Modernize Healthcare Accreditation

0
647
Modernize Healthcare Accreditation
Modernize Healthcare Accreditation

สรพ. ได้พัฒนากระบวนการรับรองคุณภาพที่หลากหลายเพื่อสร้างและส่งต่อองค์ความรู้ โดยมีข้อกำหนดตามมาตรฐานเป็นความรู้สำคัญเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของสถานพยาบาลที่รับการเยี่ยมสำรวจให้มุ่งเน้นความปลอดภัย และส่งผลให้สถานพยาบาลในประเทศไทยมีผลลัพธ์การดำเนินงานที่ดีขึ้น ปรับปรุงประสบการณ์ของผู้ป่วย ดำเนินงานด้วยต้นทุนที่คุ้มค่า คนทำงานมีประสบการณ์ที่ดี และยกระดับความเท่าเทียมด้าน สมกับวิสัยทัศน์ของสรพ. “สถานพยาบาลมีระบบคุณภาพระดับสากล ประชาชนปลอดภัยด้วยมาตรฐาน HA”

กระบวนการ Hospital Accreditation ในประเทศไทย เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพมาอย่างต่อเนื่องกว่า 20 ปีด้วยหลักคิด Accreditation as the Education Process และในปัจจุบันได้ในเวทีสากลเริ่มมีการทบทวนผลที่ได้จากกระบวนการ Hospital Accreditation เพื่อนำไปสู่การเป็น Modernize Accreditation 2030

ทิศทางการขับเคลื่อน Hospital Accreditation ในประเทศไทย คณะกรรมการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) (สรพ.) ในฐานะกำลังหลักของการขับเคลื่อนกระบวนการ Hospital Accreditation ของประเทศไทย ได้มีการทบทวนและกำหนดทิศทางการพัฒนาระบบและกระบวนการรับรองในประเด็นต่างๆ

  • การยกระดับคุณค่าของกระบวนการพัฒนาและรับรองคุณภาพต่อสถานพยาบาลและสังคม กระบวนการ Hospital Accreditation ให้ความสำคัญกับผลลัพธ์ (Outcomes) มากขึ้น โดยเฉพาะผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยมากขึ้นทั้งในด้านความปลอดภัย (Safety Outcomes) สุขภาพ (Health Outcomes) และประสบการณ์ที่ดีจากการเข้ารับบริการของผู้ป่วย (Patient Experience) รวมถึงการส่งเสริมการยกระดับคุณภาพด้วยการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด จากการพัฒนารูปแบบการเยี่ยมสำรวจโดยใช้เทคโนโลยีเข้าช่วย ประการสำคัญกระบวนการ Hospital Accreditation จะต้องเป็นเครื่องมือสนับสนุนนโยบายที่สำคัญของประเทศ เช่น เช่น การพัฒนาบริการสุขภาพปฐมภูมิ, นโยบาย Medical Hub การกำกับดูแลคุณภาพของหน่วยงานหลักประกันสุขภาพ
  • การพัฒนากระบวนการเยี่ยมสำรวจสถานพยาบาล และการรับรองคุณภาพ สรพ. มีความพยายามในการพัฒนารูปแบบการประเมินตนเองของสถานพยาบาล การเยี่ยมสำรวจ เพื่อลดภาระการใช้ทรัพยากรทั้งของสถานพยาบาลและสรพ. โดยยังคงคุณภาพของการเยี่ยมสำรวจไว้ และใช้โอกาสพัฒนาจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศให้ได้มากที่สุด นอกจากนั้นยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาผู้เยี่ยมสำรวจอย่างเป็นระบบ ทั้งในด้านคุณภาพ/จำนวน/ความก้าวหน้าในวิชาชีพ และการพัฒนาระบบงานสำคัญภายในของสรพ. เพื่อสนับสนุนการรับรองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • การธำรงรักษาจุดแข็งและความสำเร็จของ HA ในฐานะ Learning Platform ที่สำคัญของระบบบริการสุขภาพประชาชน ยังคงมุ่งเน้นให้ HA ที่เป็น Learning Platform ที่สำคัญผ่านกลไกการใช้เครื่องมือและกิจกรรมต่างๆ ของสรพ. โดยผลักดันการทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงการส่งเสริม/สร้างศักยภาพด้านการวิจัยในระบบการพัฒนาและรับรองคุณภาพ เพื่อสร้างและประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการพัฒนาคุณภาพของสถานพยาบาล ความปลอดภัยของผู้ป่วย การพัฒนาทรัพยากรบุคคล และการรับรองคุณภาพ
  • การใช้มาตรฐาน HA เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับสถานพยาบาล โดยให้ความสำคัญกับการนำมาตรฐาน HA ตอนที่ I (การนำ) สู่การปฏิบัติในระดับหน่วยงาน มุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาคุณภาพอย่างเป็นระบบ และสร้างการเรียนรู้ระดับองค์กรภายใต้บริบทของสถานพยาบาลที่หลากหลาย โดยโจทย์สำคัญของสรพ. คือ การหาความรู้ที่
    จะให้ผู้นำสามารถนำไปใช้ให้เกิดเป็นรูปธรรม

ภาพอนาคตของการยกระดับกระบวนการการรับรองคุณภาพสถานพยาบาลสู่ Modernize Healthcare Accreditation 2030 จากกระบวนการรับรองคุณภาพที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ นำสู่การชี้นำให้สถานพยาบาลที่เข้าสู่กระบวนการรับรองคุณภาพ จากเดิมที่จะคุ้นเคยกับการดูแลผู้ป่วยเป็นช่วงหรือรายครั้ง (Episode) ทำให้หาผลลัพธ์ (Outcome) ได้ยาก จึงควรมีการปรับเปลี่ยนเป็นมุมมองระยะยาว ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างความต้องการของผู้ป่วยและสิ่งที่โรงพยาบาลดำเนินการอยู่ ผ่านการวางแผน/ออกแบบที่ดี การขยายผลให้เกิดขึ้นทุกหย่อมหญ้า (ผู้ป่วยทุกกลุ่มโรค) และการสร้างความร่วมมือของสหสาขาวิชาชีพให้เข้มแข็ง ผ่านหลักการของกระบวนการรับรองคุณภาพ

  • ใช้เครื่องมือคุณภาพสำหรับการดูแลสุขภาพและสังคม (Health & Social Care) ร่วมกับกลยุทธ์
  • ทำให้มั่นใจในโครงสร้าง/กระบวนการทำงานสำหรับการบริหาร/ปรับปรุงคุณภาพและความปลอดภัย
  • ขับเคลื่อนที่ทรงพลังในการปรับปรุงประสิทธิภาพและการสร้างความเข้มแข็งของวัฒนธรรมองค์กร
  • เป็นกลไกขับเคลื่อนการประกันคุณภาพ (Quality Assurance: QA) และการปรับปรุงคุณภาพ (Quality Improvement: QI)
  • มีผลต่อการมีประสบการณ์ที่ดีของผู้รับบริการ จากการใช้แนวคิดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง (Person-Centered Care)
  • เป็นพาหนะในการกระจายการเรียนรู้ ความรู้ และการนำความรู้สู่การปฏิบัติ

กระบวนการ Healthcare Accreditation จะมีส่งผลอย่างมาก (Impact) หากผู้เกี่ยวข้องเข้าใจในมาตรฐานและการรับรองอย่างดี ทีมบริการสุขภาพมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ/ส่วนหนึ่งของการพัฒนา ยอมรับในผลการวิเคราะห์ช่องว่าง (Gap) ระหว่างมาตรฐานและความเป็นจริงผ่านการประเมินตนเอง (Self-Assessment) และนำสู่การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพและดำเนินการตามแผนเพื่อสร้างคุณค่าแก่ผู้รับบริการ กระบวนการรับรองคุณภาพนั้นมีความท้าทายอยู่หลายประเด็น คือ 1. ในด้านสถานพยาบาลที่รับการเยี่ยมสำรวจ ข้อเสนอแนะตามมาตรฐานอาจขัดแย้งกับบริบทขององค์กร หลายครั้งข้อเสนอแนะของผู้เยี่ยมสำรวจไม่สอดคล้องกับทิศทางที่ผู้บริหารวางเป้าหมายไว้ 2. ด้านระบบ สถานพยาบาลต้องการมาตรฐานที่มีความยืดหยุ่น สามารถประยุกต์ใช้ได้ง่ายกับหลากหลายบริบท และขยับแนวคิดจากการมุ่งเน้นประเมินที่ตัวสถานพยาบาล เป็นการติดตาม Health Pathway ของผู้รับบริการและประเมินองค์รวมของระบบเพื่อทำให้เห็นช่องว่างของการให้ดูแลรักษาได้ชัดเจนมากขึ้นตลอดกระบวนการให้บริการ
3. กระบวนการรับรองคุณภาพจะต้องนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาสนับสนุนกระบวนการรับรอง รวมถึงมาตรฐาน/วิธีการใหม่ๆ การบูรณาการผลลัพธ์เข้ามาอยู่ในกระบวนการและการใช้ความเห็นของผู้ป่วย (Patient Judgements) ร่วมในกระบวนการรับรอง

การยกระดับกระบวนการ Healthcare Accreditation ผ่านกระบวนการ Knowledge Translation กระบวนการเรียนรู้เป็นองค์ประกอบสำคัญของกระบวนการรับรองคุณภาพ โดยมีแนวคิดการแปลง
และถ่ายทอดองค์ความรู้สู่การปฏิบัติ (Knowledge Translation) ประกอบด้วยการสร้างองค์ความรู้ (Knowledge Creation) คือ การค้นหาองค์ความรู้สำคัญที่เกี่ยวข้องและทำให้เป็นแนวคิดหรือเครื่องมือที่ง่ายต่อการปฏิบัติ เปรียบได้กับการพัฒนามาตรฐาน HA และการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ (Knowledge Application) คือกระบวนการประเมิน Gap ขององค์ความรู้ การวางแผนดำเนินการ การประเมินความพร้อม การดำเนินการตามแผน การติดตามการใช้องค์ความรู้ การประเมินประสิทธิภาพของระบบ และการขยายผล โดยสามารถเทียบกับกระบวนการรับรองคุณภาพได้ เมื่อพิจารณามาตรฐาน HA จะพบว่ามาตรฐานได้อธิบายไว้เป็นภาพกว้างๆ ไม่เฉพาะเจาะจง จึงเป็นบทบาทของสถานพยาบาลในการศึกษาเพิ่มเติมในแต่ละประเด็น เช่น การสร้างความผูกพันของบุคลากร ในมาตรฐานมีการกล่าวถึงและสถานพยาบาลจะต้องค้นหาองค์ความรู้ในการสร้างความผูกพันซึ่งอาจมีวิธี/เครื่องใหม่ๆ ตลอดเวลา แต่ยังสอดคล้องการต้องมีการสร้างความผูกพันตามมาตรฐาน

Modernize Healthcare Accreditation ด้วย Development Evaluation Develop Evaluation หมายถึงการประเมินเพื่อค้นหาและสร้างสรรค์วิธีการ/กระบวนการใหม่ๆ อย่างไร สอดคล้องกับแนวคิด Double-loop Learning โดยองค์กรสามารถใช้การประเมินตนเองเป็นเครื่องมือเพื่อสร้างการเรียนรู้ และการพัฒนา/ปรับปรุงที่ทันการณ์ โดยผสานการประเมินให้เป็นส่วนหนึ่งของงานพร้อมกับการลงมือทำร่วมกับเครื่องมือการประเมินทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพที่หลากหลาย     กระบวนการ Development Evaluation มีเครื่องมือที่หลากหลาย โดยเครื่องมือที่แนะนำคือ Revised & Emergent Modeling คือเครื่องมือที่ใช้ทบทวนกระบวนการ โดยนำสู่การใช้ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง (Theory of Change) และ Simulation & Rapid Reconnaissance คือการทดลองและประเมินกระบวนการจากการสร้างกลุ่มตัวอย่าง เป็นแนวคิดเดียวกับการทำ Sandbox

Accreditation 2030: Customized Accreditation ภาพบทบาทของกระบวนการรับรองปี ค.ศ. 2030 นั้นมีความหลากหลายมากขึ้น ทั้งการใช้เป็นร่มใหญ่การจัดระเบียบงานคุณภาพระดับองค์กร ใช้เพื่อส่งเสริมการบูรณาการองค์กรที่เป็นอิสระจากกัน เช่น การรับรองมาตรฐานรับบเครือข่ายบริการสุขภาพ หรือการใช้เพื่อกระตุ้นการขยายผลการปรับปรุงขนาดใหญ่บางเรื่อง เช่น การรับรองมาตรฐานเฉพาะโรค/เฉพาะระบบ (Program and Disease Specific Certification: PDSC) รวมถึงการใช้การรับรองเป็นระบบการกำกับดูแลโดยเน้นที่ผลการดำเนินการ เป็นจุดคานงัดที่มีอิทธิผลต่อผลลัพธ์นำสู่การกำหนดมาตรฐานเพื่อประเมินผลการดำเนินการ โดยมีผสมผสานการใช้ Accreditation 1.0 และ Accreditation 2.0 ร่วมกันตามความเหมาะสม

ในด้าน User Perspective กระบวนการรับรองจะมีแนวทางหลักคือ การรับรองระบบบริการทั้งระบบตามเส้นทางเดินของผู้ป่วย (Patient Journey) ตั้งแต่การดูแลระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ตติยภูมิ และการดูแลแบบประคับประคองตลอดเส้นทาง เน้นย้ำสุขภาวะ (Health) สุขภาพของสังคมและประชากร (Social & Population Health) ในภาพรวม รวมถึงการให้ความสำคัญของการสร้างเสริม/ธำรงสุขภาพเทียบเท่ากับการซ่อมแซมโรค โดยการรับรองรายองค์กรยังคงมีอยู่ซึ่งจะต้องใช้ความพยายามอย่างต่อเนื่องในการสะสมความสำเร็จเพื่อการได้รับการรับรอง โดยสรพ. จะต้องมีการติดตามข้อมูลจากทุกองค์กรเพื่อให้ในการวางแผนการดำเนินการหรือปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

ในกระบวนการเยี่ยมสำรวจเพื่อรับรองคุณภาพ มีช่องทางในการได้รับข้อมูลที่หลากหลาย อาจมาจากการกำหนดให้มีการเยี่ยมสำรวจแบบไม่แจ้งล่วงหน้านานเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริงและสามารถรับรู้บริบท/ธรรมชาติขององค์กรได้ชัดเจน โดยผู้เยี่ยมใช้การตั้งคำถามจุดประกาย/เลือกใช้มาตรฐานในการเข้าเยี่ยม/และการตามรอยจากผลลัพธ์โดยยึดบริบทของสถานพยาบาลเป็นหลัก รวมถึงการทบทวนข้อมูลจากเอกสารของสถานพยาบาล การตอบสนองต่อ Daily Variation & External Disruptive Events การรวบรวมข้อมูลผลลัพธ์ที่แสดงประสิทธิภาพของระบบงานในสถานพยาบาล การสำรวจประสบการณ์ของผู้ป่วย การดำเนินงานที่ส่งผลต่อสุขภาพของประชากร การประสานดำเนินงานและข้อมูลระหว่างสถานพยาบาล และการนำระบบอัตโนมัติต่างๆ มาใช้

จากแนวคิด Knowledge Translation จะเห็นได้ว่า ทุกองค์ประกอบของกระบวนการรับรองคุณภาพ (Accreditation) เป็นส่งผ่านองค์วามรู้ให้แก่สถานพยาบาล และทำให้สถานพยาบาลได้มีองค์ความรู้ที่เป็นปัจจุบัน  โดยสรพ. ได้พัฒนากระบวนการรับรองคุณภาพที่หลากหลายเพื่อสร้างและส่งต่อองค์ความรู้ โดยมีข้อกำหนดตามมาตรฐานเป็นความรู้สำคัญเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของสถานพยาบาลที่รับการเยี่ยมสำรวจให้มุ่งเน้นความปลอดภัย และส่งผลให้สถานพยาบาลในประเทศไทยมีผลลัพธ์การดำเนินงานที่ดีขึ้น (Better Outcomes) ปรับปรุงประสบการณ์ของผู้ป่วย (Improve Patient Experience) ดำเนินงานด้วยต้นทุนที่คุ้มค่า (Lower Cost)
คนทำงานมีประสบการณ์ที่ดี (Improve Personnel Experience) และยกระดับความเท่าเทียมด้านสุขภาพ (Advancing Health Equity) สมกับวิสัยทัศน์ของสรพ. “สถานพยาบาลมีระบบคุณภาพระดับสากล ประชาชนปลอดภัยด้วยมาตรฐาน HA”

ผู้ถอดบทเรียน สุทธิพงศ์ คงชุม นักวิชาการคอมพิวเตอร์ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here