วันศุกร์, พฤษภาคม 16, 2025
ในการประชุม HA National Forum ครั้งที่ 20 กลุ่มสถาปนิกอาสาและวิศวกรใจดีได้ทำนายภาพของโรงพยาบาลในอนาคตไว้ ซึ่งหลายประเด็นเป็นเรื่องที่น่าสนใจและถ้าทีมงานของโรงพยาบาลได้เรียนรู้และเริ่มเตรียมการไว้ตั้งแต่วันนี้ ก็น่าจะช่วยให้โรงพยาบาลพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นได้ดีขึ้น ประเด็นที่สำคัญ ได้แก่ จากการที่สังคมไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ในอีก 3 ปีข้างหน้า การเจ็บป่วยบ่อยของผู้สูงอายุจะทำให้โรงพยาบาลเป็นศูนย์กลางของชุมชนมากขึ้น โรงพยาบาลจึงควรเตรียมพื้นที่สำหรับชุมชนรวมถึงอาสาสมัคร ที่ร่มรื่น เอื้อต่อการเยียวยา และเอื้อต่อกิจกรรมทางสังคม แผนกผู้ป่วยนอกจะมีขนาดเล็กลง เทคโนโลยีสารสนเทศที่เข้ามาจะทำให้เกิดการกระจายตัวของจุดตรวจให้บริการผู้ป่วยไปอยู่นอกโรงพยาบาล และเสริมกระบวนการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน จะเกิดการขยายตัวของสถานพยาบาลสำหรับผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยระยะสุดท้าย ซึ่งจะมีมาตรฐานการให้บริการต่างไปจากมาตรฐานโรงพยาบาลที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน โรงพยาบาลจะเป็นอาคารสูงมากขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์จากที่ดินได้อย่างคุ้มค่า ระบบสัญจรแนวตั้ง การใช้พลังงาน การควบคุมการติดเชื้อ และระบบ logistics ที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัย จะเป็นหัวใจสำคัญของการบริหารทรัพยากรของโรงพยาบาล เครื่องมือทางการแพทย์หลายชนิดในอนาคตจะมีน้ำหนักมาก ต้องการโครงสร้างอาคารที่สามารถรับน้ำหนักได้มาก และอาจมีคลื่นหรือรังสีที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้คนได้ อาคารในอนาคตจึงควรมีพื้นที่ประมาณ 10% ที่อยู่ริมสุดของอาคารที่ออกแบบมาให้รองรับน้ำหนักได้มากกว่าปกติ 3 – 5 เท่า สามารถติดตั้งเครื่องมือทางการแพทย์ขนาดใหญ่ได้โดยการขนย้ายเข้าทางด้านข้างอาคาร ไม่ต้องใช้ลิฟต์ของอาคารซึ่งอาจรับน้ำหนักไม่ไหว โรงพยาบาลจะมีพื้นที่สีเขียวมากขึ้น เพื่อเอื้อต่อการใช้ชีวิตส่วนใหญ่ของบุคลากรทางการแพทย์ สวนลอยฟ้า (roof garden) และทางเชื่อมอาคารในลักษณะ sky walk เป็นตัวอย่างของโครงสร้างทางกายภาพที่จะเกิดมากขึ้น Photo by Douglas Sanchez on Unsplash
เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการฟอกเลือด มาเรียนรู้ร่วมกันครับ 🌺ในช่วงกลางปี 2560 ในประเทศเวียดนาม เกิดเหตุการณ์ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนจากการฟอกเลือด 18 ราย โดยผู้ป่วยมีอาการคลื่นไส้ ปวดท้อง และหายใจไม่ออก ผู้ป่วยเสียชีวิตไป 8 ราย 🌺หลังจากการสอบสวนหาสาเหตุของเหตุการณ์แล้ว มีผู้ถูกฟ้องร้อง 3 ราย เป็นเจ้าหน้าที่ของบริษัททำความสะอาดน้ำที่ใช้ฟอกเลือด เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลที่มีหน้าที่บำรุงรักษาเครื่องมือแพทย์ และแพทย์ผู้รับผิดชอบดูแลหน่วยฟอกเลือด 🌺เหตุการณ์เกิดขึ้นจากการที่เจ้าหน้าที่ของบริษัทดูแลและซ่อมบำรุงระบบน้ำ RO ใช้สารผสมระหว่าง hydrofluoric acid และ hydrochloric acid ในการทำความสะอาดแผ่นกรอง ซึ่งสารเคมีทั้งสองนี้ไม่อยู่ในรายการของสารเคมีที่ใช้กับเครื่อง และเมื่อทำความสะอาดแล้ว การล้างสารเคมีก็ทำไม่ดี จึงมีสารทั้งสองตกค้างจำนวนมากอยู่ในระบบน้ำของเครื่อง และเจ้าหน้าที่ผู้นั้นก็ละเลยที่จะนำน้ำไปตรวจตามขั้นตอนที่กำหนด เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลที่มีหน้าที่กำกับดูแลบริษัทก็ปล่อยปละละเลย และปล่อยให้มีการใช้น้ำนั้นทั้งๆ ที่รู้ว่าน้ำนั้นยังไม่ได้มีการทดสอบตามขั้นตอน แพทย์ที่ถูกฟ้องซึ่งควรจะกำกับดูแลการทำงานในภาพรวมก็ไม่ได้ทำหน้าที่นั้นตามที่ควรจะเป็น เหตุการณ์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นในประเทศไทย แต่ควรมีการทบทวนขั้นตอนต่างๆ ในโรงพยาบาลในประเทศเรา เพื่อป้องกันเหตุการณ์ที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นนี้ Photo by LuAnn Hunt on Unsplash
ในมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพฉบับที่ 4 ในบท “สิ่งแวดล้อมในการดูแลผู้ป่วย” ในข้อ II-3.1 ก.(1) กำหนดไว้ว่า “โครงสร้างอาคารสถานที่ขององค์กรเป็นไปตามกฎหมาย ข้อบังคับ และข้อกำหนดในการตรวจสอบอาคารสถานที่” และในประกาศของ สรพ. เรื่อง ขั้นตอนการเยี่ยมสำรวจ และเอกสารที่ต้องจัดเตรียมเพื่อการเยี่ยมสำรวจขั้นที่ 3 พ.ศ. 2561 (ฉบับที่ 2) กำหนดไว้ว่า “สำหรับสถานพยาบาลเอกชน ขอให้แนบใบรับรองการก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือเคลื่อนย้ายอาคาร (แบบ อ.6) หรือในอนุญาตเปลี่ยนการใช้อาคาร (แบบ อ.5) ทุกอาคารที่ให้บริการผู้ป่วย ตามที่กฎหมายกำหนด” เหตุที่ต้องมีการกำหนดเรื่องการใช้อาคารไว้อย่างนั้น ก็เพื่อยืนยันความปลอดภัยของอาคารทั้งในแง่ของความแข็งแรงและปลอดภัยของโครงสร้างอาคาร ตลอดจนการมีโครงสร้างอาคารที่เอื้อการต่อการระงับอัคคีภัยและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยและบุคลากรในภาวะเกิดอัคคีภัย ในแง่ของกฎหมาย เมื่อโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งจะเปิดให้บริการประชาชน กฎกระทรวงที่กำหนดลักษณะของสถานพยาบาลและลักษณะการให้บริการของสถานพยาบาล พ.ศ. 2558 ข้อ 7 กำหนดว่า “โรงพยาบาลต้องได้รับอนุญาตเป็นอาคารสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร” ในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ในมาตรา 32 กำหนดว่า อาคารที่ใช้เป็นสถานพยาบาล ถือเป็นอาคารประเภทควบคุมการใช้ ซึ่งต้องได้รับการอนุญาตใช้งานอาคารจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อน จึงจะสามารถใช้งานอาคารเหล่านั้นเป็นสถานพยาบาลได้ ในกฎหมายที่ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 คือ กฎกระทรวง ฉบับที่ 10...
ในมาตรฐานระบบสิ่งแวดล้อมในการดูแลผู้ป่วย ประเด็นที่มีการเพิ่มเติมเข้ามาใหม่ในมาตรฐานฉบับที่ 4 คือ “องค์กรจัดให้มีระบบสำรองสำหรับแก๊สที่ใช้ทางการแพทย์ โดยมีการบำรุงรักษา ทดสอบ และตรวจสอบที่เหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ” เพื่อทำความเข้าใจเบื้องต้น ขออธิบายศัพท์ที่ใช้ในเรื่องนี้ ดังนี้ - ชุดจ่ายแก๊ส  (gas manifold) หมายถึง อุปกรณ์สำหรับต่อเชื่อมทางออกของท่อบรรจุแก๊สที่มากกว่าหนึ่งท่อเข้ากับศูนย์รวมของระบบจ่ายกลางของแก๊สชนิดหนึ่ง ชุดจ่ายแก๊สมักประกอบด้วยกลุ่มท่อบรรจุแก๊ส 2 กลุ่ม โดยที่ขณะที่ใช้งาน กลุ่มท่อบรรจุแก๊สกลุ่มที่หนึ่งจะเป็นกลุ่มหลักในการจ่ายแก๊ส กลุ่มที่สองจะสำรองพร้อมใช้งานโดยอัตโนมัติเมื่อกลุ่มท่อบรรจุแก๊สกลุ่มแรกที่ใช้งานอยู่แก๊สหมดลง พร้อมมีระบบแจ้งเตือนให้ผู้ดูแลรับผิดชอบทราบว่าระบบสำรองถูกใช้งานแล้ว โดยทั่วไป แหล่งจ่ายสำรองจะต้องมีความจุเพียงพอที่จะจ่ายแก๊สให้ระบบได้อย่างน้อย 1 วัน - ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ มักใช้ออกซิเจนเหลวเป็นแหล่งของระบบจ่ายออกซิเจนหลักของระบบจ่ายออกซิเจน และใช้ชุดจ่ายแก๊สอัตโนมัติในลักษณะกลุ่มของท่อบรรจุออกซิเจนเป็นระบบสำรองจ่ายในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น เหตุที่ต้องมีการเพิ่มเติมมาตรฐานข้อนี้เข้ามาก็เนื่องจากว่า เมื่อไปเยี่ยมสำรวจจะพบว่า บ่อยครั้งที่การบำรุงรักษาระบบสำรองออกซิเจนของโรงพยาบาลทำได้ไม่ดี ทำให้อุปกรณ์ที่เปลี่ยนไปใช้ระบบออกซิเจนสำรองไม่ทำงานโดยอัตโนมัติเมื่อแหล่งออกซิเจนหลักหมดลง จึงใช้วิธีให้ช่างวิ่งไปเปลี่ยนเป็นระบบสำรอง ซึ่งมักกินเวลานาน ทำให้ผู้ป่วยที่ต้องการออกซิเจนตลอดเวลาอาจขาดออกซิเจนได้ นอกจากนี้จากความไม่เข้าใจของเจ้าหน้าที่ ทำให้ระบบสัญญาณเตือนที่ติดตั้งไว้ถูกปิดไป จากความรำคาญว่ามีเสียงสัญญาณเตือนบ่อยครั้ง ดังนั้น เมื่อระบบออกซิเจนสำรองถูกใช้งาน จึงไม่มีสัญญาณเตือน ส่งผลให้ระบบสำรองถูกใช้ไปเรื่อยๆ จนหมด แล้วเกิดความล้มเหลวของระบบการจ่ายออกซิเจนของทั้งโรงพยาบาลตามมา Photo by chuttersnap on Unsplash
เวลาเขียนแบบประเมินตนเองของ สรพ.  คำๆหนึ่งที่โรงพยาบาลมักจะไม่ค่อยเข้าใจว่าจะให้เขียนอธิบายว่าอย่างไร และโรงพยาบาลก็ไม่เคยนำคำๆนี้ไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนจริงๆ คือคำว่า core competency ขององค์กร core competency ขององค์กร คือ กระบวนการหรือทักษะความเชี่ยวชาญสำคัญที่โรงพยาบาลมีอยู่ที่จะช่วยให้โรงพยาบาลสามารถทำงานได้ตามพันธกิจที่ตั้งไว้ ดังนั้น core competency จึงควรเป็นสิ่งที่โรงพยาบาลมีอยู่แล้ว หรือจะสามารถพัฒนาให้มีขึ้นได้ในอนาคตอันใกล้ เพราะโรงพยาบาลต้องนำ core competency ไปใช้ในการขับเคลื่อนพันธกิจขององค์กร โดยทั่วไป core competency ของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งจะเป็นสิ่งที่ช่วยสร้างความโดดเด่นและสร้าง brand ให้กับโรงพยาบาลแห่งนั้น บางครั้งโรงพยาบาลไปนำวิสัยทัศน์ที่มีการกำหนดมา มาเป็น core competency ขององค์กร เช่น วิสัยทัศน์กำหนดว่า จะเป็นศูนย์ดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุ ก็เลยมากำหนด core competency ของโรงพยาบาลว่าคือ ความเป็นเลิศด้านการดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุ แต่สภาพความเป็นจริง ทั้งอาคารสถานที่ เครื่องมือ บุคลากร และกระบวนการทำงาน ไม่มีส่วนไหนที่แสดงความเป็นเลิศได้เลย ความเป็นเลิศด้านการดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุจึงไม่ใช่ core competency ของโรงพยาบาลแห่งนี้ บ่อยครั้งที่โรงพยาบาลนำความเชี่ยวชาญพิเศษของแพทย์เฉพาะทางที่มีอยู่ 1 คน มาบรรยายเป็น core competency ของโรงพยาบาล ซึ่งอาจจะใช่หรือไม่ใช่ก็ได้ คำถามง่ายๆ ที่โรงพยาบาลควรถามตนเอง คือ...
ในอดีต การฝึกทักษะของบุคลากรทางการแพทย์มักเกิดขึ้นภายใต้การให้บริการจริง โดยก่อนที่จะมีการฝึกทักษะ ผู้ฝึกจะได้รับการปูพื้นฐานความรู้มาแล้วเป็นอย่างดี หลังจากนั้น จึงเข้าสู่กระบวนการฝึกทักษะโดยผ่านการสังเกตสถานการณ์จริง – การทดลองทำภายในห้องฝึกหรือใช้อุปกรณ์จำลอง – และการปฏิบัติจริงภายใต้การกำกับดูแล (see – try – act) จากความก้าวหน้าในยุคปัจจุบัน การฝึกทักษะสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและปลอดภัยต่อผู้ป่วยมากขึ้น โดยการจำลองสถานการณ์เสมือนจริง (simulation) ในลักษณะต่างๆ เช่น การใช้หุ่นที่มีลักษณะทางกายภาพที่ใกล้เคียงมนุษย์ เพื่อให้บุคลากรเข้าใจถึงโครงสร้างทางกายภาพของระบบต่างๆ ในร่างกายมนุษย์ และบางกรณี หุ่นนี้ยังสามารถแสดงผลของการฝึกว่าบุคลากรทำได้ถูกต้องเพียงไรด้วย เช่น หุ่นเพื่อการฝึกทำหัตถการต่างๆ หุ่นเพื่อการฝึกการประสานงานของทีมในกระบวนการดูแลผู้ป่วย เช่น การช่วยฟื้นคืนชีพ การสร้าง application ที่ทำให้เกิดภาพตอบสนองที่เสมือนจริง เพื่อช่วยให้ผู้ฝึกเกิดทักษะในการทำหัตถการหรือการผ่าตัดโดยไม่ต้องไปทำบนตัวผู้ป่วยจริง ตัวอย่างเช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อฝึกการใช้กล้องส่องทางเดินอาหาร โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อฝึกการผ่าตัดด้วยกล้อง การเรียนรู้ทักษะการทำงานอย่างประสานสอดคล้องกัน โดยใช้การเรียนรู้ผ่านเกมส์ที่ประดิษฐ์ขึ้นมา (gamification) การเรียนรู้จะมีประโยชน์มากขึ้น เมื่อมีการถ่ายวิดิโอเพื่อเก็บภาพเหตุการณ์ไว้ แล้วนำมาทบทวนอีกครั้งโดยเจ้าตัวหรือโดยผู้เชี่ยวชาญ ทั้งนี้เพื่อช่วยพัฒนาให้การดำเนินงานทุกขั้นตอนถูกต้องตามหลักวิชาการ และผู้เกี่ยวข้องทุกส่วนมีปฏิสัมพันธ์ที่เอื้อต่อการสร้าวประสิทธิภาพที่สูงสุดของกระบวนงาน ในแง่ของการทบทวนเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้น การจำลองสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอีกครั้งให้ใกล้เคียงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง แล้วบันทึกภาพของสถานการณ์ที่จำลองขึ้นมา จะช่วยให้เข้าใจลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้มากขึ้น เห็นภาพของบทบาทเจ้าหน้าที่แต่ละคนที่มีในขั้นตอนแต่ละขั้น และสังเกตเห็นพฤติกรรมบริการที่เบี่ยงเบนไปจากข้อแนะนำที่พึงปฏิบัติได้ง่ายขึ้น Photo by Kristopher Allison on Unsplash
ในการบริหารความเสี่ยงของโรงพยาบาล ขั้นตอนสำคัญขั้นตอนหนึ่งที่ต้องจัดทำ คือ การจัดลำดับความสำคัญของความเสี่ยง โดยใช้โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ และผลกระทบที่จะเกิดขึ้น มาทำเป็นตารางในลักษณะ matrix เพื่อกำหนดว่าความเสี่ยงใดที่มีความสำคัญที่ต้องบริหารจัดการเป็นลำดับต้นๆ ในสงครามโลกครั้งที่สองและสงครามเวียดนาม มีเครื่องมือตัวหนึ่งชื่อ CARVER ที่กองทัพใช้ในการวิเคราะห์ว่า ระบบงานใดของฝ่ายตรงข้ามที่ถ้าถูกโจมตีแล้วจะเกิดผลกระทบกับฝ่ายตรงข้ามมาก จะได้เลือกเป้าโจมตีที่คุ้มค่าที่สุด ในทางกลับกัน ถ้าเป็นฝ่ายตั้งรับ ก็ใช้ CARVER ในการวิเคราะห์ว่า ถ้ามีทรัพยากรอันจำกัด จะเลือกป้องกันระบบงานใดจึงจะดีที่สุด   CARVER เป็นคำย่อของ Criticality ระบบงานนี้มีความจำเป็นมากแค่ไหนต่อการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องของหน่วยงาน Accessibility ระบบงานนี้ง่ายต่อการถูกรบกวนหรือโจมตี มากน้อยแค่ไหน Recoverability การฟื้นฟูให้ระบบงานนี้กลับมาทำงานได้ปกติ ยากง่ายเพียงไร Vulnerability ระบบงานนี้มีความทนต่อการถูกรบกวนหรือโจมตี มากน้อยเพียงไร Effect ผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ที่จะเกิดขึ้น ถ้าระบบงานนี้ไม่สามารถทำงานได้ Recognizability โอกาสที่ระบบงานนี้จะได้รับความสนใจจากผู้รบกวนหรือผู้โจมตี คะแนนที่ให้ในแต่ละด้าน คือ 5 มีผลสูงสุด และ 1 มีผลต่ำสุด CARVER อาจนำมาประยุกต์ใช้กับโรงพยาบาลได้ ตัวอย่างเช่น มีระบบงานสำคัญของโรงพยาบาลอยู่ 3 ระบบ ที่อาจถูกรบกวนหรือโจมตี ซึ่งเมื่อวิเคราะห์ด้วย CARVER แล้ว พบว่า การลงทุนป้องกันความเสี่ยงด้านระบบสารสนเทศคุ้มค่าที่สุด ระบบงาน C A R V E R รวม สารสนเทศ 4 4 3 4 3 5 23 ระบบไฟฟ้า 4 2 3 2 4 3 18 ระบบออกซิเจน 3 2 3 2 4 2 16   Photo by Markus Spiske on Unsplash  
การประชุม Seventh Meeting on Health-Care Quality Improvement in the Asia-Pacific Region วันที่ 10 – 11 ธันวาคม 2561 ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ มีสาระสำคัญ คือ การสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal Health Coverage – UHC) ต้องมีคุณภาพเป็นเป้าหมายสำคัญ ในช่วงที่ผ่านมา การดำเนินงานด้าน UHC จะเน้นอยู่ที่การสร้างหลักประกันสุขภาพที่ครอบคลุมประชากรทั้งหมด ภายใต้ชุดสิทธิประโยชน์ที่เหมาะสม และภายใต้ต้นทุนที่สามารถบริหารจัดการได้ แต่ในช่วงถัดจากนี้ไป การดำเนินงานด้าน UHC จะเน้นเรื่องคุณภาพของระบบบริการ เพราะคุณภาพเป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากของ UHC ถ้าระบบบริการสุขภาพไม่มีคุณภาพแล้ว ถึงประชาชนจะมีสิทธิเข้าถึง แต่ก็คงไม่มีใครอยากไปใช้บริการ “คุณภาพ” มีความหมายได้หลากหลายมิติ แต่ในการประชุมครั้งนี้ ได้แบ่งมิติของคุณภาพ เป็นด้านประสิทธิผล, ความปลอดภัย, ผู้คนเป็นศูนย์กลางของการจัดบริการ, ให้บริการได้ในช่วงเวลาที่เหมาะสม, สร้างความเท่าเทียม, มีการบูรณาการ และมีประสิทธิภาพ ข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลก คือ การสร้างคุณภาพในระบบบริการสุขภาพ จำเป็นต้องมีการขับเคลื่อนโดยการกำหนดเป็นนโยบายและยุทธศาสตร์ระดับชาติ มีการจัดสรรทรัพยากรอย่างเหมาะสม และมีการพัฒนาเครื่องมือที่ช่วยในการพัฒนาคุณภาพ องค์ประกอบ 8...
อาหารและโภชนบำบัด และการจัดการความปวด
ในมาตรฐานฉบับใหม่ได้มีการปรับปรุงรายละเอียดของการจัดการความปวดให้ชัดเจนมากขึ้น กล่าวคือ - ทีมดูแลผู้ป่วยควรมีการคัดกรองและประเมินความปวดอย่างครอบคลุม ทั้งความปวดเฉียบพลันและความปวดเรื้อรัง ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม - ผู้ป่วยได้มีโอกาสที่จะรับรู้ถึงความปวดที่จะเกิดขึ้นจากการดูแลรักษา การทำหัตถการ หรือการตรวจพิเศษ และได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจเลือกวิธีการจัดการความปวดที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการจัดการความปวด เช่น การคลอด ซึ่งอาจเลือกใช้การคลอดทางช่องคลอด การผ่าตัดคลอดโดยการดมยา หรือการผ่าตัดคลอดโดยการให้ยาชาเข้าทางไขสันหลัง ผู้ป่วยควรรู้ว่าความปวดของแต่ละวิธีการรักษาจะมีมากขนาดไหน จะมีวิธีจัดการความปวดได้อย่างไร และผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นจากการให้ยาแก้ปวดจะมีอะไรบ้าง Photo by Jesper Aggergaard on Unsplash
ในมาตรฐานฉบับใหม่ มีการเพิ่มเติมในประเด็น - ควรมีการประเมินความชอบส่วนบุคคล ทั้งนี้ เพื่อให้ทีมงานสามารถจัดบริการได้อย่างสอดคล้องกับความต้องการของผู้ป่วย การตอบสนองความชอบส่วนบุคคลมักจะทำให้ผู้ป่วยผ่อนคลายกับบรรยากาศที่ต้องมาอยู่ในโรงพยาบาลมากขึ้น ตัวอย่างความชอบส่วนบุคคล เช่น การเรียกคำแทนตัวผู้ป่วย เสื้อผ้า อาหารเครื่องดื่ม มื้ออาหาร การให้คนเข้าเยี่ยม แต่เรื่องนี้ ไม่ได้คาดหวังว่าโรงพยาบาลจะต้องไปสร้างแบบฟอร์มใหม่ ให้เป็นภาระของเจ้าหน้าที่ในการกรอกข้อมูล แต่มุ่งหวังให้เจ้าหน้าที่มีความไวมากขึ้นในการรับรู้ความต้องการของผู้ป่วย - การให้ความสำคัญกับการลดความผิดพลาด/ ความล่าช้า ในการวินิจฉัยโรค เนื่องจากประเด็นนี้กระทบต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย และยังเป็นปัญหาสำคัญของโรงพยาบาล คลินิก และงานบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ของประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยควรมีการทบทวนเหตุการณ์ความผิดพลาด/ ความล่าช้า ในการวินิจฉัยโรค โดยทีมงานที่ประเมินผู้ป่วยร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาโอกาสในการพัฒนากระบวนการประเมินผู้ป่วยให้มีความถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็วมากขึ้น Photo by Glenn Carstens-Peters on Unsplash
- Advertisement -

MOST POPULAR

HOT NEWS