ระบบบริการสุขภาพของไทยมีการดูแลผู้ป่วยด้วยความเอาใจใส่และเอื้ออาทรเป็นพื้นฐานมาแต่ดั้งเดิม อย่างไรก็ตาม เมื่อความรู้และเทคโนโลยีทางการแพทย์มีความก้าวหน้าเป็นอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา ทำให้การดูแลผู้ป่วยต้องลงรายละเอียดในมิติของโรค (disease-oriented) มากขึ้นเรื่อยๆ และส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย และการดูแลผู้ป่วยในมิติอื่นๆที่ไม่ใช่ทางด้านร่างกาย ได้รับความสำคัญลดลงไป จนในที่สุดส่งผลให้การดูแลรักษาไม่เป็นองค์รวม และมีผลกระทบต่อคุณภาพและความปลอดภัยของการให้บริการ
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล(องค์การมหาชน) : สรพ. เห็นความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพบริการสุขภาพที่เน้นการดูแลแบบองค์รวมและให้ความสำคัญกับผู้คนที่เกี่ยวข้องกับระบบบริการสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วย ญาติ ชุมชน หรือบุคลากรทางการแพทย์ จึงได้จัดทำโครงการ Spiritual Healthcare Appreciation & Accreditation (SHA) ขึ้นในปี 2551 และได้มีการดำเนินโครงการมาอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งแนวคิด/ เครื่องมือที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนามิติด้านจิตวิญญาณในบุคลากรทางการแพทย์ ได้แก่
การฝึกสติและใคร่ครวญเพื่อพัฒนาตนเอง ผ่านการเจริญสติขณะทำงาน ระฆังสติ การรับรู้คุณค่าของงานที่ตนเองทำอยู่ เรื่องเล่าเร้าพลัง (story telling) และการทำกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์
การฝึกการสร้างความสัมพันธ์ ทั้งในด้านการฟังอย่างลึกซึ้ง (deep listening) การสำรวจประสบการณ์ของผู้ป่วย (patient experience survey) และการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยเพื่อช่วยเหลือให้ผู้ป่วยเปลี่ยนแปลงชีวิตไปสู่วิถีสร้างสุข
การดูแลและเยียวยาผู้ป่วย โดยการจัดสภาพสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเยียวยา (healing environment) และใช้ศิลปะต่างๆ (เช่น การวาดภาพ ดนตรี การถ่ายทำหนังสั้น) เข้ามาช่วยในการดูแลผู้ป่วย
Photo by...
DSC เป็นการประเมินรับรองระบบการดูแลผู้ป่วยเฉพาะโรคหรือบริการสุขภาพเฉพาะกลุ่ม เช่น การผ่าตัด การใช้ intervention หรือกระบวนการดูแล โดยโรงพยาบาลตั้งแต่บันไดขั้นที่ 2 ขึ้นไป สามารถขอรับการประเมินรับรอง DSC ได้
มาตรฐาน DSC ที่ สรพ.มีการพัฒนาขึ้นเป็นฉบับแรก คือ เกณฑ์ประเมินรับรองศูนย์โรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่พัฒนาร่วมกันระหว่าง สรพ. กับสมาคมโรคหลอดเลือดสมองไทย แต่ต่อมา เนื่องจากมีการขอรับการประเมินรับรอง DSC ในกลุ่มโรคที่หลากหลาย สรพ. จึงได้มีการพัฒนามาตรฐานกลางของ DSC ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการประเมินรับรอง DSC ทุกกลุ่มโรค
ในการเยี่ยมสำรวจ DSC สรพ. มักจะเชิญผู้เชี่ยวชาญโรคนั้นๆ เข้ามาเป็นผู้เยี่ยมสำรวจร่วมกับผู้เยี่ยมสำรวจปกติของสถาบัน โรงพยาบาลที่ผ่านการประเมินรับรอง DSC ควรจะมีผลการดูแลในด้านนั้นที่โดดเด่น และเป็นที่ยอมรับของผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น
การรับรอง DSC มักจะส่งผลให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางของโรงพยาบาลแห่งนั้นเข้ามาร่วมในกระบวนการคุณภาพของโรงพยาบาลมากขึ้น และสามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งของการประชาสัมพันธ์ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของโรงพยาบาลแห่งนั้น
ในปัจจุบัน การประเมินรับรอง DSC ครอบคลุมหลายกลุ่มโรค เช่น โรคหลอดเลือดสมอง ผู้ติดเชื้อ HIV และโรคติดต่อเพศสัมพันธ์ การดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งท่อน้ำดี การดูแลรักษาผู้ป่วยผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะตับ การดูแลรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่แบบบูรณาการ การดูแลรักษาผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม การดูแลรักษาผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ
Photo by Natanael Melchor on...
HA National Forum 20
ควันหลง HA 20th: ผลสำรวจ 10 ปัจจัย ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน
QualityCare -
การสำรวจจากผู้เข้าร่วมประชุม HA National Forum ครั้งที่ 20: “Change and Collaboration for Sustainability” มีผู้ตอบจำนวน 226 คน ส่วนใหญ่มาจากรพ.สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ประมาณ 65%
คำถามเป็นการประเมินตนเอง ใน 10 ประเด็น ที่เป็นปัจจัยส่งเสริมให้การพัฒนาคุณภาพ/การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาล/องค์กร เป็นไปอย่างยั่งยืน ผู้ร่วมตอบแบบสอบถามจะให้คะแนนองค์กรของตนเอง จาก น้อยที่สุด = 0 คะแนน จนถึงมากที่สุด = 3 คะแนน ในคำถามแต่ละข้อดังนี้
1. ทุกคนมีส่วนในการเปลี่ยนแปลง รู้สึกเป็นเจ้าของในกระบวนการเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ และแสดงความเห็นได้อย่างเสรี (engagement)
2. ผู้นำสามารถใช้ทักษะการพัฒนาคุณภาพ ร่วมกับการสร้างสัมพันธ์ระดับบุคคล เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง (leadership)
3. มีการประเมินผลการเปลี่ยนแปลงโดยเชื่อมโยง activities, outputs และ outcomes ให้เกิดการเรียนรู้อย่างครบวงจร (evaluation)
4. ผู้นำเข้าใจวัฒนธรรมที่มีผลต่อพฤติกรรมคนในองค์กร (culture)
5. คนในองค์กรเข้าใจถึงปัญหาที่ต้องการเปลี่ยน มีส่วนร่วมในการออกแบบ และทดสอบการเปลี่ยนแปลง (change management)
6. ผู้ปฏิบัติงานสามารถใช้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน...
Editor team
พลังการเปลี่ยนแปลงและพลังแห่งความร่วมแรงร่วมใจเป็นปัจจัยสำคัญของกระบวนการพัฒนาให้งานบรรลุเป้าหมายเฉกเช่นในการประชุมวิชาการประจำปี (HA National Forum) ครั้งที่ 20 “Change & Collaboration for Sustainability) วันที่ 12-15 มีนาคม 2562 ณศูนย์ประชุม IMPACT FORUM เมืองทองธานีครั้งนี้บรรลุผลสำเร็จไปได้ด้วยดีเกิดจากการเรียนรู้จากพลังความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจของทีมงาน ร่วมกับผู้เข้าร่วมประชุม ในการร่วมกันก้าวข้ามอุปสรรคต่างๆ ในแต่ละช่วงวัน ได้เป็นอย่างดี เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและตอบสนองต่อความต้องการของคนคุณภาพที่เข้าร่วมประชุมทุกคน ทำให้การประชุมครั้งนี้เต็มไปด้วยบรรยากาศเสียงหัวเราะ เสียงพูดคุย และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคนคุณภาพกันอย่างหลากหลายได้อรรถรสในทุกหัวข้อของการประชุม รวมทั้งในห้องนิทรรศการ เวที mini stage ที่เนืองแน่นไปด้วยผู้เข้าร่วมประชุมตลอดเวลา ในขณะเดียวกันก็มีเสียงสะท้อนทั้งที่ชื่นชม ให้ข้อเสนอแนะ ให้กำลังใจ บรรยากาศแบบนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าไม่ได้พลังของความร่วมแรงร่วมใจของผู้เข้าร่วมประชุม และทีมวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สิ่งเหล่านี้เป็นพลังที่สะท้อนกลับ ส่งความรู้สึกให้แก่ทีมงาน ทีมวิทยากร และทีมงาน สรพ. เกิดพลัง เกิดแรงบันดาลใจ ในการสร้างเวทีวิชาการประจำปี เพื่อเป็นตลาดนัดวิชาการให้คนคุณภาพจากโรงพยาบาลทั่วประเทศได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการพัฒนากันอย่างต่อเนื่องทุกปี
ทีมงานทุกคนเชื่อมั่นว่าในปี 2563 พวกเราจะได้พบกันใหม่ภายใต้แนวคิด “Enhancing Trust in Healthcare” พร้อมกับผลงานที่เต็มไปด้วยคุณภาพและมีคุณค่าจากโรงพยาบาลทั่วประเทศอย่างแน่นอน
ด้วยความขอบคุณ
Quality Care Team...
บทความนี้ถอดมาจาก 2 session บรรยายโดย ภญ.วิชชุนี พิตรากูล, ภญ.ผุสดี บัวทอง, ภก.พิชญ์สิทธิ์ อุดมนุชัยทรัพย์, ภก.ภาสกร รัตนเดชสกุล, ภญ.จันทร์จารึก รัตนเดชสกุล, ภญ.จารุณี วงศ์วัฒนาเสถียร
Practical Point for medication safety Episode I&II
ในการขับเคลื่อนระบบยาให้บรรลุเป้าหมาย “ความปลอดภัย” มีกระบวนการ/ระบบงานสำคัญที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด การพิจารณายาเข้า ออก การเก็บรักษา การสั่งยา การจัดจ่าย บริหารยาให้แก่ผู้ป่วย ตลอดจนการติดตามการใช้ยา มีระบบสนับสนุนจำเป็น เช่น HR, IT, ENV ฯลฯ ประเด็นที่ต้องดำเนินงานเพื่อให้เกิดความปลอดภัย ได้แก่
คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด (Pharmacy & Therapeutics Committee: PTC) คณะกรรมการฯ ต้องประกอบด้วยสหสาขาวิชาชีพ ทำหน้าที่ครอบคลุมทั้งการบริหารจัดการบัญชียาและความปลอดภัย ต้องจัดให้มีการประชุมสม่ำเสมอ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง มีการกำหนดนโยบายด้านยาที่สำคัญ นำนโยบาย ลงสู่ผู้ปฏิบัติ...
โดย ศิรินทิพย์ ขัติยะกาญจน์ (เบลล์), ณิชชารีย์ เป็นเอกชนะศักดิ์ (น้องธันย์), ประสาน อิงคนันท์ (บ.บุญมีฤทธิ์ มีเดีย จำกัด)
“คิดบวก ไม่ใช่โลกสวย Life is Miracle”
คุณค่าของชีวิตจะถูกตั้งคำถาม เมื่อถึงจุดหนึ่งที่เราอาจจะไม่ได้อยู่บนโลกนี้ต่อไป เรียนรู้ความหมายของชีวิตจากประสบการณ์ มุมมองด้านบวก สร้างแรงบันดาลใจในชีวิตที่ทำให้ก้าวข้ามจุดเปลี่ยนอันเปราะบางของการมีชีวิตอยู่
เมื่อปี 2554 ด.ญ.ณิชชารีย์ เป็นเอกชนะศักดิ์ หรือน้องธันย์ นักเรียนชั้น ม.2 เดินทางไปเรียนภาษาอังกฤษ ที่ประเทศสิงคโปร์ แต่ต้องประสบอุบัติเหตุรถไฟฟ้าทับขาทั้งสองข้างจนต้องถูกตัดขา และต้องใส่ขาเทียม แต่น้องธันย์มีมองมุมในเชิงบวกกับการใช้ชีวิต โดยช่วงเวลาหลังเกิดอุบัติเหตุ มองภาพว่าอยากมีชีวิตแบบใด คิดไปข้างหน้าว่าเป้าหมายชีวิตยังคงเดิม คือการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขในแบบของตัวเอง กำหนดให้คนเห็นว่า ภาพของเรามีความสุข จึงทำให้ใช้ชีวิตหลังกระแสได้ง่ายขึ้น เหมือนเป็นการจุดเชื้อเพลงดีๆ ไว้ ทำให้มีคนดีๆ คนคิดบวก เข้ามาในชีวิต
การเกิดอุบัติเหตุเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ การมองชีวิตโดยใช้มุมมองบนสิ่งที่มีอยู่ ไม่มองสิ่งที่ขาดหายไป “เห็นข้อดี ในข้อไม่ดี” ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขบน wheelchair “เปลี่ยนเหตุการณ์ที่มีอยู่ ให้เป็นเหตุการณ์ในอนาคตที่ดีได้” คิดว่าเป็นการเปิดโลกทัศน์ให้กับตัวเอง เป็นโอกาสได้ทำสิ่งที่แปลกใหม่มากขึ้น โดยโอกาสนั้นเกิดขึ้นจากตัวเรา เป็นโอกาสที่ดีในการเผชิญกับอีกโลกหนึ่ง คิดว่าเราไม่ได้ใช้ขาอย่างเดียวในการใช้ชีวิต เรายังใช้สมอง ใช้มือ ใช้สิ่งต่างๆ...
โดย ดร.เจษฎา ศิวรักษ์ (กสทช.)
“ไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ใช้เทคโนโลยีมากที่สุดอันดับต้น ๆ ในโลก แต่คำถามคือแล้วเราจะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเหล่านี้ได้อย่างไร”
“เทคโนโลยี” โดยทั่วไปหมายถึง วิธีการปฏิบัติและประยุกต์ใช้องค์ความรู้หรือกระบวนการ ในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เพื่อให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น หากนึกถึงเทคโนโลยี คนส่วนใหญ่จะตั้งกำแพงขึ้น 3 ชั้น ได้แก่ 1) เทคโนโลยีเป็นเรื่องของคนรุ่นใหม่ 2) ต้องใช้เงินทุนสูงจึงจะเข้าถึงเทคโนโลยีได้ และ 3) การใช้เทคโนโลยีต้องมีความรู้ในระดับหนึ่ง ซึ่งเมื่อเกิดกำแพงเหล่านี้ขึ้นทำให้คนส่วนใหญ่คิดว่าเทคโนโลยีเป็นเรื่องที่ไกลตัว
ในโลกยุคปัจจุบันเทคโนโลยีได้พัฒนาไปอย่างก้าวกระโดด เป็นยุคที่มนุษย์เริ่มมีปฏิสัมพันธ์กับเครื่องจักรมากขึ้น เป็นยุคของการแข่งขันของคนสองกลุ่ม คือ คนที่รู้จักใช้เทคโนโลยี กับคนที่คุ้นเคยกับรูปแบบการทำงานเดิมๆ อีกทั้งในระยะหลังๆ เราจะได้ยินคำว่าดิจิตอลมากขึ้น ซึ่งคนส่วนใหญ่จะคิดว่าดิจิตอลคือเทคโนโลยี แต่จริง ๆ แล้ว ดิจิตอลเป็นเรื่องของคนที่รู้จักนำใช้เทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์
ดิจิตอล มีคำสองคำที่เข้ามาเกี่ยวข้องได้แก่ Decentralized และ Disruption การ decentralized ต้องอาศัยการมีส่วนร่วม (collaboration) ความโปร่งใส (transparency) การแบ่งปัน (sharing) การสร้างความเข้มแข็ง (empowerment) ในการพัฒนารูปแบบข้อมูลข่าวสาร ส่วนอีกคำคือ disruption เมื่อพูดถึงคำนี้ความรู้สึกของคนทั่วไป อาจกลัวและกังวล แต่ในอีกแง่มุมหนึ่ง disruption เป็นการเปลี่ยนแปลงในวิธีใหม่ๆ...
โดยศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา
2P Safety อาจดูเหมือนเป็นเรื่องยากและซับซ้อนสำหรับโรงพยาบาล วันนี้ ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา ได้ให้ข้อคิดและชวนให้ทำเรื่องยาก แต่เป็นเรื่องดีดี ที่อยากให้ทำ ผ่านการบรรยายในช่วงเวลาสั้น ๆ ดังนี้
“คำว่ายาก หมายถึง สามารถทำได้ แต่ต้องใช้ความพยายาม”
การทำสิ่งที่ยากให้ประสบความสำเร็จนั้น ขึ้นอยู่ที่การปรับมุมมองต่อปัญหาหรือโจทย์ที่มี การที่เรามองหาโอกาสที่เป็นไปได้ และลงมือทำ รวมทั้งเรียนรู้ที่จะเติบโตจากความผิดพลาด จะทำให้เราพัฒนาและประสบความสำเร็จตามเป้าหมายได้ ไม่มีอะไรที่เราทำไม่ได้ “If you think you can, you can”
การเปลี่ยนจากเรื่องยาก สู่การทำได้ (ดี) ต้องเริ่มจากการกำหนดเป้าหมายร่วมกันให้ชัดเจนเพื่อให้ทุกคนมีจุดยึดเดียวกัน โดยไม่ตีกรอบทางความคิด และเป้าหมายนั้นต้องท้าทาย เป็นไปได้ สุดท้ายควรมองถึงผลประโยชน์เพื่อส่วนรวม ร่วมด้วย จึงจะสร้างคุณค่าให้องค์กร แต่ทั้งนี้ในการทำงานร่วมกันกับคนหลากหลาย การจะคาดหวังให้แต่ละคนทำงานด้วยกระบวนการเดียวกันเพื่อผลลัพธ์เดียวกันนั้นเป็นไปไม่ได้ เพราะแต่ละคนมีความแตกต่าง การจะทำงานให้สำเร็จจึงต้องอาศัยการสร้างทีมที่มีความไว้ใจ (trust) โดยเริ่มจากเชื่อมั่นในตัวเองว่าเรามีความสามารถทำได้ (trust yourself) และหมั่นศึกษาหาความรู้พัฒนาตัวเอง เปิดใจให้กว้างและฝึกการเป็นผู้ฟังที่ดี ยอมรับว่าเราไม่ได้เก่งทุกเรื่อง จึงต้องฝึกเป็นผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือบ้าง อย่ามีอัตตามากเกินไป ไม่ปล่อยให้ความกลัวว่าจะทำผิดหรือล้มเหลวเป็นอุปสรรคต่อการค้นพบความสามารถในตนเอง ที่สำคัญอย่าลืมที่จะเป็นตัวของตัวเองในด้านที่ดี ๆ จากนั้นเราต้องฝึกที่จะเชื่อมั่นในผู้อื่น (trust on others) เพราะอย่างไรก็ตาม...
HA National Forum 20
Nursing Perspective with Change and Collaboration for Sustainability
QualityCare -
โดย ดร.กฤษดา แสวงดี (ที่ปรึกษาระดับกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข : ด้านแผนยุทธศาสตร์สาธารณสุข), นส.เรวดี ศิรินคร (ผู้เยี่ยมสำรวจ)
การเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบกับวิชาชีพพยาบาล ได้แก่ สังคมสูงอายุ/โรคเรื้อรัง/ผู้สูงอายุรุ่นใหม่ ไม่ต้องการใช้ชีวิตในโรงพยาบาล/ขาดผู้ดูแล, โรงพยาบาลแออัด ค่าใช้จ่ายสูงจนรัฐอาจรับภาระไม่ไหว, IT/ Medical Technology ก้าวหน้ารวดเร็ว / Extend patients’ lives, พยาบาลขาดแคลน/ขาดระบบสนับสนุนที่เพียงพอ / พยาบาลรุ่นใหม่ ออกจากงานเร็ว
จากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ทำให้เกิดรูปแบบการบริการใหม่ๆ เช่น (1) ผู้ป่วยจะอยู่ใกล้บ้านมากขึ้น แต่จะยังคงมีโรงพยาบาลเพื่อรองรับผู้ป่วย acute บางส่วน, มีการจัดบริการ intermediate care, long term care และโรงพยาบาลจะส่งกลับผู้ป่วยเข้าสู่ชุมชนมากขึ้น เพราะฉะนั้นจะเกิด nursing home และระบบการดูแล home health care เพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดบทบาทพยาบาลแบบใหม่ขึ้น เช่น พยาบาลที่เกษียณอายุราชการ ทำหน้าที่เป็น health coach เช่น การให้คำปรึกษา รับหน้าที่พาผู้ป่วยไปพบแพทย์ เป็นต้น...