Collaboration in a living System

0
2089

Collaboration in a living System

“สานพลังสร้างเครือข่าย แผ่ขยายความปลอดภัย ด้วยใจใฝ่พัฒนา ด้วยคุณค่ากัลยาณมิตร”

ความยั่งยืนของเครือข่ายจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อได้มีการจัดกิจกรรมที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งกิจกรรมดังกล่าวกลายเป็นแบบแผน (pattern) ของการกระทำที่สมาชิกของเครือข่ายยอมรับโดยทั่วกัน ด้วยเหตุนี้ การที่จะรักษาเครือข่ายไว้ได้ต้องมีการกำหนดโครงสร้างและตารางกิจกรรมไว้ให้ชัดเจน ทั้งในแง่ของเวลา ความถี่ และต้องเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจเพียงพอที่จะดึงดูดสมาชิกให้เข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งบทเรียนจากการขับเคลื่อนการพัฒนาด้วยเครือข่ายความร่วมมือ การเติบโตและพัฒนาการ ในการสร้างความเข้มแข็งให้กับกระบวนการพัฒนาคุณภาพบริการในวงกว้างนั้นส่งผลโดยตรงในทางบวกกับประชาชน

รศ.นพ.ชเนนทร์ วนาภิรักษ์ (คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.) มีกลยุทธ์ในการขยายแนวคิดการพัฒนาคุณภาพและการรับรองกระบวนการคุณภาพ HA ไปยังส่วนภูมิภาคทั่วประเทศไทย โดยความร่วมมือกับ สถาบันโรงเรียนแพทย์ ก่อตั้ง ศูนย์ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล (Hospital Accreditation Collaborating Center: HACC) จำนวน 6 แห่ง ในปี พ.ศ. 2544 ได้แก่ HACC โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ HACC คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  HACC คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร HACC คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น HACC จังหวัดนครราชสีมา HACC ภาคใต้ (คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์) ทำหน้าที่ส่งเสริม กระตุ้นการพัฒนาคุณภาพ สำหรับสถานพยาบาลในระดับภูมิภาค ให้เข้าถึงความรู้ด้านการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐาน HA โดยร่วมกำหนดทิศทางการขับเคลื่อนเชิงนโยบายร่วมกับ สรพ.

การเกิด Quality Learning Network (QLN): ในปี 2552 มี ผอ.รพช. ที่ผ่านการรับรอง HA อาสาช่วยเป็น    พี่เลี้ยงในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลในจังหวัดที่สมัครใจและมีความพร้อมให้เข้าสู่กระบวนการรับรองมาตรฐานคุณภาพโรงพยาบาล ก่อตั้งเป็นทีม High Performance Node ส่งผลให้โรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการสามารถเข้าสู่กระบวนการรับรองได้ทั้งหมด สรพ.เห็นความสำคัญของบุคลากรของสถานพยาบาลที่มีความเข้าใจบริบทพื้นที่  มีจิตอาสา มีศักยภาพเป็นพี่เลี้ยงและเป็นแม่ข่ายให้กับโรงพยาบาลอื่นๆ ทำให้เกิดความร่วมมือและแรงบันดาลใจในการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพสถานพยาบาลอย่างกว้างขวาง

สรพ. ทำหน้าที่เสริมความรู้และพัฒนาทักษะการเป็นพี่เลี้ยง ขยายสู่ความร่วมมือกับ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด    ที่สนใจร่วมกันเป็น เครือข่ายพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล ด้วยระบบพี่เลี้ยง หรือ Quality Learning Network (QLN) ที่มีการดำเนินการต่อเนื่องและขยายจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 20 เครือข่ายในปี พ.ศ. 2554 เป็น 63 เครือข่าย ในปี พ.ศ. 2562 กระบวนการจัดการแต่ละ HACC เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ได้แก่ ส่งเสริม กระตุ้น และพัฒนา

ดาวน์โหลดที่นี่…ฟรี Collaboration in a living System

ผู้ถอดบทเรียน สดศรี พูลผล               

ตำแหน่ง นักวิชาการพัฒนาคุณภาพ (หัวหน้างานพัฒนาคุณภาพงาน)                                                                  คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

Photo by Kaleidico on Unsplash

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here