วันศุกร์, พฤษภาคม 17, 2024
ถ้าจะพัฒนาอะไรให้ เริ่มคิดแล้วทำเลย “ผมก็เห็นความดีใจและความเสียใจของผู้คนที่ได้รับการ promote การแต่งตั้งรับตำแหน่งผู้บริหารเนี่ยล่ะครับ” ตอนนั้นเราก็เป็นเด็กมาทำงานเป็นระดับหัวหน้าฝ่าย พอเราเห็นทั้งความดีใจและความเสียใจ เราก็รู้สึกว่าชีวิตเราไม่น่าขึ้นอยู่กับคนอื่น เราไม่น่าจะให้อำนาจของคนอื่นมาทำให้เรามีความสุขหรือว่ามีความทุกข์ เราน่าจะสามารถบงการชีวิตของตัวเราเองได้ ก็เลยไม่ได้สนใจว่าจะไปทางสายบริหาร แต่ว่าหันมาทำอะไรที่เราคิดว่ามันสามารถสร้างงานได้ด้วยตัวเราเอง ก็เลยมุ่งมาทำงานด้านวิชาการ    นพ.อนุวัฒน์.... เริ่มต้นเล่าอดีตของท่าน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างสิ่งที่มีคุณค่าให้แก่วงการแพทย์ไทย "จุดเล็กๆนี้ก็ค่อยๆเติบโตขึ้นมา ซึ่งเป็นจุดที่เราไม่ต้องการพึ่งอำนาจคนอื่น"   อันที่สอง..พอเราเริ่มเห็นต่างประเทศทำอะไรต่างๆ เรา รู้ก็สึกว่าประเทศไทยก็ทำได้และก็น่าจะทำได้ไม่แพ้เขาถ้าเราเข้าใจมันอย่างลึกซึ้ง ซึ่งตอนนี้มันจะขัดกับความเชื่อในสมัยนั้น ตอนที่เราเริ่มทำ คนจะคิดว่า  คือเราชอบทำอะไรเหมือนไฟไหม้ฟาง มีอะไรฮิตมาเราทำ ทำแล้วก็เลิกกันไป แล้วก็หันไปจับเรื่องใหม่ ซึ่งมันจะกลายเป็นความเสียเปล่า ไม่ได้เกิดประโยชน์อะไรแล้วเราก็ต้องมาเริ่มต้นใหม่ทุกที   อันนี้ก็เป็นหัวใจอันนึ่งที่เราทำมันต่อเนื่องแล้วก็เรียนรู้ค่อยๆ ปรับไปแล้วก็เห็นผล พอเราได้รับฟีตแบคมาเราก็จะปรับให้มันลงตัว แล้วเราก็ไม่รอที่จะต้องให้มันเพอร์เฟคก่อนค่อยลงมือทำ   เราจะทำไปเรียนรู้ไป  ซึ่งจริงๆแล้วมันตรงกับหลักที่เขาสรุปนะ ที่บอกว่า “ถ้าจะพัฒนาอะไรเนี่ย เราเริ่มคิดและลงมือทำเลย ทำเลยและก็เรียนรู้แล้วก็ปรับแล้วไม่ต้องรอนาน เพราะมันคือโอกาส”   ตอนที่เข้ามากระทรวงนี่ มันก็ฝึกฝนเรานะ พอเราเข้ามาอยู่ในกระทรวง เริ่มแรก เราไม่มีตำแหน่งอะไรที่เป็นชิ้นเป็นอันเลยอันนั้นเป็นการฝึกฝนให้เราต้องทำงานโดยขอความช่วยเหลือจากผู้คนเราก็ต้องหาวิธีว่า ทำยังไงคนถึงจะให้ความร่วมมือ   “แต่ปัญหาหนัก กลายเป็นปัญหาเรื่องคน ปัญหาเรื่องความร่วมมือ ปัญหาเรื่องความเข้าใจ”   ซึ่งอันนี้เราก็ต้องใช้ความอดทนที่จะทนคนที่ไม่เห็นด้วยกับเรา ทนน้ำเสียง ทนคำถาม คือ เราเข้าใจนะว่าจะมีทั้งสนับสนุนและไม่สนับสนุน  แต่เราก็ทำให้มันค่อยๆ เห็นผลขึ้นมา เราไม่ได้เดินซ้ำแบบเดิม เราพยายามคิดต่าง   และอันนี้เป็นความสนุกมันจะเข้าสู่สูตรเดิมก็คือไม่สำเร็จก็ไม่เสียหายอะไร เพราะมันเป็นเรื่องที่ไม่เคยมีคนทำ แต่เข้าไปเถอะตรงไหนก็ได้เข้าไปก่อน แล้วเดี๋ยวมันจะค่อยๆเห็นทางที่มีคนเขาเดิน...
เริ่มต้นศรัทธาจากงานคุณภาพ นำประสบการณ์มาช่วยบ้านเกิด “ถ้ามาทบทวนย้อนหลังกลับไปสู่อดีตเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว ว่าอะไรนะที่ทำให้เราตัดสินใจที่จะกลับมาทำในสิ่งที่เหมือนมันยังไม่เห็นเป็นรูปเป็นร่าง  ในช่วงนั้น   ก็ต้องบอกว่าควรจะเริ่มต้นที่แรงจูงใจ Motivation ว่าอะไรที่มันทำให้เราตัดสินใจทั้งๆที่เรามีความพร้อมทุกอย่าง สบาย ตำแหน่งหน้าที่การงาน เราก็อยู่ในประเทศที่ทุกคนยอมรับว่ามันเจริญ  ทั้งการศึกษา ทั้งเทคโนโลยีที่ทันสมัย ครอบครัวก็รู้สึกอบอุ่น  ในช่วงนั้นก็ต้องบอกว่าเป็นช่วงที่เราอิ่มกับการที่เราได้รับโอกาส ทั้งในด้านของประสบการณ์ทั้งความรู้ทั้งวัยที่สูงขึ้นของเรา เราก็มองออกมานอกจากตัวเองมากขึ้น ถึงได้ไปช่วยสังคมในด้านวิชาชีพของตัวเองด้วย การที่เป็นเลขาของสมาคมพยาบาล Southern California ในสหรัฐอเมริกา เมื่อมาทำตรงนี้มันเป็นบทบาทที่เราต้องช่วยสังคม  แล้วก็ยังเป็นการออกมานอกประเทศเพื่อที่จะกลับมาดูบ้านของเรา ประเทศไทยของเรา”   อาจารย์ผ่องพรรณ ย้อนถึงจุดเริ่มต้นของโครงการนี้    “ก็คงเป็นโชคชะตาอีกเหมือนกันที่ทำให้ได้เจอ อาจารย์อนุวัฒน์” “ด้วยการที่เราเห็นอาจารย์อนุวัฒน์ ทั้งๆ ที่เราไม่เคยรู้จักเขามาก่อนแล้วเรามาพูดในเรื่องเดียวกันคืองานคุณภาพ ถ้าให้พี่คิดว่าตอนนั้นเนี่ยอะไรที่ทำให้เรายอมที่จะมาทำงานร่วมกับอาจารย์อนุวัฒน์อาจจะเป็นเรื่องของ Motivation เป็นเหมือนแรงจูงใจว่างานคุณภาพที่อาจารย์จะนำพาไป อาจารย์จะพาพวกเราไปได้ ศรัทธาที่มีต่อการพัฒนาคุณภาพตลอดระยะเวลา 30 ปีที่เราอยู่ต่างประเทศ เราทำมันมากับมือ  บวกกับความคิดที่ว่า30 ปีเราทำให้กับประเทศอื่นไป ต้องเรียกว่าเป็นประเทศเป็นเมืองนอนของเรา    แต่ไม่ใช่เป็นเมืองเกิด เราจะมีอะไรที่เรามีอยู่ตอนนี้เอาไปทำให้บ้านเกิดของเราเอง ดังนั้มเมื่ออาจารย์อนุวัฒน์ ถาม พี่ว่า "พี่มาทำกับผมไหม?"  ไม่ได้คิดอะไรมากไปกว่าให้คำตอบอาจารย์ไปว่า "ค่ะอาจารย์พี่จะมา "   “และเมื่อกลับมาที่นี่ ตัวพี่เองก็ปรับเยอะนะด้วยความที่อยู่ในประเทศที่เขามีวัฒนธรรมการพูดจาที่ค่อนข้างตรง มาเมืองไทยการพูดจาพูดตรงแบบนั้นมันไม่เหมาะสมกับวัฒนธรรมบ้านเรา เราก็ต้องเอามาทบทวนว่าอุปสรรคที่เราเจอ  เราจะปรับอะไรได้บ้างเพื่อจะผ่านด่านตรงนี้ไปได้ ซึ่งตัวพี่ได้ดึงศักยภาพออกมาใช้และให้เป็นประโยชน์กับโรงพยาบาล มีความตั้งใจสูง ความรู้ในต่างประเทศแต่ไม่สามารถจะนำมาใช้ในเมืองไทยได้ทั้งหมด...
โรงพยาบาลในอนาคตต้องเผชิญ กับความคาดหวังของผู้คน “ตอนนั้นสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาลองค์การมหาชนมีชื่อเดิมชื่อว่า พรพ.สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล  ตอนใหม่ๆ      ก็ไม่รู้ว่าเขาทำงานอะไรกัน ก็ปฏิเสธอาจารย์อนุวัฒน์เลยว่าแม่ต้อยมีงานทำซึ่งแม่ต้อยก็รักอยู่ เดิมอยู่แล้วนะคะ แต่พอได้รับการชักชวนบ่อยๆ มากครั้งเข้า    ก็ได้มานั่งคุยกันก็เกิดความศรัทธาในสิ่งที่จะทำอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เพราะว่ามันเห็นภาพฝันว่าเราต้องการให้ประเทศไทย มีโรงพยาบาลที่มีคุณภาพและมีวัฒนธรรมของคุณภาพ     ซึ่งมันเป็นสิ่งที่คนไทยทุกคนปรารถนา แล้วถ้าเราไม่ทำ ก็จะเสียโอกาส    ที่สำคัญในชีวิตเลย นั่นเป็นจุดเริ่มต้นของการเข้ามาที่ พรพ.ในสมัยนั้นค่ะ”   อาจารย์ดวงสมร  บุญผดุง  เริ่มเล่าถึงจุดเริ่มต้นที่ได้มาเริ่มโครงการนี้ ด้วยน้ำเสียงและแววตาที่ภาคภูมิใจ ที่นี่พอเข้ามาในสถานการณ์ที่เราเริ่มต้นงานสิ่งใดสิ่งหนึ่ง    “สิ่งที่สำคัญมากกว่านั้นก็คือเราจะต้องมีความรักในงาน  มีความรักและก็มีความภาคภูมิใจ ในสิ่งที่เราทำตลอดเวลา  สิ่งนี้จะทำให้เราเกิดความรับผิดชอบในตัวเอง  แม่ต้อยสังเกตเห็นสายตาของอาจารย์อนุวัฒน์ เป็นสายตาของผู้ชายที่มีความมุ่งมั่นในการทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่  แล้วแม่ต้อยก็นึกในใจว่าอาจารย์อนุวัฒน์จะทำได้ไหมคนเดียว  สิ่งเหล่านั้นเองทำให้แม่ต้อยตัดสินใจลาออกจากราชการ ที่จะมาช่วยอาจารย์ทำเพราะคิดว่าถ้าเราสามารถทำสิ่งเหล่านี้ ที่ฝันในขณะนั้นให้เป็นจริงได้ อันนี้ก็คือคุณูปการที่สำคัญมากของประเทศไทย เราจะต้องช่วยผู้ชายคนนี้ ให้ไปสู่ความสำเร็จให้ได้”   ก็จะคิดตลอดเวลาเลยว่าเหมือนกับเราเดินทางในป่าใหญ่มากเลยและมันก็มืดมิดนะมีความหวังที่ปลายเป้าหมายเป็นความหวังเหมือนกับแสงเทียนเล็กๆที่เราบางทีก็มองไม่เห็น บางทีก็มองเห็นขึ้นมา แต่สิ่งเหล่านี้เราต้องพยายามสร้างกำลังใจตลอดเวลาว่าเราจะต้องไปถึงจุดนั้นให้ได้จะต้องฝ่าฟันไปให้ได้อุปสรรค    มีเยอะมากในช่วงแรกๆ เพราะว่าการที่เราจะไปพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลถ้าเราใช้ความรู้อย่างเดียวในการไปประเมิน มันค่อนข้างยากในการเริ่มต้นเพราะคนไทยไม่ชอบการให้ใครมาประเมิน  คนไทยชอบการให้เกียรติกันดังนั้นในการที่เราเข้าไปเยี่ยมโรงพยาบาลเราจึงจะมี คำพูดที่เราติดปากจนถึงปัจจุบันนี้   “ว่าเราจะต้องเป็นกัลยาณมิตรเหมือนกับไปช่วยเขาเรียนรู้ไปด้วยกัน เพราะฉะนั้น HA เราจะใช้คำว่าเรียนรู้มากกว่าในการที่จะใช้คำว่าประเมิน อันนี้เป็นจุดเริ่มแรกที่เราจะต้องข้ามตรงนี้ไปให้ได้” อันที่สอง จะต้องรู้จริงในเรื่องของบริบทของโรงพยาบาล ก็คือว่ารู้จริงแล้วจะต้องรู้จริงในบริบทในความคิดของผู้คน ความทุกข์ยากของผู้คน ที่เราเข้าไปหาอยู่เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้มันจะต้องผสมกันในระหว่างความรู้ทางด้านวิชาการมาตรฐาน ความรู้ในเรื่องของความทุกข์ของคนทำงาน ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องระบบบริหารราชการและความรู้เกี่ยวกับหน้าที่ของโรงพยาบาลมันต้องผสมกันไปหมดเลย   “อันนี้ก็คือศาสตร์ที่แม่ต้อยเรียกว่าเป็นกัลยาณมิตร และการเป็นกัลยาณมิตรนั้นจะต้องเข้าใจคนอื่นและชี้นำให้คนอื่นเห็นช่องทางที่ดีมากขึ้น อันนั้นเป็นสิ่งที่กัลยาณมิตรทำ” แม่ต้อยมีความเชื่อเสมอเลยว่าโรงพยาบาล นั้นเป็นผู้ที่มีความเก่งมีความรอบรู้เพราะเขาปฏิบัติงานอยู่ตลอดเวลาและเข้าใจบริบทระหว่างเพื่อนในกลุ่มโดยเฉพาะกลุ่มซึ่งทำงานในลักษณะที่ว่า อยู่ใกล้เคียงกันเพราะว่าเค้าส่งต่อคนไข้เค้าปรึกษาหารือกันตลอดเวลา เราเข้าไปด้วยความตั้งใจดี ปรารถนาดี เราเอาสิ่งที่เรามีซึ่งเราอาจจะคิดว่าไม่มากนัก...
โครงการเล็กๆ แต่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในประเทศไทย 20 ปีที่มาคลุกคลีกับ HA นะคะ คิดว่าคนแรกที่อยากขอบคุณก่อนคนอื่นก็คงเป็นอาจารย์อนุวัฒน์ จากจุดเริ่มต้นที่อาจารย์อนุวัฒน์ตั้งไว้ มันก็ออกดอกออกผล จนกระทั่งเกิดสำนักงาน เกิดทีมงานอะไรต่างๆ มันก็ทำให้เกิดการสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ต่างๆขึ้นมา ส่วนใหญ่มันมาด้วยใจและก็สร้างด้วยใจ รู้จักซึ่งกันและกันก็เข้าใจกัน เพราะทุกคนมีเป้าหมายร่วมกัน แล้วก็มาทำร่วมกันเพื่อให้เกิดสิ่งที่ดีๆ อันนี้ก็ทำให้เกิดคุณค่า มันเป็น HA ที่มีคุณค่าและทำให้รู้สึกว่าเรารักและผูกพันมาก   เพราะฉะนั้นจะเห็นว่าจากโครงการเล็กๆ มันเกิดพลังอันยิ่งใหญ่กับประเทศไทย สมัยก่อนก็จะมีการมาสรุปประเมินจูนกันตลอดเวลา อันนี้มันก็ทำให้  Learning ซึ่งกันและกัน แล้วก็ได้เครือข่ายเน็ตเวิร์ค คิดว่าตอนนี้ประเทศไทยเปลี่ยนไปเยอะ มันเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามาก แล้วอันนี้มันก็เลยเป็นแรงบันดาลใจว่าเกษียณออกไปแล้ว ทำไมทำอยู่ เพราะมันเป็นสิ่งที่มีคุณค่านะ แล้วก็มันทำให้เห็นความเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆในระบบ Health Care เกิดขึ้น   คิดว่าตอนนี้องค์กรมันโตขึ้นคนเยอะ  มันไม่เหมือนสมัยก่อนเพราะฉะนั้นมันก็ จะเริ่มมีโครงสร้างงานมีฝ่ายต่างๆเยอะขึ้น สมัยก่อนมันก็จะเป็นคนเดียวดูหมดทุกส่วน เพราะว่ามีทั้งส่วนส่งเสริมพัฒนา ส่วนของประเมิน ส่วนของวิทยากร อะไรแบบนี้ เพราะคนน้อยก็จะคุยกันบ่อยแล้วก็เอามาจูนกันแล้วก็มีคนดูภาพรวมอยู่คนเดียว และหลังจากนั้นก็จะมีน้องๆที่เคยเป็นน้องประสาน เค้าโตขึ้นมาเป็นคนดูแล มีอะไรคุยกันแล้วก็มีความรักความสามัคคีกัน เพราะเป็นแบบนั้นมันทำให้งานแต่ละฝ่าย เป็นไปในทิศทางเดียวกัน   หรือถ้าประเมินไปทางนี้ ไปเยี่ยมแล้วเจอปัญหาอะไรเราก็มาคุย จะส่งเสริม ควรจะปรับหลักสูตรอะไร  ในส่วนของบริหารจะซัพพอร์ตอะไร  มันทำให้บรรยากาศการทำงานทำให้คนอยากทำ ถึงเหนื่อยก็ยังอยากทำ ส่วนใหญ่สมัยก่อน 90% ไม่มีใครกลับบ้านเร็วอยู่เย็นตลอด  ก็ช่วยกันทำ ทุกคนไม่ได้บ่นแต่ทุกคนเห็นคุณค่าในการทำงาน   ตัวที่เป็นแรงผลัก...
เกินความคาดหมาย แต่ยังหยุดไม่ได้ “ตอนนั้นรู้สึกจะเป็นนายกสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล  ก็ได้ออกไปในโรงพยาบาล ในสังกัดของรัฐ ได้เห็นอะไรมากมายแล้วก็มีความรู้สึกว่า ทำไมแต่ละเเห่ง  การทำงานมันไม่ค่อยเหมือนกัน มีอะไรหลายๆอย่างซึ่งน่าจะเป็นบทบาทของเภสัช  แต่เภสัชไม่ได้ทำ น่าจะเป็นบทบาทใน เชิงปฎิบัติเชิงการวิชาชีพ มากกว่านี้ไหม    ก็เลยช่วยกันทำมาตราฐานเภสัชกรรมโรงพยาบาลและเราก็เริ่มมาเห็นว่า เราน่าจะเอาอันนี้นำ ลงสู่การปฏบัติในโรงพยาบาล” รศ.ภญ.ธิดา นิงสานนท์  เล่าถึงจุดเริ่มต้น   บังเอิญที่มีมาตรฐานโรงพยาบาลจากอาจารย์อนุวัฒน์  มันก็สอดรับกันพอดีเราก็เลยรู้สึกว่ามีกำลังใจ เพราะว่าในการที่ จะนำ HA ลงปฏิบัติในโรงพยาบาล    ระยะแรก อาจจะยังเป็นเรื่องของสมัครใจเฉยๆ เเต่พอระยะหลังมันเป็นนโยบาย  ซึ่งโรงพยาบาลต่างๆก็มาร่วมกันให้ความร่วมมือและผลักดันเรื่องของมาตรฐานวิชาชีพ  เพราะคิดว่า วิชาชีพเราน่าจะปฏิบัติวิชาชีพกับผู้ป่วยได้มากกว่าที่เป็นอยู่  ในอดีตเภสัชกร แทบจะไม่เคยเจอคนไข้เลยนะคะ ก็เช็คยาอย่างเดียวส่งให้   ผู้ช่วยเอายาให้กับคนไข้ ไม่มีการเเนะนำ ไม่มีการซักประวัติเรื่องแพ้ยา  เราก็อยู่ในห้องสี่เหลี่ยม ไม่เคยเจอคนไข้   เภสัชกรน่าจะเจอกับคนไข้บ้างนะ นะคะเพราะเราจะได้ช่วยได้หลายๆ เรื่องเลยแม้เเต่การช่วยสกรีนนิ่งในเรื่องการสั่งยาของแพทย์   ซึ่งมันเป็นแรงบันดาลใจหลายๆอย่าง พอเราสามารถที่จะแก้และทำให้มันเป็นไปตามมาตรฐานได้ มันก็เป็นกำลังใจ ตัวเองก็อยากจะทำงานต่อ ผลักดันงานต่อไปให้มันเป็นไปตามมาตรฐานเรื่อยๆ ก็มี Process จะทำยังไงเราก็ช่วยกันคิดแล้วก็ เข้าไปดูว่าอะไรที่มันเหมาะกับสถานการณ์หรือบริบท ในโรงพยาบาล อันนี้ต้องยอมรับเลยว่า HA  มีส่วนมาก ถ้าเกิดไม่มีเรื่องนี้เข้ามาอยู่ด้านหลังและผลักดัน เราจะมาไม่ได้จนถึงทุกวันนี้ค่ะ เพราะว่าลำพังของเภสัชกรเองเราไม่มีพลัง พอที่จะไปทำให้ผู้บริหารเขายอมเปลี่ยนแปลง”   อันนึ่งคิดว่าเป็นเพราะการที่ทำกิจกรรมนักศึกษาตอนนั้นเป็นคณบดีของฝ่ายกิจการนักศึกษาอยู่เจ็ดปี คือเจอกับเด็กสารพัดรูปแบบต้องช่วยเค้าจริงๆในการแก้ปัญหาแม้แต่ ปัญหาชีวิต คือสารพัดรูปแบบเลย...
หน้าที่หลักขององค์กรแพทย์ คือ ช่วยเหลือผู้ป่วย “ ความจริงผมเกษียณแล้วจากตำแหน่งอธิบดี ” นพ.ปัญญา สอนคม เริ่มเล่าด้วยรอยยิ้ม “ แต่บังเอิญว่าในขณะที่เป็นอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ผมคิดว่าการที่จะทำแลปหรือว่าห้องปฎิบัติการ อาหาร ยา เครื่องสำอาง สมุนไพร อะไรต่างๆ      ถึงแม้ว่าจะเป็นหน้าที่ของกรมก็จริง แต่เมื่ออุตสาหกรรมเหล่านี้มันขยายใหญ่ขึ้น กรมก็จะทำไม่ไหว เพราะฉะนั้นกรมก็ควรจะผ่องถ่ายหน้าที่ไปให้องค์กรเอกชน และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ก็จะเป็นผู้ควบคุมมาตรฐานของห้องปฎิบัติการเหล่านั้นอีกทอดนึ่ง จากความคิดอันนี้เราก็เลยติดต่อ ต่างประเทศและพยายามสร้างมาตรฐานขึ้นมาเพื่ออบรม คนในกรมวิทย์ให้คุ้นเคยกับมาตรฐานก่อน  ผมทำอย่างนี้ประมาณปีกว่า ก็เกษียณอายุราชการ” “ตอนนั้นเรามีศิษย์เก่าของกรมซึ่งไปศึกษาต่อที่ต่างประเทศและบางคนก็สำเร็จแล้วได้ทำงานอยู่ที่นั้น  ก็กระตือรือร้นอย่างมากที่จะมาช่วย ก็ติดต่อ องค์กร  FDA เพราะว่าในอเมริกานั้น FDA เค้าทำแลปเอง  ควบคุมเอง ไม่เหมือนของเราซึ่งจะเป็น อย. ตอนนั้นผมทำงานเป็นผู้ดูแลห้องปฏิบัติการของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง เป็นห้องปฎิบัติสาขาโรงพยาบาลเทพธารินทร์ อาจารย์เทพ ซึ่งเป็นเจ้าของ แกเป็นคนหัวก้าวหน้า แกเชิญผู้เชี่ยวชาญจากประเทศแคนดามาช่วย   ปรับปรุงคุณภาพของโรงพยาบาลเทพธารินทร์ ซึ่งมีชื่อเสียงมากในการรักษาโรคเบาหวาน ในการประชุมครั้งนั้นผมจึงได้เจอ คุณหมออนุวัฒน์ และในที่สุดก็ได้มาทำโปรเจคนี้ร่วมกัน” และนั่น คือจุดดเริ่มต้น ของโปรเจคนี้ “ช่วงนั้น  เราต่างก็ยังไม่รู้เรื่องอะไรกันเลย เราก็แลกเปลี่ยนกัน เชื่อมั้ย ว่าตั้งแต่เราแลกเปลี่ยนกันใช้เวลา 4-5 ชั่วโมงเลย ผมซึ่งไม่มีความรู้ทางด้านเภสัชมาก่อนก็ได้เรียนรู้จากอาจารย์ธิดา  ผมเองก็มีแต่ความรู้ทางด้านบริหารโรงพยาบาล ไม่ใช่ Back Office...
- Advertisement -

MOST POPULAR

HOT NEWS