วันเสาร์, พฤษภาคม 17, 2025
Identification Error
การระบุตัวผู้ป่วยผิดพลาดเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ในประเทศไทยก็มีการเกิดเหตุการณ์นี้อยู่เป็นระยะ การระบุตัวผู้ป่วยผิดพลาดรวมถึงการระบุสิ่งส่งตรวจจากตัวผู้ป่วยและชิ้นเนื้อที่ผิดพลาดด้วย ความผิดพลาดนี้นำมาสู่การวินิจฉัย การให้ยา และการให้การรักษาที่ผิดพลาด การป้องกัน identification error ที่อ้างอิงจากหนังสือ patient Safety Goals : SIMPLE  version 2008 และมีการปรับปรุงเพิ่มเติม มีดังนี้ ใช้ตัวบ่งชี้อย่างน้อย 2 ตัว (เช่น ชื่อ-นามสกุล, และวันเกิด) เพื่อยืนยันตัวบุคคลในทุกจุดที่มีการส่งมอบผู้ป่วยให้จุดบริการถัดไปหรือจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล กำหนดให้วิธีการบ่งชี้ผู้ป่วยเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งองค์กร เช่น ใช้ป้ายข้อมือสีขาวซึ่งมีรูปแบบมาตรฐานที่สามารถเขียนข้อมูลเฉพาะลงไปได้ หรือใช้ biometric technology หรือใช้ระบบ barcode ไม่ถามนำ เช่น ชื่อ “สมศักดิ์” ใช่ไหมคะ แต่ให้ผู้ป่วยระบุชื่อ-นามสกุลด้วยตนเอง จัดให้มีวิธีปฏิบัติที่ชัดเจนในการบ่งชี้ผู้ป่วยซึ่งไม่มีตัวบ่งชี้และเพื่อแยกแยะผู้ป่วยที่มีชื่อซ้ำกัน รวมทั้งแนวทางการบ่งชี้ผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัวหรือสับสนที่ไม่ใช้การซักถาม ทำความเข้าใจกับผู้ป่วยและญาติว่าทำไมต้องถามชื่อซ้ำในทุกจุด และส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในทุกขั้นของของกระบวนการบ่งชี้ผู้ป่วย เขียนฉลากที่ภาชนะสำหรับใส่เลือดและสิ่งส่งตรวจอื่นๆ ต่อหน้าผู้ป่วย จัดให้มีวิธีปฏิบัติที่ชัดเจนในการรักษา identity สิ่งส่งตรวจของผู้ป่วยตลอดกระบวนการตรวจวิเคราะห์ตั้งแต่ pre-analytical, analytical และ post-analytical process จัดให้มีวิธีปฏิบัติที่ชัดเจนในการสอบถามเมื่อผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการหรือการตรวจอื่นๆ ไม่สอดคล้องกับประวัติหรือสภาวะทางคลินิกของผู้ป่วย ตามรอยการปฏิบัติจริงที่หน้างานเป็นระยะ 10. ในกรณีที่เป็นการผ่าตัด ควรนำ Surgical...
การเข้าถึงและเข้ารับบริการ
ในมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพฉบับที่ 4 มีประเด็นใหม่ๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับการเข้าถึงและเข้ารับบริการหลายประเด็น คือ - เน้นการคัดแยก (triage) ภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างทันท่วงทีตามสภาพความเจ็บป่วย ในขณะเดียวกัน ก็เพื่อจำแนกกลุ่มผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อที่อาจจะทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในโรงพยาบาลได้ แล้วแยกการดูแลออกไปตามขั้นตอนที่วางไว้ - กำหนดลักษณะของบริการหรือกิจกรรมที่ต้องมีการบันทึกความยินยอมจากผู้ป่วย (informed consent) ได้แก่ การทำผ่าตัดและหัตถการลุกล้ำ การระงับความรู้สึก การทำให้สงบระดับปานกลาง/ ลึกบริการที่มีความเสี่ยงสูง; การเข้าร่วมในงานวิจัยหรือทดลอง; การถ่ายภาพหรือกิจกรรมประชาสัมพันธ์ ทั้งนี้ หัวใจสำคัญของ informed consent อยู่ที่การให้ข้อมูลที่เพียงพอแก่ผู้ป่วย ไม่ใช่การให้ผู้ป่วยเซ็นใบยินยอมโดยไม่ได้รับข้อมูลที่เพียงพอ - เน้นการบ่งชี้ผู้ป่วยที่ถูกต้อง การระบุตัวผู้ป่วยผิดพลาดเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ในประเทศไทยก็มีเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเป็นระยะ การระบุตัวผู้ป่วยผิดพลาดรวมถึงการระบุสิ่งส่งตรวจจากตัวผู้ป่วยและชิ้นเนื้อที่ผิดพลาดด้วย ความผิดพลาดนี้นำไปสู่การวินิจฉัย การให้ยา และการให้การรักษาที่ผิดพลาด Photo by Marcelo Leal on Unsplash
ความร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาคุณภาพชีวิต
โรงพยาบาลอุบลรัตน์เป็นโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งที่มีความโดดเด่นมากในงานด้านสร้างเสริมสุขภาพและการทำงานกับชุมชน โดยโรงพยาบาลอุบลรัตน์สามารถสร้างให้ชุมชนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของโรงพยาบาล เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงพยาบาล และใช้บริการของโรงพยาบาลด้วยความมั่นใจในคุณภาพบริการ จนเกิดเป็นเครือข่ายสังฆะ-ประชา-รัฐ ที่ทรงพลัง ตัวอย่างของการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลที่เกิดจากความร่วมมือของชุมชน ได้แก่ การได้รับความร่วมมือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการสนับสนุนทุนให้คนในพื้นที่ไปเรียนพยาบาลตั้งแต่ปี 2554 จนในปัจจุบันมีพยาบาลจบกลับมาทำงานในพื้นที่ประมาณ 30 คน การได้รับทุนสนับสนุนการสร้างตึกสงฆ์อาพาธจากภาคธุรกิจ สนับสนุนการตกแต่งภายในอาคารจากเจ้าคณะอำเภอ และเปิดให้คนอุบลรัตน์เป็นสมาชิกประกันสุขภาพคนละ 1,000 บาทต่อปี (เพื่อให้มีสิทธิในการพักรักษาตัวในห้องพิเศษโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม) เพื่อนำเงินค่าสมาชิกมาเป็นค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วยและอาคารสถานที่ การประสานกับภาคธุรกิจเพื่อให้บริษัทที่ต้องมีการจ้างผู้พิการตามที่กฎหมายกำหนด จ้างงานผู้พิการ แล้วมอบหมายให้ผู้พิการเหล่านี้มาทำงานในโรงพยาบาลอุบลรัตน์และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในอำเภออุบลรัตน์ โดยโรงพยาบาลมอบหมายงานที่เหมาะสมกับศักยภาพของผู้พิการแต่ละราย ส่งผลให้โรงพยาบาลมีกำลังคนเพิ่ม และผู้พิการก็ได้รับการยอมรับในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ การสร้างกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกผักปลอดสารพิษและทำไร่นาสวนผสม โดยนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาสู่การปฏิบัติ แล้วนำพืชผักเหล่านี้มาจำหน่ายในโรงพยาบาล และใช้ในโรงครัวของโรงพยาบาล Photo by Larm Rmah on Unsplash  
การพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยในระบบบริการสุขภาพได้ก้าวมายาวไกล แต่ส่วนใหญ่ยังเป็นการขับเคลื่อนการพัฒนาด้วยผู้คนที่อยู่ในวิชาชีพด้านสุขภาพ ทำให้พบข้อจำกัดบางอย่างที่ยังไม่สามารถก้าวข้ามไปได้ ดังนั้น ด้วยความเชื่อที่ว่าถ้าให้ผู้ป่วยและญาติเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพมากขึ้น มองเขาเหล่านั้นไม่ใช่เพียงผู้มารับบริการ แต่เป็นพันธมิตรในการร่วมพัฒนา การพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยในระบบบริการสุขภาพก็น่าจะประสบความสำเร็จมากขึ้น สรพ. ได้ริเริ่มทดลองใช้เครื่องมือตลอดจนดำเนินโครงการที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยในการพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยในระบบบริการสุขภาพ ดังนี้ การสร้าง application ที่ทำให้ผู้ป่วยสามารถสะท้อนความรู้สึกและความคิดเห็นที่มีต่อบริการที่ตนได้รับ (Patient Experience Survey) เพื่อเป็นข้อมูลให้โรงพยาบาลนำไปปรับปรุงคุณภาพบริการ การกรอกข้อมูล ผู้ป่วยสามารถ scan QR Code ที่ติดอยู่ตามโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 163 แห่ง การให้ผู้ป่วยเข้ามาร่วมประเมินผลลัพธ์การรักษาพยาบาลในมุมมองของผู้ป่วย (Patient-Reported Outcome Measures) โดยสรพ.ร่วมกับ สปสช. เขต 1 ได้ทดลองโครงการนำร่องในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าในโรงพยาบาลแพร่ ลำพูน และลำปาง การเสริมสร้างความตระหนักของผู้ป่วย ในประเด็นสำคัญที่ผู้ป่วยและแพทย์ควรมีการสื่อสารกัน ผ่านบัตรเตือนใจ “อย่าลืมบอกหมอ” และ “อย่าลืมถามหมอ” การจัดตั้งกลุ่มผู้ป่วยเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย (Patients for Patient Safety) โดยการสนับสนุนทางวิชาการจากองค์การอนามัยโลก โดยกลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบและให้ข้อคิดเห็นต่อกิจกรรมและสื่อต่างๆของ สรพ. ที่มีเป้าหมายเพื่อการสื่อสารกับประชาชน Photo by Matheus Ferrero on Unsplash    
การรับมือโรคระบาด
ในการประชุม Prince Mahidol Award Conference ปี 2018 ตัวแทนจากกรมควบคุมโรคของประเทศไทยได้เล่าประสบการณ์ในการรับมือกับ MERS เมื่อปี 2559 ว่า ประเทศไทยประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูงในการควบคุมไม่ให้มีการแพร่ระบาดของ MERS ในประเทศไทย โดยผู้ป่วยที่เกิดขึ้นทั้งหมด 3 ราย เป็นผู้ป่วยที่เดินทางมาจากตะวันออกกลางทั้ง 3 ราย มาด้วยอาการหายใจเหนื่อย มี 2 รายเป็นผู้สูงอายุ ส่วนอีกหนึ่งรายเป็นวัยรุ่น ความสำเร็จในการควบคุมโรคนี้เกิดขึ้นจากการเตรียมรับมือกับโรค MERS เป็นอย่างดี โดยมีการศึกษาถอดบทเรียนจากการแพร่ระบาดของ MERS ในเกาหลีใต้ก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตาม จากการเฝ้าระวังการแพร่ระบาด ทำให้มีผู้สัมผัสโรคใกล้ชิดที่ต้องถูกกักแยกหรือให้นอนโรงพยาบาลจำนวนถึง 148 ราย และในจำนวน 148 รายนี้ เป็นบุคลากรของโรงพยาบาลถึง 53 ราย บทเรียนจากการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคระบาดร้ายแรงทั่วโลก ได้ข้อสรุปที่สำคัญ ดังนี้ ข้อมูลการเฝ้าระวังโรคมีความสำคัญมากต่อการรับรู้การแพร่กระจายของโรคตั้งแต่ก่อนที่โรคจะกระจายไปมาก ต้องมีการสร้างความรู้และความเข้าใจในโรคที่ระบาด ทั้งในหมู่บุคลากรการแพทย์ และสังคมโดยรวม ทีมงานดูแลผู้ป่วยต้องมีความแม่นยำในกระบวนการดูแลรักษา ที่ตั้งอยู่บนฐานความรู้ทางวิชาการที่เป็นปัจจุบัน ต้องมีการเตรียมพร้อมของทรัพยากรทุกชนิดที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรค มีการวางระบบงานรองรับ และมีการฝึกซ้อมทีมงานจนมีความชำนาญในขั้นตอนการตอบสนองต่อการระบาด มีศูนย์สั่งการที่กำหนดมาตรการตอบสนองที่รวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง Photo by Headway on...
ข้อพึงระวังในการสั่งใช้ยาต่อเนื่องในระยะยาว
ในปีพ.ศ. 2560 มีรายงานผู้ป่วย rheumatoid arthritis จำนวนหนึ่งที่ได้รับยา chloroquine ต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนานหลายปี แล้วเกิดผลข้างเคียงคือ maculopathy จนถึงระดับ blindness ซึ่งพยาธิสภาพยังคงดำเนินไปต่อเนื่องแม้จะหยุดยาไปแล้ว ซึ่งผลข้างเคียงจากการให้ยาในระยะยาว ยังเกิดขึ้นได้กับยาตัวอื่นๆอีกหลายตัว เช่น เช่น warfarin, Dilantin ในทางปฏิบัติ มีโอกาสที่แพทย์จะสั่งใช้ยาต่อเนื่องในระยะยาว โดยไม่ทันได้นึกถึงภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น เพราะคิดว่าได้สั่งยาในขนาดเดิมที่ผู้ป่วยเคยได้รับอยู่ และที่ผ่านมาผู้ป่วยก็ไม่มีผลข้างเคียงใดๆ แนวทางที่จะช่วยลดความเสี่ยงจากการใช้ยาต่อเนื่องในระยะยาว ได้แก่ ผู้บริหารโรงพยาบาลควรวางระบบการสั่งจ่ายยาโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Computerized Prescriber Order Entry – CPOE) ให้มีฐานข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน มีการแจ้งเตือนผลข้างเคียงสำคัญของยาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และปฏิกิริยาระหว่างยาที่สั่งใช้ แพทย์ผู้สั่งยาควรมีการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับยาที่ตนสั่งจ่าย ทั้งในเรื่องขนาดยาที่ปลอดภัย ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ปฏิกิริยากับยาตัวอื่นหรืออาหารที่รับประทาน และขนาดยาที่ต้องปรับให้เหมาะสมเมื่อการทำงานของตับหรือไตเสื่อมลง แพทย์ผู้สั่งยาควรมีการทบทวนข้อบ่งชี้การใช้ยา และขนาดของยาที่มีการสั่งใช้มานาน เป็นระยะๆ และตรวจสอบเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยมีการให้ความรู้กับผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยเข้ามามีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนด้วย ทีมระบบยาควรมีการสุ่มทบทวนการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในยากลุ่มที่มีการสั่งใช้มาต่อเนื่องยาวนาน Photo by Sharon McCutcheon on Unsplash
การใช้ยาต้านจุลชีพ
ในระบบยาของมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพฉบับที่ 4 ได้มีการเพิ่มประเด็นใหม่ เกี่ยวกับการใช้ยาต้านจุลชีพ โดยกำหนดไว้ว่า “องค์กร (โดย PTC) ดำเนินการแผนงานใช้ยาสมเหตุผล (Rational Drug Use Program) และแผนงานดูแลการใช้ยาต้านจุลชีพ (Antimicrobial Stewardship Program) ด้วยมาตรการร่วมกันหลายประการ เพื่อส่งเสริมการใช้ยาต้านจุลชีพและยาอื่นๆอย่างเหมาะสม” กลยุทธ์ที่น่าจะนำมาใช้ เพื่อส่งเสริมการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม ได้แก่ การกำหนดนโยบายเรื่องการใช้ยาต้านจุลชีพเป็นลายลักษณ์อักษร โดยนโยบายดังกล่าวมุ่งสร้างกรอบการจัดการปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพอย่างเป็นระบบและบูรณาการ พัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรในด้านการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ กำหนดมาตรการที่สำคัญในเรื่อง การกำหนดเชื้อดื้อยาที่ต้องเฝ้าระวัง เช่น Baumannii และการวางกระบวนงานเฝ้าระวังเชื้อดื้อยา การจัดวางระบบและกระบวนงานจัดการด้านยาต้านจุลชีพ ที่ทำให้ผู้ป่วยได้รับยาที่เหมาะสมกับข้อบ่งชี้ทางคลินิก ในปริมาณที่สอดคล้องกับความต้องการของแต่ละบุคคล ในระยะเวลาที่เพียงพอต่อการรักษาโรคนั้น และเกิดความคุ้มค่าสูงสุดทั้งต่อตัวผู้ป่วยและต่อสังคม การแยกผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ การบูรณาการการจัดการเชื้อดื้อยาระหว่างห้องปฏิบัติการกับผู้ดูแลผู้ป่วย มีการกำกับ ติดตาม และประเมินผล การจัดการเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในสถานพยาบาล Photo by Ousa Chea on Unsplash
การดักจับความคลาดเคลื่อนทางยา
จากผลการศึกษาภาวะแทรกซ้อนทางวิสัญญี โดยราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทยในปี 2558 ในโรงพยาบาล 22 แห่ง ผู้ป่วย 330,000 ราย พบ incident ทั้งหมด 2,206 ครั้ง ซึ่งเป็น drug error 85 ครั้งคิดเป็นอัตรา 3.21 ต่อ 10,000 นอกจากนี้ ยังมีรายงานการให้ยาสลบ แต่ผู้ป่วยยังคงรับรู้ความปวดและได้ยินเสียงรอบตัว จำนวน 9 ราย ความคลาดเคลื่อนทางยาที่เกิดขึ้น มี 18.8% ที่มีผลกระทบถึงตัวผู้ป่วย และ 100% เป็นเหตุการณ์ที่น่าจะป้องกันได้ เมื่อจำแนกความคลาดเคลื่อนทางยาจำนวน 85 รายนี้ พบว่า เกิดจาก - การให้ยาเกินขนาด 29.4% - ให้ยาผิดชนิด 22.4% - ติดฉลากผิด 17.6% - ไม่บันทึกข้อมูลที่จำเป็น 8.2% - ให้ยาผิดช่องทาง 5.9% - อื่นๆ 16.5% ข้อมูลที่น่าสนใจ คือ กระบวนการที่ช่วยในการดักจับความคลาดเคลื่อนทางยา ซึ่งพบว่า 61% ดักจับได้จากการทวนสอบแผงยา/ ampule ยา ที่ใช้ไปแล้วที่เก็บไว้บนโต๊ะ; 20%...
ภาวะติดเชื้อหลังการผ่าตัดต้อกระจก
เมื่อสิบกว่าปีก่อน โรงพยาบาลในประเทศไทยเคยเกิดการระบาดของการติดเชื้อหลังการผ่าตัดต้อกระจก โดยมีจำนวนผู้ป่วยที่ติดเชื้อถึง 14 ราย และประมาณปีพ.ศ. 2559 ก็มีรายงานการระบาดเกิดขึ้นอีกในโรงพยาบาลอีกแห่งหนึ่ง ส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อจำนวน 4 ราย จากการทำ root cause analysis ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พบว่าปัจจัยเสี่ยงหลักที่น่าจะเป็นสาเหตุของการระบาด คือ กระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อสำหรับอุปกรณ์การผ่าตัดอาจทำได้ไม่สมบูรณ์ โดยอุปกรณ์ที่ต้องสงสัยมาก คือ cassette ของเครื่องมือการผ่าตัด เพราะมีการ reuse อุปกรณ์ และการทำปราศจากเชื้อของ cassette ทำได้ไม่ง่ายนัก ความไม่สะอาดของห้องผ่าตัด และการจัดแบ่งโซนที่ไม่เคร่งครัด การนอนปะปนกันของผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อกับผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดต้อกระจก ที่หอผู้ป่วยใน เหตุที่ cassette เป็นอุปกรณ์ที่ต้องสงสัยมากที่สุด เพราะอุปกรณ์นี้ถูกออกแบบมาให้ใช้แบบ single use แต่ในสถานการณ์จริงของประเทศไทยซึ่งมีงบประมาณด้านสุขภาพที่จำกัด ทำให้โรงพยาบาลส่วนใหญ่ต้องใช้อุปกรณ์นี้ซ้ำ ซึ่งการใช้ซ้ำ เป็นลักษณะใช้ต่อเนื่องกันไปในการผ่าตัดผู้ป่วยหลายรายในวันเดียวกัน ซึ่งความเสี่ยงที่จะติดเชื้อน่าจะต่ำ เพราะน้ำที่ไหลใน cassette เป็น one-way flow น้ำที่ไหลออกจากผู้ป่วยรายก่อนหน้าไม่น่าจะมีโอกาสไหลย้อนมาปนเปื้อนผู้ป่วยรายถัดไป อย่างไรก็ตาม ในบางโรงพยาบาลมีการนำ cassette ไปล้างแล้วทำให้ปราศจากเชื้อด้วย ethylene oxide (ไม่สามารถทำ sterilization ได้ เพราะ cassette ทำจากพลาสติกซึ่งไม่ทนความร้อนสูง)...
เตรียม positive control DNA สำหรับการตรวจวินิจฉัยระดับโมเลกุล ของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ชนิด Acute lymphoblastic leukemia (ALL)video
พิธีกร รพ.ศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น เตรียม positive control DNA ชนิด ALL วิธีการและผลการศึกษาของผลงานชิ้นนี้คืออะไร เกิดกิจกรรมการพัฒนาอย่างไร เราไปชมผลงานดังกล่าวกันเลยครับ พิธีกร สวัสดีครับอาจารย์ครับ อีกหนึ่งผลงานอีกหนึ่งนวัตกรรมที่เรียกได้ว่าน่าสนใจมากๆ เลยครับของ รพ.ศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นถูกไม่ครับอาจารย์ วัตถุประสงค์เป้าหมายของเราในการคิดค้นนวัตกรรมนี้ขึ้นมามีอะไรบ้างครับอาจารย์   ปริญญา ประสงค์ดี   คือว่าจะช่วยในการตรวจวินิจฉัยมะเร็งเม็ดเลือดขาวในเด็กนะครับ ซึ่งปกติเนี้ยคนไข้ที่เป็นเด็กเนี้ยที่ถูกยืนยันว่าเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวแล้ว หรือรูคีเมียเนี้ย ก็จะมีการตรวจจีนเพิ่มอีก 2-3 ชนิด เพื่อเป็นประโยชน์ในการรักษา ซึ่งการตรวจจีนเพิ่มเนี้ย ถ้าเราเกิดเจอจีนพวก AML1 ในทางการแพทย์เนี้ยการรักษาก็จะง่าย รักษาตามจีนของรูคีเมียตามปกติ แต่ละเราพบยีนที่เป็น p190 หรือ AF4 เนี้ย อย่างนี้คนไข้รักษายากล่ะ โดยตามปกติดูจีนเหล่าเนี้ยเราต้องใช้หลักการของ PQR ในการทำ และ  positive control เนี้ยหายากมาก ซึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศและมีราคาแพง ผมและคณะนะครับก็เลยช่วยกันสกัด DNA ท่อนนี้ขึ้นมาแล้วก็เอามา cioningใส่ตัวเวคเตอร์เข้าไปในแบคทีเรียนะครับ เพื่อให้เค้าเพิ่มจำนวนให้ หลังจากนั้นก็เอามาใช้เป็น positive control ให้คนไข้ เราสร้าง DNA จีนขึ้นมาเลยในการเป็น positive control เพื่อใช้ในการตรวจคนไข้ กรณีที่คนไข้ต้อง positive...
- Advertisement -

MOST POPULAR

HOT NEWS