Learning from Mistake & Root Cause Analysis and Action
“ในการค้นหา Root Cause ต้องไม่ระบุไปที่ตัวบุคคล แต่ให้มองเชิงระบบโดยไม่ไปกระทบตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่ง การป้องกันสาเหตุที่เกิดจาก Human Error ทำได้โดยการออกแบบกระบวนการที่ช่วยลดความผิดพลาดจากปัจจัยด้านมนุษย์ หรือใช้วิธีการโค้ชเพื่อป้องกันการฝ่าฝืนหรือละเมิด” นพ.อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล
Learning from Mistake & Root Cause Analysis and Action (RCA2) เป็นการเรียนรู้เทคนิคในการทบทวนอุบัติการณ์ และเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ด้วยการทำ Root Cause Analysis (RCA) ป้องกันเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์เกิดซ้ำ ด้วยเทคนิคการทำ RCA 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้น 0 การมอบหมายทีมวิเคราะห์ RCA (RCA facilitator) ขั้น 1 เรียงร้อยเรื่องราว (map story and timeline) ขั้น 2 หาจุดเปลี่ยน (unsafe...
R2R Learn Unlearn & Relearn ขยับเพื่ออนาคต ลดวิกฤติองค์กร
“ความเป็นไปได้ใหม่ๆ เริ่มจากการทำอะไรที่ไม่เหมือนเดิม” (ธนาคารกสิกรไทยจำกัดมหาชน)
อ.นพ.อัครินทร์ นิมมานนิตย์ ...
ทีมหมอจะเปลี่ยน สุข (ภาพ) ชุมชนสร้างได้ผ่านกลไก R2R
“เปลี่ยนจากทางตันส่วนบุคคล เป็นทางออกโดยเครือข่ายชุมชน” (นพ.สิริชัย นามทรรศนีย์)
ตัวอย่างของ R2R ที่น่าสนใจ ของโรงพยาบาลชุมชน ผ่านการเล่าเรื่องที่ทำให้เห็นวิธีการนำ R2R...
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) หรือ สรพ. ร่วมมือกับ Deutsche Gesellschaft für Internationale Zusammenarbeit (GIZ) ซึ่งปฏิบัติงานในนามของกระทรวงเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (BMZ) และหน่วยงานภาคเอกชน ได้แก่ บริษัทบี. บราวน์ เป็นซึ่งเป็นความร่วมมือในลักษณะ Public-Private-Particpation (PPP) จัดทำโครงการ “Improving Occupational Safety and Health of Healthcare Workers in Public Hospitals in Thailand on Senior Hospital Management Training”
โดยมีเป้าหมายร่วมกันในพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจและให้ความสำคัญกับเรื่อง Personnel Safety ซึ่งสอดคล้องกับ นโยบาย 2P Safety ของประเทศไทย มีรพ.ที่เข้าร่วมทั้งสิ้น 17 แห่ง เป็น โรงพยาบาลในสังกัดมหาวิทยาลัย 6 แห่ง และโรงพยาบาลศูนย์หรือโรงพยาบาลทั่วไป อีก 11 แห่ง ที่ต้องการพัฒนาเรื่องสำคัญเกี่ยวกับ Personnel...
Smart Hospital by Lean
Smart Hospital คือ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีพัฒนากระบวนการจัดบริการในโรงพยาบาล สร้างความแม่นยำ เพิ่มความคล่องตัว ลดขั้นตอนและอำนวยความสะดวกทั้งต่อผู้ให้บริการและผู้รับบริการ สามารถนำข้อมูลผู้ป่วยมาใช้ได้ทันเวลา กระทรวงสาธารณสุขกำหนดความสำเร็จ 3 ระดับ คือ ระดับ 1 โรงพยาบาลมีการใช้ Smart Tool ช่วยบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพบริการ เช่น ระบบนัดหมายแบบออนไลน์ ระดับ 2 โรงพยาบาลต้องมี Smart Service เช่น ใบสั่งยาในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ระดับ 3 ผ่านเกณฑ์ระดับ 1 และ 2 และแสดง Success Story จาก Smart Outcome อย่างน้อย 1 เรื่อง
Lean เป็น holistic & sustainable approach แนวคิด คือการเปลี่ยนจาก ความ สูญเปล่า (waste) ไปสู่ คุณค่า (value) ในมุมมองของผู้รับผลงาน...
สร้างคน สร้างงาน สร้างคุณภาพชีวิต
“ไม่ได้ทำเพื่อตัวเอง ภาคภูมิใจ ที่ทำเพื่อประเทศไทย” (รอหีม หาญทะเล)
“สร้างศรัทธา สร้างการมีส่วนร่วม และเป็นเจ้าของร่วมกัน” (วุฒิพงษ์ สุภัควนิช)
“อยู่ที่ไหนก็ทำแต่สิ่งที่ดีๆ ใช้ศักยภาพของตนเอง ทำงานกับผู้อื่นด้วยหัวใจ และสามารถสร้างสังคมที่อบอุ่น สังคมดีได้ด้วยมือของทุกคน” (สิริดนย์ น้าวิไลเจริญ)
การสร้างคน สร้างงาน สร้างคุณภาพชีวิต เป็นสิ่งที่ทุกคนเชื่อมโยง ร่วมมือกันจากทุกคนในพื้นที่จึงจะประสบผลสำเร็จ ไม่หาผลประโยชน์ให้ตัวเอง แต่ทำด้วยใจรัก ทำเพราะอยากให้สังคมดีขึ้นและมีความสุข
รอหีม หาญทะเล ...
โลกเปลี่ยนแปลงเมื่อเราแบ่งปัน
โอกาสเป็นเรื่องสำคัญ และโอกาสใดก็ไม่ยิ่งใหญ่เท่าโอกาสที่ได้ทำ โอกาสที่ได้ต่อสู้...
ในการทำงานประจำวัน หลายครั้งที่เรารู้สึกเหน็ดเหนื่อยจากการทำงาน ทำให้เกิดความท้อถอยและเริ่มไม่เห็นคุณค่าของการสร้างประโยชน์เพื่อตนเองผู้อื่น ในเรื่องราวที่จะได้บรรยายต่อจากนี้ จะเป็นตัวอย่างของวิศวกรท่านหนึ่งที่ผันตัวเองมาทำธุรกิจจนประสบความสำเร็จ แต่ระหว่างทางกว่าที่จะประสบความสำเร็จได้ในแต่ละก้าวนั้นนั้น ได้ผ่านเรื่องราวทั้งร้ายดีมากมาย เรื่องราวของคุณธนบดี พรหมสุข หรือ คุณวี จะเป็นสิ่งที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้ทุกท่านพยายามที่จะสร้างประโยชน์ให้กับผู้อื่น
คุณวีเกิดในครอบครัวยากจน มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดยะลา มีสมาชิกครอบครัว 5 คน มีลูก 3 คน คุณวีเป็นลูกชายคนเล็ก ครอบครัวไม่มีบ้านอยู่ ต้องอาศัยข้างถนนเป็นที่พักพิง พ่อติดสุรา แม่สติไม่สมประกอบ ต้องทำงานหนักแลกข้าวตั้งแต่เด็ก จนเมื่ออายุประมาณ 11 ปี แม่ย้ายและพาลูกๆ ไปอยู่ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา วันหนึ่งแม่ประสบอุบัติเหตุ ต้องพักรักษาที่โรงพยาบาลซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง สุดท้ายคุณวีต้องพาแม่หนีออกจากโรงพยาบาลเพราะไม่มีเงินจ่ายค่ารักษาไปอาศัยอยู่ในกระท่อมเล็กๆ กลางสวนยางพารา จากเหตุการณ์ครั้งนั้นคุณวีเกิดความคิดขึ้นมาว่าอยากจะหนีจากความยากจนนี้ อยากจะทำให้ครอบครัวมีอยู่มีกินในสักวันหนึ่ง ...เราตายไม่ได้ ต้องรอดให้ได้ ต้องสู้เท่านั้น...
เด็กที่เริ่มเข้าวัยหนุ่มอายุ 11 ปีที่มีเพียงแรงกาย สิ่งที่ทำได้ก็คือการใช้แรงงานแลกเงิน ได้ค่าแรงเท่าไหร่ก็นำไปซื้อยาและอาหารกลับมาเพื่อดูแลแม่ และคุณวียังไม่ทิ้งการเรียน เพราะพ่อกับแม่เคยบ่มสอนไว้เสมอว่า “ความรู้เท่านั้น ที่จะทำให้เราให้เรามีที่ชีวิตที่ดีได้” หลายคนอาจเลือกเรียนเพื่อที่จะได้เป็นในสิ่งที่ตนเองชอบ แต่คุณวีเลือกเรียนด้วยเหตุผลที่ต่างออกไปคือ เรียนอะไรก็ได้ที่ได้เงินมากพอ จะได้นำเงินกลับมาดูแลรักษาแม่และพ่อที่กำลังป่วย ขณะนั้นคุณวีกำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนขยายโอกาสที่ห่างไกลในอำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ซึ่งเมื่อคิดขึ้นมาก็รู้ได้ว่าจะต้องไปอยู่ในที่ที่ดีขึ้น เพื่อเปิดช่องทางโอกาสให้กว้างกว่าเดิม จึงตัดสินใจย้ายโรงเรียนไปอยู่ในตัวอำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี...
เคล็ดลับคุณภาพวันนี้ชวนมาเรียนรู้ เรื่อง HA กับ TQA กันครับ
ตั้งแต่ปี 2540 แนวคิดและเกณฑ์คุณภาพที่มีอิทธิพลอย่างสูงต่อการปรับปรุงและพัฒนามาตรฐานด้านคุณภาพของหน่วยงานต่างๆ ในประเทศไทย คือ Thailand Quality Award (TQA) หรือในชื่อภาษาไทยว่า เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ เกณฑ์นี้มีพื้นฐานทางด้านเทคนิคและกระบวนการตัดสินรางวัลเช่นเดียวกับรางวัลคุณภาพแห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา หรือ The Malcolm Baldrige National Quality Award (MBNQA) เกณฑ์ TQA ได้ขยายมุมมองด้านคุณภาพที่เดิมเพ่งอยู่ที่กระบวนการที่เป็นมาตรฐาน ออกไปครอบคลุมทั้งส่วนที่เป็นภาพรวมของการบริหารองค์กรและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น หรือก็คือการมององค์กรเหมือนกับระบบๆ หนึ่ง ที่มีสภาพแวดล้อมรอบระบบ มี input, process, output และ information feedback loop ที่ช่วยให้ระบบดำรงสถานะอยู่ได้อย่างเสถียร
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) : สรพ. ได้นำเกณฑ์ TQA ทั้ง 7 หมวด มาใช้เป็นโครงของกรอบมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปัจจุบัน แต่ได้มีการประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับบริบทของโรงพยาบาล โดยแตกรายละเอียดของหมวดการปฏิบัติการออกไปเป็นระบบงานสำคัญของโรงพยาบาล และกระบวนการดูแลผู้ป่วย ตลอดจนแยกผลลัพธ์ออกไปเป็นอีกตอนหนึ่ง
นอกจากนี้ ยังให้น้ำหนักกับการประเมินในเรื่องระบบงานสำคัญของโรงพยาบาล และกระบวนการดูแลผู้ป่วย มากกว่าเกณฑ์การปฏิบัติการของ...
Highlight ให้ Like: Patient safety Goals
พญ.ปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ: ประเด็นปัญหาความปลอดภัยของผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นใครคิด เราคิด หรือคนอื่นๆ ในโลกคิด ก็เหมือนกันเพราะเราต้องดูแลคนไข้เหมือนกัน แล้วแต่ว่าใครจะคิดว่ามันเป็นปัญหา ชูมาเป็นประเด็นและขับเคลื่อนเพื่อหาทางแก้ไข
นพ.พรเทพ เปรมโยธิน: safe surgery and invasive surgery ซึ่งหมายถึงการทำหัตถการที่มีการใส่อุปกรณ์ เครื่องมือผ่านทางผิวหนังและช่องโพรงต่างๆของร่างกาย ซึ่ง Highlight คือ จะไม่ใช่เฉพาะทีมศัลยกรรมเท่านั้นที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้อีกต่อไป แต่จะมีความเกี่ยวข้องกับสาขาอื่นๆ และทุกคนต้องให้ความสำคัญ
รศ.นพ.กำธร มาลาธรรม: ถ้าหากการติดเชื้อดื้อยาทำให้เรามีค่าใช้จ่ายมากขึ้น หากเราลดการติดเชื้อดื้อยาเราก็จะลดรายจ่าย ซึ่งการลดค่าใช้จ่ายไม่สามาถมองได้ชัดเจน ในระดับโรงพยาบาล เราต้องมองว่าการที่เราลดความสูญเสีย ลดจำนวนผู้ป่วย เป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิต คือผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ
วัตถุประสงค์ 1. เรียนรู้เข้าใจประเด็น National Patient Safety Goals 2. จัดลำดับความสำคัญ Patient Safety Goals เพื่อนำไปขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบในโรงพยาบาล 3. รู้จัก เห็นความสำคัญ เกิดแรงบันดาลใจ ในการขับเคลื่อนประเด็น Patient Safety Goals...
Servant Leadership: Leading by serving
“ชีวิตก็คือการเดินทาง และการเดินทางของมนุษย์นั้นมีเหตุปัจจัยหลายประการที่ทำให้ชีวิตมีความหมาย”
ยุค 4.0 ผู้นำต้องมีทักษะในการเป็น “ผู้รับใช้ (servant)” โดยมีความเข้าใจในความต้องการ ความรู้สึก และแรงผลักดันของคนในองค์กร มีการประสานความเชื่อมโยง การนำศักยภาพมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด กลายเป็นองค์กรที่เรียนรู้ตนเอง และพัฒนาตนเองให้สอดคล้องกับวิถีที่พึงปรารถนาและที่มาของตัวตนแห่งองค์กรนั้นๆ ยุค 4.0 เป็นยุคของการบริหารจัดการคนให้ดูแลคน เป็นเรื่องของความเชื่อในความเป็นมนุษย์ และคุณค่าที่มีอยู่ในตัวทุกคน “ผู้นำต้องเปลี่ยนเป็นผู้อำนวย หมายถึง ผู้อำนวยการเรียนรู้หรืออำนวยการในทุกๆเรื่อง เพื่อให้คนทำงานสามารถอยู่ได้ด้วยตัวเอง” ผู้นำต้องคอยส่งเสริมและอำนวยให้เกิดองค์กรจัดการตัวเอง (Self-Organization) ซึ่งเชื่อมโยงไปกับวิถีของคนยุค 4.0 อย่างชัดเจน การเชื่อในคุณค่าของคน (Personal Value) ศรัทธาในคุณค่าที่มีอยู่ในตัวทุกคน และทุกคนสามารถดูแลและจัดการตัวเองได้ ก่อเกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ได้ด้วยตัวเองเช่นเดียวกัน
ดร.นพ.สกล สิงหะ ...