การเกิดลิ่มเลือดหลังการฉีดวัคซีนโควิดในกลุ่ม Viral vector (ตอนที่ 2)

0
1397
การเกิดลิ่มเลือดหลังการฉีดวัคซีนโควิด
การเกิดลิ่มเลือดหลังการฉีดวัคซีนโควิด

การเกิดลิ่มเลือดหลังการฉีดวัคซีนโควิดในกลุ่ม Viral vector (ตอนที่ 2)


 ในภาวะปกติ Pulmonary embolism (PE) เป็นโรคที่มีอาการคล้ายกับภาวะเครียดและคล้ายกับโรคทางหัวใจและปอดอีกหลายโรค การวินิจฉัยอย่างถูกต้องจึงทำได้ไม่ง่ายนัก และทำให้ PE เป็นหนึ่งในโรคที่มี Diagnostic error บ่อย   และเมื่อมาเกิดในช่วงหลังการฉีดวัคซีน ซึ่งมีแนวโน้มว่าผู้วินิจฉัยจะมีความลำเอียงว่าอาการผู้ป่วยเกิดจาก Immunization Stress-Related Responses (ISRR) ความผิดพลาดคลาดเคลื่อนจึงเกิดมากขึ้น ดังนั้น ความรู้ความเข้าใจในเรื่อง Thrombosis with Thrombocytopenia Syndrome (TTS) จึงมีความสำคัญมากต่อการดูแลผู้ป่วยหลังได้รับวัคซีนของ AstraZeneca หรือ Johnson & Johnson

การเกิดลิ่มเลือดหลังการฉีดวัคซีนโควิด Viral Vector
การเกิดลิ่มเลือดหลังการฉีดวัคซีนโควิด Viral Vector

#สิ่งที่บ่งชี้ถึง TTS
-มักเกิดในผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 60 ปี พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
-อาการมักเป็นแบบฉับพลัน ในช่วง 4 – 20 วันหลังการฉีดวัคซีน (เพราะ TTS เกิดจากปฏิกิริยาของภูมิคุ้มกัน ซึ่งร่างกายต้องใช้เวลาในการสร้างภูมิคุ้มกัน) ซึ่งต่างจาก ISRR ที่มักเริ่มเป็นตั้งแต่ 1 – 2 วันแรก แล้วค่อยๆดีขึ้นในวันที่ 3 – 4
-อาจพบจุดเลือดออกเล็กๆ (Petechiae, Purpura) หรือเลือดออกง่ายกว่าปกติ
-มีอาการบ่งบอกลิ่มเลือดในเส้นเลือดดำในสมอง เช่น ปวดศีรษะรุนแรง, คลื่นไส้ อาเจียน, แขนขาอ่อนแรงข้างเดียว, เห็นภาพไม่ชัด, พูดไม่ชัด, ชัก หรืออาการบ่งบอกลิ่มเลือดในเส้นเลือดดำในช่องท้อง เช่น ปวดท้องมาก
-ถ้าเกิดภาวะลิ่มเลือดไปอุดกั้นเส้นเลือดที่ปอด คนไข้จะมีอาการเหนื่อยหอบ ออกแรงแล้วยิ่งเหนื่อย หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตต่ำ เป็นลม
-การตรวจ CBC จะพบเกล็ดเลือดมีค่าต่ำกว่า 150,000 /L และถ้าตรวจ lab. ที่จำเพาะได้ จะพบ PF4-heparin ELISA Positive และ D-dimers สูงผิดปกติ

#การดูแลเบื้องต้น
-TTS ควรส่งต่อให้ผู้เชี่ยวชาญดูแล เพราะการรักษามีข้อควรระวังหลายประการ
-ไม่ควรให้ heparin (เพราะ TTS เกิดด้วยกลไกคล้ายกับการเกิดผลข้างเคียงจาก heparin การให้ heparin น่าจะทำให้อาการเป็นมากขึ้น) และควรหลีกเลี่ยงการให้เกล็ดเลือด (เพราะจะเสริมให้เกิดลิ่มเลือดมากขึ้น)
-ถ้าทำได้ ให้ส่งตรวจเส้นเลือดดำในอวัยวะที่สงสัยมีลิ่มเลือด ด้วย CT/ MRI

ผู้เชี่ยวชาญจะยืนยันการวินิจฉัย และพิจารณาให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือดที่ไม่ใช่ heparin และให้ intravenous immunoglobulin 

Photo by Fakurian Design on Unsplash

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here