ AstraZeneca        Pfizer เป็นวัคซีนที่กระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันได้ดี แต่บริหารจัดการยาก เพราะต้องจัดเก็บที่อุณหภูมิ -70 องศาเซลเซียส ในอิสราเอลและอเมริกาเริ่มพบผลข้างเคียงสำคัญ คือ การเกิดหัวใจอักเสบ...
- Advertisement -

MOST POPULAR

HOT NEWS