ผู้ป่วยตกเตียงที่แผนกผู้ป่วยนอก

0
6777
ผู้ป่วยตกเตียงที่แผนกผู้ป่วยนอก
ผู้ป่วยตกเตียงที่แผนกผู้ป่วยนอก

ในปี 2561 มีรายงานผู้ป่วยสูงอายุไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งด้วยอาการขาอ่อนแรง ระหว่างรอผลการตรวจเลือดบนเตียงนอน เตียงเกิดกระดก ทำให้ผู้ป่วยตกเตียงทางตอนท้ายของเตียง ตรวจร่างกายขณะนั้น ไม่พบสิ่งผิดปกติชัดเจน แต่หลังจากกลับบ้านได้ 4 วัน ผู้ป่วยกลับมาอีกครั้งด้วยอาการปวดขา ขาบวม ขยับขาไม่ได้ x-ray พบกระดูกต้นขาขวาหัก ผู้ป่วยรายนี้เกิดการตกเตียงที่แผนกผู้ป่วยนอกในระหว่างรอผลการตรวจเลือด ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ทีมงานของโรงพยาบาลมักจะไม่ได้ดูแลผู้ป่วยใกล้ชิดนัก

โดยทั่วไป การลื่นตกหกล้มมักจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยสูงอายุและเด็กเล็กที่นอนอยู่ในหอผู้ป่วยใน เหตุการณ์นี้จึงช่วยเตือนทีมงานโรงพยาบาลว่าการลื่นตกหกล้มสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกจุดของการให้บริการ

แนวทางปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงของเหตุการณ์ผู้ป่วยลื่นตกหกล้ม คือ

  1. เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ และทักษะ ของบุคลากรและญาติ ในเรื่องการป้องกันผู้ป่วยลื่นตกหกล้ม
  2. ประเมินความเสี่ยงต่อการลื่นตกหกล้ม ด้วย Morse Fall Risk Assessment หรือ Hendrich Fall Risk Assessment ในขณะแรกรับ และติดตามประเมินความเสี่ยงซ้ำเป็นระยะ
  3. ประเมินปัจจัยที่ทำให้การลื่นตกหกล้มแล้วจะเกิดการบาดเจ็บที่รุนแรง และถามประวัติเกี่ยวกับการลื่นตกหกล้มในอดีตที่เกิดการบาดเจ็บรุนแรงตั้งแต่แรกรับ
  4. จัดสภาพแวดล้อมและอุปกรณ์ที่ช่วยลดความเสี่ยงในการลื่นตกหกล้ม เช่น ใช้เตียงที่มีระดับต่ำ เตียงมีความมั่นคง มีอุปกรณ์เครื่องช่วยเดินประจำห้องและมีราวเกาะในจุดเสี่ยง ติดตั้งอุปกรณ์ที่ส่งสัญญาณเตือนเมื่อผู้ป่วยพยายามลุกจากเตียง การใช้พื้นห้องน้ำที่ไม่ลื่น
  5. ทบทวนและปรับยาที่ทำให้ผู้ป่วยลื่นตกหกล้มได้ง่าย โดยเฉพาะยาทางจิตเวช

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here