วันจันทร์, พฤษภาคม 19, 2025
สร้างศรัทธาและจิตวิญญาณของตัวเรา ทีมงานและองค์กร
“ความไว้วางใจในระบบบริการสุขภาพเป็นสิ่งที่มีค่ายิ่ง  สร้างยากแต่ถูกทำลายง่าย” ความไว้วางใจ (Trust) หมายถึง ความคาดหวังที่มีต่อศักยภาพ คุณค่าและสัมพันธ์ที่ดี ที่ทำให้ผู้รับบริการประทับใจ  และความเชื่อมั่นที่ผู้รับบริการมีต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคล  ว่าพวกเขาเหล่านั้นมีเจตนามีการกระทำและการแสดงออในทิศทางเหมาะสม เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ในแต่ละโอกาส  ซึ่งทำให้ผู้รับบริการมั่นใจว่าสามารถคาดการณ์ผลลัพธ์ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในทางที่ดีตั้งแต่ครั้งแรก (First impression)   การทำให้เกิดความไว้วางใจนั้น ต้องสร้างให้เกิดความศรัทธา (Culture of trust) ซึ่งเป็นเป้าหมายที่สูงสุด  ความศรัทธาเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลาสร้างอย่างยาวนานแต่จะหายไปอย่างรวดเร็ว  ความศรัทธาสร้างความไว้วางใจให้ผู้รับบริการกลับมาใช้บริการซ้ำอีก ผู้ที่อยู่ในองค์กรต้องมีความศรัทธาในตนเองอยู่เสมอ  มีความเชื่อว่าโรงพยาบาลที่ปฏิบัติงานอยู่เป็นที่น่าศรัทธาของประชาชน ก่อเกิดศรัทธาในตัวเองแล้วค่อยขยายไปสู่ผู้อื่น  เชื่อมั่นในความดีของตนเอง เมื่อเกิดความศรัทธาก็จะทำให้เกิดความไว้วางใจ (Trust) ซึ่งจะเป็นผลลัพธ์ที่บ่งบอกถึงสิ่งที่ดีที่จะเกิดขึ้นต่อตัวบุคคลและองค์กร “หากเราไม่ศรัทธาในตัวเราเองแล้ว  ใครเขาจะมาศรัทธาในตัวเรา”  การสร้างความศรัทธาและความไว้วางใจ  มีองค์ประกอบดังนี้ ความสามารถ (Competence) คือ ความรู้และทักษะที่เรามีต่องานหรือสถานการณ์นั้นๆ เพียงพอที่จะทำงานให้ประสบความสำเร็จน่าประทับใจ  เช่น การสร้างชื่อเสียงจากศักยภาพและการทำงานบนพื้นฐานวิชาชีพอันเป็นที่ยอมรับ  การได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติ ได้รับการรับรองมาตรฐานการทำงานที่โดดเด่น  ประสบความสำเร็จจากการปฏิบัติการที่ยากมาก และเป็นที่อ้างอิงโดยทั่วไป เป็นต้น ความตั้งใจ (Intention) คือ การแสดงเจตจำนงออกมาอย่างชัดเจน แสดงออกถึงความมุ่งมั่น ความกระตือรือร้น ความเอาจริงเอาจังกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น และที่สำคัญคือ ใช้ความทุ่มเทที่จะนำความรู้ความสามารถที่มีทั้งหมดเข้ามาสู่กระบวนการสร้างผลลัพธ์ที่ดีเยี่ยม การรักษาสัญญา (Commitment) คือ การยึดถือปฏิบัติตามสิ่งที่เคยได้รับปากเอาไว้ ให้ความสำคัญกับสิ่งที่เคยตกลง ข้อตกลง คำมั่นสัญญา ...
Part IV กับ Meso System Learning
Meso System คือ โซ่ข้อกลางที่ทำให้  What & Why                กลายเป็น How to & How well สำหรับองค์กร                        จนผลลัพธ์ที่ได้ถูกส่งต่อให้กับผู้รับ HA Standard เป็นมาตรฐานที่บ่งบอก Why & What ส่วน How to ขององค์กรนั้น ได้มาจากทีมนำเฉพาะด้าน หรือ Meso System ขององค์กรที่ต้องสร้างให้เป็นทีมนำระบบที่แข็งแรง ความหมายของ System แต่ละระดับ                       ...
ยกระดับคุณภาพบริการด้วย Advanced HA
เมื่อค่านิยม “มุ่งเรียนรู้ คู่คุณธรรม ใฝ่คุณภาพ ร่วมสานภารกิจ          คิดนอกกรอบ รับผิดชอบสังคม” ฝังอยู่ในใจบุคลากรแล้ว                เราสามารถก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคงแน่นอน รศ.นพ.สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ : คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล มีวิสัยทัศน์ คือ “คณะแพทยศาสตร์ชั้นนำในระดับสากล” พันธกิจ  “จัดการศึกษา สร้างงานวิจัย ให้บริการวิชาการและดูแลสุขภาพเพื่อสุขภาวะของสังคม” ปณิธาน  “ปัญญาของแผ่นดิน” ภายใต้การขับเคลื่อนผ่านค่านิยม  “มุ่งเรียนรู้ คู่คุณธรรม ใฝ่คุณภาพ ร่วมสานภารกิจ คิดนอกกรอบ รับผิดชอบสังคม” จากค่านิยม “ใฝ่คุณภาพ” คณะฯได้นำเกณฑ์คุณภาพหลายมาตรฐานมาสู่ระบบการประเมิน อาทิ AHA TQA JCI ISO AUNQA WFME ซึ่งจากการวิเคราะห์ผลการประเมินจากที่คณะฯผ่านการรับรอง Re-accreditation ครั้งที่ 4 แล้ว พบว่าหากต้องการที่จะพัฒนาคุณภาพให้ระดับคะแนนการประเมิน (Score) สูงขึ้น เกณฑ์AHAน่าจะตอบโจทย์ที่จะทำให้ผลการดำเนินงาน (Performance) ดีขึ้น...
แนวคิดคุณภาพ Lean Operation
ช่วงนี้การจัดการวัคซีน มาแรงไม่แพ้กับการรักษาและควบคุมโรค COVID-19  แต่จะฉีดวัคซีน COVID-19 อย่างไร ? ให้มีประสิทธิภาพ           วันนี้..มาชวนเรียนรู้แนวคิดคุณภาพ Lean Operation กับขั้นตอนการฉีดวัคซีน COVID-19 กัน..ครับ       ตามแผนที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด การฉีดวัคซีน COVID-19 ประกอบด้วย 8 ขั้น ตอน ใช้เวลารับบริการตั้งแต่ขั้นที่หนึ่ง จนครบ ขั้นที่แปด ประมาณ 40 นาที โดยการจัดคิวจะ ให้จองผ่าน Line Official Account โรงพยาบาลขนาดเล็กจะรองรับได้ 360 คนต่อวันส่วนโรงพยาบาลขนาดใหญ่จะรองรับได้ 500 - 600 คนต่อวัน โดยประมาณการว่าหนึ่งนาที จะบริการเสร็จหนึ่งคน     กรมควบคุมโรคได้ออก “แนวทางการให้วัคซีน COVID-19” ซึ่ง มีขั้นตอนสำคัญที่         โรงพยาบาลต้องเตรียมการ ดังนี้.. - กลไกการขับเคลื่อนและการเตรียมบุคลากรในการดำเนินงาน - กลุ่มเป้าหมายและระยะการดำเนินงานให้วัคซีน -...
การฉีดวัคซีน COVID-19
     สิ่งที่ควรรู้คู่กับกระบวนการฉีดวัคซีน COVID-19 เพื่อป้องกันการเกิดอาการ Immunization Stress-Related Responses ได้อย่างไร ?                       วันนี้เคล็ดลับคุณภาพชวนมาเรียนรู้เรื่อง ISRR กัน ครับ ในกระบวนการให้วัคซีน COVID-19 ซึ่งต้องมีการฉีดแก่ประชาชนไทยจำนวนร้อยล้านโด๊ส สิ่งหนึ่งที่ไม่อยากให้เกิดขึ้น แต่คงไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ คือ ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการฉีดวัคซีน (Adverse Events Following Immunization – AEFI) AEFI อาจเกิดจากวัคซีนโดยตรงหรือจากสาเหตุอื่นที่ไม่เกี่ยวกับวัคซีนก็ได้           ในหนังสือชื่อ Immunization Stress-Related Responses ซึ่งจัดทำในปี 2019 โดยองค์การอนามัยโลก ได้ให้คำนิยามของ Immunization Stress-Related Responses (ISRR) ว่า คือ อาการและอาการแสดงที่เกิดขึ้นในช่วงการได้รับวัคซีน โดยมีความเชื่อมโยงกับความความวิตกกังวลของผู้รับการฉีดวัคซีน และไม่เกี่ยวกับตัววัคซีนเอง,   การบริหารจัดการวัคซีน...
Vaccine
ชนิดของวัคซีนที่ใช้ในการป้องกัน COVID-19 ที่ใช้ในประเทศไทย แต่ละชนิดมีความแตกต่างกันอย่างไร สรุปได้ดังนี้      หลักการสำคัญของการสร้างวัคซีนป้องกัน การติดเชื้อ COVID-19  คือ การฉีดสารชีวเคมีเข้าไปในร่างกายเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ COVID-19 ไว้ล่วงหน้า ต่อมาภายหลัง เมื่อมาเจอเชื้อตัวจริง ร่างกายจะได้จัดการเชื้อได้ก่อนที่จะมีอาการ หรือถึงมีอาการ การเจ็บป่วยก็จะไม่รุนแรงมาก      สารชีวเคมีที่กระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันของ COVID-19 ได้ดี คือส่วนโปรตีนที่ยื่นออกมา  จากผิวของไวรัสซึ่งใช้ในการจับกับเซลล์มนุษย์ เพื่อให้ไวรัสทะลุผ่านเข้าไปทำให้เซลล์ติดเชื้อ โปรตีนส่วนนี้เรียกว่า Spike Protein ดังนั้น วัคซีนทุกชนิดที่มีการผลิตอยู่ในขณะนี้                    จึงมีเป้าหมายให้เกิด Spike Protein ในร่างกายมนุษย์โดยไม่มีการติดเชื้อไวรัสจริง     วัคซีนที่ใช้เทคโนโลยีที่มีมาแต่เดิม คือ การเพาะเลี้ยงไวรัสให้มีจำนวนมากขึ้น แล้วฆ่าหรือทำให้ไวรัสอ่อนแอจนไม่สามารถแพร่พันธุ์เพิ่มในร่างกายมนุษย์ได้อีก ในเมืองไทย วัคซีนกลุ่มนี้ คือ Sinovac      ถัดมา คือ ไม่ใช้ไวรัสในการผลิต แต่ไปฝากการสร้าง Spike Protein ในสิ่งมีชีวิตอื่น เช่น แบคทีเรีย หรือพืช...
Covid-19 ENV
          10 ข้อ ที่ทีม ENV ของโรงพยาบาลควรดำเนินการ เมื่อมีการระบาดของ COVID - 19   สถานการณ์ปัจจุบัน..มีการแพร่ระบาดของ Covid-19 ไปเกือบทุกจังหวัด..ทีม ENV ของโรงพยาบาลทุกแห่งต้องเพิ่มสิ่งที่ต้องดำเนินการ คือ ทำความสะอาดจุดสัมผัสต่างๆ เช่น มือจับประตู ราวบันได ปุ่มกดลิฟต์ ห้องน้ำให้ถี่มากขึ้นอาจจะทำทุก 1 ชั่วโมง เพิ่มรอบการบำรุงรักษาระบบการระบายอากาศในทุกพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพ ทวนสอบเครื่องมือวัดอุณหภูมิที่จุดคัดกรองเพื่อให้มีความเที่ยงตรง ตามประเภทของเครื่องมือ  เพิ่มรอบการบำรุงรักษาห้องความดันลบ (Negative) ทุกครั้งที่คนไข้ออกจากห้อง กำกับติดตามตรวจสอบการจัดการขยะติดเชื้อตามมาตรฐานที่กำหนด ตรวจสอบเตรียมความพร้อม การสำรองระบบสาธารณูปโภค(ไฟฟ้า น้ำประปา ออกซิเจน)ให้มีความเพียงพอ ความพร้อมใช้ กำกับติดตามตรวจสอบระบบบำบัดน้ำเสียประจำวันอย่างต่อเนื่อง ตรวจสอบระบบป้องกันระงับอัคคีภัยให้มีความพร้อมตลอดเวลา เนื่องจากมีอุปกรณ์ที่นำมาใช้อย่างต่อเนื่อง และมีการใช้เจลแอลกอฮอล์ น้ำยาฆ่าเชื้อที่อาจมีสารไวไฟผสมอยู่ เตรียมแผนรองรับหากจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยติดเชื้อ Covid-19 ตรวจสอบการเตรียมความพร้อมรถพยาบาล การทำความสะอาดรถพยาบาลตามมาตรฐาน และอุปกรณ์ในการป้องกันกรณีต้องมีการรับ หรือส่งต่อผู้ป่วย เจ้าหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติงานต้องป้องกันตัวเองตามมาตรฐาน และปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันตนเองอย่างเคร่งครัด #บทความโดย...อาจารย์โกเมธ นาควรรณกิจ Designed by Freepik
COVID-19 กับมาตรฐาน HA
🔴อ่านเพิ่มเติม Click Download File ...
Mini Concert นักรบเสื้อขาว เธอผู้ไม่ยอมแพ้video
https://www.youtube.com/watch?v=Qqb-TVaD-ZQ&list=PLo98xegI6u4pZN3XEX3kmKo1MODsIV6Fn&index=26&ab_channel=HAThailand
- Advertisement -

MOST POPULAR

HOT NEWS