วันเสาร์, พฤษภาคม 10, 2025
     ปัจจุบัน แนวคิดเรื่องคุณภาพทางการพยาบาลได้พัฒนาไปสู่การมีส่วนร่วมไม่เพียงแต่บุคลากรทางการแพทย์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงผู้ป่วย และประชาชนด้วย แนวคิดนี้ให้ความสำคัญกับผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง โดยคำนึงถึงครอบครัว และชุมชนของผู้ป่วยด้วย ให้การพยาบาลอย่างมีคุณภาพ และยั่งยืนโดยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมให้เหลือน้อยที่สุด บทบาทของพยาบาล ในการขับเคลื่อนระบบสุขภาพที่ยั่งยืน เพื่อให้การบริการสุขภาพยั่งยืนและมีคุณค่า (Value Care) แบ่งเป็น 6 ด้านคือ การส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคแบบเจาะจง (Targeted Prevention) โดยใช้ความรู้เรื่องยีนเพื่อป้องกันความเสี่ยงในการเกิดโรค สนับสนุนการวินิจฉัยที่แม่นยำ (Precision Diagnosis) และการรักษาแบบเฉพาะบุคคล (Personalized Treatment Therapy) ซึ่งจะช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น การดูแลสุขภาพที่บ้าน (Home Healthcare) และการใช้ Telemedicine เพื่อลดความจำเป็นในการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้ ให้ชุมชนมีส่วนร่วม โดยพยาบาลมีบทบาทเป็นผู้ให้คำแนะนำ การลดความสูญเสียและจัดการของเสีย (Waste Reduction and Management) โดยการใช้ทรัพยากรทางการแพทย์อย่างเหมาะสม ควบคุมและส่งเสริมการแยกขยะ และเข้าร่วมโครงการ recycle ของโรงพยาบาล การใช้ Digital Health เช่น Electronic Nursing Record...
     การพัฒนาคุณภาพ และความปลอดภัยในระบบบริการสุขภาพเป็นความท้าทายที่เราทุกคนต้องเผชิญในยุคที่ความคาดหวังของผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ทรัพยากรมีจำกัด บทความนี้จะนำเสนอแนวคิดสำคัญจากนิทรรศการ "การสร้างวัฒนธรรมคุณภาพและความปลอดภัยเพื่อความยั่งยืนในอนาคต" ในการประชุมวิชาการ HA National Forum ครั้งที่ 25 ซึ่งมีประเด็นที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ แนวคิด 3P Safety: กรอบความคิดเพื่อการพัฒนาอย่างครอบคลุม หัวใจสำคัญของวัฒนธรรมคุณภาพ และความปลอดภัยคือแนวคิด "3P Safety" ประกอบด้วย: Patient Safety: การป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยจากการรักษา Personnel Safety: การดูแลความปลอดภัยของบุคลากรทางการแพทย์ทุกระดับ People Safety: การคำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับระบบบริการ แนวคิดนี้เป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาสู่การเป็นองค์กรที่มีความน่าเชื่อถือสูง (High Reliability Organization - HRO) ซึ่งมีลักษณะสำคัญดังนี้: การรายงานเหตุการณ์เชิงรุก (Proactive Reporting) การตระหนักรู้ต่อความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง (Risk Awareness) การเรียนรู้จากเหตุการณ์อย่างเป็นระบบ (Systematic Learning) การพัฒนากระบวนการอย่างต่อเนื่อง (Continuous Process Improvement) ขั้นตอนการพัฒนาคุณภาพบริการสุขภาพ: จากพื้นฐานสู่ความเป็นเลิศ การพัฒนาคุณภาพบริการสุขภาพมีหลายระดับ เริ่มจาก: การกำหนดเกณฑ์ขั้นพื้นฐาน (Thresholds): มาตรฐานขั้นต่ำที่จำเป็นต้องมีในทุกสถานพยาบาล การปรับปรุงกระบวนการให้บริการ (Process Improvement): การวิเคราะห์ และปรับปรุงขั้นตอนการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ...
     ในยุคที่สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ระบบสุขภาพทั่วโลกต้องเผชิญกับแรงกดดันที่เพิ่มขึ้น ไม่ใช่แค่การรักษาผู้ป่วย แต่รวมถึงการดูแลสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน "โรงพยาบาลไม่ควรเป็นเพียงสถานที่รักษาโรค แต่ต้องเป็นต้นแบบของความยั่งยืน" ออสเตรเลียถือว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่มีระบบสุขภาพที่ดีที่สุดในโลก เนื่องจากการบูรณาการนโยบายด้าน คุณภาพ มาตรฐาน และความยั่งยืน เข้ากับการดำเนินงานของโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน แล้วโรงพยาบาลในออสเตรเลียเขามีวิธีการอย่างไรในการจัดการความยั่งยืน      ความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อระบบสุขภาพ อุณหภูมิโลกที่เพิ่มขึ้น น้ำท่วม ไฟป่า และภัยธรรมชาติที่เพิ่มขึ้น ทำให้ต้องมีการเตรียมความพร้อมของระบบสุขภาพ องค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) ระบุว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นภัยคุกคามด้านสุขภาพที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน คาดการณ์ว่าระหว่างปี ค.ศ.2030 - 2050 อาจมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 250,000 รายต่อปี จากโรคที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อม เช่น มาลาเรีย ท้องร่วง โรคขาดสารอาหาร และภาวะเครียดจากความร้อน “Humanity is in the hot seat” ตัวอย่างแนวทางการสร้างระบบบริการสุขภาพที่ยั่งยืนของโรงพยาบาลในออสเตรเรีย 1) การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรมบริการสุขภาพเป็นหนึ่งในแหล่งปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์รายใหญ่ หากเปรียบเป็นประเทศ จะเป็นประเทศที่ปล่อย CO2 มากที่สุดเป็นอันดับที่ 5 ของโลก ตัวอย่างแนวทางปฏิบัติที่ดีจากออสเตรเลีย: โรงพยาบาล Royal...
Adoption of ESG in Healthcare ESG ในภาคการดูแลสุขภาพ: แนวทางปฏิบัติสู่ความยั่งยืนสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับ ESG สำหรับบุคลากรทางการแพทย์      ESG หรือ สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental, Social, and Governance) เป็นกรอบการประเมินที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาระบบสุขภาพอย่างยั่งยืน ESG แตกต่างจาก CSR (Corporate Social Responsibility) โดย ESG มุ่งเน้นการวัดผลเชิงปริมาณที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพทางการเงิน ในขณะที่ CSR เน้นที่ผลกระทบในวงกว้าง และความรับผิดชอบต่อสังคม      สำหรับโรงพยาบาล และองค์กรสุขภาพ ESG มีความสำคัญในการจัดการความเสี่ยง เช่น ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อสุขภาพของผู้ป่วย และการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ นอกจากนี้ การดำเนินการตามหลัก ESG ยังเปิดโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสำหรับโครงการสีเขียว และการพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ที่ยั่งยืน องค์ประกอบของ ESG ที่สำคัญต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการแพทย์ มิติสิ่งแวดล้อม (Environmental) การลดคาร์บอนในการให้บริการทางการแพทย์: การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในห้องผ่าตัด หอผู้ป่วย และพื้นที่ให้บริการ การจัดการขยะทางการแพทย์: แนวทางการคัดแยกและกำจัดขยะติดเชื้อและขยะอันตราย การลดการใช้วัสดุสิ้นเปลือง: การพิจารณาทางเลือกที่ยั่งยืนสำหรับอุปกรณ์การแพทย์แบบใช้ครั้งเดียว มิติสังคม (Social) การเข้าถึงบริการสุขภาพอย่างเท่าเทียม:...
     Digital Transformations คงเป็นคำพูดที่หลายๆ สถานพยาบาลได้ยินมาไม่มากก็น้อย สถานพยาบาลหลายแห่งกำลังเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล อีกทั้งสถานพยาบาลหลายแห่งอาจไม่คุ้นเคยกับการเปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นกระแสที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ Digital Transformation: The processes that used to improve work flows, result in increased efficiency, safety and accuracy by using digital technology AS A TOOL. Digital Transformation คืออะไร?      Digital Transformation คือการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงาน โครงสร้างองค์กร และการให้บริการในโรงพยาบาล เป้าหมายหลักของการเปลี่ยนแปลงนี้คือการเพิ่มประสิทธิภาพ ลดข้อผิดพลาด และปรับปรุง พัฒนาประสบการณ์ของผู้ป่วยและบุคลากร การปรับเปลี่ยนนี้ไม่ใช่เพียงแค่การนำเทคโนโลยีมาใช้ แต่ยังรวมถึงการปรับแนวคิดในการทำงาน วัฒนธรรมองค์กร และการบริหารจัดการเพื่อให้เข้ากับยุคดิจิทัลอย่างแท้จริง Digital transformation ประกอบด้วยอะไรบ้าง?      การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลไม่ใช่เพียงการนำเทคโนโลยีมาใช้ แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ครอบคลุมทุกด้านขององค์กร ประกอบด้วย 5 ปัจจัยสำคัญ ดังนี้ Customers (ลูกค้า): ลูกค้าหรือผู้รับบริการ...
“Building Quality and Safety Culture for the Future Sustainability” สร้างวัฒนธรรมคุณภาพ และความปลอดภัย เพื่อความยั่งยืนในอนาคต      ในโลกที่การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และต่อเนื่อง ระบบสุขภาพของประเทศไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายที่มีความซับซ้อน ในมิติที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มขึ้นของประชากรสูงวัย ความซับซ้อนของโรคเรื้อรัง ภัยสุขภาพใหม่ ๆ รวมถึงผลกระทบจากวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อความมั่นคง และความยั่งยืนของระบบบริการสุขภาพ การเตรียมความพร้อม และสร้างระบบสุขภาพที่สามารถปรับตัว ยืดหยุ่น และมีคุณภาพอย่างยั่งยืน จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเริ่มต้นตั้งแต่วันนี้      หัวใจสำคัญที่จะนำไปสู่การสร้างระบบสุขภาพที่ยั่งยืน คือ การสร้างวัฒนธรรมคุณภาพ และความปลอดภัย (Quality and Safety Culture) ที่ไม่เพียงเป็นเพียงกระบวนการ หรือแนวปฏิบัติ แต่ต้องเป็นวิถีชีวิต และค่านิยมร่วมกันของทุกคนในองค์กรสุขภาพ วัฒนธรรมนี้จะช่วยขับเคลื่อนองค์กรสู่ความเป็นเลิศในการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นการทำงานอย่างเป็นระบบ มีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย เปิดรับการเรียนรู้จากข้อผิดพลาด และให้ความสำคัญกับความปลอดภัยทั้งของผู้ป่วย และบุคลากร รวมถึงชุมชน      การประชุมวิชาการประจำปี HA National Forum ครั้งที่ 25 นี้ จึงเป็นเวทีสำคัญในการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์...
ถอดบทเรียนความรู้และทักษะของ Quality Coach ที่พึงประสงค์ จากการถอดบทเรียนในระยะเวลา 10 ปีของที่ปรึกษากระบวนการคุณภาพ (Quality Coach: QC) สามารถสังเคราะห์ Competency ที่สำคัญที่ QC ต้องมีได้ ดังนี้ ความรู้เชิงเทคนิคและวิชาการ (Technical and Knowledge Competency) ได้แก่ - ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐาน: มีความเชี่ยวชาญในมาตรฐานคุณภาพ เช่น มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ Hospital Accreditation (HA), ISO, Six Sigma และการจัดการคุณภาพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง - ความเข้าใจเครื่องมือ/แนวคิดเชิงลึกในกระบวนการพัฒนาคุณภาพ: ต้องรู้จักเครื่องมือและกระบวนการพัฒนาคุณภาพ (เช่น 5ส, CQI, PDSA) - การรู้จักบริบทและวิเคราะห์ปัญหาและหาวิธีแก้ไข: QC ต้องสามารถวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันในโรงพยาบาลและค้นหาแนวทางปรับปรุงที่เหมาะสมตามบริบท การสร้างความไว้วางใจ การสื่อสารและการสร้างความสัมพันธ์ (Communication and Relationship Building Competency) - การสร้างความไว้วางใจและความเข้าใจ: ทักษะในการสร้างความไว้วางใจให้กับบุคลากรในโรงพยาบาล เพื่อให้เกิดการยอมรับและพร้อมปรับเปลี่ยน - การฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening): สามารถฟังปัญหาและข้อกังวลของทีมงานได้อย่างเข้าใจและมีความเห็นอกเห็นใจ (Empathy) - ทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ: สามารถถ่ายทอดข้อมูลและคำแนะนำได้อย่างชัดเจน...
“Growth mindset ในการทำ Rapid Assessment คือ การประเมินอย่างรวดเร็ว เพื่อเก็บผลลัพธ์มาพัฒนา สามารถสรุปผลออกมาได้ในช่วงเวลาสั้นๆ มีเกณฑ์มีเป้าหมายชัดเจนในการเก็บข้อมูลต่อเนื่อง มีตัววัดและใช้ Evidenceในการประเมิน เพื่อการพัฒนาคุณภาพอย่างมีประสิทธิภาพและทันต่อการก้าวกระโดดของเทคโนโลยีและสังคมที่มีความเปลี่ยนแปลง ต้องการความต่อเนื่องสร้างการเรียนรู้ใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา” Assessment เจ้าของโครงการประเมินตนเอง มุ่งที่การปฏิบัติการ (Execution) มีตัวชี้วัดและใช้ Evidence ในการประเมินเอาวิธีนี้มาใช้ในการวิจัย เป็นการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ มีการเก็บข้อมูลต่อเนื่องเพื่อให้คำชี้แนะ (Inform instruction) ใช้วิธีเชิงบวก ปรับให้เข้ากับแต่ละคน มีเป้าหมายเพื่อยกระดับคุณภาพ ผู้ถูกประเมินเป็น ผู้ได้รับประโยชน์ Evaluation การวัดผลลัพธ์เทียบกับเป้าหมาย มุ่งที่ outcome เกณฑ์ตัวชี้วัดเป็นหลักฐาน บุคคลภายนอกเป็น ผู้ประเมินโครงการ มีเป้าหมายเพื่อตัดสินคุณภาพเปรียบเทียบกับมาตรฐาน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกและผู้กำหนดนโยบายเป็นผู้ได้รับประโยชน์ ประเภทของ Evaluation 1. Formative Evaluation ขณะที่โครงการอยู่ในช่วงเริ่มต้น ประเมิน Improving, Enhancing และ Standardizing 2. Summative Evaluation ขณะที่โครงการอยู่ตัวและเข้าที่แล้ว ประเมิน Established, Mature และ Predictable 3. Developmental Evaluation ขณะที่โครงการมีความสำเร็จ ความท้าทาย...
“หลังวิกฤติครั้งนี้ถือเป็นโอกาสที่โรงพยาบาลจะได้ทบทวนระบบให้มั่นคงปลอดภัยยิ่งขึ้นปรับปรุง infrastructure ต่างๆ ให้ทันสมัยเพื่อลดช่องโหว่สร้างความรู้ความระหนักให้กับบุคลากรทุกระดับรวมถึง ทบทวนแผนกู้คืนและแผนดำเนินกิจการให้ครอบคลุม และใช้งานได้จริงรวมทั้งการฝึกซ้อมแผนที่ต้องทำสม่ำเสมอเนื่องจาก Ransomware ไม่ได้เป็นภัยคุกคามที่มีโอกาสเจอได้น้อยมากอีกต่อไป” พล.อ.ต.จเด็ด คูหะก้องกิจ สกมช.: เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ มีหน้าที่ดูแลหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศมีความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เป็นการทำงานร่วมกัน 3 หน่วยงาน ได้แก่ 1. สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส) มีหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน 2. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีหน้าที่ตามกฏหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 3. สำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ แห่งชาติ ทำหน้าที่กี่ยวกับกฏหมายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ปัญหาส่วนใหญ่ที่พบเกี่ยวกับกระทรวงสาธารณสุข - ระบบที่มีจุดอ่อน ช่องโหว่ ที่แฮกเกอร์สามารถเข้าถึงได้ - มีการใช้ระบบที่คล้ายคลึงกัน ทำให้แฮกเกอร์สามารถเข้าถึงข้อมูลได้หลายๆโรงพยาบาล - ข้อมูลในระบบที่ถูกแฮกถูกนำไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้องซึ่งทำให้เกิดความเสียหาย ซึ่งจะเรียกข้อมูลกลับคืนมาไม่ได้ - การเข้าถึงเว็ปไซส์และ Application ที่เป็นสาธารณะที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย - สร้าง website ปลอมเป็นหน่วยงานสำคัญต่างๆ กลไกการบริหารจัดการด้านไซเบอร์ตาม พรบ.ไซเบอร์ 62 ในรูปแบบของ National Cybersecurity Holistic approach ระดับชาติ (National level) เป็นการทำงานร่วมกันในของคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงแห่งชาติ (กมช.) คณะกรรมการกำกับดูแลด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (กกม.) สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) และศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (National CERT)...
“แผนเป็นเครื่องมือเพื่อการเปลี่ยนแปลง เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติและติดตามความสำเร็จ แผนที่ดีต้องเป็นสิ่งที่คนอ่านแล้วเข้าใจ และทำได้เลย...ทำอย่างไรไม่ให้ แพลนแล้วนิ่ง ต้องเริ่มด้วย passion ต้องทำเป็นระบบ กระจายความรับผิดชอบ  ทำจริง และตอบโจทย์ รพ.” นพ.อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล (ผู้ทรงคุณวุฒิ สรพ.) แผนพัฒนาคุณภาพ (Quality Improvement Plan: QI Plan) คือ แผนซึ่งแสดงถึงการใช้กระบวนการพัฒนาที่กำหนดไว้อย่างรอบคอบ (เช่น PDSA) มุ่งเน้นที่กิจกรรมซึ่งตอบสนองความต้องการขององค์กรและการยกระดับสุขภาพของประชากร ความพยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อบรรลุการพัฒนาที่วัดผลได้ในมิติต่างๆ เช่น ประสิทธิภาพหรือประสิทธิผล Quality Improvement Plan in HA Standards กำหนดอยู่ในมาตรฐานตอนที่ II ระบบงานสำคัญของโรงพยาบาล II-1.1 การบริหารงานคุณภาพ (quality management) ก. ระบบบริหารงานคุณภาพ (quality management system) (6) องค์กรนำข้อมูลที่ได้จากการประเมินตเองและการวัดผลการดำเนินการมาใช้ในการทบทวนและชี้นำการพัฒนาคุณภาพ (ดูเพิ่มเติมในเกณฑ์ข้อ I-4.1 ค.) (7) องค์กรจัดทำแผนการพัฒนาคุณภาพเพื่อตอบสนองต่อโอกาสพัฒนาที่ระบุไว้ (i) มีการกำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ ระยะเวลา และผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน (ii) ระบุกิจกรรมเพื่อบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ (iii) ครอบคลุมการพัฒนาของทั้งองค์กร...
- Advertisement -

MOST POPULAR

HOT NEWS