ผสมงาน ผสานคน สร้างปฐมภูมิคุณภาพ

0
4176

 ผสมงาน ผสานคน สร้างปฐมภูมิคุณภาพ

“ไม่ต้องกลัวนโยบาย แต่ใช้นโยบายในการขับเคลื่อน ให้ทุกภาคส่วนเกิดประโยชน์”

พญ.รัชฎาพร รุญเจริญ (โรงพยาบาลขุนหาญ)                                                                            โรงพยาบาลขุนหาญ อำเภอขุนหาญ มีที่ตั้งติดชายแดน มีทั้งหมด 12 ตำบล ขนาด 90 เตียง มีประชากรในพื้นที่ 100,000 คน และหน่วยงาน อบต. 7 หน่วย ความท้าทายในการขับเคลื่อนของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต (พชอ.) เมื่อมีการเปลี่ยนผู้นำแล้ว จะสามารถขับเคลื่อนระบบให้ไปต่อได้อย่างไร ต่างจากสาธารณสุขอย่างไรโดยต้นทุนที่สำคัญอย่างหนึ่งความเข้มแข็งของคนในอำเภอ ซึ่งที่ผ่านมาสาเหตุที่ไม่สามารถขับเคลื่อนไปสู่ความสำเร็จได้ (Falls step) นั่นคือการไม่ได้ตั้งเป้าหมายอะไรเลย                                                                     ในปี 2559 เราเลยนำกระบวนการ 3P PDSA เข้ามาใช้ในการพัฒนาระบบ และสอดประสานกัน                       ในปี 2560 เริ่มมีการขับเคลื่อน คุณภาพชีวิต ของคนในอำเภอ โดยเริ่มจากสอบถามความต้องการของคนในพื้นที่เพื่อกำหนดนโยบายและกำหนดเป็นวาระของคนขุนหาญ โดยเชิญผู้มีความรู้เข้ามาช่วยในการกำหนดนโยบายนำร่อง เรื่อง ขยะ Smart City ได้รับรางวัลอำเภอสะอาด จึงได้นำมาทบทวนและพบว่า ประชาชนในพื้นที่ทั้ง 12 ตำบล  ยังมีความเข้าใจไม่ตรงกัน จึงได้ดำเนินการปรับโครงสร้างที่เอื้อต่อการทำงานเพื่อสร้างความเข้าใจที่ตรงกันให้กับประชาชนทั้งในระดับอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน                                                                                   ปี 2561 ชนะเลิศอำเภอสะอาดในระดับประเทศ และอำเภอใหม่ รวมไปถึง Zero Waste ระดับภาค                   ปี 2562 มีการขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีการกำหนดยุทธศาสตร์ระยะยาวว่าจะเป็นเมืองสะอาด ปลอดโรค ปลอดภัย โดยเปิดให้หน่วยงานราชการต่าง ๆ และประชาชนในชุมชนได้มีโอกาสในการออกแบบและกำหนดแผนแม่บทที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้วยตนเองผ่านประเด็นยุทธศาสตร์ และเกิดการเปลี่ยนแปลง 1. เมืองสะอาด 2.วิถีออกกำลังกาย 3.ปลอดโรค

พิมล เกิดมงคล (สำนักงานสาธารณสุขอำเภอขุนยวม)                                                                  อำเภอขุนยวม เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยเริ่มจากการสำรวจข้อมูลพื้นฐาน งานสุขภาพที่ไม่ต้องพูดว่าเป็นงานสุขภาพ เพราะจะทำให้หน่วยงานอื่นมองว่าเป็นงานสาธารณสุขไป ดังนั้นเราจึงเปลี่ยนมาเป็นงานพัฒนาคุณภาพชีวิตแทนซึ่งแต่ละหน่วยงานทุกกระทรวงก็มีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนให้มีความเป็นเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปากท้อง สุขภาพ เศรษฐกิจ วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ฯลฯ ปี 2558 เริ่มเข้าร่วมเป็นทีมเรียนรู้ DHML กับอำเภอสารภี เก็บเกี่ยวประสบการณ์และนำความรู้จากพื้นที่อื่นๆปรับมาใช้ในบริบท พื้นที่ของเรามี โดยให้ รพ.สต. 10 แห่งเป็นพี่เลี้ยงในพื้นที่ของตนเองค้นหาปัญหามา รพ.สต ละ 2 ปัญหามานำเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ เพื่อนำปัญหาขึ้นมาร่วมกันแก้ไข และเมื่อปี 2559 อำเภอขุนยวมได้มี    การประชุมคณะกรรมการคุณภาพชีวิตอำเภอขุนยวมและได้กำหนดประเด็นปัญหา 5 ประเด็น คือ 1. ไข้เลือดออก      2. แม่และเด็ก 3. กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) 4. สุขภาพจิต 5. งานอุบัติเหตุ

ถ้าทุกคนมองเห็นและรับรู้บทบาทของตัวเอง จะทำให้ทุกคนคิดและตัดสินใจได้ เพราะมีส่วนร่วมอย่างเข้าใจ และ  เป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งจะทำให้สามารถขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ ได้ นอกจากนั้นยังมีการสะท้อนกลับข้อมูลลงสู่พื้นที่  การเยี่ยมทุกภาคส่วนเพื่อติดตามผลรวมถึงการประเมินความไม่สำเร็จ มีการเสริมพลัง การชื่นชมความสำเร็จ พูดคุย กันอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้เราทราบข้อมูลจริง การสื่อสารให้ครบทุกพื้นที่และทุกระดับ จะสร้างความตื่นตัว และพร้อม ที่จะดำเนินการมีส่วนร่วมในกิจกรรมนั้น ขับเคลื่อนไปตามบริบท พร้อมทั้ง ใช้การทบทวน พูดคุย เพื่อให้บรรลุไปตาม สิ่งที่ตั้งไว้

ดาวน์โหลดที่นี่…ฟรี ผสมงาน ผสานคน สร้างปฐมภูมิคุณภาพ

ผู้ถอดบทเรียน ร.ท.อธิภัทร พรมกลาง

ตำแหน่ง นักกายภาพบำบัด โรงพยาบาลค่ายสรรพสิทธิประสงค์

Photo by Dylan Gillis on Unsplash

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here