การวินิจฉัยโรคผิดพลาด ตอนที่ 2

0
10726
การวินิจฉัยโรคผิดพลาด
การวินิจฉัยโรคผิดพลาด

แหล่งข้อมูลหลักที่จะช่วยในการค้นหาและทบทวนเรื่องการวินิจฉัยโรคผิดพลาดในโรงพยาบาล ได้แก่ บันทึกการวินิจฉัยในเวชระเบียน เรื่องร้องเรียน/ เรื่องที่มีการฟ้องร้อง และผลการตรวจเอกซเรย์/ ผลการอ่านชิ้นเนื้อ การทบทวนควรทำโดยทีมงานที่มีผู้ที่มีความชำนาญในสาขานั้นๆ ร่วมด้วย โดยยึดหลักการว่าทำการทบทวนเพื่อการเรียนรู้และพัฒนากระบวนงานให้ดีขึ้น ไม่ได้มุ่งหาผู้ผิด

การวินิจฉัยโรคผิดพลาด
การวินิจฉัยโรคผิดพลาด

เวลาเข้าเยี่ยมโรงพยาบาล สิ่งที่ผู้เยี่ยมสำรวจของ สรพ. มักจะใช้เป็นต้นทางในการตามรอยเรื่องการวินิจฉัยโรคผิดพลาด คือ จำนวนการเกิด missed/ wrong/ delayed diagnosis ที่ ER และ OPD ซึ่งเมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น ก็จะดูการทบทวนของโรงพยาบาลว่า นำไปสู่การที่จะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้ถูกต้องแม่นยำขึ้นจริงหรือไม่ ถ้าไม่น่าจะใช่ ก็จะมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกัน กลุ่มโรคที่มักจะมีรายงาน missed/ wrong/ delayed diagnosis ได้แก่ ไส้ติ่งอักเสบ ตั้งครรภ์นอกมดลูก โรคกล้ามเนื้อหัวใจวายเฉียบพลัน และม้ามแตก

นอกจากนี้ การสื่อสารระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยเกี่ยวกับโรคของผู้ป่วยก็เป็นปัญหาสำคัญ จากการสำรวจประสบการณ์ของผู้ป่วยพบว่า ข้อขัดข้องใจลำดับต้นๆ ของผู้ป่วย คือ การไม่ได้รับคำอธิบายที่เพียงพอถึงโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ และแผนการรักษาพยาบาล

สรุปแนวทางในการลดข้อผิดพลาดในการวินิจฉัยโรค คือ

  • ส่งเสริมการทำงานเป็นทีมระหว่างบุคลากรทางการแพทย์ และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ป่วย และครอบครัว ในทุกขั้นตอนของกระบวนงานเพื่อการวินิจฉัยโรค
  • เพิ่มพูนความรู้ของบุคลากรทางการแพทย์ในเรื่องการวินิจฉัยโรคที่ทันยุคทันสมัย
  • พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการวินิจฉัยโรค
  • ออกแบบเกณฑ์การจ่ายเงินและสภาพแวดล้อมการทำงานที่ช่วยเกื้อหนุนกระบวนงานวินิจฉัยโรคที่เป็นไปตามหลักวิชาการ
  • ส่งเสริมการรายงานข้อผิดพลาด เพื่อนำมาทบทวน เรียนรู้ และนำสู่การพัฒนากระบวนงาน

Photo by Lucas Vasques on Unsplash

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here