ถอดรหัสสูตร (ไม่) ลับการบริหารความเสี่ยง

0
1437
ถอดรหัสสูตร (ไม่) ลับการบริหารความเสี่ยง

ถอดรหัสสูตร (ไม่) ลับการบริหารความเสี่ยง

Safety ไม่ใช่สิ่งที่ควรทำหรือไม่ทำ
แต่เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบที่ต้องทำ

ถ้าเราไม่สามารถบริหารและจัดการความเสี่ยงได้ ต่อให้มีความพึงพอใจแค่ไหน แต่ถ้ามีความเสี่ยง คุณค่าจะถูกลดทอน

ความปลอดภัยไม่ได้เป็นภาระ แต่เป็นหน้าที่ เป็นสิทธิพื้นฐานที่ทุกคนควรจะได้

นพ.สุรพร ก้อนทอง Safety ไม่ใช่สิ่งที่ควรทำหรือไม่ทำ แต่เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบที่ต้องทำ ถ้าเราบริหารและจัดการความเสี่ยงได้ มีเวลาทำให้เกิดการพัฒนาคุณภาพ ถ้าเราไม่สามารถบริหารและจัดการความเสี่ยงได้ ต่อให้มีความพึงพอใจแค่ไหน แต่ถ้ามีความเสี่ยง คุณค่าจะถูกลดทอน

แนวคิด Safety I Safety II และ Synergy ผนึกกำลังเพื่อการขับเคลื่อนด้านความปลอดภัย ข้อแตกต่างระหว่าง  -Safety I และ Safety II Safety I เรียนรู้จาก อุบัติการณ์ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น

– Safety II เรียนรู้จากการประสบความสำเร็จใน การสร้างความปลอดภัย ไม่ว่าเกิดสถานการณ์หรือข้อจำกัดใดๆเหมาะจะทำในอุบัติการณ์ที่ Near 0 (อุบัติการณ์ที่นานนานเกิดครั้ง) เน้นพร้อมรับทุกสถานการณ์ เน้น Process ตัวแปรอะไรบ้างที่ทำให้ต้องปรับการทำงาน(FRAM) มีโอกาสผิดพลาดมากและรุนแรงโดยที่เราไม่อาจทราบได้อย่างไร(FMEA) สามารถคาดการณ์ตัวแปรแต่ละตัว และมีแนวทางในการรับมือ เน้น Best Practice เราจะก้าวสู่ Safety II โดยการใช้ 1) Resilience Design คือการออกแบบให้งานของเราสามารถปรับตัวพร้อมรับสถานการณ์ต่างๆ 2) Resilience review: โดยการทำ AARทุกวัน

ศ.พญ.ดวงมณี เลาหประสิทธิพร การบริหารความเสี่ยงขององค์กรบูรณาการร่วมกับกลยุทธ์และผลการปฏิบัติงานความเสี่ยง ≠ ความปลอดภัย หมายถึง ความเป็นไปได้ที่เหตุการณ์จะเกิดขึ้น และส่งผลกระทบต่อการบรรลุ กลยุทธ์ และวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ” ซึ่งเกิดผลกระทบเชิงลบ และ ผลกระทบเชิงบวก (โอกาส)

แนวคิด Enterprise Risk Management (ERM) หมายถึง การบริหารปัจจัยและควบคุมกิจกรรม/กระบวนการในการปฏิบัติงานต่างๆ ขององค์กรอย่างมีระบบ ลดสาเหตุของความเสี่ยง ให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้(Risk appetite) บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรเป็นสำคัญ

กรอบโครงสร้างการบริหารความเสี่ยงขององค์กร 1.การกำกับดูแล และวัตนธรรม => สร้าง Risk Culture 2.กลยุทธ์และกำหนดวัตถุประสงค์ =>คัดเลือกกลยุทธ์ผ่านRisk appetite, Possible Strategic Implementation 3.ผลการปฏิบัติงาน + การประเมินความเพียงพอของ IC 4.การสอบทาน และการแก้ไขปรับปรุง => ติดตาม ทบทวน/ตรวจสอบแผน/monitor ผล Leading KRIs : ระหว่างปี & Lagging KPIs 5.สารสนเทศ การสื่อสารและการรายงาน => Report Risk Culture & Performance

กรอบการบริหารความเสี่ยงองค์กรนั้น สามารถสะท้อนให้เห็นถึงนโยบายการบริหารจัดการ และการกำกับดูแลกิจการของแต่ละองค์กร โดยหากองค์กรมีการบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ จะส่งผลให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์องค์กร ทั้งในเชิงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงาน

กระบวนการจัดการความเสี่ยง (Risk management (RM) process) 1.ระบุความเสี่ยง 2.วิเคราะห์&ประเมินความเสี่ยง(Risk Assessment Matrix) => โอกาสเกิด และความรุนแรงหรือผลที่จะตามมา 3.จัดลำดับความเสี่ยง 4.แผนรับมือหรือป้องกันความเสี่ยง

แนวทางในการบริหารจัดการความเสี่ยง (4T’s) 1.การยอมรับ (Take/Acceptance) : ความเสี่ยงที่อยู่ในระดับยอมรับได้ 2.การลดความเสี่ยง (Treat/ Reduction) การออกแบบระบบ เพื่อลดผลกระทบ และโอกาสเกิด 3.การกระจาย/โอนความเสี่ยง (Transfer/Sharing) กระบวนการต่าง ๆ เพื่อลดความเสี่ยงจากการสูญเสีย เช่นการประกัน 4.การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง (Terminate/Avoidance) เช่น งดทำขั้นตอนที่ไม่จำเป็นและจะนำมาซึ่งความเสี่ยง ปรับเปลี่ยนรูปแบบ การทำงาน ลดขอบเขตการดำเนินการ 5.กำกับติดตาม&ทบทวนความเสี่ยง => ทะเบียนจัดการความเสี่ยง(risk register)ที่เป็นปัจจุบัน

บทบาทผู้บริหารโรงพยาบาล & การบริหารความเสี่ยงโรงพยาบาล: มาตรฐาน HA ฉบับที่ 5

HA_I-1.2 การกำกับดูแลองค์กรและการทำประโยชน์ให้สังคม(Governance and Societal Contributions)

I-1 การนำ(Leadership)

I-1.1 การนำองค์กรโดยผู้นำระดับสูง(Senior Leadership) สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัย ส่งเสริมวัฒนธรรม ทบทวนและติดตาม

I-2 กลยุทธ์(Strategy)

I-2.1 การจัดทำกลยุทธ์(Strategy Development)  วิเคราะห์ข้อมูลความเสี่ยงที่สำคัญ จัดทำแผนบริหารความเสี่ยง

II-1.2 ระบบบริหารความเสี่ยง (Risk Management System) กับการออกแบบระบบบริหารความเสี่ยง (Process Control)

น.อ.หญิง ภัคภร โลจนะวงศกร การบริหารงานเพื่อให้ได้คุณภาพและความปลอดภัย


ไม่ได้ดูที่ผลลัพธ์ (Outcome) ต้องดูที่กระบวนการ (Process) วางแผนควบคุมกระบวนการทำงาน
เพื่อลดความเสี่ยง และต้องมีการติดตามประเมินผล

Risk = Hazard x Probability of Exposure Hazard คือ ภัยคุกคาม

แนวคิด Risk based Thinking 1.Proactive Risk Assessment: วิเคราะห์และจัดลําดับโอกาสเกิดความเสี่ยงใน กระบวนการงานประจําที่ทํา 2.Plan actions to address the risk: จะรับรู้ความเสี่ยงนั้นได้อย่างไร มาตรการ ป้องกันหรือจัดการเป็นอย่างไร ลดความเสียหายที่จะเกิดได้อย่างไร รายงานใคร เมื่อใด 3.Implement the Plane take action: มั่นใจว่ามีเครื่องมือ ข้อมูลสารสนเทศ และความสามารถเพียงพอในการดําเนินการ 4.Check the effectiveness of action: ประเมินผลสําเร็จว่ามาตรการยังได้ผลดี 5.Learn from experience  เรียนรู้จากงานที่ทําเพื่อพัฒนาต่อเนื่อง

ความเสี่ยงมีโอกาสเกิดได้ทุกกระบวนการในงานประจำ มีโอกาสเกิดอะไรบ้าง เราสามารถระบุได้หรือไม่ และจะป้องกันอย่างไรไม่ให้เกิดขึ้นได้อย่างไร นำมากำหนดมาตรการป้องกันให้เกิดคุณภาพและความปลอดภัยตามระบวนการทำงาน(Process)ไม่ใช่ผลลัพธ์(Outcome) โดยผ่านฐานความคิดของ Risk Base(มีข้อมูลเพียงพอต่อการตัดสินใจ ภายใต้ความปลอดภัย)

ผู้ถอดบทเรียน วรรษวรรณ กระต่ายจันทร์ หัวหน้างานถ่ายทอดทางการพยาบาล สถาบันโรคผิวหนัง

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here