IV care การดูแลด้วยคุณภาพและความคุ้มค่า

0
21549
IV care การดูแลด้วยคุณภาพและความคุ้มค่า

IV care การดูแลด้วยคุณภาพและความคุ้มค่า

ระบบที่ไม่ดี จะทำให้คนพยายามหาทางออกที่ตรงกับจริตของตนเอง ดังนั้นอย่าบอกว่าคน (เด็ก) ไม่ทำตาม แต่เราต้องไปดูว่าอะไรที่ไม่เอื้อให้ทำ นั่นแสดงว่าระบบอาจจะไม่ดี”                                                                                             (พว.นุชจารี จังวณิชา cr.นพ.อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล)

การใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนปลายเพื่อให้สารน้ำเป็นการรักษาที่ทำบ่อยในโรงพยาบาลโดยพบผู้ป่วยที่เข้ารับ การรักษาในโรงพยาบาลมากกว่าร้อยละ 70 ได้รับการรักษาโดยวิธีดังกล่าว ซึ่งพยาบาลเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลายแก่ผู้ป่วย อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่ได้รับการใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนปลายอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้ เช่น การรั่วของสารน้ำหรือยาออกนอกหลอดเลือด หลอดเลือดดำอักเสบ การติดเชื้อ ในกระแสเลือด ภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวนี้เมื่อเกิดขึ้นจะก่อให้เกิดผลกระทบรุนแรง สูญเสียค่าใช้จ่ายจึงต้องมีการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำจากการการใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนปลาย  เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการพยาบาลที่มีคุณภาพ เกิดประสิทธิผลในการรักษาและเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วย เกิดความคุ้มค่า ลดภาระค่าใช้จ่าย

พว.ดร.ภัทรารัตน์ ตันนุกิจ (ประธานชมรมเครือข่ายพยาบาลผู้ให้สารน้ำแห่งประเทศไทย)

ภาวะแทรกซ้อนจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำเป็นอุบัติการณ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดได้บ่อย เช่น อัตราการเกิด Phlebitis ร้อยละ 6.2-61.5 อัตราการเกิด Extravasation ร้อยละ 12.4 ส่งผลกระทบต่อภาระค่าใช้จ่ายที่รัฐบาลต้องจัดสรร งบประมาณ และเป็นสาเหตุสำคัญของการฟ้องร้องโรงพยาบาล และพยาบาลวิชาชีพ การป้องกันและการแก้ปัญหาดังกล่าวนี้จำเป็นต้องพัฒนาคุณภาพในมิติขอผู้ให้บริการเกี่ยวกับความรู้ของพยาบาลวิชาชีพผู้ดูแล มาตรฐานการดูแล รวมทั้งอุปกรณ์ เครื่องมือ

ชมรมเครือข่ายพยาบาลผู้ให้สารน้ำแห่งประเทศไทย มีบทบาทในการพัฒนาแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยให้สารน้ำ  ทางหลอเลือดดำสำหรับประเทศไทยและเป็นต้นแบบแก่ประเทศเพื่อนบ้าน พัฒนาความรู้ความสามารถของพยาบาลวิชาชีพในการพยาบาลผู้ป่วยให้สารน้ำทางหลอดเลือด รวมทั้งการขยายเครือข่ายการพยาบาลผู้ป่วยให้สารน้ำทางหลอดเลือด เพื่อให้ประชาชนได้รับคุณภาพและความคุ้มค่าจากบริการ ด้วยกลยุทธ์ Collaboration โดยจัดทำโครงการการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือด กลุ่มเป้าหมาย คือ พยาบาลวิชาชีพซึ่งเป็น Key man ของโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการผลการดำเนินงานที่สำคัญทั้งภาพรวมของชมรมและการจัดทำโครงการ เช่น การจัดทำแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ การพัฒนาระบบ Consultant (Tele consult) โครงการจัดตั้ง IV team โครงการพัฒนาสมรรถนะ IV nurse เป็นต้น นอกจากนี้สืบเนื่องจากโครงการการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือด ชมรมฯ จัดให้มีกิจกรรม Knowledge sharing เพื่อแลกเปลี่ยนกลยุทธ์ความสำเร็จของโรงพยาบาลมีผลการดำเนินงานเป็นรูปธรรม เช่น โรงพยาบาลตากสิน โรงพยาบาลภูมิพล จุดประกายให้กลุ่มคนทำงานถึงความสำเร็จที่เกิดขึ้น และเป็นช่องทางสื่อให้ผู้บริหารตระหนักถึงความสำคัญและความยากลำบากในการทำงานของคนทำงาน

ดาวน์โหลดที่นี่…ฟรี IV care การดูแลด้วยคุณภาพและความคุ้มค่า

ผู้ถอดบทเรียน ขวัญจิตร เสียงเสนาะ                     

ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลอู่ทอง

Image by 3M Science. Applied to Life

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here