Patient for Patient Safety Share and Learn by Patient

0
931
Patient for Patient Safety Share and Learn by Patient
Patient for Patient Safety Share and Learn by Patient

“ในฐานนะผู้ป่วยอยากได้รับการบริการที่เท่าเทียมกัน อยากเห็นโรงพยาบาลในประเทศที่มาตรฐานใกล้เคียงกัน ซึ่งทุกคนต้องช่วยกัน”

คุณสารี อ๋องสมหวัง จากผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ มีโอกาสได้บริหารองค์กรอิสระเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคถูกเขียนในรัฐธรรมนูญ หลายสมัย ตั้งแต่ปี 2540 ปัจจุบันถูกจัดตั้งเป็นสภาองค์กรคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งได้จัดตั้งตามประกาศของสำนักรัฐมนตรี วันที่ 9 ธันวาคม 2563 หน้าที่สำคัญคือ การให้คำแนะนำต่อคณะรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีบทบาทในการเตือนภัยถึงสินค้าที่เป็นอันตรายต่างๆ รณรงค์ให้มีนโยบายสำหรับผู้บริโรค รวมไปถึงเป็นผู้ช่วยเรียกร้องไกล่เกลี่ยทางด้านกฎหมายให้แก่ผู้บริโภค และการศึกษาวิจัย เพื่อให้คำแนะนำแก่ผู้เกี่ยวข้องได้ สำหรับสิทธิของผู้บริโภคขั้นพื้นฐาน หากตาม UN protection guideline ผู้บริโภคควรมีสิทธิขั้นพื้นฐานในเรื่อง สุขภาพ เมื่อเข้าถึงบริการต้องปลอดภัย ในส่วนของผู้ป่วยจริงๆ ปัจจุบันถือว่าเรายังเข้าถึงได้น้อย ยังไม่เท่าเทียมกัน  ในด้านความปลอดภัย หรือประสิทธิภาพสูงสุด สิทธิในการเลือกบริการรักษา สิทธิการเยียวยากรณีได้รับความเสียหาย สิทธิการได้รับความรู้ความเท่าทันด้านสุขภาพ องค์กรมีศูนย์ที่จะให้ความช่วยเหลือผู้บริโภค ซึ่งมีตัวแทนผู้บริโภคในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นนโยบายในระดับเขต ระดับจังหวัด องค์กรช่วยสนับสนุนทำหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนที่เป็นอิสระ แน่นอนว่าหากเราเป็นคนไข้ก็ย่อมอยากได้บริการที่เท่าเทียมกัน ยกตัวอย่างการจ่ายยาบางโรงพยาบาลมีการจ่ายยาตามสิทธิที่หลากหลาย การจ่ายยาให้กับข้าราชการ การจ่ายยาให้กับผู้เสียเงิน การจ่ายยาให้กับผู้รักษาฟรี ซึ่งยาที่ได้รับเป็นคนละตัวกัน สิ่งที่ผู้บริโภคอยากเห็นคืออยากได้บริการที่เหมือนกัน โดยไม่อยากให้มีการถามว่าเรามีบัตรอะไรมากกว่าถามว่า เราเป็นโรคอะไรมา อยากให้เห็นความสำคัญของผู้ป่วย

อีกหน้าที่หนึ่งบริการสุขภาพเป็นส่วนหนึ่งของสิทธิมนุษยชน หากเป็นเรื่องของการให้วัคซีนอยากให้พิจารณาถึงการให้วัคซีนคนทุกเชื้อชาติที่ไม่ใช่เฉพาะคนไทย เนื่องจากมีแรงงานจากหลายประเทศเข้ามาทำงานในประเทศเรามากมายหลากหลาย อีกทั้งเป็นการป้องกันโรค ซึ่งนับว่าประเทศเราก็ทำได้ดี สิ่งที่อยากให้เห็นความสำคัญของสิทธิการรักษาของสามระบบใหญ่ ของบัตรทอง สวัสดิการข้าราชการ และผู้ประกันตน คือ ความเท่าเทียมให้เกิดการักษามาตรฐานเดียว เพราะผู้ประกันตนเสียเปรียบมากที่สุด ทุกคนควรได้บริการจากรัฐเท่าเทียมกัน หรือถูกพัฒนาให้ใกล้เคียงกัน การทำงานในภาคประชาสังคมในการสนับสนุนโรงพยาบาลผู้ป่วยก็มีส่วนช่วยสนับสนุนโรงพยาบาลอยู่ไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเครือข่ายผู้ติดเชื้อ หรือกลุ่มผู้ป่วยโรคหายาก ทำกิจกกรมเพื่อผู้ป่วย หรือกิจกรรมชุมชน หรือการทำกิจกรรมให้ผู้ป่วย HIV เป็นศูนย์ การดูแลบริการผู้ป่วยติดเตียง ถือว่ามีความสำคัญมากทีเดียว ถือได้ว่าเป็นการจุดประกายให้กลุ่มอื่นๆเข้าไปมีส่วนร่วมดูแลผู้ป่วยได้ ฉะนั้นหวังว่าหลักประกันสุขภาพจะมีบริการที่มีคุณภาพประชาชนเข้าถึงได้ ส่วนภาคประชาสังคมแค่มีส่วนร่วมเข้าไปให้ระบบบริการสุขภาพดีขึ้น ในฐานนะผู้ป่วยอยากได้รับการบริการที่เท่าเทียมกัน อยากเห็นโรงพยาบาลในประเทศที่มาตรฐานใกล้เคียงกัน ซึ่งทุกคนต้องช่วยกัน

Mr.Manvir Jesudasan เป็นผู้ป่วยโรคไต ได้เล่าถึงประสบการณ์ของการผู้ป่วยและรักษาที่โรงพยาบาลในประเทศมาเลเซีย ย้อนกลับไปเมื่อ 20 กว่าปีก่อน เขาเมื่อรู้ตัวว่าป่วยไปเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลในขณะที่มีความดันโลหิตสูง มีภาวะไตวายเรื้อรัง ผู้ป่วยไม่ได้รับความสนใจจากแพทย์ แพทย์คนหนึ่งได้เรียกพยาบาลมาดูแลเท่านั้น และออกจากโรงพยาบาลไปโดยไม่สนใจต่ออารมณ์ความรู้สึกของผู้ป่วยแต่อย่างใด ทำให้ผู้ป่วยตัดสินใจที่จะใช้บริการโรงพยาบาลอื่นโดยมีเพื่อนเป็นแพทย์ดูแลอยู่ในขณะนั้น แพทย์ที่ดูแล Mr. Manvir อีกโรงพยาบาลได้ดูแลเขาเป็นอย่างดี และบอกระยะเวลารอคอยแก่เขา และเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายของเขาและโรคที่เป็นอยู่ แพทย์ที่ทำการรักษาเขาพูดด้วยความเห็นอกเห็นใจในตัวผู้ป่วย หลังจากการรักษาไม่เป็นผลทำให้ต้องรักษาผู้ป่วยด้วยวิธีการเปลี่ยนไตซึ่งได้มาจากภรรยาของผู้ป่วย หลังจากการรักษาผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้เป็นปกติ และปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็น ประธานเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยในประเทศมาเลเซีย (chairman of patient safety in Malaysia) จากประสบการณ์การเป็นผู้ป่วยของเขาได้รับการรับเชิญจากประเทศไทยในการร่วมมือให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ป่วย และเชื่อว่ากิจกรรมนี้จะดำเนินไปได้อย่างดีภายใต้การนำของ นพ.อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล และ พญ.ปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ   ที่สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ป่วย เป็นสิ่งที่ทำให้ Mr. Manvir ภาคภูมิใจ และสิ่งสำคัญ คือ การรับฟังผู้ป่วยด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์ด้วยกัน สิ่งที่มากกว่าการรักษาไม่ใช่แค่รักษาด้วยยา แต่ควรรักษาด้วยความเข้าใจความรู้สึกความเป็นมนุษย์ด้วยกัน ผู้ป่วยแม้ว่าจะผ่านขั้นตอนการรักษาและเสียเวลาที่มากมายก็ตาม ก็อยากที่จะแข็งแกร่งพอที่จะเอาชนะความเจ็บป่วยในครั้งนี้ อย่างไรก็ตาม แพทย์มีหน้าที่ในการรักษาให้ผู้ป่วยหายจากโรค ส่วนผู้ป่วยต้องดูแลตัวเองในชีวิตประจำวันให้ร่างกายดีขึ้น แพทย์และผู้ป่วยต่างก็รู้หน้าที่ตนเองดีว่าจะทำหน้าที่ของตนเองอย่างไรให้ดี และอยากจะทิ้งท้ายว่า จากข้อความ WHO ที่ว่า “ในโลกนี้มีคนอยู่ 7 พันล้านคน มีคนจำนวน 50 ล้านคน เป็นผู้ทำงานด้านสาธารณสุข นั่นหมายความว่า เราไม่สามารถไปขอความช่วยเหลือได้จากทุกที่ นอกจากคนที่อยู่ตรงหน้าเราที่จะช่วยกันได้”

คุณเอกวัฒน์ สุวันทโรจน์ คุณเอกวัฒน์ สุวันทโรจน์ ได้เล่าประสบการณ์ของผู้ป่วยฮีโมฟีเลีย (Hemophillia)   การเข้ามามีส่วนร่วมในกลุ่มมูลนิธิผู้ป่วยโรคหายากในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ไม่ได้อยากเป็นกลุ่มเรียกร้องเพื่อคนผู้กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่อยากให้เห็นว่าเป็นเรื่องของทุกคนที่มีโอกาสเจ็บป่วย ทำเพื่อให้ทุกคนเข้าถึงการรักษา นอกจากร่างกายที่เจ็บป่วยทุกข์ทรมานอยากให้โรงพยาบาลรักษาด้านจิตใจ ผู้ป่วยย่อมรู้ว่าจะทำอย่างให้ให้ตัวเองดีขึ้น  เปลี่ยนตัวเองในชีวิตประจำวันมากกว่าพึ่งแพทย์ สิทธิผู้ป่วยการดูแลผู้ป่วย ไม่ใช่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง คุณเอกวัฒน์     เป็นผู้ป่วยเลือดดอกง่าย ฮีโมฟีเลีย พูดถึงมูลนิธิผู้ป่วยโรคหายาก ซึ่งเป็นผู้ป่วยในกลุ่มจำนวนน้อย ส่วนใหญ่มาจากพันธุกรรม เลือดออกง่าย เช่น เลือดออกในช่องท้อง สมอง ข้อต่อต่างๆ สะโพก หากมีเลือดออกจะส่งผลให้เกิดความพิการได้ การเลือดออกในสมัยก่อนมีปัจจัยทำให้เลือดออกในข้อหยุดได้โดยต้องเดินทางไปโรงพยาบาลเอง ฉีดยาเพื่อระงับ แต่หลังจากที่ให้ผู้ป่วยเข้ามามีส่วนร่วม มีการจัดแคมป์สอนผู้ป่วยฉีดยาเองได้ด้วยตนเองแม้กระทั่ง เด็ก 9 ขวบ สามารถฉีดยาด้วยตนเองได้ แพทย์ไว้ใจในตัวผู้ป่วยที่สามารถดูแลตัวเองได้ ถ้าผู้ป่วยดูแลตัวเองได้ตั้งแต่อยู่ที่บ้านก็เป็นการลดภาระโรงพยาบาลไปได้ จากเหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นต้นมามีผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ เกิดแรงบันดาลใจอยากเป็นแพทย์ ขณะนี้มีผู้ป่วย 2 ราย ตอนนี้ก็ได้กำลังศึกษาอยู่ใรคณะแพทยศาสตร์ ถือได้ว่าเป็นความภาคภูมิใจของคนกลุ่มนี้มาก ทั้งนี้เราะจะช่วยผู้ป่วยโรคนี้ได้อย่างไร ผู้ป่วยต้องการคนรับฟัง ต้องการคนกลุ่มเดียวกันเข้าใจ รับรู้ความเจ็บปวดร่วมกัน เด็กผู้ป่วยกลุ่มนี้อดีตบางบ้านเมื่อลูกเป็นโรคนี้ผู้ปกครองมักจะไม่ให้ไปไหน พอผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้ ผู้ปกครองก็วางใจในการให้เด็กไปใช้ชีวิตปกติเหมือนคนทั่วไป สำหรับมูลนิธิผู้ป่วยโรคหายาก มีทั้งแพทย์ ที่หายาก ยาที่หายาก อยากที่จะให้มีพื้นที่ในการให้คนกลุ่มนี้ เปลี่ยนโชคชะตาผู้ป่วยให้หายจากโรคนี้ไปได้

ถอดบทเรียนโดย วารุณี พันธุ์แพง ผู้ประสานงาน สำนักส่งเสริมการพัฒนา                                              สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)

Photo by CDC on Unsplash

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here