Leadership Hack : Future Management for COVID-19 กลยุทธ์แห่งการอยู่รอด

0
1148
Leadership Hack : Future Management for COVID-19 กลยุทธ์แห่งการอยู่รอด 
Leadership Hack : Future Management for COVID-19 กลยุทธ์แห่งการอยู่รอด 

Leadership Hack : Future Management for COVID-19 กลยุทธ์แห่งการอยู่รอด

“จากนภา ผ่านภูผา สู่มหานที” คือ ความเชื่อมโยงการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติของโครงการต่าง ๆ ของรัชกาลที่ 9

 

ปัจจุบันทั่วโลก และประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาโรคระบาด COVID-19  ทุกโรงพยาบาลมีระบบการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด (Utilization) ภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ผู้ป่วยจำนวนมาก ที่เข้ารับการรักษามีทั้งผู้ป่วย COVID และ Non-COVID นวัตกรรมทางการแพทย์เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ถูกนำมาใช้ในช่วงเหตุการณ์ดังกล่าว อาทิ Telemedicine การส่งยาทางไปรษณีย์ Mobile Application การให้คำปรึกษา การรักษาผู้ป่วยผ่านระบบออนไลน์ ผู้บริหารแต่ละโรงพยาบาลต้องกลับมาทบทวนแผนกลยุทธ์ในการบริหารจัดการช่วงที่มีจำนวนผู้ป่วย COVID-19 เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยดำเนินการ 1. ปรับรูปแบบการดูแลรักษาผู้ป่วยตามเสี่ยงและความรุนแรงของโรค ได้แก่ กรณีที่ผู้ป่วยมีความเสี่ยงน้อยสามารถรักษาผ่านระบบ Home Isolation และ Community Isolation เกิดความร่วมมือระหว่างโรงพยาบาลและโรงแรมให้ผู้ป่วยเข้าพักได้ที่ Hospitelที่กำหนด 2. การบริหารจัดการบุคลากรทางการแพทย์ภายในโรงพยาบาล ทำให้เกิดMulti-tasking และเกิดความสมดุลในการดูแลผู้ป่วยโควิดในช่วงที่ผู้ป่วยOPDลงน้อยลง การจัดสัดส่วนบุคลากรทำงาน Work from home การจัดการกับความเครียดของบุคลากรทางการแพทย์ 3. การบริหารทรัพยากรเพื่อให้สามารถนำมาใช้งานอย่างเต็มศักยภาพ Utilization  นอกจากนี้ยังมีปัจจัยภายนอกที่ไม่แน่นอนเกิดขึ้นตลอดเวลา ได้แก่ Megatrend  สังคมผู้สูงอายุ การเปลี่ยนขั้วอำนาจทางเศรษฐกิจ Climate Change การขยายตัวของสังคมเมือง ปัญหาทางการเมือง ความแตกต่างระหว่างGeneration การนำระบบ Digital Technology เข้ามาช่วยดำเนินการ ซึ่งประเด็นต่าง ๆ เหล่านี้ภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชน และผู้นำจะมีส่วนในการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนได้อย่างไรต่อไปในอนาคต

รศ.นพ.สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ พบว่าวิถีชีวิตของประชาชนในปัจจุบันเริ่มปรับตัวให้อยู่กับสถานการณ์ COVID-19 ได้โดยใช้ประสบการณ์ในอดีตเป็นแนวทาง ซึ่งก่อนหน้านี้ทั่วโลกและประเทศไทยได้เผชิญการระบาดหนักจากCOVID-19 หลายสายพันธุ์ มีการเสียชีวิตจำนวนมาก หลายภาคส่วนในระบบสาธารณสุขได้บริหารจัดการทำแผนป้องกัน Business Continuity Management หลายรูปแบบท่ามกลางความผันแปรของโรคที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา รวมถึงการรณรงค์ให้ประชาชนได้รับวัคซีนอย่างทั่วถึง ซึ่งพบว่าประชากรที่ได้รับวัคซีนแล้ว จะมีความเสี่ยงในการเสียชีวิตน้อยกว่าประชาชนที่ยังไม่ได้รับวัคซีน

การดำเนินการในระดับองค์กร คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ใช้ค่านิยม “มุ่งเรียนรู้ คู่คุณธรรม ใฝ่คุณภาพ ร่วมสานภารกิจ คิดนอกกรอบ รับผิดชอบสังคม” เป็นตัวขับเคลื่อนผ่านผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ชัดเจน สู่การปฏิบัติให้กับบุคลากรในทุกระดับได้รับทราบ คณะ ฯ จัดทำฐานข้อมูล COVID-19 ทั้งจำนวนผู้ป่วยที่โรงพยาบาลรามาธิบดี ฝั่งพญาไท และสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ การวางแผนการรักษาภายในโรงพยาบาล การบริหารจัดการทรัพยากรที่จำเป็นอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ ได้แก่ ห้องตรวจโควิดโดยเฉพาะ หอผู้ป่วย เครื่องมือ/อุปกรณ์ การส่งยาทางไปรษณีย์ คณะ ฯ รณรงค์ให้บุคลากรรับวัคซีนครบ 100% และมีการประเมินความเสี่ยงทุกสัปดาห์ผ่าน Active Surveillance ด้านการบริหารจัดการกับชุมชนใกล้เคียง มีการสร้างสถานที่ให้เป็น Community Isolation สำหรับผู้ป่วยโควิด และประสาน Hospitel เพื่อรองรับผู้ป่วยในช่วงที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น

แม้จะอยู่ในสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แต่บุคลากรของคณะ ฯ ยังคงดำเนินการตามแผนกลยุทธ์ และวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ SO 3.5 ด้านการพัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่อความเป็นเลิศ โดยให้ความสำคัญกับมาตรฐานการทำงานซึ่งปัจจุบันมีหน่วยงานที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน ISO อย่างต่อเนื่องทุกปีหลายหน่วยงาน SO 3.4 พัฒนาระบบบริการเพื่อความเป็นเลิศ มีการขอรับรองเฉพาะรายโรค (Disease Specific Certification) ที่ผ่านมาคณะ ฯผ่านการรับรอง ฯ 10 โรค และอยู่ระหว่างขอการรับรอง ฯ จำนวน 2 โรค นอกจากนั้นคณะ ฯ มีการปรับกระบวนการทำงานเชิงรุก โดยนำประสบการณ์ผู้ป่วยมาวิเคราะห์ เพื่อตอบสนองความต้องการผู้รับบริการอยู่ตลอดเวลา และให้ความสำคัญกับระบบคุณภาพ ในปัจจุบันได้ผ่านการรับรอง HA AHA JCI TQC และได้รับรางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศที่มีความโดดเด่นในด้านนวัตกรรม (Thailand Quality Class Innovation : TQC Plus Innovation) พร้อมมุ่งสู่รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award : TQA) ซึ่งเป็นรางวัลสูงสุดต่อไป

การมีส่วนร่วมในระดับนโยบายภาครัฐ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีสนับสนุนบุคลากรไปให้บริการฉีดวัคซีนตามแหล่งที่เกิดโรคระบาดรุนแรง อาทิ จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดยะลา รวมถึงโรงพยาบาลสนาม เป็นต้น มีการเข้าร่วมหารือเชิงนโยบายเพื่อการตัดสินใจภายใต้สถานการณ์คับขัน ในประเด็นความมั่นคงทางการแพทย์และสาธารณสุข มีบุคลากรหลายกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ กลุ่มนักวิชาการ กลุ่มSocial Media ที่ร่วมเสนอความเห็นที่หลากหลายซึ่งควรระวังระทบต่อความเข้าใจที่ถูกต้อง โดยเฉพาะการให้ความรู้ของนักวิชาการที่ไม่บูรณาการกันอาจทำให้ประชาชนรับข่าวสารผิดพลาด ที่ผ่านมาระบบสาธารณสุขมีการเตรียมการทั้งเรื่องการบริหารจัดการหน้ากากอนามัย การส่งต่อโรงพยาบาล logistic ยา เวชภัณฑ์ วัคซีน องค์ความรู้ของประชาชน มีการดำเนินการตามเป้าหมาย 17 ข้อของ The Global Goals for Sustainable Development  ใช้แผนปฏิบัติด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG

โดยต้องกลับมาทบทวนทิศทางการปฏิรูป (ด้านสาธารณสุข) ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ 1. การจัดการภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขโรคระบาดระดับชาติและโรคอุบัติใหม่ 2. โรคไม่ติดต่อเรื้อรังและการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค 3. ระบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุด้านการบริบาล การรักษาพยาบาลที่บ้านหรือชุมชน 4.ระบบหลักประกันสุขภาพเพื่อความเป็นเอกภาพและยั่งยืน 5. ระบบบริหารจัดการเขตสุขภาพแบบบูรณาการให้มีความคล่องตัวร่วมกับท้องถิ่น นอกจากนั้นควรยกระดับการได้รับ/การเข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร สุขภาพ สามารถเข้าใจข้อมูลพื้นฐานด้านสุขภาพ/บริการสุขภาพที่จำเป็น สามารถวิเคราะห์/ตัดสินใจด้านสุขภาพที่เหมาะสม และดูแลตนเองได้ตามระดับที่เหมาะสม โดยมีประเด็นสำคัญ คือบุคลากรทางการแพทย์ต้องเน้นการป้องกัน สามารถพึ่งตนเองของผู้ป่วยและครอบครัว หลีกเลี่ยงการทำให้ผู้ป่วยต้องพึ่งพาทางการแพทย์โดยไม่จำเป็น ดังพระราชดำรัสของในหลวงรัชการที่ 9 การเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา  อีกทั้งพระองค์ท่านทรงสอนหลายอย่างเพื่อให้ประชาชนอยู่รอดปลอดภัย

ดร.ดนัย จันทร์เจ้าฉาย การรับมือกับสถานการณ์ COVID-19 จากนี้เป็นต้นไปควรนำเรื่อง New Normal New Moral วิถีใหม่ โลกวิธีใหม่ คือโลกแห่งการตื่นรู้เข้ามาพิจารณา โดยเฉพาะต้องตื่นรู้ในปัจจัย 4 ที่จะนำไปสู่ Sufficiency Economy การดำเนินการตามเป้าหมาย 17 ข้อของ The Global Goals for Sustainable Development ภายใต้ภาวะผู้นำ ซึ่งผู้นำที่ยิ่งใหญ่และเป็นแบบอย่างที่ดีที่สุด ที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก คือรัชกาลที่ 9 พระองค์ท่านทรงได้รับรางวัลมากมายหลายด้าน ดังตัวอย่างรางวัลด้านสาธารณสุข ได้แก่ โล่ในด้านสาธารณสุข และองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก WIPO สำหรับกังหันน้ำชัยพัฒนา จากองค์การสหประชาชาติ
ในอดีตพระองค์ท่านเคยทรงจัดทำหุ่นยนต์คุณหมอพระราชทาน และจากโครงการในพระราชดำริ 4,800 โครงการมีความเชื่อมโยงการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ “จากนภา ผ่านภูผา สู่มหานที” ดังเช่น 1. โครงการฝนหลวง
แก้ปัญหาความแห้งแล้ง 2. ป่าไม้ ที่เก็บน้ำที่ดีที่สุด 3. ฝายต้นน้ำ เพื่อชะลอน้ำ (Checkdam) 4. หญ้าแฝกป้องกันดินพังทลาย 5. อ่างเก็บน้ำบริเวณเชิงเขา 6. เขื่อน 7. ทฤษฎีใหม่ การจัดการที่ดินและน้ำของเกษตรกร 8. แก้มลิง 9. คันกั้นน้ำ 10.ทางน้ำผ่าน (Flood Way) 11. กังหันน้ำชัยพัฒนา 12. เร่งระบายน้ำลงทะเล คลองลัดโพธิ์ 13. ป่าชายเลน จึงควรนำแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความรู้สึกสุข ทุกข์ ธรรมชาติ ดิน น้ำ ลม ไฟ คุณธรรม ประวัติศาสตร์ ตามรอยศาสตร์พระราชามาใช้เป็นแนวทางในการดำรงชีวิตเพื่อให้เกิดประโยชน์ในภายภาคหน้า

โครงการต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้ว หากพิจารณาให้ถ่องแท้จะสอดคล้องกับเป้าหมายของ SDGs ซึ่งประเทศไทยต้องไปถึงในปี 2030 มีหลายเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับด้านสาธารณสุข โดยองค์กรสหประชาชาติให้ความสำคัญการพัฒนาความยั่งยืน 5 ประการ ได้แก่ 1. People 2. Prosperity 3. Peace 4. Partnership 5. Planet แต่ทั้งนี้ ด้านสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติเป็นสิ่งที่UNให้สำคัญในลำดับที่ 1

อย่างไรก็ตามในยุคปัจจุบัน การนำนวัตกรรม เทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาดำเนินการเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการศึกษา และด้านสาธารณสุขที่มีความพร้อมมากที่สุด เป็นสิ่งที่สำคัญและมีความจำเป็น ควรเปิดกว้างให้คนรุ่นใหม่แสดงความคิดเห็น และลงมือทำ ประเทศไทยมีขุมทรัพย์มากมายที่รอให้ทุกคนได้ศึกษาโดยเฉพาะเชิญชวนประชาชนเข้าร่วมโครงการตามรอยพระราชา เยี่ยมชมโครงการในพระราชดำริมากมายเพื่อนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาตนเอง พัฒนาองค์กร และพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไป

ผู้ถอดบทเรียน สดศรี พูลผล หัวหน้างานพัฒนาคุณภาพงาน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here