การหล่อเลี้ยงจิตวิญญาณในโรงพยาบาล

0
3638
การหล่อเลี้ยงจิตวิญญาณในโรงพยาบาล
การหล่อเลี้ยงจิตวิญญาณในโรงพยาบาล

การหล่อเลี้ยงจิตวิญญาณในโรงพยาบาล

“เพราะพื้นฐานของคน คือ อิสรภาพ ถ้าองค์กรไหนเปิดโอกาสให้พนักงานบอกเล่าหรือแสดงความรู้สึกว่าเขา กำลังทุกข์ร้อนได้โดยง่าย เขาจะเป็น some body ไม่ใช่ no body แต่ถ้าองค์กรไหนไม่เปิดโอกาสให้พูดหรือแสดงความเห็น เขาก็จะไม่อยากพูด จะเป็น no body, no meaning, no value เพราะองค์กรทำให้เขาคิดว่า เขาโง่เง่า เต่าตุ่น ไร้ซึ่งความสำคัญ (ดวงสมร บุญผดุง)

ความสนใจนำแนวคิดจิตวิญญาณในการทำงานมาใช้ควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐาน HA เกิดจากความพยายามที่จะเรียนรู้และเข้าใจถึงผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับโรงพยาบาล ซึ่งต้องจัดบริการเพื่อตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของผู้รับบริการ ท่ามกลางข้อจำกัดและวิกฤตการณ์ต่างๆ ทั้งในด้านการขาดแคลนอัตรากำลัง การขาดแคลนอุปกรณ์ทางการแพทย์ และภาระงานที่บุคลากรต้องแบกรับ ความกดดันต่างๆ เหล่านี้ส่งผลให้บุคลากรผู้ปฏิบัติงานไม่มีความสุข เกิดความเครียด และมีภาวะหมดไฟ ไม่สามารถดึงศักยภาพที่มีออกมาใช้ได้ และอาจส่งต่อความรู้สึกด้านลบไปสู่บริการที่ส่งมอบให้แก่ผู้รับบริการได้โดยไม่รู้ตัว จนอาจถูกฟ้องร้องได้ สถานการณ์ดังกล่าวทำให้บุคลากรผู้ปฏิบัติงานสูญเสียศักดิ์ศรีและความมีคุณค่าในความเป็นมนุษย์ ซึ่งเคยมีบทเรียนเกิดขึ้นมาก่อนใน America ช่วงศตวรรษที่ 20 จนบุคลากรในองค์กรต่างๆ ออกมาเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องถึงคุณค่าความเป็นมนุษย์ แนวคิดเรื่องจิตวิญญาณในการทำงานจึงถูกพัฒนาและนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยมีผลการวิจัยที่สะท้อนว่า จิตวิญญาณของบุคลากรสามารถยกระดับในการพัฒนางานและสร้างคุณค่าให้เกิดต่อองค์กรได้ สรพ.ได้นำแนวคิดนี้มาใช้ตั้งแต่ปี 2547 แม้ว่ามิติด้านจิตวิญญาณค่อนข้างเป็นนามธรรม แต่ยังมีโรงพยาบาลที่นำแนวคิดเรื่องจิตวิญญาณลงไปปฏิบัติร่วมกับการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานอื่นจนเกิดผลลัพธ์ที่ดีและได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติ SHA Award ในปี 2562 เป็นต้นแบบที่น่าเรียนรู้ในแนวทางของการหล่อเลี้ยงจิตวิญญาณในโรงพยาบาล

ดวงสมร บุญผดุง                                                                                                                ได้กล่าวถึงที่มาของแนวคิดเรื่องจิตวิญญาณว่า มีต้นกำเนิดจาก America ในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันกันสูงมาก จึงมีการปรับปรุงระบบและปรับปรุงโครงสร้างให้ทันสมัยเพื่อมุ่งลดต้นทุนขององค์กร เน้นเรื่องผลลัพธ์และผลกำไร และการปรับลดความเสี่ยง การปรับปรุงดังกล่าวมีการควบคุมการทำงานผ่านตัวชี้วัด คนที่ทำงานน้อย ขาดงาน จะถูกพิจารณาให้ออก คนที่ยังทำงานจะมีผลลัพธ์ตามตัวชี้วัดองค์กรมากำกับ พนักงานจึงมีความรู้สึกว่า ได้ช่วยสร้างผลผลิตให้องค์กร แต่พนักงานกลับขาดจิตวิญญาณในการทำงาน จึงลุกขึ้นมาประท้วงเพื่อเรียกร้องศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์  เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า A Spiritual awakening in the American workplace แนวคิดนี้ได้ขยายไปทั่วโลกในเวลาต่อมา และ สรพ.ก็สนับสนุนให้โรงพยาบาลที่มีความสนใจนำแนวคิดนี้ไปใช้ควบคู่กับการพัฒนามาตรฐานคุณภาพ HA

ความหมายของจิตวิญญาณ จิตวิญญาณ เป็นความปิติสุขจากใจที่เป็นสุข มีความรื่นเริงคล่องแคล่ว มีเมตตา สัมผัสกับความงามของสรรพสิ่งได้   มีสติ สมาธิ ไม่เห็นแก่ตัว มีความสุขเมื่อได้ทำความดี เป็นความสุขที่ประณีต เสียสละได้ (ศ.นพ.ประเวศ วะสี) จากความหมายข้างต้น เป็นความหมายที่แสดงออกให้เห็นเป็นรูปธรรมและสัมผัสได้ กล่าวโดยรวมแล้วจิตวิญญาณจึงเป็นความตระหนักรู้ระดับสูง เรียกว่า Mindfulness เหมือนน้องเบลล่า (นางสาวณิชชารีย์ เป็นเอกชนะศักดิ์) ที่รู้ตัวเองว่าเสียขา มีความตระหนักรู้ระดับสูง คือ รู้แล้วไม่ฟูมฟาย รู้ว่ามันเกิดขึ้นแล้ว ต้องอยู่กับมัน ไม่หมดพลังใจ ซึ่งแตกต่างจากการตระหนักรู้แต่ใจไม่สู้ นั่นคือระดับการตระหนักรู้ต่ำ รู้แล้วจะทุกข์ ผศ.(พิเศษ) ดร.นพ.วัชรพล ภูนวล ได้กล่าวเสริมว่า เป้าหมายชีวิตเขาไม่เปลี่ยน เป้าหมายเหมือนเดิมบนชีวิตใหม่ ถ้าเป็นแพทย์ที่มีจิตวิญญาณในระดับสูง เช่น ในสถานการณ์ที่แม้คนไข้จะเยอะมาก แต่ความเป็นแพทย์ก็จะทำหน้าที่ตรวจรักษาให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ด้วยความรับผิดชอบ สงบนิ่ง ไม่โวยวาย ไม่ลาออก นั่นคือผู้ที่มีตระหนักรู้ในระดับสูง

ผู้ที่มีจิตวิญญาณ จะเป็นผู้ที่รับรู้ธรรมชาติและความจริง สามารถดำรงชีวิตและแก้ไขปัญหาได้เหมาะสม ไม่หวั่นเกรง ต่ออุปสรรคใดๆ มีคำพูดที่สะท้อนเรื่องจิตวิญญาณว่า “ถึงแม้ฉันจะอยู่ในอาคารที่ใหญ่โต จะอยู่ในปราสาท หรือจะอยู่ในคุกอันมืดมิด จะอยู่ที่ไหนก็ตาม แต่ไม่มีใครมาพรากจิตวิญญาณฉันออกไปได้” ดังนั้นจิตวิญญาณจึงอยู่ที่ตัวเราเอง ผศ.(พิเศษ) ดร.นพ.วัชรพล ภูนวล กล่าวเสริมว่า “ไม่ว่าใคร หน้าไหน ก็ไม่สามารถพรากจิตวิญญาณหรือเอาความสามารถเฉพาะตัวของผม  ไปได้ ไม่มีทาง ใครก็แย่งไปไม่ได้”

คุณสมบัติสำคัญอีกอย่างหนึ่งของผู้ที่มีจิตวิญญาณ คือเป็นผู้ที่มีกตัญญูรู้คุณ คนไทยจะบอกว่า ใครเป็นคนกตัญญูต่อพ่อแม่จะเป็นคนที่มีจิตใจสูง ให้อภัยได้ ผู้ให้อภัยเป็นผู้ที่อยู่มือบน ผู้รับเป็นผู้ที่อยู่มือล่าง เมื่อเราให้อภัยไป ให้ความรัก ความเมตตา เราก็จะเป็นผู้ที่เหนือกว่า ผศ. (พิเศษ) ดร.นพ.วัชรพล ภูนวล กล่าวว่า “เราต้องรู้จักให้อภัย และไม่ต้องรอคำขอโทษจากใคร ไม่ว่าเขาจะขอโทษหรือไม่ เราให้อภัยก่อนเลย เราจะสบาย ปลดปล่อย โล่ง เพราะเราอยู่เหนือเขาไปเรียบร้อยแล้ว”                                                                                            คนที่มีคุณสมบัติแบบนี้ จะเป็นบุคลากรที่ทุกองค์กรในโลกต้องการ การรับคนเข้าทำงานในองค์กรต่างๆจะพิจารณาตามคุณสมบัติเหล่านี้ ย้อนกลับมาที่กระทรวงสาธารณสุขมีคนประมาณ 3 แสนคน มีคนที่มีจิตวิญญาณเท่าไหร่ คนที่ไม่มีจิตวิญญาณก็เปรียบเหมือนหุ่นยนต์ แต่เป็นหุ่นยนต์ที่สู้กับหุ่นยนต์จริงๆ ไม่ได้ อ่านฟิล์มก็ไม่ถูกต้องเท่ากับ AI มีความคลาดเคลื่อนพอเป็นคนก็ไม่มีจิตวิญญาณ เทียบกับหุ่นยนต์ก็ไม่ได้เรื่อง แล้วเราจะอยู่อย่างไรในศตวรรษที่ 21 ี่อรถยนพธ์ที่ดีและก่ตอนทำ HA ใหม่ๆ ได้เสนอโครงการซึ่งตั้งชื่อว่า โครงการพัฒนาคุณภาพด้วยความรัก เปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลก็งงที่ไม่มี Clinical าพด้วยความรัก หวานแหววเลย พอส่งไป ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมอง อะไรวะ ไม่มี Tracer ไม่มีแบบประเมินตนเอง ไม่มีรายงานการติดเชื้อ เลยส่งคนที่อยากจะลาออกมาอบรม โทรศัพท์มาแจ้งว่า “อาจารย์ครับ ช่วยรับเพิ่มหน่อย โควตาให้แค่ 3 คน แต่ผมขอส่ง 5 คนเลย ให้อยู่โรงพยาบาลแล้วมันป่วน เอาไปอบรมหน่อยซัก 5 วัน” ปรากฏว่าคนที่ส่งมาอบรมนั้นเป็นคนดีมากๆ แต่โรงพยาบาลไม่ค้นหาความดีที่เขามีต่างหาก

ดาวน์โหลดที่นี่…ฟรี การหล่อเลี้ยงจิตวิญญาณในโรงพยาบาล

ถอดบทเรียน อรอินทร์ ขำคม

ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ (กลุ่มงานการพยาบาลจิตเวชเด็ก) โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์

Photo by Francisco Venâncio on Unsplash

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here