Lifelong Learning: ทักษะชีวิตที่มากกว่าแค่การท่องจำ

0
1625
Lifelong Learning: ทักษะชีวิตที่มากกว่าแค่การท่องจำ
Lifelong Learning: ทักษะชีวิตที่มากกว่าแค่การท่องจำ

านที่อยู่ต่อหน้า เป็นสิ่งที่มีคุณค่าที่สุด ใน Lifelong learning

Lifelong Learning หรือการเรียนรู้ตลอดชีวิต คือ การปลูกฝังทัศนคติของการไม่หยุดเรียนรู้ รวมถึงไม่ยึดติดกับสิ่งที่เคยเรียนรู้มาก่อน เพราะโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

Lifelong Learner หรือผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต คือ คำตอบที่จะเป็นทางออกในโลกยุคที่สถานการณ์ต่างๆ ในชีวิตผันผวนง่ายแต่คาดเดายาก โดยหัวใจสำคัญอยู่ที่การปลูกฝังแนวคิดการเรียนรู้แบบ Learn – Unlearn – Relearn เปิดใจเรียนรู้โดยพร้อมที่จะละวางความรู้เดิมเพื่อสร้างการเรียนรู้ใหม่ตลอดเวลา

Learning Organization เป็นแนวคิดในการพัฒนาองค์การโดยเน้นการพัฒนาการเรียนรู้สภาวะของการเป็นผู้นำในองค์การ (Leadership) และการเรียนรู้ร่วมกัน ของคนในองค์การ (Team Learning) เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ และทักษะร่วมกัน และพัฒนาองค์การอย่างต่อเนื่องทันต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขัน Learning Organization จึงเป็นเครื่องมือการจัดการที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน

ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills) นพ.วิจารณ์ พานิช ได้กล่าวถึงทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ดังนี้ การเรียนรู้เพื่อมีชีวิตในโลกยุคศตวรรษที่ 21 ปัจจุบันการเรียนรู้สาระวิชา (content หรือ subject matter) ควรเป็นการเรียนจากการค้นคว้าเองของศิษย์ โดยครูช่วยแนะนำ และช่วยออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนแต่ละคนสามารถประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเองได้ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เข้าไปในทุกวิชาแกนหลัก ดังนี้

  1. ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม จะเป็นตัวกำหนดความพร้อมของนักเรียนเข้าสู่โลกการทำงานที่มีความซับซ้อนมากขึ้นในปัจจุบัน ได้แก่

– ความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม

– การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา

– การสื่อสารและการร่วมมือ

  1. ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี เนื่องด้วยในปัจจุบันมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่อและเทคโนโลยีมากมาย ผู้เรียนจึงต้องมีความสามารถในการแสดงทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและปฏิบัติงานได้หลากหลาย โดยอาศัยความรู้ในหลายด้าน ดังนี้

– ความรู้ด้านสารสนเทศ

– ความรู้เกี่ยวกับสื่อ

– ความรู้ด้านเทคโนโลยี

  1. ด้านชีวิตและอาชีพ ในการดำรงชีวิตและทำงานในยุคปัจจุบันให้ประสบความสำเร็จ นักเรียนจะต้องพัฒนาทักษะชีวิตที่สำคัญดังต่อไปนี้

– ความยืดหยุ่นและการปรับตัว

–  การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง

–  ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม

–  การเป็นผู้สร้างหรือผู้ผลิต (Productivity) และความรับผิดชอบเชื่อถือได้ (Accountability)

– ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ (Responsibility)

การเรียนรู้สู่ระดับเชื่อมโยง คือ การเรียนรู้สู่การเป็นผู้ลงมือทำ หรือผู้นำการเปลี่ยนแปลง (change agent) เป็นการ เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) ไปในตัว จะเห็นว่า ครูมีโอกาสสร้างคุณูปการต่อศิษย์ได้สูงมาก ผ่านการจัดการเรียนรู้สู่ระดับเชื่อมโยง คือ ครูทำหน้าที่เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง โดยการชวนนักเรียนตั้งเป้าหมายการเรียนรู้ ที่มีความหมายในมุมมองของเด็ก ทำหน้าที่สังเกตการณ์และจุดประกายแรงบันดาลใจสู่การลงมือทำเพื่อการเรียนรู้  และสังเกตความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของศิษย์  แล้วใคร่ครวญสะท้อนคิดเพื่อหาวิธีทำหน้าที่ครูที่ดีมีผลกระทบสูงยิ่งขึ้นต่อผลลัพธ์การเรียนรู้

Transformative Learning คือ การเรียนรู้ที่สามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการเปลี่ยนแปลงตนเองได้ เปลี่ยนแปลง ความรู้ที่ตนเคยมีเป็นความรู้อีกชุดหนึ่ง เปลี่ยนไปถึงในระดับกระบวนทัศน์ เมื่อเรามีความรู้ในแบบ Transformative Learning สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือการมีฉันทะ มีวิริยะ และมีสมรรถนะในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) เกิดทักษะความเป็นผู้นำ (Leadership Skill) การมีทักษะความเป็นผู้นำนั้นไม่ได้หมายความว่าเราต้องไปเป็นหัวหน้าใคร แต่หมายความว่าเราสามารถไปร่วมกับผู้อื่นเพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เราเข้าไปเกี่ยวข้อง

กรอบแนวคิดแบบตายตัว (Fixed Mindset) เป็นทัศนคติของคนที่คิดว่าเราไม่สามารถพัฒนาตนเองได้แล้ว ทางเดินชีวิตได้สิ้นสุดลงไปแล้ว หรือไม่กล้าลงมือทำเพราะกลัวว่าจะล้มเหลว

กรอบแนวคิดแบบพัฒนาได้ (Growth Mindset) เป็นกรอบแนวคิดของคนที่คิดบวก คิดว่าตัวเองสามารถพัฒนาได้ตลอดเวลา ส่งผลให้เกิดความมั่นใจ และกล้าลงมือทำ

ถอดบทเรียนโดย อาทิตย์ตินันท์ อินทร์วรรณ ผู้ประสานงาน สำนักพัฒนาองค์กร                                                              สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)

ภาพถ่ายโดย Wendy van Zyl จาก Pexels

 

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here