การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ

0
16886

การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำเป็นหัตถการที่ทำบ่อยมากในโรงพยาบาล และยังพบอุบัติการณ์ไม่พึงประสงค์อยู่เนืองๆ ชมรมเครือข่ายผู้ให้สารน้ำแห่งประเทศไทยจึงได้จัดทำแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำขึ้น เพื่อเป็นแนวทางที่ช่วยให้พยาบาลสามารถให้บริการผู้ป่วยได้อย่างมีคุณภาพ มาตรฐาน และความปลอดภัย

ภาวะแทรกซ้อนจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำพบได้หลายลักษณะ ตัวอย่างเช่น phlebitis, vascular access device related infection, infiltration/ extravasation, hematoma/ hemorrhage, embolism, drug incompatibility

แนวทางสำคัญที่ต้องคำนึงถึง เมื่อมีการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ คือ

  1. เตรียมเข็มที่จะแทง อุปกรณ์ที่ต้องใช้ และเลือกตำแหน่งที่จะแทงหลอดเลือดดำ ให้เหมาะสม หลีกเลี่ยงการแทงบริเวณใกล้ข้อ เนื่องจากมีการเคลื่อนไหวบ่อย และอาจเกิดการบาดเจ็บของเส้นประสาท
  2. ทำความสะอาดผิวหนังในขนาดความกว้างไม่น้อยกว่าที่จะติดแผ่นฟิล์มใสปลอดเชื้อ ด้วย 70% alcohol หรือ tincture of iodine หรือ 5% chlorhexidine in alcohol (chlorhexidine in alcohol ไม่ควรใช้ในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 เดือน)
  3. สื่อสารผู้ป่วย/ ญาติ/ ผู้ดูแล ให้เข้าใจเหตุผลความจำเป็นและขั้นตอนการแทงสาย เตรียมชุดให้สารน้ำ ตรวจสอบตัวยาที่จะให้ว่าไม่มีปฏิกิริยาต่อกัน ตรวจสอบลักษณะของสารน้ำว่าไม่มีลักษณะผิดปกติ เคร่งครัดในเรื่องความสะอาดและเทคนิคปลอดเชื้อ
  4. ดูแลบริเวณตำแหน่งที่ให้สารน้ำ และประเมินผิวหนังบริเวณที่แทงเข็ม เพื่อเฝ้าระวังอาการแดง ปวด บวม และสอบถามอาการผู้ป่วย เช่น ปวด ชา แสบ ตึง
  5. การบริหารยาที่มีความเป็นกรดด่างสูง คือ pH น้อยกว่า 5 หรือมากกว่า 9, ยาที่มีความเข้มข้นของ dextrose มากกว่า 10%, ยาที่มี osmolality มากกว่า 900 มิลลิออสโมล ควรให้ทางหลอดเลือดดำใหญ่ เพื่อป้องกัน extravasation
Photo by Hush Naidoo on Unsplash

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here