Nursing Perspective with Change and Collaboration for sustainability

0
2200
Nursing Perspective with Change and Collaboration for sustainability
Nursing Perspective with Change and Collaboration for sustainability

Nursing Perspective with Change and Collaboration for sustainability

“ Proud to be a Nurse”

ดร.กฤษดา แสวงดี

อาจารย์เรวดี ศิรินคร                                                                                                        ได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงด้านการพัฒนาคุณภาพของวิชาชีพพยาบาลว่า ช่วงแรกมีการพัฒนาเหมือนจะนำหน้าวิชาชีพอื่นๆ จนเมื่อสัก 4-5 ปี ที่ผ่านมาในทุกวิชาชีพก็มีความก้าวหน้าในการพัฒนาคุณภาพมากขึ้น ประกอบกับเมื่อสังคมมีการเปลี่ยนแปลง มีผู้สูงอายุจำนวนเพิ่มขึ้นและคนไข้มีความซับซ้อนมากขึ้น  ประกอบกับมีนโยบาย และตัวชี้วัดจำนวนมาก ในขณะที่อัตรากำลังของพยาบาลไม่เพียงพอ ปัจจุบันไม่สัมพันธ์กับภาระงาน ทำให้การพัฒนาด้านคุณภาพการพยาบาลในโรงพยาบาลไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร เหมือนจะชะลอตัวลง อาจารย์เรวดีได้สัมภาษณ์ ดร.กฤษดา แสวงดี ในฐานนะอาจารย์ กฤษดา ได้ดูแลพยาบาลโดยเฉพาะด้านอัตรากำลังพยาบาลในภาพรวมของกระทรวงสาธารณสุข และอีกอย่างอาจารย์เป็นผู้แทนสภาการพยาบาล อาจารย์มีข้อเสนอ หรือมองว่าทิศทางการพัฒนาวิชาชีพการพยาบาลในยุคการเปลี่ยนแปลงนี้อย่างไร จึงจะเกิดการพัฒนาที่ต่อเนื่อง และยั่งยืน

ดร.กฤษดา แสวงดี                                                                                                        เนื่องจากสิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงไปที่เรียกว่า Driving Force หรือ “Buzz” จะทำให้ รพ.ในอนาคต กับ รพ. ในวันนี้แตกต่างกันแน่นอนวันนี้อาจจะมีคนไข้กลุ่มหนึ่งที่ไม่สามารถกลับบ้านได้เนื่องจากไม่มีคนดูแล หรือ สภาพบ้านที่ไม่ดีพอ แต่ในอนาคต การเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบกับวิชาชีพพยาบาล ได้แก่ สังคมสูงอายุ/โรคเรื้อรัง/ผู้สูงอายุรุ่นใหม่ ไม่ต้องการใช้ชีวิตในโรงพยาบาล/ขาดผู้ดูแล, โรงพยาบาลแออัด ค่าใช้จ่ายสูงจนรัฐอาจรับภาระไม่ไหว, IT/ Medical Technology ก้าวหน้ารวดเร็ว/Extend patients’ lives, พยาบาลขาดแคลน/ขาดระบบสนับสนุนที่เพียงพอ/พยาบาลรุ่นใหม่ ออกจากงานเร็ว

จากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จะทำให้เกิดรูปแบบการบริการใหม่ๆ ขึ้น เกิดเป็น New care model เช่น              1. ผู้ป่วยจะอยู่ใกล้บ้านมากขึ้น ให้การดูแลรักษา โดยใช้ Social media /IT แต่จะยังคงมีโรงพยาบาลเพื่อรองรับ  ผู้ป่วย acute บางส่วน, มีการจัดบริการ intermediate care, long term care และโรงพยาบาลจะส่งกลับผู้ป่วยเข้าสู่ชุมชนมากขึ้น เพราะฉะนั้นจะเกิด nursing home และระบบการดูแล home health care เพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดบทบาทพยาบาลแบบใหม่ขึ้น เช่น พยาบาลที่เกษียณอายุราชการ ทำหน้าที่เป็น health coach เช่น   การให้คำปรึกษา รับหน้าที่พาผู้ป่วยไปพบแพทย์ เป็นต้น                                                                    2. เกิด new care model หรือ Hospital mobile มี telemedicine ในอนาคตจะมีการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการรักษาพยาบาลมากขึ้นเช่น portability and mobility การปรึกษาแพทย์กับพยาบาลผ่านทางหน้าจอหรือการนำ robot มาใช้

ในการบริหารองค์กรพยาบาลที่คิดว่ามีความเป็นเลิศ จะมีพยาบาลที่ทำวิจัยที่ถูกแยกจากงานประจำ และทำงาน Cross ระหว่าง Ward และระหว่างแผนก แต่ต้องเป็น Strong team ผู้บริหารการพยาบาล ต้องเป็น Chief Executive ให้ได้ พยาบาลต้องเรียนรู้กับวิชาชีพอื่นและต้องเป็นแบบ Business school ฝ่ายการพยาบาลต้องมีแผนพัฒนาบุคลากร ต้องมีการ Empowerment, Coaching ที่ดี และมี Autonomy การทำงานในหน่วยงานที่มีหลาย Generation นั้น จะต้องเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม อาจมีการจัดการทำงานให้น้อยลง/เปลี่ยนวิธีการทำงาน และรับฟังน้องพยาบาลให้มากขึ้นซึ่งเขาอาจบอกวิธีการทำงานที่ดี และที่สำคัญคือการเปลี่ยน Mindset ไม่มีปัญหาอะไรที่ไม่มีทางออกและเห็นทางออกในทุกปัญหา ถ้าไม่แก้ปัญหา ก็จะติดกับดัก และ Nursing Autonomy ก็จะหายไป ดังนั้น HR ด้าน Nursing จึงเป็นเรื่องใหญ่ในอนาคต

ดาวน์โหลดที่นี่…ฟรี Nursing Perspective with Change and Collaboration for sustainability

ถอดบทเรียน อุสาห์ เพ็งภารา

ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญ (ด้านบริการทางวิชาการ) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี

Photo by Austrian National Library on Unsplash

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here