เมื่อกำลังคนสุขภาพกำลังหมดไฟ” How to Reboost People Management

0
1228
เมื่อกำลังคนสุขภาพกำลังหมดไฟ” How to Reboost People Management
เมื่อกำลังคนสุขภาพกำลังหมดไฟ” How to Reboost People Management

เมื่อกำลังคนสุขภาพกำลังหมดไฟ” How to Reboost People Management

“การจัดการคน” เพื่อแก้ปัญหา และรักษากำลังคนสุขภาพ เพื่อการคงอยู่พร้อมรับความท้าทายใหม่ เป็นบททดสอบความแข็งแกร่งขององค์กร

“กำลังใจในการทำงานเป็นสิ่งสำคัญที่จะเพิ่มพลัง เพิ่มความเข้มแข็งให้กับกำลังคนสุขภาพที่กำลังหมดไฟ”

ในสภาวการณ์ปัจจุบันหลายองค์กรทั่วโลกกำลังเผชิญกับ “อภิมหาการลาออกครั้งใหญ่” The Great Resignation เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรค Covid-19 ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ ปัญหาทางการเมือง หรือปัญหาการสู้รบ ทั้งหมดเปรียบเหมือน Perfect Storm ทำให้ชีวิตของประชาชนจำนวนมากเกิดการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะประเทศไทยพนักงานองค์กรเอกชนหลายแห่งมีการลาออกโดยไม่สมัครใจ เช่น ธุรกิจการท่องเที่ยว ธุรกิจการบิน ธุรกิจด้านธนาคาร ธุรกิจด้านสื่อสารมวลชน อีกทั้งบุคลากรวิชาชีพขาดแคลน ขาดความมั่นคงในการทำงานเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

พบว่าหากเปรียบเทียบภาวะต้มยำกุ้ง ในปี พ.ศ. 2540 ที่เศรษฐกิจตกต่ำ กับสถานการณ์ปัจจุบัน พบว่า ในอดีต ถึงแม้จะมีประชาชนตกงานถึง 1.6 ล้านคน แต่สามารถกลับมามีงานทำใหม่ได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่ปัจจุบันหลายธุรกิจปิดตัว ล้มละลาย ทำให้เกิดผลกระทบเชิงลบเป็นวงกว้างทั้งเรื่องการไม่สามารถกลับเข้าทำงานได้อีก   แม้ว่าคนที่มีงานทำและองค์กรธุรกิจที่ดำเนินต่อไปได้ยังคงต้องปรับตัว ปรับกระบวนการทำงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น หลายองค์กรกำหนดสัดส่วนบุคลากรปฏิบัติงานที่ทำงาน และปฏิบัติงานที่บ้าน (Work at Home)ให้เหมาะสม มีการประชุม การสัมมนาผ่านระบบออนไลน์ การเว้นระยะห่าง ทั้งนี้เมื่อเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นโดยใช้ระยะเวลานานเกินไป อาจทำให้บุคลากรอยู่ในภาวะหมดพลัง หมดไฟ (Burnout) รู้สึกเบื่อหน่ายในการทำงาน ดังตัวอย่างจากผลการสำรวจอาการที่เกิดขึ้นของพนักงาน ได้แก่

  • เหนื่อยล้า หมดพลัง ทั้งพลังทางกายและอารมณ์
  • เกิดความรู้สึกทางลบกับงานในหน้าที่ที่รับผิดชอบ
  • เฉยเมย หรือเห็นอกเห็นใจกับผู้คนน้อยลงอย่างไม่มีเหตุผล
  • หงุดหงิดกับเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือหงุดหงิดกับเพื่อนร่วมงาน
  • ไม่เข้าใจผู้ร่วมงาน หรือผู้ร่วมงานไม่ชื่นชอบ
  • เหมือนไม่มีใครที่จะพูดคุยด้วย
  • คิดว่าประสบความสำเร็จน้อยกว่าที่ควรจะเป็น
  • เหมือนอยู่ภายใต้แรงกดดันที่ไม่พึงประสงค์ที่ทำให้งานไม่สำเร็จ
  • คิดว่ายังไม่ได้สิ่งที่ตนเองต้องการในการทำงาน
  • คิดว่าเลือกทำงานในองค์กรที่ผิด หรือเลือกอาชีพผิด
  • ผิดหวังกับบางส่วนของงานที่ทำหรือภาระที่ต้องรับผิดชอบ
  • คิดว่ามีการเมืองในองค์กรหรือการทำงานที่มีขั้นตอนมาก ทำให้ไม่สามารถทำงานให้สำเร็จไปได้ด้วยดี
  • มีหลายงานที่เกินขีดความสามารถของตนที่จะทำงานดังกล่าว
  • ฉันไม่มีเวลาที่จะทำหลาย ๆ งาน และที่มีความสำคัญจะต้องทำงานนั้นอย่างมีคุณภาพ
  • ฉันรู้สึกว่าไม่มีเวลาที่มากพอในการวางแผนการทำงานที่ต้องการจะทำให้แต่ละคนทดสอบว่าพลังในตัวเราตอนนี้อยู่ในระดับใด

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งตัว หรือวางแผนรองรับ ดังนั้นทฤษฏีห่านดำ (Black Swan) โดย Nassim Nicholas Taleb น่าจะนำมาใช้ได้กับยุคปัจจุบัน จากสิ่งที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้นได้เสมอ และถึงแม้โอกาสเกิดขึ้นน้อยมากแต่หากเกิดจะนำมาสู่การหายนะทั่วโลก สถานการณ์Covid-19 เป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ที่ทำให้เรารู้จักทฤษฏีนี้ ทฤษฏีห่านดำ หมายถึง เหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน เหตุการณ์นั้นมีผลกระทบมหาศาลเมื่อเกิดขึ้น และหลังเหตุการณ์นั้นมีเหตุผลอธิบายได้ว่าเกิดอะไรขึ้น

ทั้งนี้เมื่อเกิดสิ่งต่าง ๆ ขึ้นแล้วมนุษย์แต่ละกลุ่มมีการปรับตัวเช่นไร

กลุ่มที่ 1 : Fragile กลุ่มคนที่เกิดความสูญเสียอย่างใหญ่หลวง กลุ่มที่มีความเปราะบาง แตกสลาย ตัวอย่างช่วงสถานการณ์ Covid-19 คนที่ทำงานภาคธุรกิจโรงแรม บริการ คนที่ถูกลดการจ้างงาน

กลุ่มที่ 2 : Robust กลุ่มที่ทนต่อแรงเสียดทานในช่วงเวลาปกติ อดทน กลุ่มนี้รับความเครียด รับความไม่แน่นอนอยู่แล้ว อึด กัดไม่ปล่อย ตัวอย่างช่วงสถานการณ์ Covid-19 พนักงานขับรถ Grab Line man

กลุ่มที่ 3 : Anti-Fragile กลุ่มที่เปลี่ยนปัญหาให้เป็นโอกาสได้ตลอดเวลา ก้าวข้ามความคิด เป็นกลุ่มที่เกิดความผันผวนทางเศรษฐกิจ แสวงหาโอกาสได้รับประโยชน์จากความไม่แน่นอน ไม่มีกรอบ ก้าวข้าม Mental Model ของตัวเองได้ตลอดเวลา ไม่มีการวางแผนแบบตายตัว Improvise ไปกับสถานการณ์ที่เจอได้ตลอดเวลา ไม่ใช่ “Prisoner of a Plan” ใช้ความรู้สึกเป็นตัวนำทางมีSense of Urgency เห็นอะไรดีไปทางนั้น และยอมรับความเสี่ยงได้

คนทำงานในอนาคตของกลุ่ม Anti fragile ต้องมีความสามารถ 3 ประการ ดังนี้

  1. ปรับตัวได้อย่างคล่องแคล่ว ว่องไว
  2. ต้องมีความเห็นอก เห็นใจผู้อื่น
  3. ต้องเป็นคนชอบตั้งคำถาม และรู้จักหาคำตอบ

สำหรับองค์กรในอนาคตจะต้องมีการปรับตัวเป็น Remote-first Company โดยเฉพาะภาคธุรกิจจะมีการทำงานที่บ้านเป็นส่วนใหญ่ ทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา ซึ่งพบว่ามี Productivity ที่มากขึ้น เป็นองค์กรที่มีความยืดหยุ่น Work-life Balance

จากสถานการณ์ที่มีผลกระทบมากมายข้างต้น พบว่าคนไทยอยู่ในภาวะหมดไฟ มากกว่า 4.4 % อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้พนักงานตัดสินใจลาออก เช่น บรรยากาศในการทำงาน หัวหน้างาน ความเครียด ระบบงานไม่ชัดเจน ค่าตอบแทนน้อย กดดัน ไม่มีความก้าวหน้าในวิชาชีพ เบื่อ หมดพลัง หมดไฟ อัตรากำลังน้อยงานหนัก  ซึ่งสามารถป้องกันโดย Work/Life Balance, Workloads Monitoring, WFH Option, Workplace Wellness, Goals & Career Path, Open Communication, Lead by Example หรือวิทยากรได้แนะนำภาพยนตร์ที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจ เกิดพลัง ได้แก่ เรื่อง Bucket List ซึ่งเป็นเรื่องของผู้เฒ่า 2 คนที่ถึงช่วงสุดท้ายของชีวิต หารือกันว่าต้องการจะเดินทางไปทำสิ่งที่ตนเองต้องการ “มนุษย์หากสิ้นจากโลกนี้แล้วจะไปสวรรค์หรือไม่” ทั้งนี้มีคำถามที่ท้าทาย 2 ประการ คือ คำถามที่ 1 ช่วงที่เป็นมนุษย์มีความสุขหรือไม่ (หากตอบว่า มีความสุข แสดงว่าผ่านประตูด่านแรกแล้ว) คำถามที่ 2 เมื่อคุณเป็นมนุษย์คุณทำให้ตนเองมีความสุขแล้ว คุณได้ทำให้คนอื่นมีความสุขด้วยหรือไม่ (หากตอบว่า สามารถทำให้คนอื่นมีความสุขด้วย แสดงว่าคุณผ่านประตูด่านสุดท้าย)

ดังนั้นงานวิชาชีพเฉพาะ แพทย์ พยาบาล เภสัช ฯ เป็นวิชาชีพที่มีเกียรติ ถึงแม้จะเหนื่อย แต่ทำให้คนอื่นพ้นทุกข์ และมีความสุขด้วยเช่นกัน

ผู้ถอดบทเรียน สดศรี พูลผล หัวหน้างานพัฒนาคุณภาพงาน                                                                                 คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here