การจัดการข้อมูลที่ดี เราทำได้ : Data Governance in Practice

0
2884

การอภิบาลข้อมูล (Data governance) หมายถึงกระบวนการตัดสินใจ การวางวิสัยทัศน์ การจัดทำแผนงาน การจัดการทรัพยากรข้อมูล การประเมินความเสี่ยง และการติดตามวัดประเมินผล ตลอดวงจรชีวิตของข้อมูล (Data Life Cycle)

ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับข้อมูล (Data) ที่น่าสนใจคือ ในปี ค.ศ. 2006 Clive Humby ได้กล่าวไว้ว่า “Data is the New Oil.” เป็นการเปรียบข้อมูลเสมือนสินทรัพย์ที่มีค่าที่ต้องเก็บไว้ไม่แบ่งใคร  ต่อมาในปี ค.ศ. 2012 David McCandless ได้กล่าวโต้ว่า “Data is Not the New Oil. Data is the New Soil.” เนื่องจากข้อมูลไม่ได้เป็นทรัพยากรที่ห้ามแบ่งใคร กลับกันการเก็บข้อมูล การนำข้อมูลที่มีนำมาใช้อาจทำให้ผลิดอกออกผลได้มาก และมีประโยชน์มากกว่าในการนำข้อมูลออกมาใช้ร่วมกัน ดั่งดินที่ทำให้ต้นไม้งอกงาม

คุณลักษณะที่ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ข้อมูลสารสนเทศ (Data and Information) 10 ประการ ได้แก่

  1. เป็นทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตน (Intangible)
  2. ไม่ถูกบริโภคหมดไป (Non-depleting)
  3. ไม่มีการแข่งขันในการใช้งาน (Non-rival)
  4. สามารถสร้างใหม่และมีปริมาณเกือบไม่จำกัด (Regenerative and nearly unlimited)
  5. มีต้นทุนในการจัดเก็บและถ่ายโอนค่อนข้างต่ำ (Relatively inexpensive to store and transfer)
  6. มีความหลากหลายสูงมาก (Very Heterogenous)
  7. มักถูกสร้างร่วมกัน (Often co- produced)
  8. อาจไม่สามารถกีดกันการเข้าถึงได้ (Potentially non-excludable) คือ ไม่สามารถทำความสะอาดได้หากมีการรั่วไหล (Impossible to clean up if you spill it)
  9. มีผลกระทบภายนอกทางเศรษฐกิจ (Externalities)
  10. สามารถแสดงผลตอบแทนเพิ่มขึ้นตามขนาด (Can exhibit increasing returns to scale)

จากคุณลักษณะดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ข้อมูลสารสนเทศอาจไม่ได้มีเพียงข้อดีเท่านั้น แต่มีข้อเสียที่อาจทำให้เกิดอันตรายได้ ดังนั้นข้อมูลจึงถือเป็น “ดาบสองคม” ได้เช่นเดียวกัน

ก่อนจะทำความเข้าใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับการอภิบาลข้อมูลต้องเข้าใจธรรมชาติของข้อมูลผ่านวงจรชีวิตข้อมูลก่อนโดย วงจรชีวิตของข้อมูล หรือ Data Life Cycle มีขั้นตอนดังนี้

  1. สร้างข้อมูล (Create/Receive)
  2. แปรรูปข้อมูล (Process)
  3. จัดเก็บข้อมูล (Store)
  4. วิเคราะห์และใช้ข้อมูล (Analyze and Use)
  5. เผยแพร่ข้อมูล (Transfer/Share)
  6. จัดเก็บข้อมูลถาวร (Archive)
  7. ทำลายข้อมูล (Destroy)

การอภิบาลข้อมูล หรือ Data Governance กล่าวโดยสรุปมีคำนิยามคือ กระบวนการตัดสินใจวางแผนการจัดการ จัดเก็บข้อมูลตลอดวงจรชีวิตของข้อมูล แต่เนื่องจากข้อมูลที่เราพูดถึงกันเป็นข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ มีความเปราะบาง และต้องการความปลอดภัยของข้อมูลสูงจึงมีหลักการเฉพาะในการอภิบาล 3 ข้อ ดังนี้

  1. การปกป้องบุคคล (Protect People) – หมายถึงการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล ปกป้องชุมชน การนำไปใช้ข้อมูล การสร้างความเชื่อใจของระบบข้อมูล
  2. ส่งเสริมการทำให้เกิดสุขภาพที่ดี (Promote Health Value) – การเสริมสร้างระบบสุขภาพและบริการสุขภาพ สนับสนุนการใช้ข้อมูลในการปฏิบัติการ อำนวยให้เกิดนวัตกรรมผ่านการใช้ข้อมูลสุขภาพ
  3. ความเป็นธรรมเป็นสำคัญ (Prioritise Equity) – ส่งเสริมสิทธิในข้อมูลและความเป็นเจ้าของข้อมูล ส่งเสริมการใช้ข้อมูลเพื่อประโยชน์ที่เป็นธรรม

Source: healthdataprinciples.org/principles

ในทุกวันนี้ต้องยอมรับว่าข้อมูล เทคโนโลยี นวัตกรรม เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก สำหรับหลาย ๆ คนคงเห็นว่าการทำเรื่องข้อมูล รวมไปถึงการบริบาลข้อมูลเป็นเรื่องท้าทายที่อยุ่นอก comfort zone ของตนเอง ในบทความนี้ได้เกริ่นนำเรื่องการบริบาลข้อมูล และเรื่องราวโดยคร่าว ๆ เกี่ยวกับข้อมูล โดยหวังอย่างยิ่งว่าบทความนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ทุกท่านออกจาก comfort zone เกี่ยวกับเรื่องข้อมูลครับ

นศพ. พีรภาส สุขกระสานติ ผู้ถอดความ

 

 

 

 

 

 

 

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here