How to Increase Patient and Family Engagement

0
1130
How to Increase Patient and Family Engagementdoctor or assistant in pharmacy. Vector illustration for health, healthcare, medicine concept

ไม่ว่ายิ่งใหญ่แค่ไหน สิ่งที่มนุษย์ไม่สามารถเอาชนะได้คือพระเจ้า คือ ธรรมชาติเจ้า เพราะฉะนั้นในห้วงสุดท้ายของชีวิต เราไม่อยากได้อะไรเลย อยากได้เพียงดูแลคนที่เรารัก

Engagement หมายถึง การสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อความผูกพัน ซึ่งก็คือสภาวะทางจิตใจ อารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด ที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งเป็นแรงจูงใจภายในที่สำคัญของมนุษย์ เป็นกลยุทธ์ที่องค์กรต่างๆ ให้ความสำคัญ อย่างมากทั้งกับลูกค้าภายนอก และลูกค้าภายใน โดยเฉพาะภาคธุรกิจที่ตื่นตัวกับการสร้าง Engagement เพื่อให้ลูกค้า ภักดีกับผลิตภัณฑ์ผลอย่างยั่งยืน

แนวคิด People-centered Care & SHA เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยในการดูแลรักษา สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพสถานพยาบาล ขับเคลื่อนมาอย่างยาวนาน ภายใต้การรับรองมาตรฐาน HA 5 แฉก ซึ่งประกอบด้วย
และยึดหลักการพัฒนาอย่างสมดุลของ Heart Hand Head และให้ความหมายของ Patient and Family Engagement ในเชิงของการให้ผู้ป่วย และครอบครัวเป็นศูนย์กลาง ในการดูแลสุขภาพของตน ให้เป็นหนึ่งในสมาชิกทีมสุขภาพ ด้วยความเชื่อว่าผู้ป่วยมีศักยภาพที่จะทำให้ผลลัพธ์คุณภาพและความปลอดภัยในการดูรักษาดีขึ้น มี well – being ที่ดี และนั่นหมายถึง well – being ของเจ้าหน้าที่ก็ย่อมดีขึ้นด้วยเช่นกัน เพียงแค่ผู้ป่วย ญาติ และเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการสุขภาพ จะมีโอกาสหันหน้ามาแลกเปลี่ยนมุมมองของกันและกัน ในการร่วมกันจัดจัดการปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้น

การเพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยและครอบครัว (Patient  and Family Engagement) จากประสบการณ์ของ Planetree International องค์กรมาตรฐานสากล ที่เน้นการดูแลที่ให้ความสำคัญกับความเป็นมนุษย์ ความเป็นปัจเจกบุคคล และจิตวิญญาณ รวมถึงการให้บุคคลเป็นศูนย์กลาง (Person-centered care) ซึ่งในทัศนะของ Planetree มีความหมายมากกว่าการต้อนรับ การมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่พรั่งพร้อม หรือสภาพแวดล้อมที่สวยงาม น่าเชิญชวน แต่เป็นการดูแลแบบให้มีส่วนร่วมหรือเป็นหุ้นส่วน (Partnership) และ ความเข้าใจ หรือการเอาใจเขามาใส่ใจเรา (Compassionness) เพื่อให้เกิดผลลัพธ์คุณภาพ ซึ่งเป็นความหมายทำนองเดียวกับมาตรฐาน SHA ของ HA ซึ่งผลักดันการดำเนินการมาอย่างยาวนานโดยอาจารย์แม่ต้อย (อาจารย์ดวงสมร บุญผดุง) คือ ความเป็นกัลยาณมิตรตามหลักพรหมวิหาร 4 ในทางพระพุทธศาสนา

อย่างไรก็ตามแนวทางดังกล่าวนั้นมีความเป็นนามธรรม ยากที่จะเข้าใจ ยากที่จะวัดผล ต้องทำให้เป็นรูปธรรมเพื่อให้สามารถวัดผลได้ (Measurable) เข้าถึง หรือนำไปปฏิบัติได้ (Actionable) และมีความยั่งยืน (Sustainable) เพื่อคุณภาพและความปลอดภัย รูปธรรมของ SHA คือ สังคหวัตถุ 4 แต่ รูปธรรมของ Planetree คือ PHD ประกอบด้วย 1. Personalize คือ การฟังผู้ป่วย เพื่อให้รู้ถึงลักษณะความแตกต่างของบุคคล เพราะคนมีความเป็นปัจเจก ย่อมมีความต้องการ ความปรารถนาที่แตกต่างกัน และจัดบริการบนความต้องการที่เหมาะสม 2. Humanize คือ การเคารพศักดิ์ศรีของผู้คน จึงต้องให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้เป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการดูแลรักษา เพื่อเข้าถึงความปราถนาที่แท้จริง 3. Demystify เป็นความหมายเดียวกับ engagement โดยเริ่มจาก ฟัง เคารพสิ่งที่ได้รับฟัง แล้วให้ข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงในความเป็นบุคคล คนนั้น ให้มากที่สุด ชัดเจน กระจ่างแจ้ง เพื่อให้เขามีส่วนร่วมในการตัดสินใจในสิ่งที่ผู้ป่วย ครอบครัวเป็นห่วงกังวล

ตัวอย่างที่ Panetree นำไปกำหนดเป็นกิจกรรมที่เป็นรูปธรรมชัดเจน เช่น Care partnership program, Patient and Family Partnership Council การให้ผู้ป่วยเข้าถึง Medical record และการสื่อสารแบบ Communication caring

การดูแลผู้ป่วยด้วยแนวคิด Person-centered care มีเป้าหมาย (Purpose) คือเพิ่ม Patient and Family Engagement ด้วย หนทาง (Process) มรรคอันมีองค์แปดในทางพุทธศาสนาของ SHA หรือ PHD ของ Panetree คือ การดูแลปัจเจกบุคคล (Personalized) ด้วยดวงใจแห่งความเป็นมนุษย์ (Humanized) โดยผู้ป่วยและผู้ดูแลต้องหยั่งรู้ชอบได้ด้วยตัวเอง (Demystifying) เพื่อผลลัพธ์ Better health better care และ Low cost ด้านสุขภาพ และที่สำคัญกว่า Better culture ที่เป็น Caring culture

ประสบการณ์การ Improve Patient and Family Engagement โดยใช้แนวคิด SHA ในโรงพยาบาลพุทธชินราช จากความต้องการที่จะปรับเปลี่ยนระบบบริการสุขภาพ “แล้วแต่หมอ” คือ หมอจะเป็นผู้ตัดสินใจเลือกสิ่งที่คิดว่าดีที่สุดสำหรับคนไข้ แต่สิ่งที่หมอเลือกคนไข้ไม่เข้าใจ ไม่มีส่วนร่วม ทำให้ผลลัพธ์การรักษาที่คิดว่าจะต้องดี ตามไปด้วยไม่เป็นตามที่คาดหวัง มาเป็นระบบ หุ้นส่วนสุขภาพ

เริ่มด้วยการเปลี่ยน Mindset ของตนเองก่อน Mindsetของฝั่งผู้ให้บริการจากพ่อแม่ดูแลลูก (Paternalism) เป็น Partnership คือ ความเท่าเทียม ความเชื่อในศักยภาพของคน เชื่อว่าคนทุกคนมีศักดิ์ศรี เราต้องเคารพในศักดิ์ศรีนั้น ต้องแบ่งปันข้อมูลเพื่อให้ผู้ป่วยรับรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างกับตัวเขา แล้วเปิดพื้นที่เพื่อให้เขามีส่วนร่วมในกระบวนการดูแลรักษา  ตัวอย่างของผู้ป่วยกลุ่ม HIV เพียงเปลี่ยนจาก caring เป็น communication caring เปลี่ยนท่าทีการสื่อสาร เปลี่ยนให้ผู้ป่วยกับครอบครัว กับคนสำคัญในชีวิตเขามีส่วนร่วม ความร่วมมือที่จะไปสู่เป้าหมายของผลการรักษาที่ตั้งไว้ก็เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น แม้ประสบการณ์ครั้งแรกๆ ที่พยายามนำเสนอเครื่องมือหลากหลายในการนำลงสู่ปฏิบัติ เช่น Open note ให้ผู้ป่วยอ่านเวชระเบียนของตนเองได้ หรือการส่งเวรข้างเตียง จะไม่ประสบความสำเร็จ
ในทางปฏิบัติ  แต่เมื่อกลับมาทบทวนเพื่อหา Key success และพบว่า เรื่องราวในทำนองนี้ มีการทำอยู่แล้วในงานประจำ ตัวอย่างเช่น กิจกรรม Family meeting ของแผนก CVT ซึ่งศัลยแพทย์ไม่เพียงให้ข้อมูลทางคลินิก แต่ยังทำให้ญาติรับรู้ว่า ญาติมีส่วนช่วยอย่างไรในแต่ละขั้นตอนการดูแลรักษา และลดความกลัว ความวิตกกังวลของผู้ป่วยด้วยการทำ group sharing โดยผู้ป่วยที่มีประสบการณ์ หรือการเปลี่ยนวิธีการสื่อสารให้ผู้ป่วยเบาหวานเกิด change moment จากการเห็นผลเลือดของตนเองที่เจาะเอง และแปลความหมายด้วยตัวเอง จนทำให้เกิดการร่วมไม้ร่วมมือที่จะปรับปรุงพฤติกรรมตนเอง ไม่ให้เกิดผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์ ดังนี้เป็นต้น เพียงแต่เราจะทำอย่างไรให้มีการทำเรื่องแบบนี้ให้มากขึ้น ให้บ่อยขึ้น ในขณะที่ภาระงานมากมาย คนไข้แออัด

โครงการ SHA ได้กล่าวถึง คุณค่าของ Patient and Family Engagement in Healthcare ที่จะช่วย ยกระดับผลลัพธ์บริการสุขภาพที่ดี และเพิ่มความพึงพอใจ ของทั้งผู้รับบริการ และแพทย์ผู้ให้บริการ ยกระดับความรู้และทักษะด้านสุขภาพของครอบครัวซึ่งเป็นความรู้ตรง ที่ได้จากบุคลากรสุขภาพ เช่น พยาบาล โดยมีหนทางการสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยและครอบครัวอย่างง่ายๆ คือ ให้ร่วมตัดสินใจ โดยใช้วิธีการสนทนาอย่างเปิดใจในการสื่อสาร รวมถึงการเตรียมทรัพยากรในการดูแล และวัดความก้าวหน้าของผู้ป่วย นอกจากนี้ยังกล่าวถึงบทบาทของสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาลในการขับเคลื่อน Patient and Family Engagement ภายใต้โครงการ SHA โดยสรุปคือ SHA (Spiritual Healthcare Appreciation) เป็นภูมิปัญญาที่สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาลดำเนินการมายาวนาน มีการจัดทำมาตรฐานเพื่อนำสู่การปฏิบัติ และการรับรองกระบวนการ ในมาตรฐาน HA ฉบับที่ 5 มีการนำประเด็นทางมิติจิตวิญญาณ บูรณาการในมาตรฐาน เพิ่ม SHA supplement ในทุก care process แม้แต่มาตรฐานเฉพาะโรค เช่น การระงับความรู้สึก อาหารและโภชนาการ ทั้งนี้ในนามของ สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล ขอเชิญชวนทุก
โรงพยาบาลเข้าโครงการ SHA เพราะ SHA  มีความหมายสำหรับตัวเรา และคนรอบข้างตัวเรา

ผู้ถอดบทเรียน ขวัญจิตร เสียงเสนาะ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลอู่ทอง

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here