โครงการพัฒนารูปแบบการดูแลสตรีตั้งครรภ์ในสถานพยาบาล เพื่อลดจำนวนทารกน้ำหนักน้อยในจังหวัดลำพูน

0
4816

พิธีกร ขยายผลวิธีการดูแลสตรีตั้งครรภ์ เพื่อลดจำนวนทารกน้ำหนักน้อยลงสู่ระดับพื้นที่ในจังหวัดลำพูน ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่จึงมีโครงการพัฒนารูปแบบโครงการการดูแลสตรีตั้งครรภ์ในสถานพยาบาล โครงการดังกล่าวนี้มีการพัฒนาอย่างไร จะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่เราไปชมผลงานชิ้นนี้กันเลยครับ
พิธีกร สวัสดีครับอาจารย์ครับ วันนี้เรามาพูดคุยถึงโครงการพัฒนารูปแบบการดูแลสตรีตั้งครรภ์ในสถานพยาบาล เป้าหมายของโครงการนี้เป็นอย่างไรครับอาจารย์
 

พ.ญ.ทองทวี ศุภาคม

 

 

เรามีเปาหมายก็คือว่าเราต้องการขยายผลวิธีการดูแลสตรีตั้งครรภ์เนี้ยนะคะ เพื่อที่จะลดจำนวนทารกน้ำหนักน้อยที่เราประสบความสำเร็จแล้วใน รพสต.ศูนย์อนามัยที่ 1เชียงใหม่ ลงสู่พื้นที่ที่ยังประสบปัญหาอยู่ในเขตสุขภาพที่ 1 นะคะ ซึ่งในระยะแรกเนี้ยเราก็เลือก 3 รพ.ในเขตสุขภาพที่ 1ที่มีสถิติทารกน้ำหนักน้อยสูงที่สุดนะคะ ก็จะเป็น 3 รพ.คือ รพ.ลี้ ลำพูน แล้วก็ทุ่งหัวช้าง
พิธีกร ก่อนหน้านี้เราประสบปัญหาอะไรบ้างครับจึงทำให้เราคิดโครงการดีๆ นี้ขึ้นมาครับ
 

พ.ญ.ทองทวี ศุภาคม

 

 

เราประสบปัญหาอย่างมากคะในเรื่องของงบประมาณที่ใช้ในการดูแลทารกน้ำหนักน้อยซึ่งทารกหนึ่งคนเนี้ยจะต้องใช้เงินถึงประมาณ 500,000 บาท ถ้าเป็นทารกที่คลอดก่อนกำหนดนะคะ แล้วก็ไม่มีเตียงเพียงพอที่จะรับทารกเหล่านี้นะคะ ทำให้มีปัญหามากที่สุดในการส่งต่อทารก เราจึงได้ย้อนกลับมาคิดว่า ถ้าเราไม่มีจำนวนทารกน้ำหนักน้อยสูงๆ เนี้ย ปัญหาภาระต่างๆ เหล่านี้ ควรจะต้องหายไปนะคะ รวมถึงว่าเด็กทารกที่มีน้ำหนักน้อยเนี้ยนะคะ ก็จะมีปัญหา ตั้งแต่พัฒนาการล่าช้า การเจริญเติบโตไม่สมวัย แล้วก็ส่วนสูงในอนาคตก็จะต่ำกว่าเกณฑ์อีก รวมถึงการเกิดเรื้อรังทางอายุรกรรม เวลาที่เค้าโตเป็นผู้ใหญ่จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ โรคเบาหวานโรคความดันสูงกว่าเด็กที่มีน้ำหนักปกติคะ เพราะฉะนั้นเราสามารถลดทารกเหล่านี้ลงได้เนี้ย แน่นอนที่สุดค่ะงานที่หนักๆ ทางด้านสาธารณสุขเราจะต้องลดลงคะ ตลอด 10 ปีที่ผ่านมาเนี้ยนะคะ เราเปรียบเทียบว่าปัญหาของทารกน้ำหนักน้อยซึ่งเกิดจากทารกที่คลอดก่อนกำหนดและทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์เนี้ยมันอยู่ใต้ภูเขาน้ำแข็งเนี้ยมานานนับ 10 ปีไม่มีใครแก้ไขได้ แล้วก็เป็นตัวชี้วัดที่ไม่ผ่านการประเมินของรัฐบาลเลยตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ดังนั้นตัวเลขของทารกน้ำหนักน้อยจะอยู่ที่ร้อยละ 8 ทั่วประเทศไทย มมมม่
พิธีกร นั่นคือก่อนที่เราจะทำโครงการนี้ ก็จะอยู่ที่ 8% หรือร้อยละ 8  หลังจากที่เราทำล่ะครับอาจารย์
 

พ.ญ.ทองทวี ศุภาคม

 

 

หลังจากที่เราทำเนี้ยนะคะได้งันเอาปัญหานี้ขึ้นมาเหนือภูเขาน้ำแข็ง คือเราสร้างวิธีการแก้ปัญหา คือโปรแกรมการลดทารกคลอดก่อนกำหนด และโปรแกรมแก้ไขทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ให้กลับมามาน้ำหนักปกติก่อนคลอดนะคะ ทำให้ปัญหานี้หายไปเพราะว่าจำนวนทารกน้ำหนักน้อยได้ลดลงจากร้อยละ 8 เหลือเพียงร้อยละ 0 เท่านั้น
พิธีกร ผลของการดำเนินโครงการนี้เป็นอย่างไรบ้างครับ
 

พ.ญ.ทองทวี ศุภาคม

 

 

จากการที่เราขยายผลคือนอกจากความสำเร็จที่เราทำได้ใน รพสต.ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่เราก็อยากจะรู้ว่าถ้าเราขยายผลลงสู่พื้นที่ที่มีปัญหามากที่สุดเนี้ยจะได้รับผลไม่ต่างจากเราหรือไม่นะคะ เราจึงได้ไปดำเนินการขยายผลนั้นลงใน 3 รพ. ที่มีสถิติทารกน้ำหนักน้อยสูงที่สุด ก็คือ ลี้ ทุ่งหัวช้างแล้วก็ลำพูนนะคะ โดยการใช้วิธีของการ A2IM ก็คือ Assessment เข้าไปในตัวปัญหาของพื้นที่เลยนะคะ ให้เค้าเนี้ยสามารถที่จะรู้ปัญหาของสตรีตั้งครรภ์ในพื้นที่ของเค้าเนี้ยอย่างแท้จริงจากข้อเท็จจริงของเค้าที่มีอยู่ แล้วเราก็ Advocate คือเราไปชวนผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง แล้วเราเอามานะคะสอนในส่วนขององค์ความรู้ที่เค้ายังขาด หรือยังไม่ทราบวิธีการแก้ไขปัญหานะคะ แล้วเราก็ช่วยในการสร้าง Intervention หรือร่วมคิดกับผู้ที่มีส่วนร่วม เนี้ยนะคะให้เอา Intervention นั่นมาแก้ปัญหาในพื้นที่ของเค้านะคะ พอเราจุดประเด็นให้เค้าเนี้ยนะคะ เค้าก็จะสามารถสร้างโครงการต่างๆ ขึ้นมาแก้ไขปัญหาด้วยตัวของเค้าเองด้วย จากการที่เราเข้าไปชี้ขวนนะคะ หรือไปเพิ่มพลัง เพิ่มศักยภาพให้เค้านะคะ ก็ทำให้เกิด Management ก็คือการอธิบาลระบบการดูแลสตรีตั้งครรภ์เพื่อลดทารกน้ำหนักน้อยเนี้ยในพื้นที่ของเค้าเองจนกระทั้งประสบความสำเร็จเพราะฉะนั้นผลที่ออกมาก็คือว่าทั้ง 3 รพ.จะลดทารกน้ำหนักน้อยได้ด้วยตัวของเค้าเองนะคะ ได้ทุก รพ.ได้อย่างชัดเจน ต่อเนื่องนะคะแล้วก็เป็นรูปธรรม อย่างที่เห็นผลมากที่สุดก็คือ รพ.ทุ่งหัวช้างเนี้ยสามารถลดร้อยละ 14 เหลือร้อยละ 0 ซึ่งไม่ต่างจาก รพ.ของเราที่ทำได้ร้อยละ 0 เช่นเดียวกัน
พิธีกร ในโครงการนี้คุณค่าที่เกิดขึ้นคือแน่นอนจากที่ผมฟังเนี้ยไม่ได้เกิดขึ้นกับฝ่ายเดียวหรือว่าหน่วยงานเดียวแน่นอนเกิดขึ้นกับใครบ้างครับอาจารย์
 

พ.ญ.ทองทวี ศุภาคม

 

 

พูดง่ายๆ นะคะเราเอาระดับที่ใหญ่ที่สุดก็คือ ประเทศของเราเนี้ยนะคะเราจะได้ประชากรที่มีคุณภาพดีคะมีความพร้อมที่จะเรียนรู้ต่อการเปลี่ยนแปลง แล้วงบประมาณของประเทศที่ต้องใช้ในการดูแลทารกน้ำหนักน้อยเนี้ยนะคะ สามารถจะนำมาพัฒนาในส่วนอื่นหรือนำมาส่งเสริมสุขภาพสตรีตั้งครรภ์แทนการดูแลเจ็บป่วยของทารกนะคะ ถ้าลงไปถึงระดับของพื้นที่เนี้ยนะคะ พื้นที่เนี้ยเค้าก็สามารถที่จะสร้างองค์ความคิดแบบใหม่ในการส่งเสริมสุขภาพสตรีตั้งครรภ์นะคะ เน้นการส่งเสริมสตรีตั้งครรภ์ป้องกันมากกว่าการรักษาคะ และในส่วนระดับตัวบุคลากรเองเนี้ย เค้าก็จะเกิดแนวความคิดใหม่ในการสร้างเฮลตี้มัมก็คือว่าทำให้สตรีตั้งครรภ์นั้นมีสุขภาพดี สร้างลูกที่มีสุขภาพดีแข็งแรง
พิธีกร คุณผู้ชมครับ แน่นอนนะครับว่าโครงการนี้ทำให้เราได้เห็นแล้วก็สามารถนำไปต่อยอดในหลากหลายโครงการได้นะครับ ว่าการส่งเสริมการป้องกัน ย่อมดีกว่าการมารักษาภายหลังแน่นอนนะครับ สำหรับวันนี้ ต้องขอขอบพระคุณอาจารย์ สำหรับข้อมูลเป็นอย่างสูงนะครับอาจารย์ ขอบคุณครับ

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here