Smart Hospital by Lean

0
4001
Smart Hospital by Lean
Smart Hospital by Lean

Smart Hospital by Lean

Smart Hospital คือ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีพัฒนากระบวนการจัดบริการในโรงพยาบาล สร้างความแม่นยำ เพิ่มความคล่องตัว ลดขั้นตอนและอำนวยความสะดวกทั้งต่อผู้ให้บริการและผู้รับบริการ  สามารถนำข้อมูลผู้ป่วยมาใช้ได้ทันเวลา กระทรวงสาธารณสุขกำหนดความสำเร็จ 3 ระดับ คือ ระดับ 1 โรงพยาบาลมีการใช้ Smart Tool ช่วยบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพบริการ เช่น ระบบนัดหมายแบบออนไลน์ ระดับ 2 โรงพยาบาลต้องมี Smart Service เช่น ใบสั่งยาในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ระดับ 3 ผ่านเกณฑ์ระดับ 1 และ 2 และแสดง Success Story จาก Smart Outcome อย่างน้อย 1 เรื่อง

Lean เป็น holistic & sustainable approach แนวคิด คือการเปลี่ยนจาก ความ สูญเปล่า (waste) ไปสู่ คุณค่า (value) ในมุมมองของผู้รับผลงาน ในทุกๆ กระบวนการ ความสูญเปล่าในมุมมองของ lean มี 8 ประการ คือ DOWNTIME

นพ.ทรงวุฒิ  ประสพสุข                                                                                            กระบวนการพัฒนาสู่ Smart Hospital ของโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์เริ่มต้นจากคำถาม “ทำไม” หรือ start with WHY ตามทฤษฎี The Golden Circle ของ Simon Sinex ซึ่งมีความเชื่อว่า การเริ่มต้นทำสิ่งใดๆ หากเริ่มต้นด้วยคำถามว่า ทำไม (WHY) จึงทำสิ่งนั้น จะทำให้เกิดความร่วมมือของผู้คนในองค์กร และจะทำให้สิ่งที่ทำนั้นเกิดความยั่งยืน ร่วมกับการประเมินองค์ประกอบทั้งหมดของโรงพยาบาลตามกรอบของ CIPP Evaluation Model เพื่อตัดสินใจดำเนินกิจกรรมต่างๆ

พญ.กมลทิพย์ ประสพสุข                                                                                                      โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์นำเครื่องมือคุณภาพ Lean มาพัฒนากระบวนการต่างๆ ดังนี้ 1. Lean Stroke fast track โดยการลดการรอคอย (Waiting) และลดขั้นตอนบริการที่ซ้ำซ้อนทำให้อัตราการได้รับยา rTPA เพิ่มสูงขึ้น ลด Door to needle time 2. Lean ห้องปฏิบัติการ (LAB) ลดระยะเวลารอยคอยโดยผลตรวจทางห้องปฏิบัติการโดยวิธี Process redesignเช่น ส่งตรวจและรายงานผลผ่านระบบ IT ปรับ Layout เพื่อสร้าง Flow ลด Motion Fast lane สำหรับรถเข็น-รถนอน หรือการบริหารอัตรากำลังในช่วง Rush hour ทำให้ Turn Around Time ของ LAB ลดลงจาก 168 นาทีในปี 2559 เหลือ 84 นาทีในปี 2561 3. Lean การเบิกวัสดุทางการแพทย์ โดยการใช้ Kanban card เบิกผ่านระบบ IT ลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นลง ลดระยะเวลาที่ใช้ในการเบิก – จ่ายแต่ละรอบจาก 167 นาที เหลือ 77 นาที 4. Lean ระบบผู้ป่วยนอก ปรับปรุงการเข้าถึงบริการด้วยระบบ EMR โดยใช้ kiosk การปรับ layout เพิ่มพื้นที่รอคอยบริการ จัดระบบคิวแบบ pull system และวิธีอื่นอีกหลายวิธี สามารถลดระยะเวลารอคอยได้ตามเป้าหมายที่ต้องการ

นพ.ภคพล เอี่ยมไพบูลย์พันธ์                                                                                         Smart ER by Lean โรงพยาบาลระยอง start with why เช่นเดียวกับโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ เนื่องจากเป้าหมายหลักของ ER คือ การวินิจฉัยที่แม่นยำ ด้วยเวลาที่รวดเร็ว (Accuracy and Guarantee) กับบริบทของพื้นที่ที่ตั้งอยู่ในระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก มีประชากรทั้งประชากรหลักและประชากรแฝงในพื้นที่รับผิดชอบประมาณสองถึงสามล้านคน และส่วนใหญ่เป็นวัยแรงงาน แต่พื้นที่ให้บริการไม่เพียงพอ มีความแออัด ความไม่ปลอดภัยต่อความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นกับเจ้าหน้าที่ในระหว่างให้บริการ ดังนั้นผลลัพธ์ที่ต้องการให้เกิดขึ้น (What) คือ ลดระยะเวลาadmit ลดอัตราการเสียชีวิต เพิ่มความพึงพอใจในการรักษา คำถามคือ ทำอย่างไรจึงจะบรรลุเป้าหมายและผลลัพธ์ที่ต้องการ

ดาวน์โหลดที่นี่…ฟรี Smart Hospital by Lean

ถอดบทเรียน ขวัญจิตร เสียงเสนาะ

ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลอู่ทอง

Photo by Martha Dominguez de Gouveia on Unsplash

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here