วันอังคาร, พฤษภาคม 20, 2025
มาตรฐาน HA กับไวรัส COVID -19video
https://www.youtube.com/watch?v=JyktEzTynv4&list=PLo98xegI6u4pZN3XEX3kmKo1MODsIV6Fn&index=5&ab_channel=HAThailand
TQA HA PMQA
TQA HA PMQA ความเหมือนและความต่าง ?       เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award – TQA) เป็นเกณฑ์การประเมินที่องค์กรชั้นนำของประเทศ  นำมาใช้เพื่อการปรับปรุงวิธีปฏิบัติอันนำไปสู่ผลลัพธ์ที่เป็นเลิศ เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน   และเพิ่มขีดความสามารถขององค์กรในการแข่งขันในระดับนานาชาติ TQA    เป็นต้นแบบของเกณฑ์การประเมินองค์กรที่มีลักษณะจำเพาะ  เช่น โรงพยาบาล (Hospital Accreditation : HA),  รัฐวิสาหกิจ    (State Enterprise Performance Appraisal : SEPA), การบริหารจัดการภาครัฐ (Public Sector Management Quality Award : PMQA) การศึกษา   (Education Criteria for Performance Excellence : EdPEx) กรอบการประเมินของ TQA แบ่งเป็น 7 หมวด คือ 1) การนำองค์กร 2) กลยุทธ์ 3)...
  การประยุกต์ใช้แนวคิด 3C PDSA ในการจัดทำแผนพัฒนาตามข้อเสนอแนะจากการเยี่ยมสำรวจ     วันนี้เคล็ดลับคุณภาพขอเสนอแนวทางการจัดทำแผนการพัฒนาคุณภาพ หัวข้อการประยุกต์ใช้แนวคิด 3C PDSA ในการจัดทำแผนพัฒนาตามข้อเสนอแนะจากการเยี่ยมสำรวจเมื่อโรงพยาบาลผ่านการรับรอง  แล้วทำอย่างไรจึงจะเกิดกระบวนการพัฒนาคุณภาพ ที่ต่อเนื่องและตรงประเด็น กลยุทธ์หนึ่งในการพัฒนาต่อเนื่องหลังจากการรับรอง  HA แล้ว คือ การวางแผนการพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาล แต่ท่านผ่านมามักประสบปัญหาหลายประการ เช่นการเปลี่ยนทีมผู้ประสานงาน การไม่เข้าใจข้อเสนอแนะ  ทำให้โรงพยาบาลไม่สามารถวางแผนและนำสู่การปฏิบัติจริงได้ และเกิดผลกระทบต่อมาจนถึงการต่ออายุการรับรอง     วันนี้เคล็ดลับคุณภาพ ขอเสนอการใช้แนวคิดคุณภาพขั้นพื้นฐานที่คุ้นเคย มาใช้ในการวาแผนการพัฒนาจากข้อเสนอแนะ ดังนี้ ถอดรหัสมาตรฐานที่ตรงตามข้อเสนอแนะ เป้าหมาย คุณค่า ใครทำ ใครได้ ต้องทำอะไร เพราะผู้เยี่ยมให้ข้อเสนอแนะตามหมวดมาตรฐาน ขอให้เปิดดูเป้าหมายของมาตรฐานและกระบวนการที่เกี่ยวข้อง ว่ามีอะไรบ้าง ทำอะไร เชื่อมโยงกับใครบ้าง เพื่อทำให้ทิศทางการวางแผนของ รพ.ชัดเจนมากขึ้น และเห็นคุณค่าของสิ่งที่กำลังจะทำ รับรู้สถานการณ์ บริบท ปัญหาที่เกี่ยงข้อง รวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง จากทีม /SAR ของรพ. รวมทั้งสถานการณ์ที่ผู้เยี่ยมพบ ณ ขณะนั้นเป็นอย่างไร ทีมควรจะแลกเปลี่ยนเพื่อให้เห็นสถานการณ์ที่ชัดขึ้น วิเคราะห์ เมื่อมีการรวบรวมข้อมูล และสถานการณ์แล้วควรนำมาร่วมกันวิเคราะห์ ปัญหา และจัดลำดับความสำคัญของแต่ละประเด็น ตรงนี้มีเครื่องมือคุณภาพหลากหลายทีมสามารถนำมาใช้ในการจัดลำดับความสำคัญได้ เช่น...
การประยุกต์ใช้มาตรฐาน HA และ DHSA
การประยุกต์ใช้มาตรฐาน HA และ DHSA ในสถานการณ์ Covid-19            ระบบสุขภาพระดับอำเภอ  คือ “ระบบการทำงานด้านสุขภาพระดับอำเภอร่วมกันของทุกภาคส่วนด้วยการบูรณาการทรัพยากรภายใต้บริบทของพื้นที่ ผ่านกระบวนการชื่นชม และการจัดการความรู้ ส่งเสริมให้ประชาชนและชุมชนพึ่งตนเองได้ และไม่ทอดทิ้งกัน โดยมีเป้าหมายร่วมเพื่อสุขภาวะของประชาชน” ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนงานบริการสุขภาพและการสร้างสุขภาวะในระดับพื้นที่ และเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยบูรณาการแผนงานด้านสุขภาพที่มีการดำเนินงานในพื้นที่ ทั้งแผนงานที่มาจากส่วนกลางและที่เกิดจากการริเริ่มของพื้นที่เอง ให้มีการขับเคลื่อนร่วมกันไปอย่างมีเอกภาพ โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา             สรพ. มีบทบาทส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพและให้การรับรองคุณภาพสถานพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนในประเทศไทย ตามมาตรฐาน HA (Healthcare Accreditation) และนอกจากนี้ยังมีการรับรองในประเภทอื่นๆ เช่นการรับรองเครือข่ายระบบบริการสุขภาพระดับอำเภอ (DHSA) เป็นโรงพยาบาลที่มีความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนโดยเกิดจากความร่วมมือร่วมใจของภาคส่วนต่าง ๆ ในชุมชน และพัฒนาคุณภาพของประชาชนด้วย รูปธรรมของการนำมาตรฐานมาใช้ เช่นการร่วมกันแก้ไขสถานการณ์การแพร่ระบาด โคโรน่าไวรัส (COVID -19) วันนี้ สรพ.ขอนำแนวคิดของท่าน ผอ.รพ.เทพา จ.สงขลา นพ.เดชา แซ่หลี ได้กล่าวถึงประสบการณ์และบทเรียนการทำงานในสถานการณ์ COVID-19 ที่ผ่านมา ดังนี้            “โรงพยาบาลเทพาได้นำแนวคิดของ การทำงานร่วมกับชุมชน เครือข่ายบริการสุขภาพ ซึ่งเป็นแนวทางตามมาตรฐาน HA และ DHSA ไปปรับระบบบริการของโรงพยาบาลโดยใช้โครงสร้าง EOC ที่สามารถเคลื่อนงานคุณภาพและงานระดับอำเภอได้ เช่นการจัดตั้ง Local...
Speak Up 2P Safety Day
วันที่ 17 กันยายน ในปีก่อน WHO และทั่วโลกให้ความสำคัญกับเรื่อง Patient Safety เมื่อมีสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ได้รู้ว่าคนไข้จะปลอดภัยได้อย่างไร ถ้าบุคลากรไม่ปลอดภัย ในปี 2020 บุคลากรทั่วโลกเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ความรุนแรง การบาดเจ็บจากการทำงาน สังคม ความท้อแท้ การฟ้องร้องต่างๆ เกิดขึ้นดังนั้นปีนี้ 2020 WHO จึงกำหนด theme ในประเด็น Health Worker Safety: A Priority for Patient Safety ประเทศไทยขับเคลื่อน Personnel Safety มาตั้งแต่ปี 2560 ตั้งแต่การประเมินตนเองพบสิ่งที่เป็นพัฒนาและได้ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จนได้ประกาศ Thailand Patient and Personnel Safety Goals เป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับสถานพยาบาล เกิดแนวทางการเรียนรู้จาก Incident Report ต่างๆ ที่เรียกว่า NRLS ประกาศเป็นนโยบายเรื่อง 2P Safety ในปี 2561 ในปี 2563 ประกาศนโยบายความปลอดภัยของบุคลากร และกำหนดให้มีแนวทางมาตรฐานสำคัญจำเป็นเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับการรับรองคุณภาพตามมาตรฐาน HAด้วยแนวคิดที่ว่า...
  วันนี้เคล็ดลับงานคุณภาพ ชวนมาเรียนรู้ เรื่อง "Home Care & Self Care" กันครับ โรคภัยไข้เจ็บในปัจจุบันได้เปลี่ยนลักษณะไปเรื่อยๆ โดยการเจ็บป่วยแบบเฉียบพลัน (เช่น โรคติดเชื้อชนิดต่างๆ) ลดปริมาณลง แต่โรคเรื้อรังกลับเป็นปัญหาที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น ซึ่งการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังเป็นกระบวนการดูแลรักษาที่ไม่สิ้นสุดลงอย่างรวดเร็ว แต่มีความจำเป็นที่ผู้ป่วยจะต้องได้รับการดูแลที่บ้าน (home care) หรือต้องดูแลเอาใจใส่ตนเอง (self care) มากกว่าการเจ็บป่วยแบบเฉียบพลัน จากการที่ประเทศไทยได้ประกาศพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 เพื่อใช้เป็นกรอบในการพัฒนาบริการสุขภาพปฐมภูมิ ประกอบกับความก้าวหน้าอย่างมากของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้การบูรณาการและเชื่อมโยงระบบบริการสุขภาพทั้งหมดอย่างไร้รอยต่อ (seamless care) โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง (people-centered care) มีโอกาสที่จะก้าวหน้าไปอย่างมาก ดังนั้น home care และ self care จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาให้สอดรับการแนวคิด seamless care นั่นคือ home care และ self care ต้องเป็นองค์ประกอบหนึ่งของสายธารแห่งคุณค่า (value chain) ที่ครอบคลุมทั้ง hospital services และ primary care ตัวอย่างของ home care...
Performance Measurement
วันนี้เคล็ดลับคุณภาพ ชวนมาเรียนรู้ Performance Measurement  วัดอย่างไรให้ได้ผล ท่าน นพ.อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล ได้บรรยายสรุปเรื่องการวัดไว้ โดยย่อ..ดังนี้ การวัดผลอยู่ในมาตรฐาน HA 1-4.1 การวัด การวิเคราะห์ และใช้ข้อมูลเพื่อปรับปรุงผลงานขององค์กร และการประเมินตนเองใน Part IV ซึ่งควรกำหนดว่าจะวัดอะไร ด้วยอะไร และนำผลที่ได้ไปใช้ประโยชน์ อย่างไร การวัดเพื่อการพัฒนาจึงให้ความสำคัญที่การนำไปใช้ประโยชน์ เป็นการประเมินการทำงานประจำ การเปรียบเทียบกับผู้อื่น ทำให้เรามั่นใจว่าสิ่งที่ทำทำได้ดีแล้ว 📍📍ผลการดำเนินการ (Performance) หมายถึงผลสำเร็จของงานที่ได้รับมอบหมายซึ่งวัดเทียบกับวัตถุประสงค์หรือมาตรฐานที่กำหนดไว้แล้ว (เช่น ความถูกต้อง ความสมบูรณ์ ค่าใช้จ่าย ตันทุน) 📌📌ทำไมต้องวัด..มีความสำคัญอย่างไร การพัฒนาคุณภาพจำเป็นต้องมีการวัด ✅วัดเพื่อการควบคุมกระบวนการให้เป็นไปตามที่ออกแบบไว้ ✅วัดเพื่อรับทราบการบรรลุเป้าหมาย ✅วัดเพื่อปรับแผนหากไม่บรรลุเป้าหมาย ✅วัดเพื่อกำหนดเป้าหมายในรอบต่อไปให้ท้าทายยิ่งขึ้น ‼️‼️ แล้วจะวัดอย่างไร?? 1) ผสมผสานตัววัดจากหลายแหล่งเข้าในระบบเดียวกันและจัดกลุ่มใหม่ 2) ใช้แนวคิดการวัดเพื่อการพัฒนา ลดโทนของการวัดเพื่อ judgment/accountability เมื่อผลงานไม่ดี เรามีแผนจะทำอย่างไร และเราจะทำอย่างไรให้ดีขึ้น 3) ใช้แนวคิด 3P เพื่อทำให้การวัดผลชัดเจนมากขึ้น ทั้งระดับองค์กร ระบบงาน และหน่วยงาน โดยเฉพาะผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วย เป็น Priority น่าจะทำให้ได้ดี ใช้ 3P ในทุกระดับทำให้เกิดการทำทุกพื้นที่ และสอดคล้องกัน ทั้งองค์กร ระบบงานและหน่วยงาน 4)ทำให้เป้าหมายสมบูรณ์ขึ้น (โดยพิจารณา Context, Criteria,...
New services in Primary Care
เคล็ดลับงานคุณภาพ วันนี้ชวนมาเรียนรู้เรื่อง New services in Primary Care กันนะครับ ตามที่ประเทศไทยได้มีการประกาศพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 เพื่อใช้เป็นกรอบในการพัฒนาบริการสุขภาพปฐมภูมิที่เป็นธรรม มีคุณภาพ และมีมาตรฐาน ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นในรูปแบบการจัดบริการสุขภาพของโรงพยาบาล ซึ่งจะมีความเชื่อมโยงและสัมพันธ์กับเครือข่ายบริการมากยิ่งขึ้น อันจะทำให้บริการสุขภาพปฐมภูมิมีการปรับเปลี่ยนและพัฒนาไปอย่างมากในอนาคตอันใกล้ ตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น ได้แก่ 1. รูปแบบบริการเดิมจะมีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น จากการนำแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลประชาชนมากยิ่งขึ้น - การสร้างเสริมสุขภาพ และควบคุมป้องกันโรค - การให้บริการทางการแพทย์ที่ไม่ซับซ้อน - บทบาทของ Gate keeper 2. New services ที่กำลังจะเกิดขึ้น บริการเหล่านี้มีลักษณะสำคัญ คือ จะมีการออกแบบกระบวนการให้ต่อเนื่องและเชื่อมโยงกับโรงพยาบาลแม่ข่าย · การตรวจเลือดและการเก็บสิ่งส่งตรวจ เพื่อนำเลือดและสิ่งส่งตรวจไปตรวจที่โรงพยาบาล และการถ่ายเอกซเรย์  (ถ้าทำได้) เพื่อส่งข้อมูลไปโรงพยาบาล · การเป็นหน่วยให้การรักษาแบบ Tele medicine ร่วมกับโรงพยาบาล · การเป็นจุดรับยาที่ส่งมาจากโรงพยาบาล ในกระบวนงาน Drug delivery สำหรับผู้ป่วยที่ไปตรวจที่โรงพยาบาลเรียบร้อยแล้ว · การเป็นจุดเชื่อมต่อในการทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง อาจเป็นในรูปแบบ Intermediate care center หรือ rehabilitation center หรือการเป็น node ของ home care ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ · การเป็น...
New Services in Hospitals
เคล็ดลับงานคุณภาพ วันนี้ชวนมาเรียนรู้ New Services in Hospitals กันครับ ภายใต้การเปลี่ยนแปลงแบบพลิกโฉม (Disruptive change) ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ร่วมกับแรงกดดันจากการระบาดของ COVID-19 ทำให้บริการสุขภาพของโรงพยาบาลต้องมีการปรับโฉมครั้งใหญ่ เพื่อรองรับคลื่นยักษ์ของการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะถาโถมเข้าใส่ในไม่ช้า ตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแล้วและที่กำลังจะเกิดขึ้นในเร็วๆนี้ ได้แก่ 1. การปรับระบบบริการผู้ป่วยนอก เพื่อลดความแออัดและลดโอกาสแพร่กระจายของเชื้อโรค - การจัดตั้ง ARI Clinic การปรับโครงสร้างทางกายภาพ และการจัดการเรื่องการป้องกันการติดเชื้อ - การจัดระบบนัดหมายและคิวการตรวจด้วย Application และ device ใหม่ๆ - การนำ Artificial Intelligence (AI) เข้ามาช่วยในการตรวจวินิจฉัยโรค - การนำเครื่องจัดยาอัตโนมัติเข้ามาช่วยลดระยะเวลารอคอยยาและลดความผิดพลาดในการจัดยา - การสร้าง Network เพื่อกระจายภาระงานออกจากโรงพยาบาล ไปยังหน่วยพันธมิตร ได้แก่ · การเจาะเลือด, เก็บ Specimen หรือทำรังสีวินิจฉัย ภายนอกที่ตั้งโรงพยาบาล แล้วส่งเลือด หรือ Specimen หรือข้อมูล มาจัดการต่อที่โรงพยาบาล · การตรวจรักษาผู้ป่วย ด้วย Telemedicine · การให้ผู้ป่วยที่มาตรวจที่โรงพยาบาลไปรับยาที่หน่วยบริการปฐมภูมิ ร้านยาใกล้บ้าน หรือส่งให้ถึงที่บ้าน โดยสร้างระบบ Logistic มารองรับการส่งยา - การจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลด้วย E-Payment -...
New Normal in Healthcare จากการระบาดของ COVID-19 ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้วิถีการดำรงชีวิตและรูปแบบของงงานบริการจำนวนมากต้องมีการปรับเปลี่ยนเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค ซึ่งการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างไม่น่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงเพียงชั่วคราว แต่น่าจะกลายเป็นวิถีปฏิบัติปกติในอนาคต (New normal)บริการสุขภาพก็จะเกิด new normal ขึ้นเช่นเดียวกัน โดยกรมการแพทย์ได้ร่วมกับสภาวิชาชีพและตัวแทนจากโรงพยาบาล จัดทำแนวทางปฏิบัติเพื่อรองรับสถานการณ์ COVID-19 ในเรื่องการดูแลรักษาผู้ป่วยใน, ผู้ป่วยฉุกเฉิน, บริการฟื้นฟู, ผู้ป่วยวิกฤต, การรักษาทางทันตกรรม การทำหัตถการและการผ่าตัด ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดได้จาก Website : COVID19.dms.go.th หลักคิดสำคัญที่ใช้ในการวางแนวทางปฏิบัติเหล่านี้ สามารถสรุปได้ดังนี้ 1.หลักทั่วไปสำหรับทุกงานบริการสุขภาพ 1.1 ลดความแออัด เพื่อสร้างระยะห่างระหว่างบุคคล (Physical distancing) โดยปรับปรุงกระบวนการนัดผู้ป่วย, มีการใช้ telemedicine, การจำกัดจำนวนญาติที่จะมาเยี่ยม 1.2 มีการไหลเวียนของอากาศที่เพียงพอ และจัดทิศทางการไหลของอากาศไปในทิศทางเดียว จากพื้นที่สะอาดไปพื้นที่ที่อาจมีการปนเปื้อนเชื้อโรค 1.3 สร้างวัฒนธรรมการทำงานแบบ Universal precautions เช่น การใช้ PPE ที่เหมาะสม, การล้างมือ, การทำความสะอาดอาคารสถานที่อย่างสม่ำเสมอ, การวางระบบ Contact tracing 1.4 ลดโอกาสสร้างละอองฝอย (Aerosol) และลดโอกาสสัมผัสเชื้อในระหว่างการดูแลผู้ป่วย เช่น ไม่ใช้อุปกรณ์ Nebulizer...
- Advertisement -

MOST POPULAR

HOT NEWS