จิตวิญญาณในการดูแลผู้ป่วย: คุณค่าสำคัญของระบบบริการสุขภาพที่ทันสมัย

0
1949
จิตวิญญาณในการดูแลผู้ป่วย: คุณค่าสำคัญของระบบบริการสุขภาพที่ทันสมัย
จิตวิญญาณในการดูแลผู้ป่วย: คุณค่าสำคัญของระบบบริการสุขภาพที่ทันสมัย

สิ่งสำคัญของการดูแลด้านจิตวิญญาณของผู้ป่วย คือ การสร้าง Enhance Trust โดยทำให้ผู้ป่วยและครอบครัวไว้ใจ รู้สึกว่าเราคือครอบครัวหรือเป็นส่วนหนึ่งของเขา

โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ ได้นำแบบอย่างการดำเนินชีวิตของพระเยซูเจ้ามาเป็นต้นแบบในการดำเนินชีวิต จึงเกิด Saint Louis Model ขึ้น โดยนำแนวคิดและนโยบายของพระศาสนจักรคาทอลิกมากำหนดพันธกิจ วิสัยทัศน์ ค่านิยมหลัก นำไปสู่วัฒนธรรมองค์กร ที่สะท้อนให้เห็นความเป็นองค์กรของพระศาสนจักรคาทอลิกที่มุ่งเน้นความสุขของทั้งผู้ให้และผู้รับบริการ รวมถึงการให้ความสำคัญกับจิตวิญญาณ ด้วย Pastoral Mind in Action (จิตสำนึกของการดูแลด้วยรักและรับใช้) โดยแบ่งเป็น 4 หัวข้อ ตามคุณลักษณะของนายชุมพาบาล (Pastoral Mind in Action) ดังนี้

  • Feeding การให้สิ่งที่มีประโยชน์แก่ร่างกาย และจิตใจ
  • Protecting การปกป้องช่วยเหลือให้ผู้อื่นพ้นจากสิ่งไม่ดี
  • Cleaning การล้างใจปลดปล่อยความทุกข์และทำจิตใจให้บริสุทธิ์สะอาด
  • Healing การเยียวยาบรรเทาความทุกข์และฟื้นฟูจิตใจของผู้ช่วยเหลือและผู้ได้รับการช่วยเหลือ

จากการดำเนินชีวิตของพระเยซูเจ้าผู้เป็นต้นแบบของการเสียสละเพื่อผู้ขาดแคลนอย่างแท้จริง ผู้ทรงใช้วิธีการปฏิบัติมากกว่าคำสอน มาสู่การทำให้ภารกิจที่หยั่งรากลึกลงภายในจิตใจของพนักงานเซนต์หลุยส์ เพื่อการปฏิบัติต่อผู้ใช้บริการและเพื่อนร่วมงานด้วยพลังใจแห่งการให้

ทั้งนี้โรงพยาบาล Saint Louis ได้นำมาตรฐาน SHA มาใช้กับดูแลด้านจิตวิญญาณของผู้ป่วยและมีการก่อตั้งงานจิตตาภิบาล ซึ่งเป็นภารกิจที่ให้ความสำคัญกับการดูแลด้านจิตวิญญาณ ควบคู่กับร่างกาย โดยยึดจิตตารมณ์เมตตาธรรม

กิจกรรมของงานจิตตาภิบาล (Chatplainey)

  • มุ่งเน้นการดูแลที่เต็มไปด้วยความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความเอื้ออาทรซึ่งกันและกันโดยเล็งเห็นคุณค่าและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์
  • เป็นการดูแลที่มุ่งหวังให้ทุกคนทั้งผู้ให้การดูแล ผู้ได้รับการดูแล ได้รับประโยชน์สูงสุด และมีความสุข โดยไม่คำนึงถึง
  • ความแตกต่างทางศาสนา
  • ทีมอภิบาลประกอบด้วย บาทหลวง คณะมาเซอร์ เจ้าหน้าที่ และจิตอาสา
  • ผ่านการเยี่ยมพูดคุยให้กำลังใจ บริการศาสนกิจ

ทั้งนี้ได้มีการผนวกการดูแลด้านจิตตาภิบาลและการดูแลรักษาผู้ป่วยเข้าด้วยกัน โดยมีแนวทางปฏิบัติการ ดังตัวอย่าง นี้

ผลลัพธ์การดำเนินงาน การเชื่อมโยง มาตรฐาน SHA เข้าในการดูแลผู้ป่วยในมิติจิตวิญญาณ ส่งเสริมให้เกิดผลลัพธ์การดำเนินงานที่ดี บุคลกรมีความสุขในการทำงาน เห็นคุณค่าในตนเองรวมทั้งผู้ป่วยมีความปลอดภัย และความพึงพอใจ

บทเรียน / การเรียนรู้ ปัจจัยความสำเร็จของการนำ

  • ความต่อเนื่องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันของผู้บริหารสูงสุด (ประธานกรรมการบริหาร และผู้อำนวยการโรงพยาบาล) ในการบริหารตามความเชื่อของศาสนาเกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรม นำไปสู่ต้นแบบด้านการนำองค์กร และการสร้างจริยธรรม
  • กลไกการสื่อสารที่หลากหลายรูปแบบ และหลากหลายช่องทางที่ผ่านระบบการนำที่เข้าใจในตัวบุคลากรอย่างแท้จริง
  • ผู้นำผู้บริหารมีความผูกพันต่อองค์กร นำไปสู่ความผูกพันของบุคลากรต่อองค์กรเช่นกัน
  • แนวคิดหลักการทางคริสต์ศาสนาสอดคล้องกับพุทธศาสนา หรือศาสนาอื่นๆ โดยเน้นเรื่องความรัก ความเมตตา ตามปรัชญาของโรงพยาบาล ทำให้บุคลากรทุกคนในโรงพยาบาลมีวิธีการทำงานของตนเอง วิธีคิดพฤติกรรม ความสัมพันธ์กับผู้อื่น สิ่งที่ปฏิบัติในชีวิตประจำวันสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน (Core Vale Saint Louis Model) จากการหล่อหลอมของบรรยากาศที่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาด้านจิตวิญญาณ อันนำไปสู่การดูแลผู้ป่วยอย่างองค์รวมและเคารพศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ทั้งผู้ป่วยที่นับถือศาสนาคริสต์ หรือศาสนาอื่นๆ
  • การมีโครงสร้างการบริหาร และโครงสร้างการพัฒนาคุณภาพ ที่ให้ความสำคัญกับฝ่ายจิตตาภิบาล เพื่อรองรับกิจกรรม/งานด้านจิตวิญญาณ
  • สถาปัตยกรรมโรงพยาบาลและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเยียวยา (Healing Environment)
  • กิจกรรมต่างๆ ที่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาจิตวิญญาณ

ถอดบทเรียนโดย จรัญญา บุญเกิด นักวิชาการโครงการ สำนักประเมินและรับรอง                                                               สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)

ภาพถ่ายโดย Karolina Grabowska จาก Pexels

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here