Building up 3P Safety Culture for the Future Accreditation

0
41
Building up 3P Safety Culture for the Future Accreditation

”ความปลอดภัยในระบบบริการสุขภาพเป็นหนึ่งในผลลัพธ์ที่สำคัญจากกระบวนการดูแลรักษาที่มีคุณภาพ”

Hippocrates ได้มีการประกาศ The Hippocrates Oath “First do no harm” เป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิญาณที่จะดูแลคนไข้ให้ปลอดภัย บ่มเพาะ safety culture การดูแลรักษาผู้ป่วยเป็นการมุ่งเน้นที่ความสามารถ ทักษะและประสบการณ์ของแพทย์กับการปฏิบัติตามหลักจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพเป็นหลัก นำวิธีการรักษาโรคแบบใหม่ที่ต้องวินิจฉัยถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคก่อนแล้วจึงทำการรักษาแทนการรักษาด้วยพิธีกรรมจามความเชื่อต่างๆ เริ่มทำระเบียนบันทึกอาการและประวัติของคนไข้ วางกฎเกณฑ์ สร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยเป็น Individual competence ต่อมาต้นศตวรรษที่ 20 Dr.Codman เริ่มนำเวชระเบียนมาทบทวน เริ่มต้น Patient care team และเริ่มการทำ mortality and morbidity conferences สถานพยาบาลเริ่มมีการกำหนดมาตรฐานการดูแลขั้นพื้นฐานเพื่อสร้างความมั่นใจ เริ่มมีการกำหนดและกำกับการออกใบอนุญาตในการดูแลรักษา เกิด The Joint Commission on Accreditation of Hospital เป็นครั้งแรกโดยเป็นการรับรองการปฏิบัติตามมาตรฐานเพื่อความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน มุ่งเน้นการปฏิบัติตามกระบวนการเป็นหลักมากกว่าผลลัพธ์ของผู้ป่วย ยังคงมีความเข้าใจที่จำกัดเกี่ยวกับข้อผิดพลาดด้านการดูแลสุขภาพอย่างเป็นระบบ ในปลายศตวรรษที่ 20 มีการมองภาพเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นระบบ Safer Health System อาศัยข้อมูลรายงานในหนังสือ To Err is Human รายงานผู้ป่วยที่เสียชีวิตจำนวน 44,000-98,000 รายต่อปีเกิดจาก preventable medical error
ซึ่งเป็นจำนวนที่มากกว่าการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ โรคมะเร็งเต้านมและโรค AIDS ดังนั้นปัญหาดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างเป็นระบบ (system-based error prevention) นอกจากนี้ประธานาธิบดี Bill Clinton ได้กล่าวถึงการแก้ปัญหาโดยการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมเพื่อลดการเกิด medical error และจากการประชุมในสมัชชาองค์การอนามัยโลก 2002 ได้ผลักดัน safety and quality of care ส่งเสริมวัฒนธรรมของความปลอดภัยและคุณภาพการดูแลผู้ป่วย (a culture of safety and quality) ภายใต้องค์กรที่ดูแลด้านสุขภาพ สำหรับประเทศไทยได้เล็งเห็นความสำคัญของ Patient safety ตั้งแต่ปีคศ.2002 โดยสอดคล้องกับกลยุทธด้านความปลอดภัยของนานาชาติที่มีการปรับเปลี่ยนไป อ้างอิงตามมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพฉบับที่ 5 ได้เน้นเรื่อง 3P safety (Patient safety, personnel safety และ People safety)

องค์การอนามัยโลกได้ให้นิยาม ความปลอดภัยของผู้ป่วย (Patient safety) หมายถึง กรอบการทำงานหรือกิจกรรมขององค์กรที่ก่อให้เกิดวัฒนธรรม กระบวนการ ขั้นตอน พฤติกรรมเทคโนโลยี และสภาพแวดล้อมในการดูแลสุขภาพ ลดความเสี่ยง อันตรายที่หลีกเลี่ยงได้ ลดข้อผิดพลาด ลดผลกระทบที่เกิดจากอันตรายจากเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์

ทำไมต้องสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย วัฒนธรรมคือการสร้างรหัสพันธุกรรมที่ฝังตัวอยู่ในองค์กร สามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ต่างๆ โดยอัตโนมัติ ไม่ต้องคอยกำหนดรายละเอียดทุกขั้นตอน สามารถถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ลักษณะของวัฒนธรรม ทำโดยอัตโนมัติ ทำซ้ำในช่วงเวลาหนึ่งยาวพอควร มนุษย์เป็นผู้กำหนด สร้างขึ้นมาเพื่อรับใช้มนุษย์ ต้องปรับเปลี่ยน วัฒนธรรมเกิดจากการสั่งสมการเรียนรู้ของสมาชิก ต้องใช้เวลาในการสั่งสมพอสมควร วัฒนธรรมองค์กรเกิดโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ได้ มีทั้งดีและไม่ดี เปลี่ยนแปลงได้ขึ้นกับผู้บริหารสูงสุด ตัวอย่างที่เห็นชัดเรื่องวัฒนธรรมความปลอดภัย คือเหตุการณ์เกิดอุบัติเหตุ นิวเคลียร์ระเบิดที่ Chernobyl เนื่องจากไม่ได้ปฏิบัติตามแนวทางที่วางไว้ ทำให้ส่งผลเสียต่อภาคอุตสาหกรรมและชีวิตมนุษย์

Safety culture คือ performance เป็น performance ระดับพฤติกรรมที่สัมผัสได้ เป็นพฤติกรรม
สิ่งที่คนในหมู่สร้างขึ้น ด้วยการเรียนรู้จากกันและกันและร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตนเพื่อความปลอดภัยซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามยุคสมัยและความเหมาะสม เป็นผลของค่านิยม เจตคติ การรับรู้ สมรรถนะ และแบบแผนพฤติกรรมของบุคลากรและของกลุ่ม ซึ่งกำหนดความมุ่งมั่น วิถีการทำงานและความสามารถในการจัดการเกี่ยวกับสุขภาพและความปลอดภัยในองค์กร   ประกอบด้วย 3 ด้าน ดังนี้ 1. Physiological aspects “ผู้คนรู้สึกอย่างไร” ค่านิยม เจตคติ การรับรู้ของผู้คน 2. Behavioral aspects “ผู้คนทำอะไร” การกระทำพฤติกรรมเกี่ยวกับความปลอดภัย
3. Situation aspects “องค์กรทำอะไร” นโยบาย ระเบียบปฏิบัติ โครงสร้างองค์กร ระบบบริหาร การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยผู้นำองค์กรต้องเป็นคนนำ มีระบบการจัดการความปลอดภัยและมีวัฒนธรรมความปลอดภัย ซึ่งต้องมีความตระหนักจากภายในและมีการกระตุ้นจากภายนอก รู้เองว่าเรื่องนี้จำเป็นต้องทำ มีการจัดการสนับสนุน ความรับผิดชอบที่ไม่ต้องให้ใครบอกซึ่งต้องอาศัยเวลา องค์ประกอบของวัฒนธรรมความปลอดภัย (safety culture)

The future Healthcare Accreditation ประเด็นสำคัญระดับ international ปี 2022 พูดถึง modernization accreditation 2030 จะมีการเปลี่ยนจาก recognition เป็น mechanism สร้างความเชื่อและความเข้าใจไปด้วยกัน (Knowledge translation and transfer), aim to “change behavior การสร้างวัฒนธรรมเพื่อความปลอดภัย” more evidence-based เปลี่ยนกระบวนการ process แตะที่ผลลัพธ์ มีเป้าหมายที่ better outcome, improve personal experience และ advancing health equity โดยเพิ่มเติมการมุ่งเน้นให้เกิดความเป็นธรรมด้านสุขภาพ มีการปรับเปลี่ยน reframing accreditation 1.0 (2020) เป็น 2.0(2030) ปี 2023 พูดถึง digital technology เป็นทิศทางที่ชัดเจน ที่ทุกประเทศสมาชิกต้องเปิดรับขยับตามได้ เน้น sustainability ความยั่งยืนที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและสังคม รวมถึงผลกระทบกับประชาชนจากระบบบริการสุขภาพ Human resource ที่ให้ความสำคัญกับคนทำงานในระบบบริการสุขภาพ ซึ่งต้องดูแลทั้งสุขภาพกายและใจ รวมถึงการแก้ปัญหาลดการทำงานด้วยเทคโนโลยี Equity เป็นประเด็นมิติคุณภาพที่ท้าทายครอบคลุมการเข้าถึงบริการที่แตกต่างด้วย gender และ culture รวมถึงการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยการเข้าถึงบริการที่เพิ่มมากขึ้น การประชุมปี 2024 กล่าวถึงอนาคตของ Health care accreditation จะเป็น Real-time performance data, Virtual technology, Data connecting tools, Artificial intelligence และ Integrated system

นโยบายการเยี่ยมสำรวจและประเมินรับรองคุณภาพสถานพยาบาล พัฒนา มาตรฐาน HA สู่สากล และใช้กระบวนการ hospital accreditation อย่างชาญฉลาด ครอบคลุมสถานพยาบาล ให้มีการยกระดับ และพัฒนาคุณภาพต่อเนื่องเพื่อความปลอดภัยของประชาชนในระบบบริการสุขภาพ ในอนาคต การรับรองคุณภาพสถานพยาบาลมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนเป็น Non prepare survey ไม่มีการส่ง SAR แต่ส่งข้อมูลสม่ำเสมอ ไปเยี่ยมเมื่อไหร่ก็ได้ เพราะทุกอย่างเป็น continuous quality improvement ใช้ standard เป็น backbone ของการทำงาน

3P safety กับมาตรฐานการรับรองคุณภาพสถานพยาบาลในอนาคตมีความเกี่ยวข้องกัน ทั้งนี้เพื่อสร้างสรรค์วัฒนธรรมความปลอดภัยที่ยั่งยืนต่อไป

“ Future Accreditation บูรณาการ
กระบวนการพัฒนาต่อเนื่องเพื่อเกิดผลลัพธ์
ที่จับต้องได้เรื่องความปลอดภัย เป็น Quality Performance ที่สำคัญ”

ผู้ถอดบทเรียนผู้ช่วยศาสตราจารย์(พิเศษ)นายแพทย์ปฏิการ ดิสนีเวทย์
กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลหาดใหญ่

ครีเอทีฟคอมมอนส์
งานนี้ใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แบบแสดงที่มาไม่ใช้เพื่อการค้า ไม่คัดแปลง

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here