Learning Key for Sustainability

0
5386
Learning Key for Sustainability

Learning Key for Sustainability

“การเรียนรู้เป็นกุญแจสำคัญสู่ความยั่งยืน โดยการเรียนรู้ต้องเกิดจากการปฏิบัติจริง มีการสะท้อนความคิด ถือเป็น Collective learning และต้องแสวงหาความรู้จากภายนอก” ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช

การดำรงชีวิตในท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง หรือ VUCA world โดยยกตัวอย่างการจัดประชุมวิชาการประจำปี ของ สรพ. ที่ได้จัดมาถึง 20 ปี และมีการเปลี่ยนแปลงและยกระดับพัฒนารูปแบบและแสวงหาความร่วมกับภาคี    เครือข่ายต่างๆ มากมาย เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง พร้อมยกตัวอย่างนกเพนกวินที่เป็นตัวเดินเรื่องในหนังสือ Our Iceberg is Milting ซึ่งขายดีเมื่อ 13 ปีที่แล้ว ที่เห็นว่าโลกได้มีการเปลี่ยนแปลงไปแล้วในทุกๆ วันทุกๆ เดือน    จึงพยายามชักชวนให้คนอื่นๆ ได้ปรับตัว แต่ไม่มีใครเชื่อหายนะจึงเกิดขึ้น จึงอย่าได้ประมาท การเปลี่ยนแปลงทีละเล็กที่ละน้อย ทำให้คนไม่รู้ตัวและไม่คิดที่จะเปลี่ยนแปลง ในทางธุรกิจถือว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องธรรมดา      และให้เห็นว่าต้องมีการปรับตัว แต่ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมาก เรียกว่า Disruptive change

Disruption ในวงการสุขภาพมีปัจจัย 5 ประเด็น ได้แก่ การตลาด กฎหมาย/กฎระเบียบต่างๆ เทคโนโลยี พฤติกรรมผู้บริโภค การแพทย์เฉพาะด้าน ดังนั้นหากมองในเชิงบวกของการเปลี่ยนแปลง นี่คือโอกาสของการสร้าง Innovation การมองหาโอกาสในสิ่งต่างๆ ในงานที่เราทำคือ หัวใจการพัฒนาคุณภาพ และสร้างคุณค่า

ประเด็นที่เป็นแรงขับในเกิดการเปลี่ยนแปลงบริการสุขภาพในอนาคต (The Sixth force Transforming the future of healthcare) ในมุมมองเชิงธุรกิจนั้นมี 6 อย่าง ได้แก่ ข้อมูล กลยุทธ์ การบริการ ความต้องการด้านการแพทย์ รูปแบบการขาย และกระบวนการ ซึ่ง Point of care device จะมีบทบาทมากขึ้น จึงต้องมีการปรับตัวให้ทัน มี 10 ประเด็นในการปฏิรูปด้านสาธารณสุข ประกอบด้วย

  1. ระบบบริหารจัดการด้านสุขภาพ
  2. ระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศสุขภาพ
  3. กำลังคนด้านสุขภาพ
  4.  ระบบบริการปฐมภูมิ
  5.  การแพทย์แผนไทย สมุนไพรไทย เพื่อเศรษฐกิจ
  6.  การแพทย์ฉุกเฉิน
  7.  การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค
  8.  ความรอบรู้ด้านสุขภาพ
  9.  การคุ้มครองผู้บริโภค
  10.  ระบบหลักประกันสุขภาพ ทั้งนี้เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

VUCA (Volatile, Uncertain, Complex, Ambiguous) คือ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาการเปลี่ยนแปลง (Change) จึงเป็นความท้าทายที่ต้องเรียนรู้เพื่อให้เท่าทันเหตุการณ์ การเรียนรู้ที่ทำให้เกิดการพัฒนา คือ Growth mindset  ที่จำเป็นต้องอาศัยการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง หรือ Transformative learning การเรียนรู้ที่ดีควรเป็นแบบ Double loop learning ที่คำนึงถึง Goal strategy และ Result ซึ่งเทียบได้กับหลักคิดเชิงคุณภาพ Purpose process และ Performance และการ เรียนรู้แบบ Open loop learning ที่มาจากความท้าทาย เปรียบเทียบกับมาตรฐานภายนอก และการตั้งคำถามจึงจะเกิดการเรียนรู้แบบยั่งยืน เมื่อไร ที่ไหน ใคร ที่มีการทำงาน ต้องมีกระบวนการเรียนรู้ และ Learning = Change /Transform หัวใจของการเรียนคือการตั้งคำถาม เพื่อยกระดับการเรียนรู้ ต้องเรียนรู้โดยการแลกเปลี่ยน (collaboration) ต้องถามหาความเห็นที่ต่าง ไม่เน้น ถูก-ผิด เรียนจากการทำงานร่วมกัน ด้วย BAR, AAR และ Storytelling

Collaboration คือ การทำงานร่วมกันแบบร่วมมือร่วมใจ อาศัยพื้นฐานความไว้วางใจ (Trust) ที่คนในองค์กรมีให้ต่อกัน เป็นกุญแจสำคัญในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสู่องค์กรคุณภาพ สื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลทั้งสองทาง (Two-way Communication) โดยนำองค์ความรู้จากภายนอกมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติจริง และสะท้อนผลของการปฏิบัติจากการทำ Group reflection เพื่อให้เกิดเป็นการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนขององค์กร  

Sustainability หรือการพัฒนาที่ยั่งยืน จะต้องมองถึงมิติด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ความยั่งยืนเกิดจากการทำเพื่อประโยชน์ของผู้ป่วย การพัฒนา เพื่อคุณค่า/เป้าหมายสูงส่ง อย่างต่อเนื่องเป็นวงจรคุณภาพด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ ตีความเกณฑ์มาตรฐาน ทำให้ดีกว่า ยกระดับต่อเนื่อง ทำจนเป็นวัฒนธรรม และเรียนรู้กระบวนการสร้างความสุข

ดาวน์โหลดที่นี่…ฟรี Learning Key for Sustainability

ผู้ถอดบทเรียน อุสาห์ เพ็งภารา                    

ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญ (ด้านบริการทางวิชาการ) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี

Image by sswanalytics

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here