Metaverse in Healthcare

0
1804
Metaverse in Healthcare
Metaverse in Healthcare

Metaverse in Healthcare

ทุกอย่างเกิดขึ้นได้ ใน Metaverse

Metaverse เป็นคำที่มีมานานตั้งแต่ ค.ศ. 1992 เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น เมื่อ Mark Elliot Zuckerberg
ได้เปลี่ยนชื่อจาก Facebook เป็น Metaverse ตามการปรับเปลี่ยน culture บางอย่างขององค์กร

Metaverse เป็น social media รูปแบบหนึ่ง ที่ทำให้คนได้เข้าใกล้กันมากขึ้น ด้วยแนวคิด “The Ultimate Dream: The defining quality of the metaverse will be a feeling of presence like you are right there with another person or in another place. Feeling truly present with another person is the ultimate dream of social technology.” โลกเสมือนจริงนี้มีแง่มุมที่หลากหลายเหมือนการดำรงชีวิตในโลกจริง เช่น Digital currency ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้เงินสกุลใด, NFTs: Nonfungible Tokens, Digital assets, Concerts-Social-Entertainment events, Online shopping, Workplace, Digital humans เป็นต้น หลักการเบื้องต้นของ Metaverse อาจกล่าวได้ว่า เริ่มมีการนำมาใช้จาก Gaming ผู้คนที่เข้ามาเล่นเกมส์ อยู่ต่างสถานที่แต่สามารถเข้ามาร่วมเล่นในเกมส์เดียวกัน ทำให้คนได้ใช้ชีวิตร่วมกัน แต่แตกต่างตรงที่ metaverse สามารถสร้างประสบการณ์ในการรับรู้ได้มากกว่าทางสายตา และการได้ยิน ผู้คนจะได้รับประสบการณ์ทางการสัมผัสเพิ่มขึ้น และในอนาคตอาจจะได้กลิ่นหรือรับรสชาติได้ด้วย ซึ่งจะทำให้ผู้คนที่อยู่ใน metaverse อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ใกล้เคียงกับโลกจริงมากขึ้น จากหลักการดังกล่าว ทำให้ในหลายสาขาทั่วโลกได้เริ่มนำ metaverse เข้ามาทดลองใช้ ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา การแพทย์ กองทัพ การค้าขาย การจัด events ต่างๆ การทำธุรกรรมต่างๆ เป็นต้น

ในด้าน Healthcare มีการนำมาทดลองใช้ในหลายด้าน เช่น การพัฒนาจาก Tele-medicine ในการตรวจผู้ป่วย
ทีมีปัญหาด้าน orthopedics ต่อยอดโดยการให้ผู้ป่วยที่อยู่ทางไกลสวมแว่น AR และมีผู้ช่วยแพทย์ที่ผ่านการฝึกฝนอย่างดี ช่วยเหลือผู้ป่วยระหว่างการตรวจ เมื่อผู้ป่วยสวมแว่นจะมองเห็นแพทย์ที่อยู่ทางไกล เสมือนแพทย์ได้เข้ามาตรวจจริง ขณะเดียวกันแพทย์จะมองเห็นผู้ป่วยผ่านจอมอนิเตอร์ และให้ผู้ช่วยแพทย์ได้ช่วยผู้ป่วยในการขยับร่างกายเพื่อตรวจร่างกายในส่วนที่มีปัญหา ทำให้ผู้ป่วยและแพทย์ได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถนำไปพัฒนาในสาขาต่างๆ ได้อีก เช่น

  • การทำ group therapy จากเดิมที่ผู้ป่วยและผู้เข้าร่วมต้องมานั่งล้อมวงเพื่อการบำบัด เปลี่ยนเป็นให้ผู้เข้าร่วมที่อยู่แต่ละสถานที่สวมแว่น AR ทุกคน และทำกิจกรรมบำบัดพร้อมกัน
  • การศึกษาของแพทย์ แพทย์สวมแว่น AR และจำลองภาพการทำหัตถการใน scenario ต่างๆ สามารถฝึกฝนทักษะในการทำหัตถการได้บ่อยเท่าที่ต้องการ
  • ด้านทันตกรรม การนำภาพ X-ray ฟันต่างๆ เข้าในระบบ ทำให้ทันตแพทย์สามารถผ่าฟันได้แม่นยำมากขึ้น
  • ปรับรูปแบบการดูแลผู้สูงอายุ เปลี่ยนจากการอยู่ร่วมกันในด้าน physical ซึ่งในโลกความเป็นจริงผู้สูงอายุอาจต้องอยู่โดดเดี่ยว แต่เมื่อเข้าไปใน metaverse จะสามารถพูดคุยกันคนอื่นได้มากขึ้นอย่างไรก็ตาม การนำ metaverse เข้ามาใช้ใน Healthcare ยังมีข้อควรพิจารณาอยู่มาก ได้แก่
    1. ด้านการเข้าถึง Technologies ยังมีข้อจำกัดอยู่มาก
    2. ด้านงบประมาณ เนื่องจากอุปกรณ์ที่ต้องใช้ประกอบกันยังมีราคาค่อนข้างสูง เข้าถึงได้ยาก
    3. ความรู้และประสบการณ์ของบุคลากร
    4. ด้าน Privacy & Security ของผู้ป่วย
    5. Increase time spent การเข้าไปอยู่ใน metaverse ทำให้การใช้เวลาในโลกจริงเพื่อทำกิจกรรมต่างๆ ลดลง
    6. Resilience การจะทำให้คนเข้าไปอยู่ใน metaverse ต้องใช้ระยะเวลา ต้องสร้างให้คนมี engagement
    7. Increase specific diseases มีการเพิ่มขึ้นของโรคที่มีความเฉพาะเจาะจง การเข้าไปอยู่ใน metaverse นานเกินไป ทำให้บุคคลมีปัญหาสุขภาพตามมาได้
    8. Regulations/ Taxes ข้อกฎหมายต่างๆ ที่ต้องถูกกำหนดขึ้นใน metaverse เพื่อควบคุมการดำเนินไปของกิจกรรมต่างๆในโลกเสมือนจริง เช่นเดียวกับโลกจริง ตัวอย่างเช่น ใน Facebook มีข้อจำกัดในการ post เนื้อหาที่มีความรุนแรง, ใน twitter มีการกลั่นกรองเรื่อง fake news เป็นต้น

    Metaverse มีความเป็นไปได้ที่จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในหลายๆ ด้าน วิธีคิดง่ายๆ ในการทำความเข้าใจ metaverse คือ ทุกอย่างเกิดขึ้นได้ใน metaverse ทำความเข้าใจกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

    ผู้ถอดบทเรียน จุฑาธิป อินทรเรืองศรี ผู้จัดการแผนกบริหารคุณภาพ
    โรงพยาบาลนมะรักษ์ เฉพาะทางศัลยศาสตร์มะเร็งขนาดเล็ก

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here