3P-Safety ทุกการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ เริ่มได้ด้วย Growth Mindset

0
123
3P-Safety ทุกการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ เริ่มได้ด้วย Growth Mindset

ปัญหามีไว้เพื่อแก้ อุปสรรคมีไว้เพื่อจัดการ ไม่ใช่ มีไว้เพื่อให้รำคาญ…การเปลี่ยนแปลงมีไว้เพื่อเรียนรู้ ไม่ใช่มีไว้เพื่อหดหู่…ปัญหา อุปสรรค และการเปลี่ยนแปลง เป็นสิ่งที่คู่มากับชีวิต สามารถพิชิตได้ด้วย Growth Mindset”

Growth Mindset เป็นแนวคิดที่เชื่อว่า ความสามารถต่าง ๆ ของบุคคลไม่ได้มีมาแต่ตั้งแต่เกิด แต่สามารถทำให้เกิดและพัฒนาได้โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ ความพยายาม ความมุ่งมั่นตั้งใจจริง มีทัศนคติเชิงบวกต่อปัญหา มีความท้าทาย การจัดการกับความผิดพลาด หรือความล้มเหลวที่เกิดขึ้น การปรับตัวนำไปสู่ผลสำเร็จ                          ผู้ที่มี Growth Mindset ชอบเรื่องท้าทาย เรียนรู้จาก (แทนที่จะจมปลักกับ) ความผิดพลาดหรือความล้มเหลว
ชอบและสนุกกับการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ มองเรื่องท้าทายเป็นเรื่องที่ต้องเอาชนะหรือแก้ไข จึงมักเกิดความคิดนอกกรอบ หรือความคิดสร้างสรรค์เพื่อที่จะเอาชนะ หรือแก้ไขเรื่องที่ท้าทายเหล่านั้น เมื่อพบผู้ที่เก่งกว่าหรือประสบความสำเร็จมากกว่า ผู้ที่มี Growth Mindset ไม่รู้สึกว่าถูกคุกคามหรือเสียหน้า แต่กลับอยากคบหาคนเหล่านั้น เพื่อเรียนรู้และซึมซับแรงบันดาลใจจากความสำเร็จเหล่านั้น

ดังตัวอย่าง: ประวัติศาสตร์ “การเดินทางบนท้องฟ้าของมนุษยชาติ” เมื่อ 400 ปีก่อนคริสตกาล Chines Kite
ว่าวของชาวจีน เป็นจุดเริ่มต้นของการอยากเดินทางบนท้องฟ้า หรือการลอกเลียนแบบธรรมชาติ สร้างปีกให้เหมือน
นกดังตำนานกรีกโบราณ การหลบหนีของ Daedalus และลูก คือ Icarus จาก King Minos ด้วยการสร้างปีกจากขนนกและขี้ผึ้ง หรือ เมื่อปี ค.ศ.1485 Leonardo da Vinci ได้มี Ornithopter ซึ่งเป็นต้นแบบ Helicopter
ในปัจจุบัน หรือ ปี ค.ศ.1783 Joseph and Jacques Montgolfier: เกิดบอลลูนที่อาศัยลมร้อนดันให้ลอยตัวขึ้น
ผู้โดยสารชุดแรก คือ แกะ เป็น ไก่ บอลลูนสามารถลอยตัวได้สูงถึง 6,000 ฟุต และเดินทางได้ระยะทาง 1 ไมล์
และเมื่อ 21 พฤศจิกายน 1783 บอลลูนนี้มีผู้โดยสารเป็นคนครั้งแรกคือ Jean-Jrancois Pilatre de Rozier and Francois Laurent หรือ มีการใช้ “รูปภาพ” หลาย ๆ ภาพมาต่อ ๆ กันเป็น “เครื่องร่อน” จากนั้นเมื่อปี ค.ศ.1903 Orville and Wilbur Wright นำเครื่องบินที่มีน้ำหนัก 600 ปอนด์ บินสำเร็จครั้งแรกในเวลา
10.35 น. เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 1903 หลังทำการศึกษาวิจัย 3 ปี บินได้ระยะทาง 120 ฟุต และบินได้นาน 12 นาที และพัฒนาต่อจนถึงวันที่ 5 ตุลาคม 1905 บินได้ระยะทาง 24 ไมล์ และบินได้นาน 39 นาที จากข่าวดังกล่าวได้ถูกตีพิมพ์ตามสื่อต่าง ๆ โดยได้รับการโจมตี และดู ถูกว่าการเดินทางบนอากาศโดยพาหนะที่หนักกว่าอากาศ เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เป็นความเพ้อฝัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บทความในหน้าหนังสือพิมพ์ New York Times คาดการณ์ว่ามนุษยชาติคงต้องใช้เวลาประมาณ 1 ล้านปีถึง 10 ล้านปีกว่าจะบินได้ด้วยเครื่องบินที่หนักกว่าอากาศ จน 9 สัปดาห์ต่อมาสองพี่น้องตระกูล Wright ประสบความสำเร็จในการบินได้ และพัฒนามาเป็นเครื่องบินจนทุกวันนี้ จะเห็นได้ว่า การดูถูกเหยียดหยามสิ่งผลิตใหม่ ๆ เกิดอยู่เสมอในประวัติมนุษยชาติ แต่ความสำเร็จของสิ่งผลิตใหม่ ๆ เหล่านี้ เมื่อเกิดขึ้นได้แล้ว ส่งผลอย่างยิ่งต่อคุณภาพชีวิตของมวลมนุษยชาติ

จะเห็นได้ว่า 1. การเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ มักเริ่มจากความกล้าที่จะคิดในสิ่งที่คนทั่วไปไม่ได้คิด เริ่มจากจินตนาการถึงสิ่งที่มีประโยชน์ 2. ความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะทำให้สำเร็จ การพยายามป้องกัน หรือแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นหรือเกิดขึ้น จำต้องอาศัยการขวนขวายหาความรู้  และพิสูจน์ความรู้เหล่านั้น (โดยการค้นคว้าทดลอง) 3. เมื่อประสบผลสำเร็จในเบื้องต้น ต้องคิดพัฒนาขยายผลต่อ ให้ได้สิ่งที่ดีขึ้น 4. อุปสรรคเกิดได้ตลอดเส้นทางการพัฒนา มองอุปสรรค คือกระจกที่ทำให้มองได้รอบ มีประโยชน์มากกว่าโทษ

ผู้ที่มี Growth Mindset มีความสามารถและอิสรภาพที่เข้าถึงศักยภาพสูงสุดของตน และรู้คุณค่าหรือความสามารถที่แท้จริงของตน (แทนความเชื่อว่าตนเองมีความสามารถหรือศักยภาพที่จำกัด-Fixed Mindset) ความสามารถและอิสรภาพเหล่านี้ ทำให้ผู้ที่มี Growth Mindset กล้าและมีแรงผลักดันภายในที่จะทำเรื่องใหม่ ๆ เรื่องยาก ๆ หากล้มเหลว มุ่งถอดบทเรียน และลองใหม่อีก
โดยธรรมชาติทุกคนเคยมี Growth Mindset การอยากทำสิ่งใหม่ ๆ ที่ไม่เคยทำเป็นเรื่องที่ทุกคนเคยทำ การผิดพลาดล้มเหลวเป็นเรื่องที่ทุกคนเคยพบ การเรียนรู้ที่จะไม่ผิดพลาดอีกเป็นเรื่องที่ทุกคนเคยเรียนรู้ และการพัฒนาสิ่งที่รู้แล้วทำให้ดีขึ้นเป็นเรื่องที่ทุกคนมีประสบการณ์ การมี Growth Mindset นั้นไม่ยาก แต่เราจะรักษาระดับ (level) ของ Growth Mindset ไว้ได้ ด้วยการบันทึก (Documentation) ต้องมีวินัย และทำให้เป็น Culture

ความล้มเหลว” เป็นจุดเริ่มต้นของ “ความสำเร็จ” แต่ “ความสำเร็จ” เป็นจุดเริ่มต้นของ “ความล้มเหลว”
ได้เช่นกัน
เนื่องจากหากเมื่อสำเร็จแล้วไม่เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ผู้ถอดบทเรียน ดร.สดศรี พูลผล                                                                                              หัวหน้างานพัฒนาคุณภาพงาน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ครีเอทีฟคอมมอนส์
งานนี้ใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แบบแสดงที่มาไม่ใช้เพื่อการค้า ไม่คัดแปลง

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here