วันจันทร์, พฤษภาคม 19, 2025
Benchmarking for healthcare x THIP
Benchmarking for healthcare x THIP “Cost กับ Quality มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด …. Quality ดี cost ต่ำ” (รศ.นพ.อภิชาติ จิระวุฒิพงศ์) Benchmarking คือ วิธีการในการวัดและเปรียบเทียบ ผลิตภัณฑ์ บริการ และวิธีการปฏิบัติกับองค์กรที่สามารถทำได้ดีกว่า เพื่อนำผลของการเปรียบเทียบพัฒนามุ่งสู่ความเป็นเลิศ โดยกระบวนการ benchmarking นำไปสู่การค้นหาผู้ที่เป็นต้นแบบที่ผู้อื่นจะใช้วัดเพื่อเปรียบเทียบความสามารถของตนเอง (benchmark) เรียนรู้วิธีการปฏิบัติที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ หรือนำให้องค์กรสู่ความเป็นเลิศ รศ.ดร.นพ.จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์                                                                 ...
🌺เคล็ดลับงานคุณภาพ 🌺 วันนี้มาเรียนรู้ 5 หลักการสำคัญ...เมื่อจะนำ AI มาประยุกต์ใช้ในโรงพยาบาลกันครับ ปัญญาประดิษฐ์ (AI; Artificial intelligence) หมายถึงความฉลาดเทียมที่สร้างขึ้นให้กับสิ่งที่ไม่มีชีวิต ปัญญาประดิษฐ์เป็นสาขาหนึ่งในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมเป็นหลัก แต่ยังรวมถึงศาสตร์ในด้านอื่น ๆ ด้วย AI เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาเพื่อดูแลสุขภาพแบบครบวงจรนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น การวิเคราะห์ วินิจฉัย วิจัย เป็นต้น หากจะมีการนำ AI ประยุกต็ใช้ในโรงพยาบาล มีหลักการ ดังนี้ หลักการที่ 1 AI ใช้สนับสนุนการตัดสินใจ ไม่ใช่การตัดสินใจ หลักการที่ 2 ต้องบูรณาการ AI เข้ากับทุกกระบวนการทำงาน หลักการที่ 3 ต้องมีการฝึกอบรม และการตรวจสอบกับข้อมูลเดิมที่มี หลักการที่ 4 ต้องมีความต่อเนื่อง ผู้ใช้ข้อมูลมีส่วนร่วม และมีระบบการกำกับติดตาม หลักการที่ 5 AI นำไปสู่การสร้างโอกาสในทุกส่วนและทุกคน   ภาพโดย Gerd Altmann จาก Pixabay
Building a Smart Nursing in a Changing World
Building a Smart Nursing in a Changing World “การปฏิบัติการพยาบาลที่มีประสิทธิผลย่อมมาจากการบริหารการพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ”              (จักษณา ปัญญาชีวิน) “ทุกปัญหามีทางออกที่สามารถจัดการได้ ปัญหากับความท้าทายต่างกันที่ความคิด”                     (มธุรส ภาสน์พิพัฒน์กุล)   ความเข้มแข็งองค์กรพยาบาล เป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งที่มีผลต่อความสำเร็จขององค์กร จากสถานการณ์ที่มีภาระงานที่มีปริมาณมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นงานดูแลผู้ป่วยซึ่งเป็นงานหลัก งานนโยบายใหม่ที่ต้องดำเนินการและในทุกระบบงานก็ต้องมีพยาบาลเข้าไปมีส่วนร่วม ทั้งระบบบริหารความเสี่ยง หรือกระบวนการพัฒนาคุณภาพ ตลอดจนมีการปรับเปลี่ยนและมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากมายในสถานการณ์ปัจจุบันสะท้อนให้เห็นถึงความพยายามและความตั้งใจที่ผู้บริหารทางการพยาบาลและบุคลากรทางการพยาบาลสามารถจัดบริการที่มีคุณภาพ โดยมุ่งเป้าให้ความปลอดภัยของผู้ป่วย พัทธ์ธีรา อัมพรศรีสุภาพ                                                 ...
เปลี่ยนมุมมอง พลิกชีวิต เปลี่ยนวิธีคิด พลิกคุณภาพงาน
เปลี่ยนมุมมอง พลิกชีวิต เปลี่ยนวิธีคิด พลิกคุณภาพงาน จุดร่วมของการร่วมมือกันทำงานของบุคลากรในทีมสหวิชาชีพคือ “ผู้ป่วย” เราทำงานทุกอย่างเพื่อผู้ป่วย เวลาที่เราให้บริการผู้ป่วย จะมีกี่มากน้อยที่เราจะนำผู้ป่วยมาเป็นจุดศูนย์กลางอย่างแท้จริง? เราเคยรับฟังเสียงสะท้อนของผู้ป่วยแล้วนำปัญหาที่แท้จริงมาแก้ไขหรือไม่? เราควรให้บริการโดยมุ่งเน้นที่การตอบโจทย์ที่ตั้งไว้ มีประโยชน์อย่างแท้จริงกับผู้รับบริการ และสามารถนำ ไปต่อยอดได้ การเปลี่ยนแปลง ทำไมเราต้องเปลี่ยนแปลง? การเปลี่ยนแปลงมีความสัมพันธ์กับเราอย่างไร? เริ่มต้นที่มุมมองและการตัดสินใจภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน แต่อาจนำไปสู่การรับข้อมูล หรือการตัดสินใจที่แตกต่างกัน เปรียบเสมือนการหมุนวงล้อคุณภาพ (PDCA) จะทำอย่างไรให้วงล้อหมุนได้อย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงกระบวนการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยของทีมสหวิชาชีพ เวลาที่ให้บริการโดยเฉพาะด้านกายภาพบำบัด เมื่อพูดถึงผลลัพธ์การให้บริการแล้ว เรามักจะวัดผลลัพธ์ในเรื่องของการลดปวด เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ แต่จะมีตัวชี้วัดใดที่สะท้อนถึงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยหลังจากได้รับการบริการ จุดร่วมของการร่วมมือกันทำงานของบุคลากรในทีมสหวิชาชีพ คือ “ผู้ป่วย” เราทำงานทุกอย่างทำเพื่อผู้ป่วย เวลาที่เราให้บริการผู้ป่วย จะมีกี่มากน้อยที่เราจะนำผู้ป่วยมาเป็นจุดศูนย์กลางอย่างแท้จริง? เราเคยรับฟังเสียงสะท้อนของผู้ป่วยแล้วนำปัญหาที่แท้จริงมาแก้ไขหรือไม่? การให้ผู้รับบริการเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ ย่อมส่งผลดีต่อการรักษา หากเรายังไม่เปลี่ยนมุมมอง และพัฒนารูปแบบการให้บริการที่เหมาะสม เราจะติดอยู่ในกับดักของวิชาชีพเช่นเดิม เราควรให้บริการที่เน้นประโยชน์กับผู้รับบริการอย่างแท้จริง และสามารถนำไปต่อยอดได้ ผลลัพธ์ของการให้การบริการที่เรามักคำนึงถึง คือ ความปลอดภัย ผลทางคลินิก ความพึงพอใจของผู้รับบริการ ค่าใช้จ่าย การแก้ไขความบกพร่อง (Impairment) ต่างๆ เช่น ความรู้สึกเจ็บปวด การยึดติดของข้อต่อ การอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในการให้บริการทางกายภาพบำบัด ควรมีการคำนึงถึงความจำกัดในการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน และการเข้าร่วมกิจกรรมในสังคมของผู้รับบริการด้วย มีผู้ให้บริการกี่คน ที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ป่วย เราต้องเปลี่ยนมุมมองเพื่อไปให้ถึงการแก้ไขปัญหาของผู้ป่วย...
speak up
เคล็ดลับงานคุณภาพ วันนี้มีตัวอย่างดี จากประเทศเพื่อนบ้าน มาให้เรียนรู้ร่วมกันครับ ตัวอย่าง Speak Up TeamSPEAK® สิงคโปร์ Speak up คือกล้าพูดก่อนที่จะเกิดอันตราย เกิดความไม่ปลอดภัย กับผู้ป่วย Speak up คือการช่วยชีวิตผู้ป่วย ทักษะสำคัญเพื่อให้มีการ Speak up ที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ - ทักษะการสื่อสารด้วยความสุภาพอ่อนน้อม (Respectful) - มีความแน่วแน่ (Assertive) - ทักษะการเป็นผู้นำ (Leadership) - ทักษะการติดตามสถานการณ์ (Situation Monitoring) - ทักษะการสนับสนุนอย่างมั่นใจ (Mutual Support) แนวปฏิบัติ CUS ในการเพิ่มทักษะการสื่อสาร C: Concern & Check ใส่ใจ สนใจไม่วางเฉย U: Uncomfortable มีสิ่งไม่สบายใจ ไม่แน่ใจ S: Safety & Stop หยุดความไม่ปลอดภัย การสร้างวัฒนธรรม Speak up ด้วยมุมมองเชิงบวก ทำได้ดังนี้ - Encourage ส่งเสริมให้เพื่อนร่วมงานของคุณให้ข้อมูลยืนยันในสิ่งที่มีความปลอดภัย - Ask บอกกับเพื่อนร่วมงานของคุณเกี่ยวกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วย - Listen ฟังเพื่อยืนยัน ปรึกษาหารืออย่างสร้างสรรค์เพื่อหาทางเลือกที่ดีที่สุดต่อผู้ป่วย - Thanks...
ระบบส่งยาทางไปรษณีย์
ระบบส่งยาทางไปรษณีย์    การส่งยาทางไปรษณีย์ ที่โรงพยาบาลศิริราชได้ดำเนินการมาเป็นระยะเวลานานนั้น ทำได้อย่างไร และการวางระบบถูกต้อง เป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐาน HA หรือไม่ ที่สำคัญจะต้องอาศัยความร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้อง อย่างไรเพื่อที่จะป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น ระบบส่งยาทางไปรษณีย์เป็นระบบที่ประยุกต์ใช้แนวคิดทางการบริหารที่ชื่อว่า LEAN เพื่อลดความสูญเสียและจัดให้การไหลของงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น การออกแบบระบบจึงต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยและมาตรฐานการปฏิบัติงานของวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง โรงพยาบาลศิริราชได้ดำเนินการพัฒนาระบบการส่งยาทางไปรษณีย์มาเป็นเวลานานต่อเนื่องมา 5 ปี โดยการวางระบบงานร่วมกับบริษัทไปรษณีย์ไทยในการออกแบบและทดสอบระบบร่วมกัน เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับบริการที่สอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพและคุณภาพให้บริการที่สูงขึ้นกว่าระบบเดิมจนมีผลลัพธ์ที่ดีผู้รับบริการพึงพอใจ รศ.นพ.เชิดชัย นพมณีจำรัสเลิศ                                                                                 ...
เทคโนโลยีเปลี่ยนไว เราจะรับมืออย่างไรดี
เทคโนโลยีเปลี่ยนไว เราจะรับมืออย่างไรดี “ดิจิตอล” เป็นเรื่องของคนและเทคโนโลยีร่วมกันสร้างความสามารถแข่งขัน ปัจจัยความสำเร็จของเทคโนโลยีย่อมมาจากส่วนที่ไม่ใช่เทคโนโลยี “ในยุคเศรษฐกิจดิจิตอล คำว่า การเปิดเผย (openness) เป็นคำสำคัญที่จะนำมาซึ่งโอกาส และความเป็นไปได้ นำไปสู่ การไว้วางใจ (TRUST)” เทคโนโลยีดิจิตอลต่างๆ ในปัจจุบันก้าวหน้าไปมาก ตัวอย่างเช่น 4G และ 5G เป็นต้น คนไทยใช้เทคโนโลยีได้ดี ประเทศไทยติดอันดับ 1 ใน 3 ของผู้ใช้บริการ Facebook มากที่สุด ติดอันดับประเทศต้นๆ ในโลกที่ใช้ you tube เป็นประเทศที่ใช้ line เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากประเทศญี่ปุ่น ปัญหาที่สำคัญคือ เราจะได้ประโยชน์จากเทคโนโลยีพวกนี้อย่างไร คนไทยมีบัญชี Facebook 40 ล้านบัญชี ทุกๆ วินาที คนไทยกำลังสร้าง content บน platform ของ Facebook และมีคนไทยอีกจำนวนมากที่อ่าน content ของคนไทยที่สร้างไว้ ข้อมูลเหล่านี้เก็บไว้ บน platform ของ Facebook ที่ประเทศสิงคโปร์ ปัจจุบันการใช้...
ทุกข์ และสุข มีหนึ่งสิ่งที่เหมือนกัน คือ เดี๋ยวมันก็ผ่านไป
ทุกข์ และสุข มีหนึ่งสิ่งที่เหมือนกัน คือ เดี๋ยวมันก็ผ่านไป https://youtu.be/hYAui_avIzM เราจะมาเรียนรู้ความสุข และการเปลี่ยนความทุกให้ผ่านไปของนักสร้างความเปลี่ยนแปลงในเรื่องที่หลาย ท่านมองเห็นเป็นเพียงเรื่องเล็ก น้อย แต่กลับกลายเป็นความสุขที่ยิ่งใหญ่ของผู้ที่ได้รับ คือ นพ.สันติ ลาภเบญจกุล        นักพัฒนา ”ลำสนธิโมเดล” ทางออก”ชุมชนคนชราอย่างมีคุณภาพ” การสร้างความเปลี่ยนแปลง และต้องการทำให้ชีวิตผู้คน ดีขึ้น มีความสุขกับการได้เห็นเรื่องราวต่างๆ ดำเนินการไปในทางที่ดี อย่างเรื่องเกี่ยวกับผู้สูงอายุบางทีก็ไม่ใช่หน้าที่โดยตรง บางทีก็เป็นหน้าที่โดยตรงของท่าน ประเด็น คือ ท่านอยากที่จะมีส่วนทำให้ชีวิตของผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มใดก็ตาม มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยเฉพาะผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง แค่ป่วยก็ทุกพอแล้ว ไหนจะไม่มีคนดูแลอีก หากใครมีญาติหรือคนใกล้บ้านที่ ป่วยจะรู้ได้ถึง สภาพความเป็นอยู่ และผลกระทบที่เจอ หลายคนไม่รู้ และไม่เคยสนใจ แต่สิ่งเหล่านี้ กลับกลายเป็นความทุกที่ กำลังเดินผ่านออกไป จากผู้ป่วยและคนชราหลายคน เพราะท่านเข้ามาทำตรงนี้ ด้วยความเต็มใจและกลับกลายเป็นความสุขในการทำงาน  ที่ไม่เคยคิดจะหยุด สานต่อโครงการเลย แต่ยังคงเพิ่มความสุขมากขึ้น ด้วยการพัฒนาโครงการช่วยเหลือผู้อื่นให้ได้มากยิ่งไป อีก ความสุข เล็กๆ อีกอย่างที่หลาย ท่านสามารถทำตามได้เลยก็คืออ่านหนังสือ ท่านกล่าวว่า อ่านหนังสือโดยเฉพาะหนังสือที่เกี่ยวข้องกับวิธีคิด เกี่ยวข้องกับวิธีคิดแบบใหม่ๆ เกี่ยวข้องกับผู้คนต่างๆ นานา การอ่านหนังสือก็ทำให้เราทำความเข้าใจกับชีวิตต่างๆ ได้มากขึ้น...
ความสุขง่ายๆ ที่ทุกคนไม่รู้
ความสุขง่ายๆ ที่ทุกคนไม่รู้ https://youtu.be/UWItzaMWx-8 ครั้งนี้เราจะพาคุณมารู้จักความสุขง่ายๆ ในแบบที่คุณอาจไม่เคยคิดถึงเลย จากแนวคิดของ นพ.คณพล ภูมิรัตนประพิณ ที่เป็นถึง CEO และ Co-Founder ของ Health at Home ผู้บริการดูแลผู้สูงอายุ และผู้ป่วยที่บ้าน  ผู้ที่มองเห็นปัญหาของสังคมในปัจจุบัน ที่หลาครอบครัวไม่มีเวลาดูแลผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุในบ้าน จึงได้เกิดการพัฒนาแอพพลิเคชั่น สำหรับค้นหาผู้ดูแลที่เชื่อใจได้ แถมยังสามารถตรวจสอบอาการของผู้ป่วยได้ด้วยตัวเอง เพื่อทำให้บ้านกลายเป็นโรงพยาบาลอย่างเหมาะสม ทั้งเก่งและมีความคิดที่ซับซ้อนขนาดนี้ จะมีแนวคิดการสร้างความสุขในมุมแบบไหนกัน ความสุขที่ทุกคนตามหากันอยู่ เป็นแบบไหน เคยคิดกันหรือเปล่า บางคนคิดว่า ก็ต้องอยากรวย หรือ มีเงินเยอะๆ    ถึงจะมีความสุข หรือ ถ้าได้ไปเที่ยวรอบโลกถึงจะมีความสุข ลองมาหยุดคิดกันสักนิดดูก่อนไหม หยุดถามตัวเองจริงๆ  ดูก่อนว่าความสุขของเราคืออะไร บางที ชีวิตนี้อาจจะไม่ต้องการมีความสุขขนาดนั้นก็ได้ อันนี้อาจจะมองดูย้อนนิด บางทีเราอาจจะไม่ต้องไปเสพติดความสุขใน Level ที่มันอาจจะไม่ใช่ความสุขที่แท้จริงหรือเปล่าก็ได้ ต้องมาทบทวนตัวเองว่า definition ความสุขเราคืออะไรมากกว่า เมื่อรู้ตัวเองก็คงต้องพยายามมองย้อนกลับมาจากอนาคต พยายามคิดว่าตอนที่แก่แล้ว หรือวันที่เราใกล้จะไปแล้ว    เรามองย้อนกลับมา ณ วันนี้ จะ OK กับสิ่งที่เป็นอยู่ไหม ว่าอยากเต็มที่กับสิ่งที่ทำมากกว่านี้หรือเปล่า แล้วก็ใช้ตรงนั้นล่ะ มองย้อนกลับมา...
ปิติสุข กับชีวิตที่ทำเพื่อสังคม
ปิติสุข กับชีวิตที่ทำเพื่อสังคม https://youtu.be/ZUcJdRL43q4 ความสุขของเรา เป็นแบบไหน คงมีรูปแบบ และหน้าตา ที่ไม่เหมือนกัน คงแล้วแต่ใครจะจินตนาการความสุข แบบที่เราต้องการ ออกมาเป็นรูปธรรม ที่จับต้องได้ตามความต้องการของเรา ความสุขทั้งหมด ก็ขึ้นอยู่กับความคิดของเรานั้นเอง วันนี้เรามาเรียนรู้มุมมองความสุข กับการทำงานเพื่อสังคม ของบุคคลคุณภาพ มากด้วยประสบการณ์อย่าง ดร.อำพัน วิมลวัฒนา กันคะ การทำงานต้องทำให้มีความสุข ถามว่าทำอย่างไร จะทำงานให้มีความสุข จริงๆ ก็ต้องเริ่มต้นที่ตัวเอง การพัฒนาอย่างยั่งยืน คุณภาพเน้นว่าเริ่มต้นที่ตัวเราเองก่อน และก็ค่อยขยายแนวคิด ขยายวิธีการไปสู่คนใกล้ชิด หรือผู้ร่วมงานหรือเพื่อน แล้วกฎของแรงดึงดูด จะทำให้คนที่มีลักษณะคล้ายกัน เข้ามาอยู่ด้วยกัน มองอะไรคล้ายกัน เข้ามาทำงานร่วมกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ก็จะเกิดเครือข่ายของการเรียนรู้ ของการพัฒนาเป็นวงกว้าง ก่อให้เกิดความยั่งยืนได้ในอนาคตของการทำงาน ก็จะเกิดเป็นความสุข ในความคิดของตัวเอง ได้ทำในสิ่งที่ชอบ ได้อยู่กับสิ่งแวดล้อมที่เราชอบ เราก็จะมีความสุขได้ทุกที่ และเมื่อมีความสุข เวลาทำงานก็ทำให้สร้างสรรค์งานคุณภาพได้ดีมากขึ้น แน่นอน เมื่อไม่เครียด ก็ทำให้สมองปลอดโปร่ง ในการที่เราจะคิด จะทำ จะพัฒนาอะไร ก็จะราบรื่นนะคะ อันนี้คิดว่า การทำงานอย่างมีความสุขก็คือ อย่าเพิ่งไปเครียดกับงาน และคิดว่าไม่ว่าอะไรจะเข้ามา ลองทำดู คิดว่าลองทำดู ถ้าไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร ก็ไม่เป็นไร ทำสำเร็จก็...
- Advertisement -

MOST POPULAR

HOT NEWS