Learning Key for Sustainability
"การเรียนรู้เป็นกุญแจสำคัญสู่ความยั่งยืน โดยการเรียนรู้ต้องเกิดจากการปฏิบัติจริง มีการสะท้อนความคิด ถือเป็น Collective learning และต้องแสวงหาความรู้จากภายนอก" ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
การดำรงชีวิตในท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง หรือ VUCA world โดยยกตัวอย่างการจัดประชุมวิชาการประจำปี ของ สรพ. ที่ได้จัดมาถึง 20 ปี และมีการเปลี่ยนแปลงและยกระดับพัฒนารูปแบบและแสวงหาความร่วมกับภาคี เครือข่ายต่างๆ มากมาย เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง พร้อมยกตัวอย่างนกเพนกวินที่เป็นตัวเดินเรื่องในหนังสือ Our Iceberg is Milting ซึ่งขายดีเมื่อ 13 ปีที่แล้ว ที่เห็นว่าโลกได้มีการเปลี่ยนแปลงไปแล้วในทุกๆ วันทุกๆ เดือน จึงพยายามชักชวนให้คนอื่นๆ ได้ปรับตัว แต่ไม่มีใครเชื่อหายนะจึงเกิดขึ้น จึงอย่าได้ประมาท การเปลี่ยนแปลงทีละเล็กที่ละน้อย ทำให้คนไม่รู้ตัวและไม่คิดที่จะเปลี่ยนแปลง ในทางธุรกิจถือว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องธรรมดา และให้เห็นว่าต้องมีการปรับตัว แต่ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมาก เรียกว่า Disruptive change
Disruption ในวงการสุขภาพมีปัจจัย 5 ประเด็น ได้แก่ การตลาด กฎหมาย/กฎระเบียบต่างๆ เทคโนโลยี พฤติกรรมผู้บริโภค การแพทย์เฉพาะด้าน...
IV care การดูแลด้วยคุณภาพและความคุ้มค่า
“ระบบที่ไม่ดี จะทำให้คนพยายามหาทางออกที่ตรงกับจริตของตนเอง ดังนั้นอย่าบอกว่าคน (เด็ก) ไม่ทำตาม แต่เราต้องไปดูว่าอะไรที่ไม่เอื้อให้ทำ นั่นแสดงว่าระบบอาจจะไม่ดี” (พว.นุชจารี จังวณิชา cr.นพ.อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล)
การใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนปลายเพื่อให้สารน้ำเป็นการรักษาที่ทำบ่อยในโรงพยาบาลโดยพบผู้ป่วยที่เข้ารับ การรักษาในโรงพยาบาลมากกว่าร้อยละ 70...
การพัฒนาระบบงาน เพื่อให้เกิดคุณภาพ สิ่งหนึ่งที่ต้องนำมาทบทวนและให้ความสำคัญ คือ "ประสบการณ์ของผู้ป่วย" วันนี้ เคล็ดลับคุณภาพขอนำผลจากการศึกษาของ University of Utar Health ซึ่งลงตีพิมพ์ใน NEJM Catalyst March 2019. ในหัวข้อ “ประสบการณ์ของผู้ป่วย (Patient Experience)” ซึ่งมีประเด็นที่น่าพิจารณามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะครับ คือ
1. การดูแลผู้ป่วยที่ดี ผู้ให้การดูแลต้องมีทั้งความรู้ความเชี่ยวชาญในงานของตน การยึดมั่นในหลักการที่จะมอบสิ่งที่เหมาะสมที่สุดให้ผู้ป่วย และจิตวิญญาณของการดูแลด้วยความเอาใจใส่
2. สิ่งที่ผู้ป่วยอยากได้รับจากผู้ให้บริการมากที่สุด คือ คุณภาพบริการทั้งในเชิงประสิทธิผล ประสิทธิภาพ และความปลอดภัย รองลงมาคือ ประสบการณ์ที่ดีในการมารับบริการ และราคาที่สมเหตุสมผล
3. ประสบการณ์ที่ผู้ป่วยต้องการมากที่สุด คือ การที่แพทย์รับฟังเรื่องราวของผู้ป่วยอย่างตั้งใจ เคยมีการศึกษาที่พบว่า แพทย์จะรับฟังเรื่องราวของผู้ป่วยโดยเฉลี่ย 11 วินาที ก่อนที่จะขัดจังหวะการเล่าของผู้ป่วย ด้วยคำถามที่แพทย์อยากถามเพื่อการซักประวัติ
4. ปัจจัย 3 อันดับแรกที่เป็นอุปสรรคต่อการสร้างประสบการณ์ที่ดีของผู้ป่วย คือ
1) เวลาที่ไม่เพียงพอสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย
2) การต้องทำกิจกรรมหลายอย่างที่ไม่สร้างคุณค่าเพิ่มให้แก่กระบวนการดูแลผู้ป่วย เช่น...
ในการพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาลนั้น เมื่อมีการดำเนินการไปถึงระดับหนึ่ง เราจะสามารถมองเห็นผลลัพธ์จาก ตัวชี้วัดหรือผลการประเมินในรูปแบบต่างๆ แต่ผลลัพธ์ที่ได้นั้นอาจไม่ได้สะท้อนผลการพัฒนาคุณภาพได้อย่างครบถ้วน “การถอดบทเรียน” จึงเป็นเครื่องมือที่น่าสนใจอย่างหนึ่งที่ช่วยให้เห็นถึงผลการดำเนินงานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ซึ่งการถอดบทเรียนผลการพัฒนาคุณภาพนั้นสามารถทำได้ด้วยตนเอง โดยมีวิธีการ/ขั้นตอนดังต่อไปนี้
รวบรวมข้อมูล เป็นการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับเรื่องที่ผู้ถอดบทเรียนสนใจที่จะนำมาถอดบทเรียนหรือได้รับมอบหมาย ซึ่งได้มาจากการศึกษาค้นคว้า การสังเกต การฟัง การซักถาม หรือการใคร่ครวญ
จัดกลุ่ม เมื่อได้ข้อมูลมาแล้ว ผู้ถอดบทเรียนจะต้องนำมาจัดกลุ่มเพื่อให้ง่ายต่อการนำไปใช้ เช่น วิธีการ วิธีคิด/แนวคิด/หลักคิด วลีสำคัญ (วลีฮุค) ต้นทุน ผลลัพธ์/ผลการประเมิน ปัจจัยหนุน/ต้าน หรือด้านอื่น ๆ ที่ผู้ถอดบทเรียนสนใจ
สกัดหัวใจของเรื่อง ผู้ถอดบทเรียนอาจจับประเด็นสำคัญของเรื่องโดยการใช้กรอบแนวคิดต่าง ๆ เข้ามาช่วย เช่น Management Framework (การนำ ยุทธศาสตร์ การมุ่งเน้นลูกค้า การวัด/วิเคราะห์/การจัดการความรู้ กำลังคน กระบวนการ/ระบบงาน การบริหารความเสี่ยง ฯลฯ)
สังเคราะห์บทเรียนที่มีคุณค่า (Value Statement) ผู้ถอดบทเรียนจะต้องมองหาคุณค่าของเรื่องที่ว่าคืออะไร ซึ่งควรจะต้องเป็นคุณค่าที่เป็นประโยชน์ต่องาน
ทบทวนเป้าหมายการถอดบทเรียน โดยใช้หลักการ 5W1H
What หัวใจของเรื่อง
Why มีคุณค่ากับอะไร
Who ใครเป็นผู้อ่าน
...
ใครๆ ก็อยากมีสุขภาพที่ดี มีร่างกายที่แข็งแรงกันทุกคนใช่ใหมครับ บุคลากรในโรงพยาบาลก็คงเช่นเดียวกัน
วันนี้เคล็ดลับงานคุณภาพ ชวนมาเรียนรู้ สุขภาพและความปลอดภัยของบุคลากรในโรงพยาบาล ด้วยกันครับ
ถึงแม้ว่าโรงพยาบาลจะเป็นสถานที่ที่ใช้ในการดูแลรักษาพยาบาลผู้เจ็บไข้ได้ป่วย และเป็นที่คาดหวังว่าสถานที่แห่งนี้จะเป็นสถานที่ที่มีความปลอดภัยสูงและมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเยียวยา แต่ในสภาพความเป็นจริง มีการศึกษาวิจัยที่พบว่า บุคลากรที่ทำงานในโรงพยาบาลมีการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยไม่น้อยกว่าบุคลากรในสถานประกอบการประเภทอื่น การบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยสำหรับบุคลากรภายในโรงพยาบาลเพื่อให้โรงพยาบาลมีกำลังคนที่มีสุขภาพดี และสามารถปฏิบัติภารกิจต่างๆได้ลุล่วงโดยไม่เจ็บไข้ได้ป่วยเสียก่อน จึงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการบริหารองค์กร ปัจจัยหลัก 3 ประการที่ต้องคำนึงถึง ในการดูแลสุขภาพและความปลอดภัยของบุคลากรในโรงพยาบาล ได้แก่
🎯1. การดูแลสุขภาพของกำลังคน (healthy workforce) เช่น การประเมินสุขภาพตั้งแต่แรกเข้าทำงาน การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันโรคติดต่อที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน การตรวจสุขภาพประจำปี การดูแลรักษาอย่างเหมาะสมเมื่อเกิดการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วย และการให้ความรู้เพื่อสร้างความตระหนักในภัยในที่ทำงาน
🎯 2. การปรับปรุงให้สถานที่ทำงานเอื้อต่อการสร้างสุขภาพและความปลอดภัย (healthy workplace) โดยตั้งเป้าลดโอกาสที่บุคลากรจะเกิดการบาดเจ็บจากการทำงาน และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคจากการประกอบอาชีพ การดำเนินงานอาจใช้วิธีการออกแบบอุปกรณ์การทำงานอย่างเหมาะสม การเดินสำรวจความเสี่ยงที่หน้างานอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ได้ข้อมูลมาใช้ในการปรับปรุง และการวางระบบรายงานความเสี่ยง/ รายงานอุบัติการณ์ เพื่อนำข้อมูลมาหาสาเหตุราก แล้วนำสู่การปรับปรุงพัฒนากระบวนงาน และการจัดหาอุปกรณ์ป้องกันอันตราย
🎯 3. การวางแนวปฏิบัติเพื่อรับมือกับเหตุฉุกเฉิน (emergency preparedness) ที่อาจเกิดขึ้นได้ในโรงพยาบาลและส่งผลกระทบรุนแรงต่อสุขภาพของบุคลากร เช่น อัคคีภัย การรั่วไหลของสารเคมีอันตราย/ สารกัมมันตภาพรังสี การระบาดของโรคติดเชื้อ
Image by rawpixel from Pixabay
ในปี 2561 มีรายงานผู้ป่วยสูงอายุไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งด้วยอาการขาอ่อนแรง ระหว่างรอผลการตรวจเลือดบนเตียงนอน เตียงเกิดกระดก ทำให้ผู้ป่วยตกเตียงทางตอนท้ายของเตียง ตรวจร่างกายขณะนั้น ไม่พบสิ่งผิดปกติชัดเจน แต่หลังจากกลับบ้านได้ 4 วัน ผู้ป่วยกลับมาอีกครั้งด้วยอาการปวดขา ขาบวม ขยับขาไม่ได้ x-ray พบกระดูกต้นขาขวาหัก ผู้ป่วยรายนี้เกิดการตกเตียงที่แผนกผู้ป่วยนอกในระหว่างรอผลการตรวจเลือด ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ทีมงานของโรงพยาบาลมักจะไม่ได้ดูแลผู้ป่วยใกล้ชิดนัก
โดยทั่วไป การลื่นตกหกล้มมักจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยสูงอายุและเด็กเล็กที่นอนอยู่ในหอผู้ป่วยใน เหตุการณ์นี้จึงช่วยเตือนทีมงานโรงพยาบาลว่าการลื่นตกหกล้มสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกจุดของการให้บริการ
แนวทางปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงของเหตุการณ์ผู้ป่วยลื่นตกหกล้ม คือ
เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ และทักษะ ของบุคลากรและญาติ ในเรื่องการป้องกันผู้ป่วยลื่นตกหกล้ม
ประเมินความเสี่ยงต่อการลื่นตกหกล้ม ด้วย Morse Fall Risk Assessment หรือ Hendrich Fall Risk Assessment ในขณะแรกรับ และติดตามประเมินความเสี่ยงซ้ำเป็นระยะ
ประเมินปัจจัยที่ทำให้การลื่นตกหกล้มแล้วจะเกิดการบาดเจ็บที่รุนแรง และถามประวัติเกี่ยวกับการลื่นตกหกล้มในอดีตที่เกิดการบาดเจ็บรุนแรงตั้งแต่แรกรับ
จัดสภาพแวดล้อมและอุปกรณ์ที่ช่วยลดความเสี่ยงในการลื่นตกหกล้ม เช่น ใช้เตียงที่มีระดับต่ำ เตียงมีความมั่นคง มีอุปกรณ์เครื่องช่วยเดินประจำห้องและมีราวเกาะในจุดเสี่ยง ติดตั้งอุปกรณ์ที่ส่งสัญญาณเตือนเมื่อผู้ป่วยพยายามลุกจากเตียง การใช้พื้นห้องน้ำที่ไม่ลื่น
ทบทวนและปรับยาที่ทำให้ผู้ป่วยลื่นตกหกล้มได้ง่าย โดยเฉพาะยาทางจิตเวช
Photo by Daan Stevens on Unsplash
จากการที่สมรรถนะของคอมพิวเตอร์สูงขึ้นอย่างมากประกอบกับการพัฒนาขั้นตอนการเรียนรู้ด้วยตัวคอมพิวเตอร์เอง โดยไม่จำเป็นต้องให้มนุษย์มาคอยป้อนเงื่อนไขการเรียนรู้ให้ทุกครั้ง ทำให้ปัจจุบัน Artificial Intelligence (AI) เป็นเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และส่งผลให้คอมพิวเตอร์ทำกิจกรรมหลายอย่างได้เหนือกว่ามนุษย์ และเชื่อได้ว่า AI จะเข้ามาสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างมโหฬารในบริการด้านการรักษาพยาบาลในระยะเวลาอีกไม่นานนักนับจากนี้
ตัวอย่างการพัฒนา AI เพื่อใช้ในการรักษาพยาบาล จนมีความถูกต้องแม่นยำไม่ต่างจากมนุษย์ แต่มีความรวดเร็วสูงกว่ามาก ได้แก่
การอ่านรูปภาพจอประสาทตา (retina) เพื่อวินิจฉัยพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นที่จอประสาทตา
การอ่านผลชิ้นเนื้อจากการตัดชิ้นเนื้อก้อนที่เต้านม เพื่อหาว่ามีเซลล์มะเร็งหรือไม่
การอ่านภาพที่ถ่ายจากกล้องส่องทางเดินอาหาร (endoscope) เพื่อวินิจฉัยมะเร็งกระเพาะอาหาร และการใช้ AI แบบ real time พร้อมการส่องกล้องจริง เพื่อช่วย screen พื้นที่ต้องสงสัย เพื่อให้แพทย์ใช้เวลาดูพื้นที่นั้นเพิ่มขึ้น และการประมวลข้อมูลทั้งหมด เพื่อเตือนแพทย์ว่ามีพื้นที่ส่วนใดที่ยังไม่ได้ส่องกล้องดูบ้าง
การใช้ AI ตรวจข้อมูลการบันทึกทางการพยาบาลอย่างต่อเนื่อง เพื่อประมวลผลและเตือนว่าผู้ป่วยมีโอกาสตกเตียงสูง
การใช้ AI ประมวลผลจากการสนทนาระหว่างจิตแพทย์กับผู้ป่วย เพื่อช่วยจิตแพทย์ในการสรุปว่าผู้ป่วยมีปัญหาทางจิตหรือไม่ และในด้านใด
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจาก AI น่าจะต้องใช้เวลาพัฒนาอีกช่วงหนึ่งกว่าจะใช้งานได้จริง ภายใต้ราคาที่จ่ายได้ แต่ถ้าทุกอย่างลงตัว การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งถ้าบุคลากรทางการแพทย์ไม่ได้มีการเรียนรู้และเตรียมตัวไว้บ้าง เราก็อาจจะถูกเทคโนโลยีใหม่ๆ ผลักออกจากบริการด้านการรักษาพยาบาลอย่างไม่ทันตั้งตัว ในขณะเดียวกัน การใช้ AI อย่างสุดขั้ว ก็อาจเป็นการทำลายองค์ความรู้ที่สั่งสมมาในบุคลากรทางการแพทย์อย่างเนิ่นนาน และกลายเป็นว่าโรงพยาบาลต้องพึ่ง...
แหล่งข้อมูลหลักที่จะช่วยในการค้นหาและทบทวนเรื่องการวินิจฉัยโรคผิดพลาดในโรงพยาบาล ได้แก่ บันทึกการวินิจฉัยในเวชระเบียน เรื่องร้องเรียน/ เรื่องที่มีการฟ้องร้อง และผลการตรวจเอกซเรย์/ ผลการอ่านชิ้นเนื้อ การทบทวนควรทำโดยทีมงานที่มีผู้ที่มีความชำนาญในสาขานั้นๆ ร่วมด้วย โดยยึดหลักการว่าทำการทบทวนเพื่อการเรียนรู้และพัฒนากระบวนงานให้ดีขึ้น ไม่ได้มุ่งหาผู้ผิด
เวลาเข้าเยี่ยมโรงพยาบาล สิ่งที่ผู้เยี่ยมสำรวจของ สรพ. มักจะใช้เป็นต้นทางในการตามรอยเรื่องการวินิจฉัยโรคผิดพลาด คือ จำนวนการเกิด missed/ wrong/ delayed diagnosis ที่ ER และ OPD ซึ่งเมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น ก็จะดูการทบทวนของโรงพยาบาลว่า นำไปสู่การที่จะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้ถูกต้องแม่นยำขึ้นจริงหรือไม่ ถ้าไม่น่าจะใช่ ก็จะมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกัน กลุ่มโรคที่มักจะมีรายงาน missed/ wrong/ delayed diagnosis ได้แก่ ไส้ติ่งอักเสบ ตั้งครรภ์นอกมดลูก โรคกล้ามเนื้อหัวใจวายเฉียบพลัน และม้ามแตก
นอกจากนี้ การสื่อสารระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยเกี่ยวกับโรคของผู้ป่วยก็เป็นปัญหาสำคัญ จากการสำรวจประสบการณ์ของผู้ป่วยพบว่า ข้อขัดข้องใจลำดับต้นๆ ของผู้ป่วย คือ การไม่ได้รับคำอธิบายที่เพียงพอถึงโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ และแผนการรักษาพยาบาล
สรุปแนวทางในการลดข้อผิดพลาดในการวินิจฉัยโรค คือ
ส่งเสริมการทำงานเป็นทีมระหว่างบุคลากรทางการแพทย์ และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ป่วย และครอบครัว ในทุกขั้นตอนของกระบวนงานเพื่อการวินิจฉัยโรค
เพิ่มพูนความรู้ของบุคลากรทางการแพทย์ในเรื่องการวินิจฉัยโรคที่ทันยุคทันสมัย
พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการวินิจฉัยโรค
ออกแบบเกณฑ์การจ่ายเงินและสภาพแวดล้อมการทำงานที่ช่วยเกื้อหนุนกระบวนงานวินิจฉัยโรคที่เป็นไปตามหลักวิชาการ
ส่งเสริมการรายงานข้อผิดพลาด เพื่อนำมาทบทวน เรียนรู้ และนำสู่การพัฒนากระบวนงาน
Photo by...
ในมาตรฐานฉบับใหม่ในหัวข้อ “การวินิจฉัยโรค” ได้มีการกำหนดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ ดังนี้
“มีการกำหนดเรื่องการลดข้อผิดพลาดในการวินิจฉัยโรคเป็นเป้าหมายความปลอดภัยผู้ป่วย โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเข้ม มีการปรับปรุงและติดตามผลต่อเนื่อง”
การวินิจฉัยโรคผิดพลาดหมายถึง ความล้มเหลวที่จะได้มาซึ่งคำอธิบายที่ถูกต้องแม่นยำ ครบถ้วนสมบูรณ์ ภายในเวลาที่เหมาะสม สำหรับปัญหาสุขภาพที่ผู้ป่วยเผชิญอยู่ และรวมไปถึงความล้มเหลวในการสื่อสารคำอธิบายนี้ให้ผู้ป่วยได้เข้าใจด้วย
การวินิจฉัยโรคผิดพลาดมีได้ทั้งในลักษณะ missed (ไม่สามารถวินิจฉัยได้ ทั้งที่มีข้อมูลเพียงพอที่ควรจะวินิจฉัยได้), wrong (วินิจฉัยผิดไปจากโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่), และ delayed (วินิจฉัยได้ล่าช้ากว่าที่ควรจะเป็น)
มีการศึกษาในต่างประเทศที่แสดงว่า เราทุกคนมีโอกาสพบกับการวินิจฉัยผิดพลาดอย่างน้อยครั้งหนึ่งในช่วงชีวิตของเรา, 5% ของผู้ป่วยนอกจะเกิดการวินิจฉัยผิดพลาด, 7 – 17% ของเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ในกลุ่มผู้ป่วยในมีความเชื่อมโยงกับการวินิจฉัยผิดพลาด และ 29% ของการเรียกร้องค่าเสียหายจากการรักษาที่ไม่ได้มาตรฐานมีสาเหตุมาจากการวินิจฉัยผิดพลาด
สาเหตุที่ก่อให้เกิดการวินิจฉัยโรคผิดพลาดจำแนกได้เป็น 3 กลุ่มหลัก คือ
สาเหตุจากผู้ป่วย เช่น ผู้ป่วยรายนี้มีอาการและอาการแสดงของโรคแตกต่างไปจากผู้ป่วยทั่วไป ผู้ป่วยปกปิดข้อมูลหรือให้ข้อมูลไม่ครบถ้วน
สาเหตุจากระบบงานของโรงพยาบาล เช่น การสื่อสารที่คลาดเคลื่อน การประสานงานที่ไม่ดี เครื่องมือหรือน้ำยาที่ใช้ไม่ได้มาตรฐาน
สาเหตุจากข้อจำกัดด้านความรู้ความสามารถของบุคลากร เช่น ความรู้ที่ไม่ทันยุคสมัย ความจำที่คลาดเคลื่อนไปจากทฤษฎี การคิดที่ไม่เป็นระบบ การเก็บรวบรวมข้อมูลที่ไม่เพียงพอต่อการวินิจฉัยโรค
สาเหตุข้อ 3. เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด
Photo by Ani Kolleshi on Unsplash
ในมาตรฐานฉบับใหม่ในเรื่องการประเมินผู้ป่วย มีการเพิ่มเติมในประเด็น
- ควรมีการประเมินความชอบส่วนบุคคล ทั้งนี้ เพื่อให้ทีมงานสามารถจัดบริการได้อย่างสอดคล้องกับความต้องการของผู้ป่วย การตอบสนองความชอบส่วนบุคคลมักจะทำให้ผู้ป่วยผ่อนคลายกับบรรยากาศที่ต้องมาอยู่ในโรงพยาบาลมากขึ้น ตัวอย่างความชอบส่วนบุคคล เช่น การเรียกคำแทนตัวผู้ป่วย เสื้อผ้า อาหารเครื่องดื่ม มื้ออาหาร การให้คนเข้าเยี่ยม แต่เรื่องนี้ ไม่ได้คาดหวังว่าโรงพยาบาลจะต้องไปสร้างแบบฟอร์มใหม่ ให้เป็นภาระของเจ้าหน้าที่ในการกรอกข้อมูล แต่มุ่งหวังให้เจ้าหน้าที่มีความไวมากขึ้นในการรับรู้ความต้องการของผู้ป่วย
- การให้ความสำคัญกับการลดความผิดพลาด/ ความล่าช้า ในการวินิจฉัยโรค เนื่องจากประเด็นนี้กระทบต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย และยังเป็นปัญหาสำคัญของโรงพยาบาล คลินิก และงานบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ของประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยควรมีการทบทวนเหตุการณ์ความผิดพลาด/ ความล่าช้า ในการวินิจฉัยโรค โดยทีมงานที่ประเมินผู้ป่วยร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาโอกาสในการพัฒนากระบวนการประเมินผู้ป่วยให้มีความถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็วมากขึ้น
ในบท การประเมินผู้ป่วย หัวข้อ การส่งตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรค ข้อ 4. ได้กำหนดว่า
“มีการอธิบายผลการตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรคแก่ผู้ป่วย. มีการพิจารณาการส่งตรวจเพิ่มเติมเมื่อพบว่าผลการตรวจมีความผิดปกติ”
การอธิบายผลการตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรคแก่ผู้ป่วยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสื่อสารที่ทำให้ผู้ป่วยรับรู้ว่า ผลการตรวจไม่ว่าจะปกติหรือผิดปกติ มีความหมายว่าอย่างไร สอดคล้องกับประวัติผู้ป่วยและผลการตรวจร่างกายหรือไม่ และจะต้องมีการตรวจเพิ่มเติมอีกหรือไม่ ทั้งนี้ ข้อความในมาตรฐานกำหนดขึ้นบนฐานความเชื่อที่ว่า การประเมินความต้องการและปัญหาสุขภาพอย่างถูกต้อง ครบถ้วน และเหมาะสม ต้องการการมีส่วนร่วมรับรู้และตัดสินใจจากผู้ป่วยและญาติ
ตัวอย่างเช่น เมื่อผลการตรวจเอกซเรย์ปอดหญิงอายุ 80 ปี พบก้อนที่ปอดข้างซ้ายขนาดประมาณ 4 เซนติเมตร ซึ่งโตขึ้นกว่าผลเอกซเรย์ปอดปีก่อนประมาณ 1 เซนติเมตร...