“สานต่อ” นพ.กิตตินันท์ อนรรฆมณี

0
1219
“สานต่อ” นพ.กิตตินันท์ อนรรฆมณี
“สานต่อ” นพ.กิตตินันท์ อนรรฆมณี

“สานต่อ” นพ.กิตตินันท์ อนรรฆมณี

“จากรากฐาน คือ Educational Process สิ่งที่ “สานต่อ” คือ การยกระดับคุณภาพ นำแนวคิดการพัฒนาคุณภาพเข้าไปเชื่อมโยงกับกิจต่างๆ”

…สานต่อก่อต้นแข็งแกร่ง รับแสงรดน้ำต้นกล้า พรวนดินใส่ปุ๋ยนานา กิ่งก้านสาขาแตกไกล…

ในช่วง “สานต่อ” มีการพัฒนางานคุณภาพที่สำคัญ 5 เรื่อง ได้แก่

  1. การพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐาน HA

“กระบวนการประเมินรับรองคุณภาพสถานพยาบาล อยู่บนรากฐานการเป็น Educational Process เป็น Empowerment Evaluation ไม่ใช่การตรวจสอบ แต่ Accreditation เป็นกระบวนการเรียนรู้ ที่ผู้ประเมินและ
ผู้ถูกประเมินเรียนรู้ไปด้วยกัน”

ในช่วงการสานต่อได้พัฒนาเพื่อขยายผลการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐาน HA โดยเริ่มมีการพัฒนามุ่งสู่ความเป็น Excellence ได้แก่ Advanced HA, BMA Health Center Accreditation, Disease Specific Certification ทำให้ได้รับความสนใจจากโรงพยาบาลขนาดใหญ่และโรงเรียนแพทย์มากขึ้น  นอกจากนี้ยังมีการขยายการประเมินรับรองที่หลากหลายในรูปแบบ Seamless ได้แก่  District Health System Evaluation    การประเมิน Service Plan ตามแนวคิด Healthcare Network Certification  เป็นภาพการพัฒนาที่เชื่อมโยง  สู่ผู้ป่วยโดยตรงและขับเคลื่อน SHA Award

การขยายแนวคิดการพัฒนาโรงพยาบาล HA และ Advanced HA ต้องมีแผนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์องค์กร      มีแผนจัดการความเสี่ยงที่จะมีผลกระทบต่อยุทธศาสตร์  ทำให้องค์กรมีความยั่งยืนด้วย Business Continuity Plan และมีความยืดหยุ่น (Resilience) พร้อมรับภัยคุกคามต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต  Resilience สร้างได้ด้วย Systems Thinking (Iceberg Model) จากการแก้ปัญหาเป็นรายเหตุการณ์ สู่การศึกษารูปแบบและพฤติกรรมองค์กรด้วย THIP การออกแบบระบบงานใหม่ (Service Designs) เพื่อแก้ปัญหาในระยะยาว โดยใช้ทฤษฎี ความเชื่อ การคิดนอกกรอบ ปรัชญาในการดำเนินชีวิตและการทำงาน การขับเคลื่อน Patient and Personnel Safety และมาตรฐานสำคัญจำเป็นต่อความปลอดภัย 9 ข้อ

  1. Information & Technology 

“การพัฒนางานด้าน IT เป็น Movement ที่สำคัญที่จะเปลี่ยนโฉมหน้าโรงพยาบาลในอนาคต”

IT Quality Journey ที่ผ่านมามีการขับเคลื่อนจาก IT for IT คือการพัฒนา Hardware, Software ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน สู่การพัฒนา IT for Staff คือต้องมี Service Level Agreement เพื่อการันตีว่าผู้ใช้ได้ประโยชน์จากลงทุนด้าน IT เช่น การประกันเวลาการเกิด Down Time และการพัฒนา IT for strategy IT for Customers & Stakeholders คือการใช้ IT ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์องค์กร สนับสนุน Customers and Stakeholders และสร้าง Strategy ใหม่ๆ ให้กับองค์กร การพัฒนา ด้าน Cybersecurity การพัฒนา Telemedicine ต้องคำนึงถึงการกำกับดูแล การจัดการสภาพแวดล้อม ระบบสารสนเทศ การจัดการด้านยา

การจัดการความเสี่ยง กระบวนการดูแลผู้ป่วยที่ยังคงคุณภาพ  แพทย์ผู้ให้บริบาล และผลลัพธ์

Metaverse จะมาเปลี่ยนรูปแบบระบบบริการสุขภาพในอนาคต การเรียนรู้ให้เท่าทันเทคโนโลยีจึงสำคัญ โรงเรียนแพทย์ต่างๆ อาจต้องเตรียมการเรียนการสอนแบบ Metaverse Training Center และอาจเกิดกระบวนการเสพติดโลกเสมือน (Metaverse Addict) ได้

  1. Lean & Logistics

“ในกระบวนการพัฒนาคุณภาพ Lean & Logistics นำมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพ”

Lean เป็นแนวคิดพื้นฐานสำคัญเพื่อลดสิ่งที่สูญเสียให้มากที่สุด ในมิติคุณภาพไม่ได้มองเฉพาะประสิทธิผล Lean
จะเป็นการมองในเชิงประสิทธิภาพของระบบที่จะให้องค์กรดำรงอยู่ในระยะยาวได้  Logistics ถูกบรรจุไว้ในมาตรฐานตอนที่ I-6.1 กระบวนการทำงาน (Work Process) ค. การจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) โดยการดู Flow ทั้ง Material Flow, Information Flow, Work Flow และ Patient Flow ตัวอย่างเช่น การนำแนวคิด Milk Run มาใช้ในระบบการขนส่งในโรงพยาบาล หรือการจัดรถขนขยะติดเชื้อในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทั้งอำเภอ หรือการนำแนวคิดตู้กดขนมมาจัดการ Sub Stock อุปกรณ์การแพทย์ ในโรงพยาบาลศิริราช เป็นต้น

4. Value-Based Healthcare 

สรพ. ได้นำแนวคิดของ Michael E. Porter ทั้งเรื่อง Health Outcome, Cost, Care Cycle โดยนำองค์กระกอบของ Value-Based Healthcare 6 ประการ มาแปลงสู่การพํฒนาการดูแลผู้ป่วยทั้ง Care Cycle ตัวอย่างเช่น การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยกระดูกข้อสะโพกหัก ซึ่งมีการขับเคลื่อนอย่างเป็นเป็นรูปธรรม อยู่ระหว่างการเชื่อมโยงไปสู่ Payment System                                                                                          

  1. COVID-19

สรพ.ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 และได้ปรับรูปแบบการจัดกระบวนการเยี่ยมสำรวจผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พัฒนาการเผยแพร่ความรู้เรื่อง COVID-19 ผ่าน Facebook Live and YouTube ทั้งองค์ความรู้กระบวนการดูแลผู้ป่วย COVID-19  ประเด็น Patient and Personnel Safety บนแนวคิด “No Patient Safety Without Health Worker Safety”  เผยแพร่ประสบการณ์ผู้ป่วย COVID-19 รวมทั้งสรุปบทเรียน จัดทำเอกสารและองค์ความรู้เกี่ยวกับโควิด-19 เช่น แนวปฏิบัติเพื่อการบริหารจัดการโรงพยาบาลเฉพาะกิจ COVID-19 แนวปฏิบัติในการบริหารจัดการศูนย์ฉีดวัคซีน แนวปฏิบัติในการบริหารจัดการศูนย์พักคอยในชุมชน (Community Isolation Center) รวมทั้งสกัดองค์ความรู้เผยแพร่ให้ดาวน์โหลดบน Website สรพ. โดยมีเป้าหมายเพื่อให้สถานพยาบาลต่างๆ ทำงานได้เร็วขึ้นและเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยมากขึ้น

จากรากฐาน คือ Educational Process สิ่งที่สานต่อคือ ยกระดับคุณภาพ นำแนวคิดการพัฒนาคุณภาพเข้าไปเชื่อมโยงกับกิจต่างๆ  

ผู้ถอดบทเรียน รุ่งนภา ศรีดอกไม้ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here