
การถ่ายโอนไปอยู่กับองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น เหมือนได้ พ่อเลี้ยงที่ มีฐานะดีมีเงินมากกว่า การย้ายไปอยู่กับ อบจ. ซึ่งมีงบประมาณสนับสนุน เป็นข้อได้เปรียบ
เหมือน สามคน สามี- ภรรยา ทำให้การบริหาร รพสต.ได้เป็นอย่างดี
การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานหน่วยบริการปฐมภูมิ โดยจังหวัดสกลนคร มีทั้งสิ้น 18 อำเภอ ดำเนินการถ่ายโอนแบบทั้งอำเภอ จำนวน 14 อำเภอ และถ่ายโอนแบบไม่ทั้งอำเภอ จำนวน 4 อำเภอ มีสัดส่วนตามสังกัดของ รพ.สต.
ที่มีทั้งสิ้นรวม 168 แห่ง ดำเนินการถ่ายโอนอยู่กับ อบจ.จำนวน 149 แห่ง (79.3%) คงอยู่กับ สสจ.สน.
39 แห่ง (20.7%) ด้วยยุทธศาสตร์ ด้านการพัฒนาระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิตามแผนพัฒนาสุขภาพระดับพื้นที่ อบจ.สกลนคร (กสพ.)
เป้าหมายการพัฒนากระบวนการบริการสุขภาพปฐมภูมิ คือ 1.ผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ.2567 (ฉบับปรับปรุง) (กสป.) 2. ผ่านการรับรองมาตรฐานพยาบาลปฐมภูมิ (Primary Care Standardsx: PCA) (สรพ.)
1.องค์ประกอบมาตรฐาน PCU ประกอบด้วย 8 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 ด้านระบบบริหารจัดการ
ส่วนที่ 2 ด้านการจัดการบุคลากร และศักยภาพในการให้บริการ
ส่วนที่ 3 ด้านสถานที่ตั้งหน่วยบริการ อาคาร สถานที่และสิ่งแวดล้อม ส่วนที่ 4 ด้านระบบสารสนเทศ ส่วนที่ 5 ด้านระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ ส่วนที่ 6 ด้านระบบห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข
ส่วนที่ 7 ด้านการจัดการบริการเภสัชกรรมและงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คบส.) ส่วนที่ 8 ด้านระบบการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ
- มาตรฐานสถานพยาบาลปฐมภูมิ Primary Care Standards โดยสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์กรมหาชน) พัฒนาเมื่อ 16 ธันวาคม 2566 มีองค์ประกอบที่ให้ความสำคัญกับบริบทพื้นที่ ผู้รับบริการและประชาชนที่รับผิดชอบ ทำให้เกิดการพัฒนาสถานพยาบาล ใกล้บ้านใกล้ใจ ดูแลตั้งแต่เริ่มแรก รอบด้าน และครบถ้วน ดูแลใส่ใจ ต่อเนื่องประสานเชื่อมโยงกับสถานพยาบาลและเครือข่ายทุกระดับ ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ต้องการ ประกอบด้วย ตอนที่ 1 ภาพรวมของการบริหารสถานพยาบาลปฐมภูมิ
ตอนที่ 2 การบริการสุขภาพปฐมภูมิ
ตอนที่ 3 การบริการสาธารณสุขปฐมภูมิ
ตอนที่ 4 การสนับสนุนบริการ
ตอนที่ 5 ผลการดำเนินการ
แนวทางการดำเนินงาน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.)ร่วมกับ องค์กรบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ประสานความร่วมมือการพัฒนาคุณภาพ ซึ่งเดิมพัฒนาจาก รพ.สต.ดิดดาว จึงเกิดความคิดที่จะต่อยอดพัฒนายิ่งขึ้นไปอีก โดยการศึกษามาตรฐาน จัดให้มีทีมพี่เลี้ยงพัฒนา รพ.สต. ดำเนินการประเมินตนเองให้สมบูรณ์ ซึ่งไม่ได้เป็นภาระ พร้อมกับพัฒนาส่วนขาด โดยนำกรอบการประเมินทั้งมาตรฐาน PCU Standard และ มาตรฐาน สรพ. โดยใช้แนวคิด 3 P
(Purpose Processและ Performance) การพัฒนาคุณภาพเครือข่ายปฐมภูมิ อำเภอกุสุมาลย์ “จากมาตรฐาน…สู่ความยั่งยืน” เริ่มจากรพ.สต.จำนวน ทั้ง 6 แห่ง (ทั้งหมด 7 แห่ง) ขับเคลื่อนพัฒนาคุณภาพภายใต้ 2 กระทรวง คือ กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงมหาดไทย มีโรงพยาบาลกุสุมาลย์เป็นพี่เลี้ยง ให้การสนับสนุนด้านสาธารณสุข และติดตามการดำเนินงานตามมาตรฐานสถานพยาบาลปฐมภูมิ รพ.สต. ทั้ง 6 แห่ง และในปี 2568 รพสต.สามารถผ่านการรับรองอีก 1 แห่ง จนครบ 7 แห่ง
ตัวอย่างการพัฒนางานคุณภาพ “สู่เครือข่าย… อย่างไร้รอยต่อ” เช่น 1. มะเร็งท่อน้ำดี นำเข้าสภาสุขภาพเมื่อปี 2558 ขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มลดลง 2. Palliative เชื่อมโยงผ่านทีมนำด้านการดูแลผู้ป่วย ตั้งแต่การเข้าถึงบริการง่าย รวดเร็วและดูแลระยะท้าย 3. ไข้เลือดออก เชื่อมโยงการมีส่วนร่วมของชุมชน ลดอัตราป่วย 4. ยาเสพติด เชื่อมโยงผ่านการเฝ้าระวัง ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด 5. RIT การป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจราจร ลดการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจร 6. NCD การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชนภายใต้สโลแกน “ยก รพ.ไป รพ.สต.” ช่วยลดระยะเวลารอคอย
บทเรียนการพัฒนาคุณภาพปฐมภูมิ ศูนย์เรียนรู้อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร รพ.สต.ถ่ายโอนไปแล้ว คุณภาพบริการและสุขภาพประชาชนต้องดีขึ้นกว่าเดิม ภายใต้การสนับสนุน
- ด้านงบประมาณ (Money) การจัดอบรม
- ด้านบุคลากร (Man) ให้การสนับสนุนทีมสหวิชาชีพร่วมปฏิบัติงาน พัฒนาศักยภาพทีม/เครือข่าย
- ด้านเครื่องมือ/อุปกรณ์ (Material) ทั้งยา/เวชภัณฑ์ ครุภัณฑ์ที่จำเป็น และการจัดตั้งกองทุนฟื้นฟู อบจ.สกลนคร
- ด้านระบบการจัดการ (Management) ระบบการดูแลผู้ป่วย Palliative care, ระบบให้คำปรึกษา
และระบบการรับส่งต่อ-ติดตาม
การพัฒนาระบบมาตรฐานบริการสุขภาพ แม้ถ่ายโอนไปอยู่ อบจ. ยังคงได้รับการสนับสนุนทั้งงบประมาณ เครื่องมือ อุปกรณ์ และกิจกรรมต่างๆ สามารถทำให้ดีขึ้นได้ การพัฒนาระบบบริการคุณภาพปฐมภูมิ ยังวงเวียนอยู่กับกงล้อของมาตรฐานมาโดยตลอด จาก DHSA /PCU Standard ถือเป็นเรื่องปกติ จนทำให้เกิดผลลัพธ์ ประชาชน/ผู้รับบริการ ได้รับบริการอย่างมีคุณภาพ พร้อมกับต่อยอดได้รับการรับรองมาตรฐาน PCA จากสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล อีกด้วย
ผู้ถอดบทเรียน นางสาวณัฐสุดา อั้งโสภา
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานการพยาบาลควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ โรงพยาบาลปทุมธานี