“จากรากฐาน สานต่อ ก่อกาลไกล…สู่ก้าวไปด้วยกัน”

0
479
จากรากฐาน สานต่อ ก่อกาลไกล...สู่ก้าวไปด้วยกัน

“จากรากฐาน สานต่อ ก่อกาลไกล…สู่ก้าวไปด้วยกัน”

“ยาก แต่ทำได้” แล้ว… “การทำเรื่องใหม่ ๆ ที่มีผลกระทบ (Impact) ต่อคนจำนวนมาก”
ยิ่งยากกว่า…  ต้องพิจารณาให้รอบด้าน มุ่งมั่นอย่างจริงจัง ไม่สามารถดำเนินการเพียงลำพัง
จำเป็นต้องขับเคลื่อนเป็นองคาพยพ

พญ.ปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ “จากรากฐาน” งานคุณภาพที่ผ่านมาของสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล เกิดขึ้นได้นั้น เปรียบเสมือนต้นไม้คุณภาพ ที่มาจากการวางฐานรากที่เข้มแข็ง ของ นพ.อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้ง และเป็นผู้อำนวยการสถาบัน ฯ คนแรก ต่อมามีการดำเนินการ “สานต่อ” เจตนารมณ์ด้านการพัฒนาคุณภาพ โดย นพ.กิตตินันท์ อนรรฆมณี เข้ามาดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการสถาบัน ฯ คนที่สอง จนกระทั่งระบบคุณภาพได้ถูกบูรณาการภายใต้ระบบสุขภาพที่เข้มแข็งไร้รอยต่อจวบจนปัจจุบันสู่อนาคต “ก่อกาลไกล” โดย พญ.ปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ ผู้อำนวยการสถาบัน

แนวคิด “ก่อกาลไกล” มี 3 ประเด็น คือ 1. Hospital / Healthcare System /Health System: ที่ผ่านมาการดำเนินงานด้านการพัฒนาคุณภาพโดยใช้เครื่องมือ Hospital Accreditation ในทุกโรงพยาบาลนั้นอาจไม่เพียงพอ แต่ควรขยายผลไปสู่  Healthcare System มีระบบการส่งต่อที่มีประสิทธิภาพตั้งแต่ระดับปฐมภูมิ ระดับทุติยภูมิ และระดับตติยภูมิ ทั้งนี้ “ก่อกาลไกล” นั้น มิได้ให้ความสำคัญเฉพาะสถานพยาบาล แต่การบูรณาการ สร้างเครือข่ายไปสู่อนาคต ภายใต้ระบบสุขภาพ Health System สู่ชุมชน และสังคม ที่เข้มแข็งเป็นสิ่งจำเป็น และมีความสำคัญอย่างยิ่ง 2. จากเดิมให้ความสำคัญเพียงผู้ป่วยปลอดภัย (Patient Safety) พบว่าบุคลากรผู้ปฏิบัติงานควรมีความปลอดภัยด้วย (Personal Safety) แต่ปัจจุบันมองกาลไกลจาก 2P Safety เป็น 3P Safety โดยพิจารณาภาพรวมแล้ว หากประชาชนมีความปลอดภัย (People Safety) ด้วยจะเป็นสิ่งที่ดี 3. ความมุ่งมั่นสู่อนาคตในการบริหารจัดการให้ External Evaluation Organization ทั้งกระบวนการประเมิน กระบวนการรับรอง กระบวนการการพัฒนาผู้เยี่ยมสำรวจ และเนื้อหามาตรฐานคุณภาพโรงพยาบาลที่ใช้ในการพัฒนา สู่การยอมรับในระดับสากล รวมถึงเรื่องการขับเคลื่อนเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วย (Patient Safety) ในประเทศไทย สู่ความเป็นหนึ่งให้ทั่วโลกยอมรับ คู่ขนานไปกับ Global Patient Safety Action Plan

สถาบัน ฯ มีการดำเนินการด้านคุณภาพร่วมกับองค์กรทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผ่านการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายสำคัญ ๆ มากมาย อาทิ การรวม รพสต.กับโรงพยาบาลท้องถิ่น การพัฒนางาน พัฒนาคนอย่างเป็นระบบ การได้รับโอกาสไปนำเสนอ Global Patient Safety Action Plan ร่วมกับองค์การอนามัยโลก เราพบว่าถึงแม้ระยะเวลาการขับเคลื่อนงานพัฒนาคุณภาพจะเป็นเรื่องยาก แต่ทั้งนี้ “เมื่อใดใช้คำว่ายาก ยากแต่ทำได้ หากเราลงมือทำ” ต่อจากนี้ไปยังมีเรื่องยากอีกมากมายที่ต้องดำเนินการ อาทิ การขับเคลื่อน จาก Hospital สู่ Healthcare System  และก้าวไปยัง Health System  การให้ความสำคัญ เรื่อง Patient Safety Personal Safety สู่ People Safety ทั้งแผ่นดิน

ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา จากคำว่า “ยาก แต่ทำได้” แล้ว… การทำเรื่องใหม่ ๆ ที่มีผลกระทบ (Impact) ต่อคนจำนวนมาก ยิ่งยากกว่า  โดยต้องพิจารณาให้รอบด้าน และมีความมุ่งมั่นอย่างจริงจัง ระบบสุขภาพไม่สามารถดำเนินการเพียงลำพังองค์กรใดองค์กรหนึ่งได้ จำเป็นต้องขับเคลื่อนเป็นองคาพยพไปพร้อมกัน

 การดูแลสุขภาพ (Healthcare) ประกอบด้วย การเสริมสร้างสุขภาพ (Health Promotion) การป้องกันโรค (Disease Prevention) การรักษาโรค (Treatment) การฟื้นฟูสภาพ (Rehabilitation) การรักษาแบบประคับประคอง (Palliation Care) และการดูแลระยะสุดท้ายของชีวิต (End-of-Life-Care) ซึ่งปัจจุบันประชาชนไม่ต้องมาโรงพยาบาล แต่สามารถป้องกันสร้างเสริมสุขภาพได้ด้วยตนเอง ทั้งนี้ระบบการดูแลสุขภาพประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ 1.ผู้กำหนดนโยบาย 2.ผู้นำนโยบายสู่การปฏิบัติ 3.ผู้ได้รับผลจากนโยบาย โดยมีจุดเริ่มต้นของการดูแลสุขภาพ คือ ตัวบุคคล  ทั้งนี้จากทั้ง 3 ส่วน ผู้ได้รับผลจากนโยบายมีความสำคัญมาก แต่พบว่าไม่ค่อยมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย ทำให้นโยบายไม่ตอบโจทย์ ไม่ตรงประเด็นเท่าที่ควร  สำหรับเป้าหมายการดูแลสุขภาพ คือ
การมีสุขภาพที่ดี (Good Health) สุขภาพที่ดีเป็นส่วนหนึ่งของสุขภาวะ (Well-being/Wellness) การก่อกาลไกล…สู่ก้าวไปด้วยกัน มุ่งยกระดับเป้าหมายจากสุขภาพที่ดี (Good Health) เป็นสุขภาวะ (Wellbeing/Wellness) มีการประสานงาน/บูรณาการกันของทุกองค์ประกอบของระบบการดูแลสุขภาพและองค์ประกอบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะ ดังตัวอย่าง เป้าหมายเดิมของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวเพียงด้านสุขภาพ  แต่เป้าหมายใหม่ คือ นอกจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลเป็นสถาบันการแพทย์ของแผ่นดินแล้ว
จะสร้างสุขภาวะของมวลมนุษยชาติ เช่นกัน

สุขภาวะ (Well-being/Wellness) จะเกิดขึ้นได้มิใช่มีเพียง Physical Emotional แต่ต้องมี Environmental Spiritual การศึกษา และองค์ประกอบอื่น ๆ ที่ดีด้วย การที่สถาบัน ฯ จะประกาศการเป็นผู้นำ
ด้านสุขภาวะให้กับประชากรไทย การผลักดันประเทศไทยไปสู่ประเทศผู้นำ เราจะต้องขับเคลื่อนไปด้วยกันทุกคน เนื่องจากสุขภาวะ ประกอบด้วย 9 ส ได้แก่ 1.สุขภาพ 2.เศรษฐกิจ 3.สังคม 4.สัมมาชีพ 5.สิ่งแวดล้อม 6.ศาสนา 7.ศิลปวัฒนธรรม 8.การศึกษา และ9.สัตว์ (Animal Health) ทั้งนี้สุขภาพสัตว์ สุขภาพสิ่งแวดล้อม และสุขภาพคน ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ อาทิ การเกิดโรคระบาด Covid-19 SARs ล้วนมีสัตว์เป็นพาหะทั้งสิ้น ดังนั้นภารกิจที่ยิ่งใหญ่จะเกิดขึ้นได้นั้น จึงขอเชิญชวนคนไทยทุกคน มาร่วมมือร่วมใจกันทำให้ Well-being บรรลุผลสำเร็จได้เร็วยิ่งขึ้น และมุ่งสู่วิสัยทัศน์ “สถานพยาบาลมีระบบคุณภาพระดับสากล ประชาชนปลอดภัยด้วยมาตรฐาน HA”

ผู้ถอดบทเรียน ดร.สดศรี พูลผล หัวหน้างานพัฒนาคุณภาพงาน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here