เส้นทางการพัฒนาบริการสุขภาพในประเทศไทย (1)

0
2794
Quality 1.0 Process compliance

เคล็ดลับคุณภาพวันนี้ชวนมาเรียนรู้ คุณภาพของบริการสุขภาพในประเทศไทยมีพัฒนาการมาโดยลำดับตามกระแสโลกาภิวัตน์ โดยเมื่อย้อนหลังไปราวห้าสิบปี    คุณภาพของบริการสุขภาพตั้งอยู่บนฐานของความเชื่อมั่นในความรู้ความสามารถเฉพาะตนของแพทย์ และความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย ซึ่งปัจจัยทั้งสองนี้ได้ประกอบกันเป็นคุณภาพและความน่าไว้วางใจของบริการสุขภาพ

Quality 1.0 Process compliance
Quality 1.0 Process compliance

Quality 1.0 Process compliance
ตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2525 ประเทศไทยมีพัฒนาการทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ความต้องการและความคาดหวังในบริการสุขภาพถูกยกระดับขึ้นอย่างมาก โรงพยาบาลจึงต้องมีการปรับตัวขนานใหญ่ เพื่อปรับบริการของโรงพยาบาลให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในสังคม
แนวคิดสำคัญที่นำมาพัฒนาคุณภาพของสถานพยาบาลในยุค 1.0 เป็นแนวคิดที่ประยุกต์มาจากต่างประเทศ คือ คุณภาพไม่ใช่เรื่องของวิชาชีพใดวิชาชีพหนึ่งโดยเฉพาะ แต่เป็นเรื่องที่ทีมงานที่ทำหน้าที่รักษาพยาบาลต้องมาพัฒนาร่วมกัน และพึงมีมาตรฐานกลางที่สะท้อนกระบวนการที่สถานพยาบาลต้องปฏิบัติเพื่อนำไปสู่คุณภาพที่พึงประสงค์ ซึ่งในปี 2527 กระทรวงสาธารณสุขได้เริ่มมีการประเมินขีดความสามารถของโรงพยาบาลในระดับต่างๆ ทั้งในด้านการบริหาร บริการ และวิชาการ ภายใต้โครงการ “ติดดาวโรงพยาบาล” และพัฒนาต่อมาเป็น “การพัฒนาระบบบริการของสถานบริการและหน่วยงานสาธารณสุขในส่วนภูมิภาค (พบส.)” , “มาตรฐานสถานพยาบาลในโครงการประกันสังคม” จนในที่สุด ได้ก่อกำเนิดเป็น สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (พรพ.) ซึ่งได้มีการจัดทำมาตรฐานโรงพยาบาลฉบับปีกาญจนาภิเษกขึ้นในปี 2539
ลักษณะสำคัญของ Quality 1.0 คือ คุณภาพขยับจากการให้ความสำคัญที่ความรู้ความสามารถและพฤติกรรมบริการของปัจเจกชน (คือ แพทย์/ พยาบาล แต่ละท่าน) ไปสู่คุณภาพของกระบวนการทำงานขององค์กรที่เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด โดยผู้ที่กำหนดมาตรฐานคือผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละสาขา

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here