The future and challenge of facilities management in hospital

0
1349
The future and challenge of facilities management in hospital
The future and challenge of facilities management in hospital

The future and challenge of facilities management in hospital

ปัญหาที่โรงพยาบาลส่วนใหญ่พบในเรื่องของการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกในโรงพยาบาล คือ ผังโครงสร้างโรงพยาบาลไม่ได้ถูกออกแบบให้ครอบคลุมการใช้งานตรงตามวัตถุประสงค์ตั้งแต่แรก ทำให้การปรับเปลี่ยน function การทำงานต่างๆ เป็นไปได้ค่อนข้างยาก การจัดการในสถานการณ์อันยากลำบากนี้ ต้องอาศัยองค์ประกอบที่สำคัญในการบริหารจัดการที่สอดคล้องกับบริบทของแต่ละโรงพยาบาล

คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล ภายใต้การกำกับของมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ประสบปัญหาในการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกในโรงพยาบาล จากข้อจำกัดหลายประการ คือ

  1. ตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร อยู่ติดกับวังศุโขทัย มีข้อกฎหมายตีกรอบค่อนข้างมาก
  2. เป็นโรงพยาบาลเก่าแก่ที่มีสถาปัตยกรรมแบบเก่า ตัวอาคารไม่ได้รับการวางผังเรื่อง facilities มาตั้งแต่แรก
  3. วาระของผู้บริหารระดับสูงมีแค่ 4 ปี ทำให้โครงการระยะยาวขาดความต่อเนื่อง

ทางคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล จึงได้เริ่มทำการปรับปรุง สิ่งอำนวยความสะดวกในโรงพยาบาล ให้รองรับความต้องการรับบริการของประชาชนในเขตเมืองมากที่สุด ดังนี้

  1. จัดทำ Master plan ระยะยาว 8-10 ปี
  2. วางแผน zoning โดยแยกตามประเภทของงาน แบ่งออกเป็น
    • ส่วนพื้นที่การศึกษา แยกออกไปอยู่นอกพื้นที่โรงพยาบาล เพื่อลดความแออัด
    • ส่วนพื้นที่ระบบงานสนับสนุน เช่น
      • งานเวชภัณฑ์กลาง แยกออกเป็นสัดส่วน
      • อาคารสถานีย่อยไฟฟ้าสร้างเป็นอาคารเฉพาะ 4 ชั้น เพื่อจ่ายกระแสไฟให้หน่วยบริการอย่างเพียงพอ
      • อาคารหอพักมีทั้ง ปรับปรุงหอพักที่อยู่ภายในพื้นที่โรงพยาบาลและสร้างหอพักพื้นที่นอกโรงพยาบาล
      • อาคารบำบัดน้ำเสีย สร้างเป็นอาคารเฉพาะ
    • ส่วนให้บริการภายในโรงพยาบาล จัดทำเป็นอาคารสูงและใช้ประโยชน์จากชั้นใต้ดินให้มากที่สุด อาคารหอผู้ป่วยปรับจาก ward รวม 32 เตียง แบ่งเป็น 4 เตียงต่อ 1 unit เพิ่มความเป็นสัดส่วนและลดการปนเปื้อน
    • ส่วนให้บริการที่สอดคล้องกับบริการหลัก อยู่นอกพื้นที่ส่วนกลาง โดยกระจายออกไปในเขตชานเมือง
  1. เชิญหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมวางแผน เช่น
    • สำนักงานที่ดิน การไฟฟ้า การประปา ทำให้การวางแผนก่อสร้างทำได้รัดกุมมากขึ้น
    • สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ทำให้สามารถจัดซื้อจัดจ้างได้ตามแผน
    • สำนักพระราชวัง ขอพระราชทานนาม อาคารพัชรกิตติยาภา และอาคารทีปังกรรัศมีโชติ
  2. เชิญบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการออกแบบอาคาร วิเคราะห์ข้อมูลด้วย BI เช่น ระยะเวลาที่ใช้ในการตรวจผู้ป่วยนอก จำนวนรถของบุคลากร
  3. ปรับแนวคิดการสร้างตึกเปล่าเหมือนในอดีต แต่พิจารณาถึงโครงสร้างต่างๆ รวมทั้งครุภัณฑ์ทางการแพทย์ที่จะต้องใช้ภายในอาคาร เพื่อลดการปรับเปลี่ยนโครงสร้างในภายหลัง
  4. จัดทำโครงการเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ โดยมูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจและการคลัง (FPRI)

ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกในโรงพยาบาล

  1. มีแผนการทำงานที่ชัดเจน
  2. Leadership, engagement, strategy
  3. ปรับ mind set ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นโรงเรียนแพทย์ในส่วนภูมิภาคแห่งแรกของประเทศไทย ประสบปัญหาในการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกในโรงพยาบาลในประเด็นสำคัญ คือ

  1. อาคารโรงพยาบาลเป็นสถาปัตยกรรมแบบเก่า อาคารหลายหลังเป็นอาคารที่ได้รับบริจาค
  2. เป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่รับการส่งต่อผู้ป่วยจากโรงพยาบาลต่างๆ ในภาคเหนือ ทำให้ญาติผู้ป่วยที่เดินทางมาพร้อมกับผู้ป่วย ไม่มีที่พักในระหว่างที่ผู้ป่วยรับการรักษาตัว

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกในโรงพยาบาล ให้รองรับความต้องการรับบริการของประชาชนและสอดคล้องกับบริบทของการเป็นโรงเรียนแพทย์ในส่วนภูมิภาค ดังนี้

  1. จัดทำ Master plan ระยะยาว ทำกลยุทธ์การพัฒนาและปรับปรุง กำหนดเป้าหมาย และสื่อสารกับบุคลากรให้ชัดเจน
  2. บริหารจัดการด้วยข้อมูลและองค์ความรู้สำคัญ ในการปรับปรุงระบบ
  3. ใช้ engagement ของบุคลากรและประชาชนในพื้นที่ให้เป็นประโยชน์ เพื่อสร้างความเป็นเจ้าของให้เกิดขึ้น เช่น
  • กิจกรรมรวมพลังทาสีรั้วรอบโรงพยาบาล ทำให้เสร็จเร็วขึ้นและสร้างความเป็นเจ้าของให้บุคลากรทุกคน
  • ระดมทุนจากประชาชน เพื่อปรับปรุงอาคารหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ให้ตอบสนองต่อการใช้งานมากขึ้น
  1. ปรับปรุงโดยใช้หลักความสอดคล้องกับบริบทของโรงพยาบาล เช่น
    • สร้างอาคารบ้านพักญาติผู้ป่วย เพื่อให้ญาติผู้ป่วยที่ไม่สามารถเดินทางไปกลับได้พักอาศัยภายในโรงพยาบาล
    • ปรับปรุงตึกสงฆ์อาพาธ ให้เป็นโรงพยาบาลสงฆ์ แห่งโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
    • ปรับปรุงเตาเผาขยะโดยความร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่น
    • ปรับปรุงแผนกฉุกเฉินให้เป็น Modern digital emergency department

ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกในโรงพยาบาล

  1. มี Leadership visionary และ strategy ที่ชัดเจน
  2. จัดทำ Master plan ด้วย data, knowledge, community, partner
  3. ปรับปรุงตามมาตรฐานและทำให้สอดคล้องกับบริบท ทำน้อยให้ได้มาก
  4. พลัง engagement ของบุคลากร
  5. การบริหารจัดการ Financial support ประหยัดที่สุด
  6. เชิญผู้เกี่ยวข้องเข้ามาให้ข้อมูลมากที่สุด เพื่อออกแบบให้ตอบสนองต่อ pain point ทั้งของลูกค้าและคนทำงาน
  7. กำหนด timeline ที่ชัดเจน
  8. บริหารความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างการปรับปรุง โดยพิจารณาประโยชน์ที่จะได้กับลูกค้า ให้ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ที่มีอำนาจเข้ามาช่วยตัดสิน เพื่อให้โครงการดำเนินต่อเนื่อง

ความท้าทายต่อสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตของทั้ง 2 องค์กร ความท้าทายที่สำคัญของการจัดการระบบสิ่งอำนวยความสะดวกในโรงพยาบาล คือ การจัดการหลังจากสถานการณ์ Covid-19 คลี่คลาย มีประเด็นพิจารณา คือ 1.
การปรับระบบสิ่งอำนวยความสะดวกให้สอดคล้องกับ new normal ระบบ อุปกรณ์ เครื่องมือที่ใช้อยู่ในขณะนี้
ต้องสามารถใช้ต่อไปได้ 2.พิจารณาเรื่องการทำ Tele-medicine เข้ามาใช้ในการให้บริการ 3.ส่งเสริมทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล หรือ Digital literacy ให้มากขึ้น

ผู้ถอดบทเรียน จุฑาธิป อินทรเรืองศรี ผู้จัดการแผนกบริหารคุณภาพ โรงพยาบาลนมะรักษ์
เฉพาะทางศัลยศาสตร์มะเร็ง ขนาดเล็ก

ภาพถ่ายโดย Clem Onojeghuo จาก Pexels

 

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here