HA National Forum 24
“สร้างนำซ่อม” ระบบบริการสุขภาพที่ทำให้ชาวบ้านเป็นสุขกันได้ทั้งอำเภอ
Quality Learning -0
การมี better health ต้องอาศัย growth mindset รายบุคลแต่ถ้าต้องการมี better health system
ต้องอาศัย growth mindset ของกลุ่มที่จะแก้ไขปัญหา
ของระบบ จึงจะมีระบบบริการสุขภาพที่ดี
ความท้าทายในการบริการสุขภาพยุคหลัง COVID-19 ระบบสุขภาพจะต้องปรับตัวอย่างไร จากสถานการณ์วิกฤติการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ที่ทำให้ประชาชนเกิดการตระหนักรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเอง การเข้ามามีส่วนร่วมและดึงศักยภาพของผู้คนในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ
ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี ได้กล่าวถึงปฏิบัติการสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา ซึ่งจะเป็นวิธีการใน
การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาระบบสาธารณสุข โดยเรียนรู้จาการพัฒนาจิตตื่นรู้ การตระหนักรู้ของประชาชน สังคมอยู่ร่วมกันอย่างสมดุล และการเกิดนโยบายสาธารณะอย่างมีส่วนร่วมและยั่งยืน
นพ.ประสิทธิชัย มั่งจิตร ระบบการทำงานด้านสุขภาพระดับอำเภอเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนงานบริการสุขภาพและการสร้างสุขภาวะในระดับพื้นที่ โดยกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ซึ่งมี
การดำเนินงานร่วมกับประชาชนและภาคีเครือข่ายในระดับพื้นที่ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับสุขภาวะประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยมีเป้าหมายให้ประชาชนเกิดการพึ่งตนเองมากขึ้นแทนการพึ่งบริการ ในการรอบรู้ด้านสุขภาพและการดูแลตนเอง การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริม
สุขภาพและป้องกันโรค จัดการปัจจัยกำหนดสุขภาพ และการขยายบริการปฐมภูมิให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น
ความเชื่อมโยงระบบสุขภาพปฐมภูมิกับระบบสุขภาพของประเทศ ควรแยกเป็น Hospital Care กับ Primary Care เพื่อเปลี่ยนแนวคิดของประชาชนไทย ที่มองระบบสุขภาพคือโรงพยาบาล ด้วยการส่งเสริมให้เกิดการรักษาฟื้นฟู
การส่งเสริมและป้องกันโรค โดยหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายบริการปฐมภูมิ (PCU/NPCU) มีส่วนสำคัญ
และการจัดการปัจจัยตัวกำหนดสุขภาพ ที่ต้องอาศัยภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมและขับเคลื่อนโดย พชอ.
ระบบสุขภาพปฐมภูมิ จึงประกอบด้วย งานระบาด...
IV Care เรื่องธรรมดาที่มีคุณภาพ
IV Care: เรื่องธรรมดาที่ไม่ธรรมดา การพยาบาลผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำแม้จะเป็นการพยาบาลพื้นฐาน แต่ก็ยังเป็นการพยาบาลที่ทำให้เกิดความทุกข์ทรมาน เช่น phlebitis extravasation sepsis การเพิ่มค่าใช้จ่ายและการเสียชีวิตตามมาได้ ดังนั้น พยาบาลวิชาชีพจำเป็นต้องคำนึงถึงคุณภาพของการพยาบาลผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย
How to: IV Care เรื่องธรรมดาที่มีคุณภาพ
1. Accessibility: การเข้าถึงองค์ความรู้ เครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับ IV Care managemen
2. Implementation: การนำองค์ความรู้ลงสู่การปฏิบัติ
- เปลี่ยนความคิด/ความเชื่อของตนเอง
- เชื่อว่าพยาบาลวิชาชีพทุกคนสามารถพัฒนาได้
- ส่งเสริมสนับสนุนตั้งแต่ระดับนโยบายถึงการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
- ส่งเสริมสนับสนุนการสร้างวัฒนธรรมความซื่อสัตย์ต่อตนเองในองค์กร
Synergy Model for Better IV care เป็น model ที่ใช้ในการประเมินความต้องการของผู้ป่วยและสมรรถนะของพยาบาล ให้มีความสอดคล้องกันให้มากที่สุดเพื่อยกระดับคุณภาพของการดูแลผู้ป่วย สร้างโดยสมาคมพยาบาลวิกฤตแห่งสหรัฐอเมริกา มีองค์ประกอบหลักคือ ลักษณะ/ความต้องการของผู้ป่วย (patient' characteristics) สมรรถนะของพยาบาล (nurse' competencies) และ สิ่งแวดล้อม/ระบบของการให้บริการสุขภาพ (healthcare environment or system) เป็นการให้ความสำคัญของการผนึกกำลังกันในการดูแลระหว่างผู้ป่วย ญาติ และบุคลากร ด้วยเป้าหมายเดียวกัน นับเป็น model ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายและมีการประยุกต์ใช้ในการดูแลคนไข้ที่หลากหลายต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
Uses...
HA National Forum 24
Coproduction of Healthcare Service Through the Healthcare Network Accreditation (HNA)
Quality Learning -
“การเรียนรู้จากการใช้มาตรฐานทำให้
เครือข่ายเกิดการเติบโตในการมองเป้าหมายร่วมกันและการมุ่งสู่ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น”
Coproduction of Healthcare Service Through the Healthcare Network Accreditation
เตรียมความพร้อมการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลสู่การรับรองคุณภาพในรูปแบบเครือข่ายบริการสุขภาพปัจจุบันโรงพยาบาลชุมชน (รพช.) บอกว่าคุณภาพของโรงพยาบาลดี โรงพยาบาลใหญ่ในจังหวัดก็จะบอกว่า คุณภาพของโรงพยาบาลดีเช่นกันตามบริบทตนเอง แต่สุดท้ายผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยอาจจะไม่ดีตามที่คาดหวัง อะไรเป็นปัจจัยหรืออะไรจะเป็นการเพิ่มคุณภาพผลลัพธ์เหล่านี้ แล้วใครจะบอกว่าดีขึ้น ดีแล้ว และจะบอกด้วยอะไร
การขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพในระดับรายโรงพยาบาลไปสู่การรับรองคุณภาพในรูปแบบเครือข่ายโดยการรับรองเครือข่ายบริการสุขภาพ ซึ่งเป็นกระบวนการที่สถานพยาบาลดำเนินงานในรูปแบบองเครือข่ายบริการสุขภาพที่จำเพาะอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ทั้งนี้เป็นไปตามบริบทหรือปัญหาของพื้นที่ โดยการรับรองระบบเครือข่ายบริการสุขภาพ (Healthcare Network System Accreditation: HNA) เป็นการรับรองเครือข่ายสถานพยาบาลที่ต้องการพัฒนาระบบงานให้มีความเชื่อมโยงในทิศทางเดียวกันโดยมีเป้าหมายในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลร่วมกัน อาจเป็นเครือขายบริการระดับจังหวัด ระดับเขต เครือข่ายบริการกลุ่มโรค เครือข่ายสถานพยาบาลสังกัดต่างๆ หรือเครือข่ายสถานพยาบาลเอกชน ซึ่งสามารถแสดงผลลัพธ์การดูแลที่โดดเด่นได้ ซึ่งในปัจจุบันมีเครือข่ายที่ได้ดำเนินการในรูปแบบนี้อยู่หลายแห่ง หลายเครือข่าย และเริ่มได้รับ การรับรองการพัฒนาคุณภาพในรูปแบบนี้บ้างแล้ว
การขับเคลื่อนของ สรพ. ในการประเมินการพัฒนาและการรับรองคุณภาพ สถานพยาบาลที่พัฒนาระบบเครือข่ายบริการสุขภาพ (Healthcare Network System) การพัฒนาระบบบริการเฉพาะด้าน 19 สาขา ได้แก่ 1) สาขาโรคหัวใจ 2) สาขาโรคมะเร็ง 3) สาขาอุบัติเหตุและฉุกเฉิน 4) สาขาทารกแรกเกิด 5) สาขาสุขภาพจิต และสารเสพติด...
อย่าให้ AI ควบคุมเราในทุกการใช้ชีวิต
ในปัจจุบัน การทำวิจัย หรือการเขียนบทความวิชาการ ไม่ได้ยุ่งยากแบบเดิม เรามีเทคโนโลยี AI มาช่วยอำนวยความสะดวกในการเขียน แต่ทั้งนี้ เราก็ต้องตรวจสอบความถูกต้อง และต้องไม่ลืมกระบวนการทำงานเดิม อันได้มาถึงข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ถูกต้อง ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์
เว็บสร้าง AI เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ใช้สร้างสรรค์ผลงานได้ง่ายและรวดเร็ว เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการสร้างผลงานโดยไม่ต้องเขียนโปรแกรม ในการประชุมครั้งนี้ขอยกตัวอย่างเว็บ ChatGPT และ gemini.google.com
เทคโนโลยี AI คืออะไร?
AI ย่อมาจาก Artificial Intelligence หรือ ปัญญาประดิษฐ์ หมายถึง เทคโนโลยีที่ทำให้เครื่องจักรหรือคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้เหมือนมนุษย์ โดยใช้ อัลกอริทึม และ ข้อมูล ในการเรียนรู้ วิเคราะห์ และตัดสินใจ โดยไม่ต้องพึ่งพาการเขียนโปรแกรมแบบดั้งเดิม
AI ทำงาน โดยการเรียนรู้ จากข้อมูลจำนวนมหาศาล โดยใช้เทคนิคที่เรียกว่า Machine Learning ข้อมูลเหล่านี้สามารถเป็นอะไรก็ได้ เช่น รูปภาพ ข้อความ เสียง วิดีโอ หรือข้อมูลเซ็นเซอร์
AI มีหลายประเภท แต่ละประเภทมีจุดเด่นและเหมาะกับงานที่แตกต่างกัน ประเภทที่พบบ่อย ได้แก่
- Machine Learning: เน้นการเรียนรู้จากข้อมูลเพื่อทำนายผลลัพธ์...
ผลิตภัณฑ์ยาสูบทุกประเภท มีอันตราย
บุหรี่มวนเล็กๆ แต่ปัญหาไม่เล็กเลย
ทุก 10 ปี WHO จะประเมินปัจจัยเสี่ยงเชิงลบที่ส่งผลต่อสุขภาพของมนุษย์ พบว่าในปี 2009 และ 2019 “บุหรี่” เป็นอันดับ 1 ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ยังมีจำนวนคนที่ยังสูบบุหรี่อยู่ 9.9 ล้านคน ถึงแม้อัตราการสูบบุหรี่ภาพรวมจะลดลงก็ตาม
4 ใน 5 อันดับแรก ของการตายจากบุหรี่เกิดจากโรคปอด ได้แก่ มะเร็งปอด โรคถุงลมโป่งพอง ปอดอักเสบ
และวัณโรค โดยพบว่าเกือบ 50% ของการตายจากบุหรี่เกิดจากโรคปอดดังที่กล่าวมาข้างตัน อีกทั้งมี
ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพจากบุหรี่ ที่ป่วยจนต้อง admit 553,611 ครั้ง โดยมีค่ารักษาต่อครั้ง 38,636 บาท
และเกิดความสูญเสียต่อประเทศชาติ 20,565 บาท ต่อคน ต่อปี (ที่มา: NHSO data year 2560 & TRC Ramatibodi)
ในปัจจุบันยังมีเทรนด์ของ “บุหรี่ไฟฟ้า” เข้ามาโจมตีเด็กและผู้หญิงมากขึ้น ด้วยรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่สร้างความล่อตาล่อใจดึงดูดผู้บริโภคมากขึ้น ส่งผลให้เยาวชนไทยสูบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 5.3 เท่า...
จงฟังเรื่องราวของคนไข้ (patient story) อย่าซักเพียงประวัติของผู้ป่วย (patient history) เพื่อนำไปสู่การรับรู้การดำเนินของโรค (Clinical course) จนนำไปสู่ "การวินิจฉัยที่แม่นยำ"
นพ.อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล: Diagnostic Error เป็นความเสี่ยงที่แฝงเร้นที่มีผลกระทบสูง เพราะถ้าเกิดขึ้นจะหมายถึงการวินิจฉัยที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อน และนำไปสู่การรักษาที่ผิดพลาดไปด้วย Diagnostic Error เป็นหนึ่งมาตรฐานสำคัญ 9 ข้อ ซึ่งมีตัววัดที่ค่อนข้างมาก จึงทำให้การวัดทำได้ไม่ครอบคลุม ดังนั้นจึงมีเป้าหมายเพื่อดูแนวโน้มว่าเราสามารถวัดได้มากน้อยแค่ไหน ไม่สามารถนำไปเปรียบเทียบกับโรงพยาบาลอื่นได้ แต่สามารถเปรียบเทียบแนวโน้มกับตัวเองได้ว่าทำได้ดีขึ้นหรือแย่ลง
เมื่อเกิด Diagnostic Error ขึ้นสิ่งที่ควรพิจารณาคือ LMIC
L: Literature การสืบค้นคว้าโรคที่มักเกิดความผิดพลาดบ่อยๆจากงานวิจัย เพื่อให้เราตระหนักและระวัง
M: Medical record การค้นหา และหยิบยกความผิดพลาดจากการบันทึกเวชระเบียนมาเรียนรู้ การทบทวน Guide line ประเด็นที่ทำให้การวินิจฉัยที่ไม่ถูกต้อง
I: Incident
C: Case conference การนำอุบัติการณ์และกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริงมาจัดทำ RCA (Root Cause Analysis) เพื่อหาต้นตอของปัญหาของระบบหรือกระบวนการ (system or process failure)
นพ.ประพันธ์...
การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย ต้องอาศัย ความร่วมมือ ทุกฝ่าย องค์กร
ประสบความสำเร็จ ยั่งยืน
วัฒนธรรมความปลอดภัย: หัวใจสำคัญสู่ความสำเร็จ
วัฒนธรรม เปรียบเสมือนรากฐานที่หล่อเลี้ยงให้ "องค์กร" ให้เติบโตงอกงาม เปรียบเสมือน "รหัสพันธุกรรม"
ฝังลึกในองค์กร ส่งผลต่อวิธีคิด พฤติกรรม และการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น
วัฒนธรรมความปลอดภัย เป็นผลของ "ค่านิยม เจตคติ การรับรู้ สมรรถนะ และแบบแผนพฤติกรรม"
ของทั้งองค์กรและบุคคล ส่งผลต่อ "ความมุ่งมั่น วิถีการทำงาน และความสามารถในการจัดการด้านสุขภาพและความปลอดภัย" ในองค์กร สามารถจำแนกได้เป็น 3 ด้านหลัก
Physiological Aspects "ผู้คนรู้สึกอย่างไร" ค่านิยม เจตคติ การรับรู้ ของผู้คน
Behavioral Aspects "ผู้คนทำอะไร" การกระทำและพฤติกรรมเกี่ยวกับความปลอดภัย
Situational Aspects "องค์กรทำอะไร" นโยบาย ระเบียบปฏิบัติ โครงสร้างองค์กร ระบบบริหาร
แนวทางขับเคลื่อนวัฒนธรรมความปลอดภัย
ใช้ผลลัพธ์ (Results) ขับเคลื่อนวัฒนธรรม การใช้ผลลัพธ์เพื่อขับเคลื่อนวัฒนธรรมความปลอดภัยเป็นกลยุทธ์ที่เน้นการกำหนดเป้าหมายและวัดผลของการดำเนินงานในด้านความปลอดภัยอย่างชัดเจน ทำให้ทุกคนในองค์กรมีความรู้สึกมีส่วนร่วมและมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายเหล่านั้น เป็นวิธีที่ช่วยสร้างวัฒนธรรมที่ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของความปลอดภัยและทำงานร่วมกันเพื่อปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
ทฤษฎีสะกิดพฤติกรรม (Nudge Theory) การตัดสินใจของเราถูกขับเคลื่อนโดยสองระบบคิดที่ทำงานพร้อมกัน: ระบบอัตโนมัติที่ทำงานได้รวดเร็วแต่ไม่ต้องใช้ความตระหนักรู้มากนัก และระบบสะท้อนที่ใช้การวิเคราะห์มากกว่า ซึ่งช่วยให้ระบบอัตโนมัติเลือกตัวเลือกที่ปลอดภัยมากขึ้นโดยไม่ต้องตระหนักถึงมัน หรือ
กระตุ้นระบบสะท้อนให้ทำงานในเวลาที่เหมาะสมเพื่อสร้างการตอบสนองที่ดีกว่า...
HA National Forum 24
พูดเรื่อง “คุณภาพ” อย่างไรให้เข้าใจตรงกัน Accredit toward to Non-Accredit
Quality Learning -
กลยุทธ์ในการ “สื่อสารที่มีประสิทธิภาพ” จะเกิดขึ้นได้ภายในองค์กร หากมีวัฒนธรรมที่เปิดกว้าง การให้คุณค่ากับความคิด การแสดงความเอาใจใส่ การประสานงานที่ชัดเจน และมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น “การสื่อสาร” จึงถือเป็นกุญแจสำคัญ ในการยกระดับการพัฒนาคุณภาพงานให้กับองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล
การพูดเรื่อง “คุณภาพ” อย่างไรให้เข้าใจตรงกัน Accredit toward to Non-Accredit นั้น พบว่า
การพัฒนาคุณภาพ สามารถเกิดขึ้นภายในองค์กรเรา โดยบุคลากรดำเนินการได้เลย ไม่จำเป็นต้องรอให้หน่วยงานจะได้รับการรับรองหรือไม่ เนื่องจาก การสื่อสารเป็นธรรมชาติที่อยู่ในตัวคน ของทุกคน ภายใต้หลักการที่แสดงออกมา
2 ประการ ดังนี้ 1. การสื่อสารแบบแสดงความเหนือกว่า (Patronage) เป็นการสื่อสารที่มีการควบคุมอย่างเข้มงวด คิดว่าตนเองมีอำนาจมากกว่า ชอบควบคุมผู้อื่น เน้นการสั่งการ 2. การสื่อสารแบบพันธมิตร (Partner) เป็นการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม เป็นความร่วมมือซึ่งกันและกัน แสดงถึงความเอาใจใส่ ใช้คำว่า “เรา” เพื่อให้เข้าใจมากขึ้น
ดังตัวอย่างในตาราง
ตัวอย่างประเด็น
“สถานการณ์ในรพ.แห่งหนึ่ง ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย”
การสื่อสารแบบแสดงความเหนือกว่า (Patronage)
การสื่อสารแบบพันธมิตร (Partner)
“การทักทาย” จากโรคที่ผป.กำลังเผชิญอยู่
“ฉัน”จะบอกคุณว่าเกิดอะไรขึ้น
“เรา” ลองมาพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพของคุณร่วมกันเถอะ
การพูดคุยเกี่ยวกับการวินิจฉัย
“คุณมีอาการXXX, และฉันจะสั่งยา YYY ให้คุณ”
คุณมีอาการ XXX เรามาดูตัวเลือกการรักษาร่วมกันเถอะ
แผนการรักษา
“ฉันจะจัดการให้คุณเข้ารับการผ่าตัดเดือนหน้า”
“คุณคิดอย่างไรกับการผ่าตัดที่แนะนำนี้? นี่คือวันที่เราสามารถพิจารณาแล้วเห็นว่าเหมาะสม”
การอธิบายความเสี่ยง
“ไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียง เราจะจัดการทุกอย่าง”
“นี่คือผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ ลองมาพูดคุยกันว่าสิ่งนี้หมายถึงอะไรสำหรับคุณ...
Protec the patient is over the job
Growth mindset เห็นทางออกในทุกปัญหา
Fix mindset เห็นปัญหาในทุกทางออก
มองความ error ให้เป็น Good fail เพื่อการเรียนรู้ที่ดีขึ้น
AE Driven for Better Nursing Care จะเรียนรู้จากการเกิดAdvert event ให้เกิดคุณค่าได้อย่างไร ดร.พว.กฤษดา แสวงดี อุปนายกสภาการพยาบาลคนที่หนึ่ง
Adverse Event สามารถเกิดขึ้นได้ทุกวัน แต่ต้องเรียนรู้ว่า Adverse Event คืออะไร
รู้ว่าเกิด AE กับผู้ป่วย
An adverse event is a type of injury that most frequently is due to an error in medical or surgical treatment rather than the...
“People work with not only their hands, but also their hearts and spirit”
“การประเมินระดับจิตวิญญาณเน้นคุณค่าของมนุษย์”
แนวคิดการบูรณาการจิตวิญญาณเข้าไปในองค์กรมีมานานแล้ว แต่ยังขาดเรื่องวิธีการวัด วิทยากรได้บรรยาย
ถึงการประเมินระดับจิตวิญญาณซึ่งเป็นการประเมินที่ก้าวหน้ามากกว่าการประเมินบุคลากรแบบดั้งเดิม เป็นการรับรู้ personal growth mideset เป็นการวัด growth mindset ในระดับตัวบุคคล ดูว่าคนมีจิตวิญญาณระดับไหนในการทำงานให้องค์กร เป็นการวัดจากประสบการณ์ที่ลึกล้ำด้านในสู่การกระทำภายนอกของบุคคล แสดงออกในรูปแบบพฤติกรรมที่สัมผัสได้ เช่น คุณค่างาน คุณธรรม การเป็นสมาชิกองค์กรที่ดี การดำรงชีวิตที่มีความหมาย เป้าหมายการทำงานสู่ความสำเร็จชององค์กร เพื่อที่องค์กรจะได้พัฒนาไปได้ต่อไป
จิตวิญญาณในการทำงาน (spirit at work, spiritually at work, workplace spiritually, spiritually in the workplace) มีความหมายแตกต่างกันออกไปตามบริบทของแต่ละแห่ง แต่พบว่ามีองค์ประกอบร่วม เช่น meaningful work, connection, sense of community, alignment of organization value และ...